สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 29 เม.ย. - 5 พ.ค. 2555

นายจ้าง บ.อีดะ เซอิมิทสึ ยื่นขอลดสวัสดิการหลังนโยบายปรับค่าจ้าง 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 เมษายน สหภาพแรงงานอีดะ เซอิมิทสึ (ประเทศไทย) ได้รวมตัวกันที่หน้าบริษัทอีดะ เซอิมิทสึ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เลขที่ 700/191 ม.1 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี นายจ้างเป็นชาวญี่ปุ่น ชื่อนายชิเงะโยชิ เซเกจิม่า พนักงานทั้งหมดจำนวน 220 คน ผลิตเกี่ยวกับชิ้นส่วนโลหะ และโลหะทุกชนิด ผลิตเลนส์,ตัวซูม ให้กับ บริษัท Nikon  ซึ่งเป็นลูกค้า 95% และผลิตลอกให้บริษัท Daiwa ในวันที่ 30 มีนาคม สหภาพแรงงานอีดะ เซอิมิทสึ (ประเทศไทย) ได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในการทำงาน มีการเจรจา 2 ครั้ง 

เมื่อวันที่ 5 เมษายน บริษัทอีดะ เซอิมิทสึ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ยื่นข้อเรียกร้องสวนขอลดสวัสดิการที่ต่อคนงานที่เป็นตัวเงินทั้งหมด คือ 1. ขอลดสวัสดิการค่ารถเดือนละ 1,040 บาท เหลือวันละ 20 บาท 2. ขอลดเงินเบี้ยขยันเฉพาะคนที่มาทำงาน ไม่ขาดงาน ไม่ลางาน ไม่มาทำงานสายเดือนละ 300 หากมาทำงานตามระเบียบตั้งแต่เดือนแรกถึง 6 เดือน ได้รับเบี้ยขยันเพิ่มเป็น 800 บาท นายจ้างลดเหลือเดือนละ 150-400 บาท ตามระยะเวลาที่กำหนด 3. ค่าอาหารอาหารสำหรับเข้ากะดึกวันละ 25 บาทนายจ้างให้คงเดิม แต่ขอลดเงินค่า(ง่วงนอน)เข้าทำงานกะดึกวันละ 90 บาท เหลือวันละ 45 บาท 4. ขอลดเงินค่ารักษาพยาบาลประจำปี 5,000 บาท เหลือปีละ 2,500 บาท พร้อมขอใช้สิทธิปิดงานเฉพาะสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ผู้เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯทั้งหมด 

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 27 เมษายน 2555 นายจ้างและลูกจ้างได้มีการเจรจาอีกครั้งที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ผลการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างยืนยันยึดประกาศฉบับที่ 2/2555 เพื่อขอสวัสดิการที่เป็นตัวเงินทั้งหมดคืน ทั้งนี้ ได้มีการนัดเจรจาอีกครั้งในวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานและสวัสดิการจังหวัดชลบุรี 

อนึ่ง ค่าจ้างคนงานจังหวัดชลบุรีปัจจุบัน 273 ต่อวัน นายจ้างได้มีการรับพนักงานใหม่ เมื่อต้นเดือนเมษายน ได้รับเงินเดือนแรกเข้า 9,000 บาท  ในส่วนคนงานเก่าได้รับการปรับค่าจ้างส่วนต่างค่าจ้างตามอายุงานดังนี้ ทำงานมา 1 ปี รับ 9,000 บาท ปรับเป็นทำงาน 1-2ปี รับเงินเดือน 9,045 บาท เรียงตามอายุงานจะต่างกันเพียง 45 บาทต่อปี 

อัยยลักษณ์ เหล็กสุข นักสื่อสารแรงงานศูนย์ข่าวภาคตะวันออก ชลบุรี –ระยอง รายงาน (voicelabour, 27-4-2555)

 
แรงงานอยุธยาคาด 2 เดือนนี้รับกลับแรงงาน 4 หมื่นคน 

นางปราณี ไชยเดช แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า หลังจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประสบอุทกภัย ล่าสุด มีผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมกว่าร้อยละ 60 เริ่มเปิดกิจการ และนอกนิคมอุตสาหกรรมมากกว่าร้อยละ 90 ดังนั้น จึงทำให้มีผู้ใช้แรงงานทยอยกลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงานภายในเดือนกุมภาพันธ์ถึง เดือนมีนาคม มีเกือบ 4 หมื่นคน ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้ใช้แรงงานหายไปในช่วงประสบอุทกภัยเดือนกันยายนถึงเดือน ตุลาคมเกือบ 5 หมื่นคน อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่า จากนี้ไปจะมีผู้ใช้แรงงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

“เมื่อผู้ประกอบการหันมาเปิดกิจการทำให้พนักงานกลับมาสู่ตลาดแรงงาน หลังจากเดือนกันยายายและตุลาคมหายไปเกือบ 5 หมื่นคน และล่าสุดใน ช่วง 2 เดือน มีแรงงานกลับเข้ามา ในเดือนกุมภาพันธ์ 20,000 คน เดือนมีนาคม 18,000 คน จึงเป็นที่น่ายินดีที่ผู้ประกอบการมีกำลังคนเข้ามาสู่ภาคการผลิต พร้อมยอมรับว่าผู้ประกอบการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว และจากการดูตัวเลขก็เบาใจในเรื่องของพนักงาน เพราะตัวเลขเลิกจ้างมีน้อยมาก” 

นางปราณี กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ประกอบกับ มีผู้ใช้แรงงานกลับเข้ามาทำงานอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงได้เพิ่มอัตราค่าจ้าง จึงอยากให้ผู้ใช้แรงงานช่วยกันเพิ่มผลผลิต หรือเพิ่มศักยภาพในฝีมือของตนเอง เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานได้รับประโยชน์ร่วมกัน 

(กรุงเทพธุรกิจ, 29-4-2555)

 
สหภาพฯขสมก.จี้คมนาคมซื้อรถใหม่ ฉะเอกชนฉวยโอกาสขึ้นราคาค่าตั๋ว 

นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบุว่า วันที่ 11 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการของสหภาพแรงงานเพื่อหาข้อสรุป หลังจากนั้นจะมีการขอเข้าพบ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม และนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม เพื่อทวงถามเรื่องการซื้อรถใหม่ว่าจะเอาอย่างไร เพราะทางสหภาพฯเองมีความต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการอย่างจริงจังซะที 

"เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางสหภาพฯ ได้พยายามติดตามมาแล้วถึง 3-4 รัฐบาล ปรากฏว่าทุกอย่างก็ยังเหมือนเดิม ทั้งที่รถใหม่นี้มันควรจะมีเข้ามาตั้งแต่ปี 2546-47 นั่นแล้ว กระทั่งมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน ตอนที่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ ก็รับปากว่าจะซื้อเพิ่มเข้ามาให้ ขสมก. กว่า 3,000 คัน แต่สุดท้ายเรื่องก็ไปไม่ถึงไหน ไม่ได้มีการดำเนินการอย่างที่รับปากไว้ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรดำเนินการเร่งด่วน เพราะจำเป็นต่อประชาชนอย่างมาก หากว่ายังไม่มาความคืบหน้า หรือความชัดเจน ทางสหภาพฯ ก็จะมีมาตรการเคลื่อนไหวต่อไปแน่นอน"นายวีระพงษ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยติดตามความคืบหน้าพบว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ที่สภาพัฒน์ เพื่อทำแผนฟื้นฟู ซึ่งในความเป็นจริง หากรถเก่าหมดอายุการใช้งาน ก็ต้องดำเนินการจัดหารถใหม่เข้ามาทดแทนอยู่แล้ว ฉะนั้นเรื่องของแผนฟื้นฟู กับเรื่องการจัดซื้อรถใหม่จึงเป็นคนละเรื่องกัน ทั้งนี้ หากทาง ขสมก. ยังไม่มีรถใหม่ ภายใน 2-3 ปี องค์การฯ คงไม่มีรถบริการพี่น้องประชาชนอย่างแน่นอน 

ส่วนสาเหตุที่ทางสหภาพแรงงานจำเป็นต้องออกมาทวงถามรัฐบาลเรื่องการจัดหา ซื้อรถโดยสาร ขสมก.ใหม่นั้น เนื่องจากว่า รถ ขสมก. ทุกวันนี้แต่ละคันมีอายุการใช้งานเกินกว่าเกณฑ์คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมที่ กำหนดไว้ว่า รถของรัฐ ที่วิ่งให้บริการต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี ในขณะที่รถ ขสมก. ปัจจุบันมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บางคันใช้งานมานานเกือบ 20 ปี ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องของรถเสียเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 400 คัน จนไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่ บางครั้งเสียระหว่างให้บริการบนทางด่วนบ้าง ตามเส้นทางต่างๆ บ้าง ทำให้ประชาชนเสียเวลา โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่เกิดเหตุการณ์ประท้วงทางการเมือง รถ ขสมก. เสียหายไปจากเหตุการณ์ดังกล่าวถึง 31 คัน ซึ่งก็ยังไม่มีรถใหม่มาแทนให้แต่อย่างใด 

"ผมไม่อยากให้พูดว่าจะนำรถมาให้บริการ ในขณะที่รถไม่สามารถให้บริการได้อีกแล้ว ซ้ำร้ายตอนนี้ก็มีรถเอกชนเข้ามาวิ่งให้บริการเยอะมาก ที่วิ่งทับเส้นทาง ขสมก.ก็มี ที่สำคัญสิ่งที่สหภาพฯ พยายามคัดค้านมาตลอดทุกยุค ทุกสมัย คือนโยบายเรื่องการแปรรูป สหภาพฯไม่อยากให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะจะเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองของภาคเอกชนมีมากขึ้น อย่างล่าสุดก็จะปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 1 บาท ซึ่งบางคันก็เปลี่ยนไปใช้เอ็นจีวีนานแล้ว พอช่วงนี้น้ำมันขึ้นก็มาอ้างว่าจะต้องปรับขึ้นค่าโดยสาร อ้างว่ายังไม่ได้ใช้เอ็นจีวี แต่พอเอ็นจีวีขึ้น ก็บอกตอนนี้เขาใช้เอ็นจีวีเลยจำเป็นต้องปรับขึ้นค่าโดยสาร นี่คือการบริหารแบบนายทุนที่ไม่ได้มองถึงเรื่องการให้บริการประชาชนอย่างแท้ จริง คิดเพียงว่าทำอย่างไรจึงจะได้ผลกำไรเยอะๆเท่านั้นเอง" 

อย่างไรก็ตาม ขสมก. ก็จำเป็นต้องมีอยู่ต่อไป เพื่อให้บริการประชาชน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ส่วนกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ในวันที่ 1 พ.ค.นี้จะมีความเคลื่อนไหวลักษณะขบวนรถ ขสมก. สะท้อนปัญหาต่างๆ โดยหัวขบวนจะเริ่มตั้งแต่หน้ารัฐสภา 

(ไทยรัฐ, 29-4-2555)

 
ผู้ใช้แรงงานเกือบครึ่งระบุความเป็นอยู่ในปีนี้แย่กว่าปีก่อน 

30 เม.ย. 55 - สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นผู้ใช้แรงงานไทยตามจังหวัดใหญ่ทั่วประเทศ  จำนวน 1,440 คน   ระหว่างวันที่ 25-30 เมษายน 2555  พบว่าร้อยละ 44.45 ระบุชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงานไทยในปีนี้ แย่กว่าปีที่ผ่านมาเพราได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา ต้องนำเงินไปซ่อมแซมบ้าน ,ค่าครองชีพสูงขึ้น ฯลฯร้อยละ 31.94 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 23.61 เห็นว่า ปีนี้ดีกว่าที่ปีผ่านมาเพราะ เงินเดือนขึ้น ค่าจ้างเพิ่ม ได้เลื่อนตำแหน่ง ภาระครอบครัวลดลง ลูกเรียนจบมีงานทำ ฯลฯ ส่วนความหนักใจของผู้ใช้แรงงานไทย อันดับ 1 คือสินค้าราคาแพง ค่าครองชีพต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ เงินไม่พอใช้ เงินเดือน ค่าจ้างที่ได้ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน    ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน สวัสดิการ การคุ้มครองดูแลต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล  ค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน เป็นต้น 

สำหรับความเห็นผู้ใช้แรงงานควรทำอย่างไรชีวิตความเป็นอยู่จึงจะดีขึ้น อันดับ 1ระบุว่า ต้องประหยัด อดออม มีการวางแผนในการใช้จ่าย อยู่อย่างพอเพียง รองลงมาคือ ขยัน ทำงานเยอะ ๆ ไม่เลือกงาน ต้องพัฒนาตัวเองให้มีความรู้และมีฝีมือ ตัดในเรื่องที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง เช่น เหล้า บุหรี่ การพนัน นอกจากนี้  รัฐบาลควรทำอย่างไรชีวิตความเป็นอยู่แรงงานไทยจึงจะดีขึ้นอันดับ 1 เห็นว่าต้องขึ้นเงินเดือน ค่าจ้าง และดูแลสวัสดิการต่าง ๆ ให้ รองลงมาคือควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาของแพง จัดงานธงฟ้า /ลดค่าสาธารณูปโภค ควบคุมดูแลนายจ้างหรือผู้ประกอบการไม่ให้เอาเปรียบแรงงานไทย  การจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยผิดกฎหมาย  จัดฝึกอบรมแรงงาน  ส่งเสริมอาชีพ  จัดหางานให้แก่ผู้ว่างงานหรือตกงาน 

(สำนักข่าวไทย, 30-4-2555)

 
แรงงานแดนใต้ขาดคนไทยหนีทำงานมาเลย์ 

30 เม.ย. 55 - นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยว่า  จากการหารือผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ธุรกิจส่วนใหญ่ขอให้รัฐบาลเข้าไปแก้ปัญหาด้านแรงงานขาดแคลนโดยเฉพาะ อุตสาหกรรมหนักที่ขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคนไทยในพื้นที่จะข้ามไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียถึง 1 แสนคน เพราะค่าตอบแทนสูงกว่า ขณะที่แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานกว่า 5,000 คน ก็เป็นแรงงานที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นจึงสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นอย่าง รวดเร็ว 
  
“ผู้ประกอบการบอกว่าตอนนี้หาคนมาทำงานยาก แม้ว่ารวมทั้งแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานก็ไม่ค่อยได้รับการอนุมัติให้ขึ้น ทะเบียนจึงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปหาแนวทางพิจารณาขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมาย ส่วนคนไทยที่ไปทำงานในมาเลเซียแม้ว่าจะมีค่าธรรมเนียมที่จะไปทำงานสูงแต่ก็ ยังข้ามไปทำดีกว่าทำงานในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาของคนในพื้นที่ไม่มีความสอดคล้องกับ อาชีพ จึงอยากให้กลับไปดูเรื่องการศึกษาด้วยว่าให้จัดคนตรงกับงานด้วย” นายกิตติรัตน์ กล่าว. 

(เดลินิวส์, 30-4-2555)

 
คนงานบริดจสโตน บุกสำนักงานใหญ่ประท้วง 

30 เม.ย. 55 - พ.ต.ท.นิพนธ์ กุลชฤทธิ์ สารวัตรจราจร สถานีตำรวจครบาลทุ่งมหาเมฆ เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกลุ่มพนักงาน บริษัท บริดสโตน จำกัด ประมาณ 200 คน รวมตัวชุมนุมอยู่บริเวณลานภายในอาคารอับดุลราฮิม เพลส ถนนพระราม 4 โดยใช้รถยนต์ต่อเครื่องขยายเสียง จำนวน 1 คัน เรียกร้องขอเพิ่มค่าแรงจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ของอาคารดังกล่าว เข้ามาเจรจา เพื่อขอรับหนังสือ แต่ทางตัวแทนผู้ชุมนุม ยังไม่ยินยอม เพราะต้องการให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น มารับหนังสือด้วยตนเอง เนื่องจาก เคยเรียกร้องมาก่อนหน้านี้ และล่วงเลยมากว่า 1 เดือนแล้ว สำหรับ การจราจรในพื้นที่นั้น ไม่เป็นปัญหา เนื่องจาก ผู้ชุมนุมไม่ได้อยู่บนพื้นผิวการจราจร อย่างไรก็ตาม คาดว่า การชุมนุมจะไม่ยืดเยื้อ 

(ไอเอ็นเอ็น, 30-4-2555)

 
ผู้ใช้แรงงานหลายจังหวัดร้องรัฐช่วยปัญหาค่าครองชีพ 

1 พ.ค.- กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติหลายจังหวัดคึกคัก กลุ่มผู้ใช้แรงงานภูเก็ตเรียกร้องรัฐบาลช่วยปัญหาค่าครองชีพสูง ที่ภูเก็ตยื่น 6 ข้อเรียกร้อง พร้อมให้รัฐทำงานเชิงรุกรับมือแผ่นดินไหว-สึนามิ 

เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (1 พ.ค.) นายวิจิตร ดาสันทัน ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรมและบริการภูเก็ต  ในฐานะตัวแทนสหภาพแรงงานและลูกจ้างจังหวัดภูเก็ต พร้อมกลุ่มผู้ใช้แรงงานเดินทางมาที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัด เข้ายื่นหนังสือต่อ น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผ่านไปถึงรัฐบาลเร่งดำเนินการ 6 ข้อเรียกร้อง คือ ให้รัฐควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไม่ให้ปรับราคา สูงขึ้นเกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง  2. เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม กัน 3.เร่งเสริมทักษะความสามารถในการทำงาน และส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศแก่ลูกจ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมการเปิดแรงงานเสรีอีก 3 ปีข้างหน้า  4.จัดระเบียบแรงงานข้ามชาติตามข้อกฎหมายอย่างเข้มงวด  5.ให้รัฐเร่งทำงานเชิงรุกแผนรับมือแผ่นดินไหวและสึนามิ  6. ให้รัฐบาลเร่งรับรองอนุสัญญา  ILO หรือ International Labour Organization ฉบับที่ 87 และ 98 คือ องค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง 

ที่ จ.ลำพูน กลุ่มผู้ประกอบการและลูกจ้างกว่า 1,200 คน ร่วมกิจกรรม  "แรงงานสามัคคี วิถีลำพูน" ที่โรงเรียนจักรคำคณาทร ลำพูน  ต.ในเมือง อ.เมือง ซึ่งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดจัดขึ้น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งสร้างสามัคคีและสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งจังหวัดลำพูนมีนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และนิคมอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ มีการขยายตัวของธุรกิจเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีลูกจ้างขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคมในจังหวัดลำพูน 85,448 คน 

เช่นเดียวกันกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วม ในกิจกรรมงานวันแรงงานแห่งชาติบริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ โดยได้ทำบุญและฟังธรรมก่อนเดินรณรงค์ไปยังสถานที่จัดงานสนามกีฬาเทศบาลนคร เชียงใหม่ ซึ่งปีนี้มีกิจกรรมตลอดทั้งวัน มีนิทรรศการมากมาย โดยปีนี้ตัวแทนของผู้ใช้แรงงานเรียกร้องให้รัฐบาลดูแลปัญหาค่าครองชีพสูงและ มาตการรองรับผู้ใช้แรงงานจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 

(สำนักข่าวไทย, 1-5-2555)

 
ก.แรงงาน ยันขึ้นค่าจ้าง 300 บาท 70 จังหวัด ปีหน้า 

บรรยากาศการจัดงานที่ท้องสนามหลวงเนื่องในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานแห่งชาติ ในวันนี้ ผู้ใช้แรงงานรวมตัวกันหน้าเวทีเพื่อต้อนรับนายกรัฐมนตรีที่จะมากล่าวตอบข้อ เรียกร้อง 9 ข้อที่จะยื่นในวันนี้ ส่วนที่ซุ้มกระทรวงแรงงาน ผู้ใช้แรงงานมาร้องเรียน สอบถามปัญหาเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมและระเบียบการจ้างงาน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ของขวัญที่รัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทให้กับแรงงานในกรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรสาคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี ขอแนะนำให้ผู้ใช้แรงงานใช้จ่ายอย่างประหยัดและพัฒนาฝีมือให้สูงขึ้น ยืนยันราคาสินค้าจำเป็นทั้งไข่ไก่ เนื้อหมู น้ำมันพืช เป็นไปตามกลไกตลาดไม่ได้เพิ่มมากนัก ส่วนข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่ทำได้ทันทีคือ การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิการรวมตัวให้ผู้ใช้แรงงานขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศหรือไอแอลโอ ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 

ด้าน นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่าวันพรุ่งนี้ (2 พ.ค.) คณะกรรมการค่าจ้างเตรียมประชุมพิจารณาสาเหตุค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยดูตัว เลขกระทรวงพาณิชย์ แต่ยังไม่ทบทวนหรือชะลอการขึ้นค่าจ้าง 300 บาทในอีก 70 จังหวัดในปีหน้า เพราะมีเวลาให้นายจ้างเตรียมตัว 

ด้านกลุ่มผู้ใช้แรงงานจากคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท.เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาใน พ.ร.บ.ประกันสังคม ส่วนค่าครองชีพที่สูงขึ้นให้เข้ามาคุ้มครองแรงงานด้วย เนื่องจากการสำรวจพบว่าผู้ใช้แรงงานต้องใช้จ่ายเฉลี่ย 348 บาท เกินกว่าค่าจ้างที่เพิ่มให้ 300 บาท 

(ไอเอ็นเอ็น, 1-5-2555)

 
ม็อบแรงงาน"ชินเอไฮเทค" ยื่นผู้บริหาร5ข้อ หยุดเกมล้มสหภาพฯ 

เมื่อวันที่ 1พฤษภาคม ที่สนามหน้าศาลางกลางจังหวัดนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา พนักงานบริษัท ชินเอไฮเทค จำกัด เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ตั้งอยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา กว่า 500 คน นำโดยนายเอกลักษณ์ พรหมพันธ์ใจ ประธานสหภาพแรงงานชินเอไฮเทค รวมตัวชุมนุมเรียกร้องให้ทางบริษัทหยุดกระบวนล้มสหภาพแรงงาน 
  
นายเอกลักษณ์ เปิดเผยว่า บริษัทส่อเจตนาจะล้มล้างสหภาพแรงงานชินเอไฮเทค จึงขอยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพ 5 ข้อ 1. ขอให้ทางบริษัท เลิกจ้างทีมงานที่จะมาล้มล้างสหภาพแรงงานทันที 2. ให้บริษัทสนับสนุนการทำงานของสหภาพเช่นเดิม 3. ให้ทางบริษัทยกเลิกคำสั่งทุกอย่างที่ทางทีมงานชุดดังกล่าวได้ดำเนินการมา ที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจ้างงานของพนักงาน 4. จะต้องไม่ลงโทษใดๆกับพนักงานทุกคนที่มาร่วมชุมนุม และ5. ให้ทางประธานบริษัทกลับมาเป็นผู้เจรจาไกล่เกลี่ยในเรื่องการเรียกร้องสวัสดิ ภาพของพนักงานโดยตรงเช่นที่เคยผ่านมา 
  
นายเอกลักษณ์กล่าวว่า หากบริษัทเพิกเฉยหรือไม่ดำเนินการใดๆตามข้อเรียกร้อง สหภาพแรงงานชินเอไฮเทคจะนัดหยุดงานพร้อมกันโดยไม่มีกำหนด และหากยังไม่มีการดำเนินการใดๆอีกจะยกระดับการชุมนุมขึ้นอีกจนกว่าจะได้ ทุกอย่างตามข้อเรียกร้อง 

(มติชนออนไลน์, 1-5-2555)

 
คนงานลำพูนยื่นหนังสือถึงนายกฯ ชี้ยังมีปัญหาเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างตลอดเวลา 

1 พ.ค. 55 – ที่โรงเรียนจักรคำคณาทร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ได้มีการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 โดยมีนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานในการจัดงาน 

นายวชิระ ศรีบัวชุม สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานจากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดลำพูน ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ด้วยการเล่นกีฬาร่วมกัน พร้อมทั้งให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ได้แสดงพลังความสามัคคี และตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่กลไกลในการขับเคลื่อนพัฒนา เศรษฐกิจ ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ ได้ใช้ชื่อว่าแรงงานไทย ร่วมใจสดุดี ราชวงศ์จักรี รักสามัคคีเพื่อแผ่นดินในปีนี้มีผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานทั้งจากภายใน และภายนอกการนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ(กนอ.)หมู่ 4 ต.บ้านกลาง และ สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ หมู่ 15 ต.ป่าสัก อ.เมือง รวม 30 แห่ง ประมาณ 1 พันคนมาร่วมกิจกรรมร่วมกันในวันนี้ 

ทั้งนี้ ก่อนพิธีเปิดนั้นบรรดาสถานประกอบการได้มีการเดินรณรงค์ ไปตามถนนสายต่างๆ ก่อนเข้ามาสู่โรงเรียนจักรคำคณาทร ซึ่งภายในขบวนได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้รักสามัคคี และต้านยาเสพติด โดยเฉพาะในสถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว วันแรงงานแห่งชาติจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555 ที่จัดให้กับผู้ใช้แรงงานทุกคน ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคคล 

องค์กรแรงงานออกแถลงการณ์ หนุนนโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท 

ทั้งนี้องค์กรแรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ ประกอบไปด้วย สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์, สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์, กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ, สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน ได้ออกแถลงการณ์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ .. 

แถลงการณ์วันกรรมกรสากล 

เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ”วันกรรมกรสากล” ซึ่งเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมใน สังคมของผู้ใช้แรงงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน สิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และในฐานะที่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า 

ในปี พ.ศ.2555 นี้ องค์กรผู้ใช้แรงงานและองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาล ดังนี้ 

1. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการ และนโยบาย ผลักดันให้ บริษัท โฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด รับพนักงานเข้าทำงานตามเดิม จำนวน 153 คน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวไม่ยินยอมเข้าโครงการเลิกจ้างของบริษัทฯ และกำลังเป็นความฟ้องร้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการเลิกจ้างและการเลือก ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม 

2. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย มิให้บริษัทโฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทต่างๆ ไม่ให้ใช้มาตรา 75 (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) หรือข้ออ้างอื่นๆของนายจ้างเพื่อเลิกจ้างพนักงาน ต้องไม่มีการเอาเปรียบลูกจ้าง และให้พิจารณาวัตถุประสงค์ของนายจ้างให้เป็นไปแบบสมเหตุสมผล ตลอดทั้ง มิใช่เพื่อทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในระบอบ ประชาธิปไตย 

3. เราขอสนับสนุน นโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปี 2556 เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานมากขึ้น แม้ว่าสมาคมนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯและองค์กรของนายทุนต่างๆ ที่เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนจะคัดค้านนโยบายนี้ก็ตาม แต่รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายนี้ ตามที่หาเสียงไว้ ควรฟังเสียงของผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก 

4. ขอให้รัฐบาล พิจารณาและควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้คงที่ ไม่มีการขยับราคาขึ้นเกินความเป็นจริง 

5. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย ให้สำนักงานประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ให้ขยายเวลาออกไปอีก เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน 

6. ขอให้ทางรัฐบาลพิจารณารับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานได้อย่างเสรี ตามหลักการประชาธิปไตยและเหมือนดั่งอารยประเทศที่พึงกระทำ 

7. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อไม่ให้อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยแทรกแซงทางการเมือง เพื่อ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ตลอดทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้ใช้แรงงาน คือ ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิการเลือกตั้งในสถานประกอบการ ตามสภาพเงื่อนไขการดำรงชีวิตที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงาน 

8. ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกชนชั้น ทุกกลุ่มชน ร่วมกันผลักดันสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการ ครบวงจร ระบอบเดียวเสมอภาค กันถ้วนหน้า โดยมาตรการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม 

9. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการ นโยบาย และกฎหมาย ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับ 

ผู้ใช้แรงงานไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน 

สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ 

สหภาพแรงงานอิเล็คทรอนิคส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ 

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ 

สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน 

เผยคนงานลำพูนยังมีปัญหาเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างตลอดเวลา 

ด้านนายอัครเดช ชอบดี ประธานสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สหภาพแรงงานโฮย่า) นิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์ของแรงงานยังไม่ดีขึ้น แม้จะมีกฎหมายคุ้มครองแต่ยังเสี่ยงต่อการถูก เลิกจ้างตลอดเวลา ขณะที่การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเลิกจ้างสูงขึ้น ปัญหาดังกล่าวไม่ใช้ความผิดพลาดของรัฐบาลที่ต้องการดูแลแรงงานให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น แต่เป็นเรื่องของนายจ้างที่ต้องการลด ภาระค่าใช้จ่าย โดยเลือกเลิกจ้างกลุ่มแรงงานที่มีอายุมาก หรือมีอายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เพราะฐานค่าจ้างและเงินเดือนสูงอยู่แล้ว หากปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายของรัฐบาลก็จะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าแรงแก่แรง งานสูงขึ้นตามไปด้วย 

ส่วนปัญหาหาการเลิกจ้างที่เกิดขึ้นกับพนักงานของบริษัท โฮย่า กลาสดิสค์ ประเทศไทย จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน กว่า 1,000 คน ล่าสุดเหลือพนักงานเพียง 153 คนเท่านั้นที่ไม่ยินยอมเซ็นเอกสารตามข้อเสนอของบริษัทฯ คือนอกจากเงินชดเชยตามอายุงาน ยังเพิ่มเติมให้อีก 2 เดือน ขณะที่ตัวแทนพนักงานและสหภาพฯได้เดินทางไปพบกับคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้ แทนราษฎร ซึ่งคณะกรรมาธิการฯมีมติให้บริษัท โฮย่า รับแรงงานทั้งหมดกลับเข้าทำงานภายใน 1 เดือน แต่ล่าสุดบริษัทฯกลับปฎิเสธทำตามและไม่ยอมเจรจา 

นอกจากนี้ตนเองยังถูกบริษัทฯเลิกจ้างเมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า สร้างความเสื่อมเสียให้แก่บริษัทฯ ตนเองและพนักงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมทั้ง 153 คน จึงต้องเดินหน้าฟ้องร้องบริษัทฯเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยและให้รับกลับเข้าทำ งาน 

"สาเหตุที่บริษัทฯเลิกจ้างพนักงานกว่า 1,000 คน ได้ให้เหตุผลว่าประสบปัญหาขาดทุนเพราะโรงงานถูกน้ำท่วม แต่ข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบงบดุลบริษัทฯมีผลกำไรมาโดยตลอด ไม่ได้ประสบปัญหาเหมือนโรงงานอื่นๆที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสาเหตุที่เลิกจ้างเพราะ เดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้ บริษัทฯมีการเปลี่ยนสายการผลิตใหม่จึงมีการปรับปรุงโรงงานและเปลี่ยนเครื่อง จักรใหม่ทั้งหมด ทำให้ บริษัทฯวางแผนเลิกจ้างพนักงานโดยเลือกพนักงานที่มีอายุงานมาก และกลุ่มที่มีอายุสูงวัย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และปลายเดือนพฤษภาคมเมื่อโรงงานแล้วเสร็จจะเปิดรับพนักงานใหม่ทั้งหมด" 

ทั้งนี้นายอัครเดช ได้ยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนให้ช่วยลงมาแก้ไข ปัญหาที่แรงงานเผชิญอยู่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ .. 

ที่ สออส.และสหภาพอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ 

วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 

เรื่อง ข้อเรียกร้องในโอกาสวันกรรมกรสากล 

เรียน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน 

เนื่องด้วยวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น ”วันกรรมกรสากล” ซึ่งเป็นวันที่ผู้ใช้แรงงานทั่วโลกได้รำลึกถึงการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมใน สังคมของผู้ใช้แรงงาน เป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน สิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกับประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ และในฐานะที่ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า 

ในปี พ.ศ.2555 นี้ องค์กรผู้ใช้แรงงานและองค์กรส่งเสริมสิทธิผู้ใช้แรงงาน ภาคเหนือ ได้ประเมินและพิจารณาถึงสถานการณ์ภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและสังคม มีข้อเรียกร้องมายังรัฐบาล ดังนี้ 

1. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการ และนโยบาย ผลักดันให้ บริษัท โฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด รับพนักงานเข้าทำงานตามเดิม จำนวน 153 คน เนื่องจากพนักงานดังกล่าวไม่ยินยอมเข้าโครงการเลิกจ้างของบริษัทฯ และกำลังเป็นความฟ้องร้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นการยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากการเลิกจ้างและการเลือก ปฏิบัติต่อพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม 

2. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย มิให้บริษัทโฮยากลาสดิสค์(ประเทศไทย) จำกัด และบริษัทต่างๆ ไม่ให้ใช้มาตรา 75 (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541) หรือข้ออ้างอื่นๆของนายจ้างเพื่อเลิกจ้างพนักงาน ต้องไม่มีการเอาเปรียบลูกจ้าง และให้พิจารณาวัตถุประสงค์ของนายจ้างให้เป็นไปแบบสมเหตุสมผล ตลอดทั้ง มิใช่เพื่อทำลายสหภาพแรงงานซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้แรงงานในระบอบ ประชาธิปไตย 

3. เราขอสนับสนุน นโยบายค่าจ้างขั้นตำ 300 บาท ทั่วประเทศในต้นปี 2556 เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงานมากขึ้น แม้ว่าสมาคมนายจ้างแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯและองค์กรของนายทุนต่างๆ ที่เห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนจะคัดค้านนโยบายนี้ก็ตาม แต่รัฐบาลต้องยืนยันนโยบายนี้ ตามที่หาเสียงไว้ ควรฟังเสียงของผู้ใช้แรงงานเป็นหลัก 

4. ขอให้รัฐบาล พิจารณาและควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้คงที่ ไม่มีการขยับราคาขึ้นเกินความเป็นจริง 

5. ขอให้รัฐบาล มีมาตรการและนโยบาย ให้สำนักงานประกันสังคม ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมจากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง เป็นร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ให้ขยายเวลาออกไปอีก เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงาน 

6. ขอให้ทางรัฐบาลพิจารณารับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ98 เพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ ในการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานได้อย่างเสรี ตามหลักการประชาธิปไตยและเหมือนดั่งอารยประเทศที่พึงกระทำ 

7. ขอสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 50 เพื่อไม่ให้อำนาจนอกระบบประชาธิปไตยแทรกแซงทางการเมือง เพื่อ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ตลอดทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ผู้ใช้แรงงาน คือ ขอเสนอให้ผู้ใช้แรงงานมีสิทธิการเลือกตั้งในสถานประกอบการ ตามสภาพเงื่อนไขการดำรงชีวติที่เป็นจริงของผู้ใช้แรงงาน 

8. ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกชนชั้น ทุกกลุ่มชน ร่วมกันผลักดันสังคมไทยสู่รัฐสวัสดิการ ครบวงจร ระบอบเดียวเสมอภาค กันถ้วนหน้า โดยมาตรการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างความเสมอภาคในสังคม 

9. ขอให้รัฐบาลมีมาตรการ นโยบาย และกฎหมาย ที่เปิดให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเท่าเทียมกับ 

ผู้ใช้แรงงานไทย ในฐานะที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน 

นายวิสิษฐ์ ยาสมุทร 

ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ 

นายอัครเดช ชอบดี 

ประธานสหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ 

(ประชาไท, 1-5-2555)

 
ผู้ใช้แรงงานภูเก็ตยื่น 6 ข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล 

เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (1 พ.ค.55) ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต นายวิจิตร ดาสันทัด ประธานสหพันธ์แรงงานธุรกิจโรงแรม และบริการภูเก็ต และคณะ ในนามผู้แทนของสหภาพแรงงาน และลูกจ้างจังหวัดภูเก็ต ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 6 ข้อ ถึงรัฐบาลผ่านทางนางสาวสมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายนพดล พลอยอยู่ดี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดภูเก็ต นายกิตติพงษ์ เหล่านิพนธ์ จัดหางานจังหวัดภูเก็ต และนายสุทธิพงศ์ สายสาคเรศ แรงงานจังหวัดภูเก็ต ร่วมรับมอบ 

สำหรับข้อเรียกร้อง 6 ข้อดังกล่าว ประกอบด้วย ให้รัฐควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในครัวเรือน และในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงาน ไม่ให้มีการปรับราคาสูงขึ้น เกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง  ให้รัฐเข้มงวดบังคับใช้กฎหมาย ว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน ให้รัฐเร่งเสริมทักษะขีดความสามารถในการทำงาน และส่งเสริมให้มีการสอนภาษาต่างประเทศให้กับลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย พม่า เป็นต้น โดยให้รัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ให้เปิดสอนนอกสถานที่ เพื่อให้ง่ายต่อผู้เข้าเรียน อาทิเช่น โรงเรียน ในวัด ในเทศบาล ของเขตพื้นที่นั้น ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือการเปิดแรงงานเสรีอีก 3 ปี ข้างหน้า   ให้รัฐจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ โดยการเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายให้ได้รับค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ และสิทธิในการรักษาพยาบาล ตามที่กฎหมายไทยกำหนดอย่างทั่วถึง และเสมอภาค ให้เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการทำงานให้ตรงกับประเภทของใบอนุญาต ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่เลือกสัญชาติ ให้เร่งผลักดันแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ออกนอกประเทศ หรือให้รับเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้รัฐเร่งทำงานในเชิงรุก แผนรับมือแผ่นดินไหว และคลื่นยักษ์ สึนามิ ที่กระทบกับความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว  โดยการซ้อมแผนอพยพให้บ่อยขึ้น และเป็นระบบมากขึ้น ติดตั้งป้ายชี้เส้นทางอพยพขึ้นที่สูง ตามตรอก ตามซอย ให้ชัดเจนและมีจำนวนมากขึ้น  รวมถึงให้มีการจัดตั้งศูนย์รับผู้อพยพไว้บนที่สูง ในเขตพื้นที่นั้นๆ โดยจัดให้มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ของกินและย้ำดื่มไว้เพื่อประทังชีวิต  และให้รัฐบาลเร่งรับรอง อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO:International Labour Organization ) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการปฏิบัติตามหลักการแห่งสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง 

(phuketindex.com, 1-5-2555)

 
วันแรงงานแห่งชาติ แรงงานไทยแตก 3 ขบวน 

เมื่อ วันที่ 1 พ.ค. 55 ซึ่งตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ มีการจัดกิจกรรมเดินขบวนรณรงค์ โดยมีผู้ใช้แรงงานกลุ่มต่างๆ จากทั่วประเทศเข้าร่วมหลายพันคน  ทางด้านกลุ่มองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอิสระแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสภาองค์การลูกจ้าง 13 แห่ง และกลุ่มรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งเข้าร่วม และกระทรวงแรงงานสนับสนุนงบประมาณ 5.1 ล้านบาท เดินขบวนไปยังท้องสนามหลวง โดยมีการนำช้างซึ่งระบุว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจำนวน 9 เชือกมานำขบวนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระชนมพรรษา84 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา

 
ส่วนกลุ่มซึ่งนำโดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย (สรส.) มีจุดหมายอยู่ที่บริเวณสี่แยกคอกวัว โดยมีข้อเรียกร้องเร่งด่วน ได้แก่ 1.รัฐต้องมีมาตรการลดค่าครองชีพแก่ประชาชนและผู้ใช้แรงงานโดยเร่งด่วน 2.รัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่ถูกละเมิดสิทธิแรงงาน อันสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุทกภัยช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2554 3.รัฐและรัฐสภาต้องสนับสนุนการปฏิรูประบบแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน และเพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง 4.รัฐต้องแก้ไข พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ.2550 มาตรา 9(5) กลับไปใช้บทบัญญัติเดิม เนื่องจากลิดรอนสิทธิของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจและเป็นการเลือกปฎิบัติ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ
 
กลุ่ม สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่มแห่งประเทศไทย และสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย เดินขบวนเป็นกลุ่มสุดท้าย โดยมีจุดมุ่งหมายคือบริเวณหน้าศาลฎีกา ซึ่งผู้ใช้แรงงานที่มาร่วมเดินขบวนส่วนใหญ่ติดสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความสีแดง ว่า Free Somyot เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมแรงงาน ซึ่งขณะนี้ถูกควบคุมตัวในฐานะผู้ต้องหาคดีมาตรา 112
 
ทั้ง นี้ กลุ่มดังกล่าวมีข้อเรียกร้องให้ 1) ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้อำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร โดยเลือกตั้งประมุขฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการโดยตรง 2) ล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 3) กระบวนยุติธรรมกับผู้ต้องหา ให้สิทธิขั้นพื้นฐานในการประกันตัว และนำคนสั่งฆ่าประชาชนมาลงโทษ 4) นิรโทษกรรมให้กับนักโทษการเมือง และ 5) จัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า หลักประกันที่ดินทำกิน หลักประกันที่อยู่อาศัย เรียนฟรีทุกระดับ รพ.พยาบาลประกันสังคม รักษาฟรีทุกโรค และระบบค่าจ้างที่เป็นธรรม
 
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวคำปราศรัย ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เนื่องในโอกาสวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2555 โดยกล่าวขอบคุณผู้ใช้แรงงานที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญก้าวหน้าต่อ เศรษฐกิจและสังคมของชาติตลอดมา พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลมีมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับกำลังแรงงานทุกสาขาอาชีพทั้งในระบบและนอกระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานทุกเพศทุกวัยให้มีสวัสดิการที่เหมาะ สม ทำงานอย่างปลอดภัย มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี อาทิ นโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินการแล้ว 7 จังหวัด และจะดำเนินการให้ครบทุกจังหวัดในปี 2556
 
ใน ส่วนของผู้ประกอบกิจการ จัดให้มีโครงการโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมสีขาวเพื่อป้องกันยาเสพติด ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย พร้อมส่งเสริมและพัฒนางานด้านสวัสดิการแรงงานต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาแรงงานสัมพันธ์ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ภายใต้กรอบของกฎหมาย
ส่วน แรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ รัฐบาลก็ได้ให้การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้ได้รับตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งดูแลการจัดส่งไปทำงาน และติดตามดูแลช่วยเหลือกรณีประสบปัญหา
 
ทั้ง นี้ ยิ่งลักษณ์ ระบุด้วยว่า รัฐบาลจะยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษาของแรงงานเพื่อเตรียมความ พร้อมแรงงานไทยที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง ภูมิคุ้มกันและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ใช้แรงงานสืบต่อไป 
 
(ประชาไท, 1-5-2555)
 
สั่งระงับแรงงานไทย 98 คน เตรียมลักลอบไปทำงานต่างประเทศ 

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) เปิดเผยว่า จากสถิติแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศผ่านทางสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่าในเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานและฝึกงานในต่างประเทศจำนวน 10,390 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีแรงงานที่ถูกเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนหางาน กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน ได้ระงับการเดินทางจำนวน 98 คน เนื่องจากพบว่าแรงงานดังกล่าวมีพฤติกรรมจะลักลอบเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยแรงงานทั้งหมดรับสารภาพว่า ใช้วีซ่าท่องเที่ยวในการเดินทาง ซึ่งได้รับคำแนะนำจากนายหน้าหรือบริษัทจัดหางานเถื่อน ให้ลักลอบเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย และอ้างกับเจ้าหน้าที่ว่าจะเดินทางไปเยี่ยมญาติหรือไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งการระงับการเดินทางดังกล่าวกระทำไปเพื่อป้องกันมิให้คนงานถูกหลอกลวง หรือถูกนายจ้างต่างชาติเอารัดเอาเปรียบ บางรายอาจโชคร้ายถูกปล่อยลอยแพจนต้องไปตกระกำลำบากในต่างแดน 

ทั้งนี้ ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่าประเทศที่คนงานลักลอบไปทำงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลีใต้ อิหร่าน และอินโดนีเซีย 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 2-5-2555)

 
สธ. เผยวัยแรงงานยังคงฆ่าตัวตายสูง แนะ ลดเครียด เพิ่มสุขในการทำงาน 

นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สธ. กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยมีความเครียดสูง ซึ่งพบว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีประชาชนขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ผ่านสายด่วน 1323 เพิ่มขึ้น มากกว่า 50% จากปี 2553 จำนวน 102,645 ราย เป็น 193,315 ราย ในปี 2554 ปัญหา ที่ขอปรึกษา ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคทางจิต ปัญหาทางเพศ ปัญหาครอบครัว ปัญหาความรัก ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาการเจ็บป่วยทางกาย ปัญหาสารเสพติด ปัญหาการทำงาน ปัญหาการฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง ซึ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงความเครียดและความกดดันในชีวิตที่เป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งสาเหตุของความเครียดส่วนใหญ่ยังคงมาจากปัญหาการเงิน ปัญหาการงาน นอกจากนี้ จากรายงานการฆ่าตัวตายของประเทศไทย โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นับแต่ปี 2540-2553 พบว่า วัยแรงงานยังคงเสี่ยงต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย โดย ช่วงอายุ 20-29 ปี มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 15,994 ราย รองลงมา คือ ช่วงอายุ 30-39 ปี และ 40-49 ปี ซึ่งมีจำนวนการฆ่าตัวตายเท่ากัน คือ 14,822 ราย ขณะที่ ปี 2553 ช่วงอายุ 30-39 ปี มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 

รมช.สธ. กล่าวต่อว่า จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มีผู้อยู่ในกำลังแรงงานหรือพร้อมที่จะทำงาน 38.80 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71.4 ของประชากร ซึ่งในที่นี้เป็นผู้มีงานทำ 38.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของผู้อยู่ในกำลังแรงงาน เป็นชาย 21.13 ล้านคน หญิง 17.67 ล้านคน อยู่ในภาคเกษตรกรรม 13.45 ล้านคน นอกภาคเกษตรกรรม อาทิ การผลิต การก่อสร้าง การขายส่ง-ขายปลีก การขนส่ง โรงแรมและบริการ จำนวน 24.61 ล้านคน ขณะที่มีผู้ว่างงาน 2.56 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.7 เป็นชาย 1.59 แสนคน หญิง 0.97 แสนคน ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีอัตราการว่างงานสูงที่สุด รองลงมาเป็นภาคกลางและภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นได้ว่า หากแรงงานไทยเกิดความเครียดและไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม แล้ว ย่อมมีโอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากที่อาจส่งผลต่อภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศ 

รมช.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ความเครียดที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว และไม่ทราบว่าขณะนั้นตัวเองเครียด จึงพาลให้เกิดการกระทบกระทั่งกับคนรอบข้าง จนถึงทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งส่งผลให้ ไม่มีความสุขในการทำงาน และส่งผลต่อเนื่องไปถึงการทำงานในอนาคต ทั้งนี้ ความเครียดเป็นสิ่งที่รู้ตัวได้ยาก บางครั้ง คนเราไม่ยอมรับว่าตนเองกำลังอยู่ในภาวะเครียด หากต้องการทราบสภาวะจิตใจตนเองก็สามารถทำได้โดยใช้แบบประเมินความเครียด ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งสามารถหาได้จากเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต www.dmh.go.th เพื่อทราบถึงระดับความเครียดที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข ซึ่งอาจต้องทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย เพราะบางครั้งความเครียดที่สะสมอาจก่อตัวจนเกิดการป่วยทางใจ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ทั้งนี้ แนวทางการสังเกตว่าตนเองเครียดหรือไม่ อาจพิจารณาได้จากอาการทางกาย เช่น ใจสั่น ใจเต้นแรง เจ็บหน้าอก ความดันขึ้น ปวดหัว ปวดท้อง ปวดไหล่ ปวดหลัง ไมเกรน มีปัญหากับการนอน อาการทางใจ เช่น หงุดหงิด โมโหง่าย หลงลืม ฉุนเฉียว ซึ่งหลายคนต้องเข้าออกโรงพยาบาลโดยหาสาเหตุการเจ็บป่วยไม่พบ เนื่องจากความเครียดที่เรื้อรังไม่ได้รับการดูแลจนส่งผลไปถึงระบบทางกาย 

เมื่อเครียดควรหาวิธีคลายเครียด สิ่งแรก คือ ไม่ควรคลายเครียดด้วยการใช้แอลกอฮอล์ ควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำ ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เลือกตามความถนัด ทำแล้วเกิดความสุข อาทิ การออกกำลัง ซึ่งหากออกแรงมากขึ้นก็จะลดทั้งความเครียดและเพิ่มความแจ่มใส หรือการพูดคุยกับคนที่เราไว้ใจ เพราะบางครั้งแค่มีคนรับฟังก็สบายใจแล้ว หรือการควบคุมลมหายใจ การหายใจเข้า-ออก ลึกๆ การทำสมาธิ ทำจิตให้นิ่ง ปล่อยวางปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่มาจุกจิกกวนใจ เพราะจะส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพกายและใจ รวมทั้ง อาจทำให้เรามองข้ามความสำคัญของปัญหาอื่นไปแทน หรืออาจไปทำบุญ ทำทาน ช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเมื่อช่วยเหลือคนอื่นที่มีความทุกข์จะช่วยให้เรามีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้ ควรทำใจให้เป็นกลาง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และมีสติ ซึ่งจะช่วยลดความผิดหวังได้ส่วนหนึ่ง ตลอดจนเรียนรู้ที่จะให้อภัยผู้อื่นรวมถึงตัวเอง เพราะไม่มีใครเกิดมาสมบูรณ์ อีกทั้งรู้จักฝึกแก้ปัญหาและรู้จักบริหารเวลา ที่สำคัญ คือ การคิดบวก หากคอยจ้องแต่จับผิดกันก็จะทำให้จิตใจเป็นทุกข์ และการมองทุกอย่างในแง่ลบก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครียดลึกๆ อยู่ในใจ เป็นผลทำให้ไม่มีความสุข ดังนั้น ควรมองสิ่งดีที่ยังมีเป็นต้นทุน สร้างพลังใจ พลังความคิด และนึกถึงครอบครัวให้มากที่สุด เพราะครอบครัวคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยประคับประคองดูแลจิตใจซึ่งกันและกัน ให้สามารถฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปได้ หากทำแล้วไม่ได้ผล ยังเกิดความเครียดหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือปรึกษาจิตแพทย์เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะความเครียดถือเป็นความเจ็บป่วยอย่างหนึ่งที่อาจสร้างผลกระทบให้เกิด ขึ้นมากมาย รมช.สธ. กล่าว 

(กรมสุขภาพจิต, 2-5-2555)

 
"โรงงานอยุธยา" ช็อกแรงงานหนีซบ "ชลบุรี-ระยอง" รับ 300 บ. 

นางปราณี ไชยเดช แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัดนำร่องทำให้แรงงานของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีอยู่ในระบบผู้ ประกันตนกว่า 300,000 คน เริ่มทยอยลาออกจากงาน เพราะค่าแรงงานขั้นต่ำของอยุธยาอยู่ที่ 265 บาท/วัน และจากการสำรวจพบว่าตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ถึงเมษายนที่ผ่านมามีแรงงานออกจากระบบผู้ประกันตนกว่า 31,000 คน ส่วนหนึ่งย้ายไปทำงานในจังหวัดชลบุรี ระยอง และจังหวัดที่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท 

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาได้เริ่มปรับตัวโดยการจ่ายค่า แรงให้สูงขึ้น เพื่อจูงใจแรงงานไม่ให้ไหลไปใน 7 จังหวัดนำร่อง โดยโรงงานบางแห่งจ่ายค่าแรงสูงถึง 365 บาท/วัน 

"สิ่งที่กังวลคือ แรงงานจากธุรกิจเอสเอ็มอีจะไหลไปสู่โรงงานขนาดใหญ่มากขึ้น หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ภายใน 1-2 ปี แรงงานจะขาดแคลนแน่นอน" 

สอดคล้องกับ ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย นายกสมาคมเครื่องหนังที่กล่าวว่า ปัจจุบัน สมาคมมีสมาชิกประมาณ 180 บริษัท ตอนนี้แรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง อาทิ อุตสาหกรรมกระเป๋า รองเท้า ฯลฯ มีการขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อมีปัจจัยจากเรื่องค่าแรง 300 บาทมาเพิ่ม ยิ่งทำให้ขาดแคลนหนักเข้าไปอีก ขณะเดียวกัน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยเฉพาะเรื่องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่จะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำ ประกัน 

ด้านนายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรีกล่าวว่า มีแรงงานย้ายเข้ามาทำงานในจังหวัดชลบุรีและมาขึ้นทะเบียนกับจัดหางานจังหวัด ประมาณ 5% แต่เชื่อว่ามีแรงงานเคลื่อนย้ายมามากกว่านี้ที่ไม่ขึ้นทะเบียนแต่ไปสมัครงาน ด้วยตนเอง เนื่องจากโรงงานขนาดใหญ่บางแห่งใช้มาตรการจูงใจจ่ายค่าจ้างมากกว่า 300 บาท หากรวมค่าทำงานล่วงเวลา (โอที) ค่าจ้างจะอยู่ที่ประมาณ 500 บาท/วัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ชลบุรียังขาดแคลนแรงงานอีก 20,000 ตำแหน่ง 

ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPURC) ระบุว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำให้เกิดการเลิกจ้างในระดับที่แตกต่างกัน ยิ่งค่าแรงขั้นต่ำใหม่มีค่าใกล้เคียงกับค่าแรงเฉลี่ยของประเทศ ผลด้านการเลิกจ้างจะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ทำให้ค่าแรงใหม่เป็น 75% ของค่าเฉลี่ยของประเทศ ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก และอาจส่งผลให้มีการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นภายใน 12-18 เดือนข้างหน้า แม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายนที่ผ่านมา แต่อาจส่งผลให้มีเอสเอ็มอีต้องปิดกิจการประมาณ 10-15% หรือประมาณ 8 หมื่น-1.2 แสนราย ใน 18 เดือนข้างหน้า 

นอกจากนี้จากการสำรวจแนวทางปรับตัวของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใน 8 เดือนข้างหน้า พบว่าผู้ประกอบการมีแผนเลิกจ้างพนักงานในช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี สูงถึง 38.9% พร้อมกับจะเข้มงวดกับประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นถึง 76.6% ควบคุมต้นทุนในส่วนอื่น 61.3% ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรมาแทนพนักงาน 45.1% เพิ่มชั่วโมงการทำงานต่อวัน 36.1% และผู้ประกอบการ 63.4% จะลดการฝึกอบรมหรือการจ่ายงานเป็นชิ้นให้กับพนักงานโดยการวิจัยครั้งนี้ทำ การสำรวจระหว่างวันที่ 23-27 เมษายน 2555 มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 536 ราย ใน 7 จังหวัดนำร่องของการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และภูเก็ต 

ขณะที่ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ แสดงความเป็นห่วงต่อการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากับ 300 บาททั่วประเทศในปี 2556 ว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในรอบที่ 2 จะเกิดการช็อกเหมือนเจอแผ่นดินไหวอีกครั้งและจะใหญ่กว่า เนื่องจากจะเป็นการปรับขึ้นในอีก 70 จังหวัดที่มีค่าจ้างห่างจาก 300 บาทมาก ขณะที่ 7 จังหวัดที่ปรับไปก่อน หากไม่มีการปรับเพิ่มด้วยค่าครองชีพก็จะทำให้อำนาจซื้อลดลงไป 

จากการศึกษาจึงเสนอให้นำผลการคาดการณ์ภาวะค่าครองชีพ หรือ CPI ของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งทำทุกปีในแต่ละจังหวัดมาใช้เป็นฐานในการพิจารณา แต่หากยืนตามนโยบายรัฐบาลที่ให้ปี 2556 ทุกจังหวัดมีค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกับให้ค่าจ้างคงที่จนถึงปี 2558 อาจทำให้อำนาจซื้อจากเงิน 300 บาทลดลงไปพอ ๆ กับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำแท้จริงเฉลี่ยในปี 2556 อยู่ที่ 299 บาท โดย 7 จังหวัดแรกที่ได้ขึ้นค่าจ้างไปก่อนจะเสียเปรียบกว่า โดยกรุงเทพฯมีค่าจ้างขั้นต่ำแท้จริงเหลืออยู่ 293 บาท นครปฐมเหลือ 290 บาท ปทุมธานีเหลือ 292 บาท นนทบุรี สมุทรปราการและภูเก็ตเหลือ 289 บาท สุดท้ายสมุทรสาครเหลือ 287 บาท 

พร้อมกันนี้ทีดีอาร์ไอยังเสนอ 3 แนวทางเลือกเพื่อให้ลูกจ้างไม่จนลง นายจ้างมีเวลาปรับตัว คือ 1) ปรับเพิ่มค่าจ้างเป็น 2 งวด โดยปี 2556 ขึ้นค่าจ้าง 27-55 บาท เพิ่มอีก 18 จังหวัด แล้วในปี 2557 ขึ้นค่าจ้าง 56-78 บาท ให้กับอีก 52 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งจะทำให้ในปี 2557 มีค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ 2) ให้ขึ้นค่าจ้างครั้งเดียว 40% และทุกปีปรับค่าจ้าง 

ขั้นต่ำตามดัชนีค่าครองชีพ แต่วิธีนี้จะต้องใช้เวลาถึง 10 ปี กว่าที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศจะมีค่าจ้างขั้นต่ำที่ 300 บาท และ 3) ทำตามข้อเรียกร้องของสภาอุตสาหกรรมฯที่ขอเลื่อนการดำเนินนโยบายค่าแรงขั้น ต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศเป็นมกราคม 2558 และต้องปรับค่าครองชีพ (CPI) ให้กับแต่ละจังหวัดโดยอัตโนมัติ 

(ประชาชาติธุรกิจ, 3-5-2555)

 
ออสเตรเลียทาบทามขอแรงงานไทยไปทำงานก่อสร้างกว่า 2 หมื่นอัตรา 

นางสาวส่งศรี บุญบา รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า คณะผู้แทนจากมลรัฐนอร์ทเทิร์นเทริทอรี ออสเตรเลีย โดยมีนายเกรก วอลลิส อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย และผู้แทนกระทรวงธุรกิจและการจ้างงานของดินแดนนอร์ทเทิร์นเทริทอรี เครือรัฐออสเตรเลีย ได้เข้าพบ เพื่อหารือลู่ทางการจัดส่งแรงงานฝีมือไปทำงานด้านก่อสร้างที่จะเริ่มโครงการ ในปีหน้า ผ่านระบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี จำนวนกว่า 20,000 อัตรา โดยระบุต้องมีประสบการณ์และทักษะด้านภาษาอังกฤษที่เป็นที่ยอมรับของนายจ้าง เพื่อการสื่อสารด้านป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ และเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน โดยที่กรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการอนุญาตและการจัดส่งแรง งานไทยไปทำงานต่างประเทศ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีหน้าที่ฝึกอบรมแรงงานไทยให้มีคุณสมบัติตรงตามความ ประสงค์ของนายจ้าง 

อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้จะต้องหารือในรายละเอียดให้ชัดเจนและรอบด้าน ก่อน เพื่อที่แรงงานจะสามารถไปทำงานได้อย่างถูกต้องกระบวนการจัดส่ง รวมทั้งวิธีการคัดเลือกแรงงาน การทดสอบฝีมือว่าจะมีวิธีใด ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการ 

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 3-5-2555)

 
เผย 80% ปรับค่าแรงเพิ่ม สมานฉันท์แนะรัฐบาลช่วย 2 พัน 

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องปัญหาสินค้าราคาแพง แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ข้อมูลที่เก็บจากข้อเท็จจริงกับความรู้สึกของประชาชน ที่ประชาชนรู้สึกว่าแพงนั้นอาจจะเป็นผลพวงจากเหตุน้ำท่วมจึงเห็นว่าราคา สินค้าขยับตัวขึ้นสูงต่อเนื่อง แต่จากข้อมูลแล้วราคาสินค้ามีการปรับตัวลดลง แต่ยังไม่ลดลงในจุดที่ประชาชนรู้สึกพอใจ บวกกับขณะนี้เป็นเดือนที่อากาศร้อน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก หลายคนที่บุตรหลานต้องไปเรียนหนังสือ เมื่อ 2 มุมนี้มาประกอบกันเลยทำให้เกิดความรู้สึกว่าสินค้ามีราคาแพง 

"แต่รัฐบาลยืนยันจะทำทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือประชาชน แต่อาจเป็นมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี และผู้ที่มีรายได้น้อย" นายกฯกล่าวและว่า การผลิตสินค้าต่างๆ ยังไม่เต็มที่ จะเต็มที่ในครึ่งปีหลัง สินค้าต่างๆ จะเข้าตลาดอย่างเต็มที่ ต้องขอความกรุณาผู้ที่ขายสินค้าอยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ จะต้องช่วยกันดูราคาขายในราคาที่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค และย้ำกับกระทรวงพาณิชย์ต้องตรวจสอบไม่ให้สินค้าต่างๆ เอาเปรียบผู้บริโภค 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวผ่านรายการ "ฟ้าวันใหม่" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล ว่า การที่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีโจมตีกรุงเทพโพลล์ที่ระบุว่า นักวิชาการให้รัฐบาลสอบตกในการแก้ปัญหาของแพงนั้นถือเป็นการเบี่ยงเบน ประเด็น แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ยอมรับความจริงในเรื่องของแพง อยากให้เจ้าของโพลออกมาชี้แจงเพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสนในหลักการทำโพ ลของแต่ละสำนัก 

นายอภิสิทธิ์ให้สัมภาษณ์อีกครั้งที่รัฐสภาว่า อยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจของกระทรวงพาณิชย์ให้ชัดเจน ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากราคาพลังงานและนโยบายของรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วม ที่ผ่านมารัฐมนตรีหลายคนลงพื้นที่ตรวจสอบราคาสินค้าด้วยตัวเอง และพบว่าราคาสินค้าที่เห็นว่าสูงขึ้นนั้นเป็นของจริง จึงอยากให้นายกฯยอมรับปัญหาแล้วนำไปสู่การแก้ไข 

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รัฐมนตรีพาณิชย์เงา พรรค ปชป. กล่าวว่า ทีมงานไปตรวจสอบใน 10 จังหวัดทั่วประเทศช่วงเดือนเมษายน พบว่าราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะพืชผัก เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักชีและพริก เฉลี่ยปรับขึ้นจากกิโลกรัม (กก.) ละ 30-35 บาท เป็น 45-50 บาท ส่วนเนื้อหมูปรับขึ้นจาก กก.ละ 110-115 บาท เป็น 125-130 บาท แต่บางพื้นที่สูงถึง กก.ละ 140 บาท 

นายอภิรักษ์กล่าวว่า ที่กระทรวงพาณิชย์นำดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนเมษายน 2555 เปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2554 แล้วพบว่าสูงขึ้นเพียง 2.47% แต่กระทรวงพาณิชย์ไม่ได้พูดถึงราคาสินค้า ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2555 ที่สูงขึ้นกว่าเดือนมกราคม-มีนาคม 2554 ถึง 7-11% เช่น อาหารบริโภคในบ้านเพิ่มขึ้น 11.07% อาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 8.59% ค่าไฟฟ้าและน้ำประปาเพิ่มขึ้น 8.58% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 7.30% และเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น 6.71% ขอเรียกร้องให้รัฐบาลมีมาตรการลดค่าใช้จ่ายช่วงเปิดเทอม ด้วยการทบทวนนโยบายปรับขึ้นราคาพลังงานเชื้อเพลิง ที่เป็นต้นทุนสินค้าส่วนใหญ่ และขอให้ทบทวนการลดหน่วยการใช้ไฟฟ้าฟรี จากเดิมไม่เกิน 90 หน่วย เหลือไม่เกิน 50 หน่วย 

ผู้สื่อข่าวสำรวจราคาสินค้าอาหารสดที่ตลาดท่าน้ำนนท์ ที่กรมการค้าภายในและสำนักงานดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำรวจเพื่อประกอบการจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) พบว่า พ่อค้าแม่ค้าแจ้งราคาผักสดและอาหารปรุงสำเร็จราคาสูงขึ้น เพราะอากาศร้อน ทำให้ผลผลิตลดลง ราคาส่วนใหญ่ปรับขึ้นจากปลายเดือนเมษายน อาทิ คะน้า จาก กก.ละ 50 บาท เป็น 70 บาท ถั่วฝักยาว จาก กก.ละ 50 บาท เป็น กก.ละ 70 บาท พริกขี้หนูจินดา จากขีดละ 3-4 บาท เป็นขีดละ 6 บาท แตงกวา จาก กก.ละ 25 บาท เป็น กก.ละ 35 บาท ผักชี จาก กก.ละ 70 บาท เป็น กก.ละ 130 บาท 

ขณะที่หมูเนื้อแดงทุกส่วนเพิ่ม กก.ละ 10 บาท โดยเนื้อหมูสะโพกราคา กก.ละ 130 บาท ไหล่ กก.ละ 120 บาท สันใน กก.ละ 140 บาท สันนอก กก.ละ 130 บาท ส่วนเนื้อไก่ ปรับเพิ่ม กก.ละ 5 บาท ไก่สดทั้งตัวไม่รวมเครื่องในอยู่ที่ 65 บาท/กก. ไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน 60 บาท/กก. ไก่ชิ้น 70 บาท/กก. ไข่ไก่เพิ่มฟองละ 20 สตางค์ ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ฟองละ 2.70 บาท ไข่ไก่เบอร์ 2 อยู่ที่ฟองละ 2.90 บาท โดยอ้างพ่อค้าขายส่งปรับเพิ่มราคาโดยบวกต้นทุนขนส่งและค่าแรงงาน แต่ยอมรับว่าราคาของที่แพงขึ้นทำให้ยอดขายลดลง 20-30% 

นอกจากนี้ ราคาอาหารสำเร็จรูปก็เปลี่ยนป้ายราคาขายอีกจานละ 5-10 บาท จาก 30-35 บาท เป็น 35-40 บาท ส่วนอาหารพิเศษ เช่น เพิ่มอาหารทะเล ราคาจะสูงอีก 5-10 บาท ไข่ดาวและไข่เจียวยังขายฟองละราคา 7-10 บาท โดยพ่อค้าแม่ค้าอ้างเรื่องค่าแรงงานและวัตถุดิบ ค่าเช่า แพงขึ้น 

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการให้กรมการค้าภายในจัดเตรียมเอกสารรายละเอียดโครงสร้างราคาอาหาร สำเร็จรูปที่กระทรวงพาณิชย์ออกราคาแนะนำ 25-35 บาท และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ที่กำกับดูแล เพื่อให้นายกฯใช้ประกอบการ "ออกรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ในวันที่ 5 พฤษภาคม โดยจะยืนยันว่าราคาอาหารสำเร็จรูปที่กำหนดนั้นเหมาะสมกับวัตถุดิบและค่าแรง งานที่ปรับเพิ่มขึ้น พร้อมกำชับให้ใช้มาตรการที่เข้มงวดกับการขายเกินราคาแนะนำ และเอาผิดตามกฎหมาย 

แหล่งข่าวกล่าวว่า ราคาขายจานละ 25-30 บาท เป็นราคาที่มีกำไร เช่น ข้าวกะเพราหมู มีต้นทุนข้าว 3.63 บาท เนื้อสัตว์ 8.33 บาท ผัก 0.76 บาท น้ำมันพืช 0.21 บาท เครื่องปรุงรส 0.77 บาท ขณะที่ต้นทุนค่าแรงงาน ค่าเช่าพื้นที่อีก 6.83 บาท ต้นทุนรวม 20.53 บาท หากขายจานละ 25 บาท ได้กำไร 4.47 บาท ต่อไปหากพบร้านค้าใดขายเกินราคาจะให้กรมสรรพากรเข้าไปตรวจสอบรายได้และเก็บ ภาษีย้อนหลัง 

วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าว "มติชน" ลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าต่างๆ ที่ตลาดสดบางกะปิพบ โดยนายวันชัย อรุณศิริวัฒนา เจ้าของแผงขายเครื่องเทศและเครื่องปรุง กล่าวว่า ราคาสินค้าส่วนใหญ่มีขึ้นลงเป็นปกติ แต่ช่วงนี้ราคาค่อนข้างคงที่ไม่ได้แพงขึ้นมากมาย สินค้าบางชนิดมีราคาถูกลงด้วยซ้ำ ส่วนราคาอาหารสำเร็จรูปที่มีราคาสูงน่าจะมีสาเหตุมาจากผักสดที่ราคาค่อนข้าง แผง แต่เนื้อสัตว์และเครื่องปรุงเครื่องเทศ อย่างหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง ยังไม่มีการขึ้นราคาแต่อย่างใด 

ด้านนางนก เจ้าของแผงไก่สด กล่าวตรงกันว่า ราคาสินค้าหลายอย่างไม่ได้ปรับขึ้นตั้งแต่ช่วงปีใหม่ แหล่งขายส่งที่รับมาขายก็ไม่ได้ปรับราคาขึ้น ลูกค้าก็ไม่ได้บ่นว่าไก่แพง แต่จะมีบ้างที่บอกว่าผักสดราคาแพง ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมรายจ่ายค่อนข้างมาก ทำให้ลูกค้าซื้อของได้น้อยลง ใกล้เปิดเทอมทีไรขายของได้น้อยทุกที 

น.ส.เล็ก แม่ค้าเขียงหมู กล่าวว่า ราคาสินค้ายังคงเดิม อาจมีขึ้นราคาบ้างสำหรับสินค้าบางอย่างที่ขาดตลาด อย่างเนื้อหมูสดก็ปรับขึ้นบ้างแต่ไม่มาก 

ด้านพ่อค้าแผงผักขนาดใหญ่ กล่าวว่า ผักต่างๆ ไม่ได้แพงมาก เป็นไปตามกลไกตลาดมีขึ้นลงเป็นปกติ ต้องทำใจยอมรับ เพราะเมื่อผลผลิตขาดแคลน ราคาก็จะสูงขึ้น ถ้าของมีมากจนล้นตลาดราคาก็ปรับลง สินค้าบางอย่างราคาลดลงกว่าครึ่ง เช่น กระเทียมจากกิโลกรัมละ 140 บาท เหลือกิโลกรัมละ 70 บาท ก็ยังขายไม่ได้ 

"ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง บางช่วงที่สินค้าขาดตลาด มีการปรับขึ้นราคา ลูกค้าบางคนก็บ่นว่าแพง เราก็พยายามทำความเข้าใจกับเขาว่า สถานการณ์ในตอนนั้นสินค้ามันขาดแคลน จากเคยซื้อ 10 บาท จะมาซื้อ 10 บาทเหมือนเดิมได้อย่างไร ในเมื่อสถานการณ์มันต่างกัน เราต้องยอมรับมันให้ได้" พ่อค้าแผงผักกล่าว 

นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวสำรวจตามโรงรับจำนำย่านลาดพร้าว บางกะปิ และรามคำแหง พบว่ามีผู้ปกครอง และประชาชนเข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมากเพราะใกล้เปิดเทอม 

น.ส.อัจจิมา อินทจันทร์ เจ้าหน้าที่โรงรับจำนำปากซอยรามคำแหง 43 กล่าวว่า ลูกค้ามีหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษา และจะนำทองรูปพรรณมาจำนำ เพราะทางร้านไม่ค่อยรับสินค้าอย่างอื่น โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพราะราคาของจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อหลุดจำนำก็จะขายไม่ได้ราคา 

เจ้าหน้าที่โรงจำนำเฮงล้ง หน้าซอยลาดพร้าว 150 กล่าวว่า ปกติช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดเพราะใกล้เปิดเทอม แต่จะรับจำนำทองรูปพรรณเป็นส่วนใหญ่ ไม่รับจำนำโทรศัพท์มือถือเด็ดขาด เพราะมีโอกาสพังหรือเสียหายง่าย และเมื่อหลุดจำนำแล้วขายออกยาก 

ด้านเจ้าหน้าที่โรงรับจำนำลิบกี่ บริเวณสามแยกบางกะปิ กล่าวว่า มีลูกค้าเข้ามาเรื่อยๆ ลูกค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นแม่บ้านทั่วไปและแม่ค้าบริเวณใกล้เคียง 

นางนาตยา แม่บ้าน อาศัยอยู่แถวรามคำแหง กล่าวว่า ใช้บริการโรงรับจำนำปากซอยรามคำแหง 43 เป็นประจำ ส่วนใหญ่สิ่งของที่นำมาจำนำจะเป็นทองรูปพรรณ เงินที่ได้ก็เอาไปใช้จ่ายค่าเช่าบ้าน และค่าเล่าเรียนลูก 

ป้าถนอมศรี พัววิมล อายุ 83 ปี อาศัยอยู่แถวร่มเกล้า ที่ใช้บริการโรงรับจำนำย่านสามแยกบางกะปิ กล่าวว่า สาเหตุที่มาจำนำเนื่องจากเงินไม่พอค่าใช้จ่าย ต้องเอาของมาจำนำเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย 

นางปราณิสา ไชยันโต อาชีพค้าขาย กล่าวว่า นำแหวนทองมาจำนำเพื่อจะไปส่งค่าบ้าน และใช้เป็นค่าใช้จ่ายรายวัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายช่วงนี้สูงขึ้น 

นายสนั่น จำปาแถบ ผู้จัดการสถานธนานุบาล 2 เทศบาลเมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ เผยว่า ใกล้เปิดเทอมส่งผลให้มีลูกค้ามาใช้บริการวันละไม่ต่ำกว่า 400 ราย วงเงินที่รับจำนำวันละกว่า 1 ล้านบาท เทศบาลเมืองสุรินทร์สำรองเงินสดให้สถานธนานุบาลทั้ง 2 แห่ง ไว้บริการประชาชน 90 ล้านบาท สำหรับสิ่งของที่ประชาชนนำมาจำนำร้อยละ 80 เป็นทองรูปพรรณ รองมาคือเครื่องใช้ไฟฟ้า และผ้าไหม และช่วงนี้ลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมร้อยละ 1.75 บาทต่อเดือน เหลือเพียงร้อยละ 1 บาทต่อเดือน เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครองช่วงเปิดเทอม 

วันเดียวกัน นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงเรื่องผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 300 บาท ใน 7 จังหวัด และปรับค่าจ้างร้อยละ 40 ใน 70 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมาว่า จากการส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าโดยภาพรวมยังไม่มีปัญหาการเลิกจ้าง และร้อยละ 80 นายจ้างไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ส่วนอีกร้อยละ 20 นายจ้างยังมีปัญหาในทางปฏิบัติเล็กน้อย โดยเฉพาะเรื่องการนำค่าสวัสดิการต่างๆ มารวมกับค่าจ้าง ซึ่งตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีคนงานเก่าได้ค่าจ้างเกินวันละ 300 บาท เรียกร้องให้ปรับค่าจ้างเพื่อหนีค่าจ้างขั้นต่ำ เบื้องต้นได้ทำความเข้าใจและขอความร่วมมือให้นายจ้างกลุ่มนี้ใช้หลักตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ในการเจรจากับลูกจ้าง เพื่อลดข้อพิพาทระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง 

นายอาทิตย์กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดที่ค่าแรงต่ำกว่าวัน ละ 300 บาท ไปจังหวัดที่ได้ค่าจ้างวันละ 300 บาท เนื่องจากการย้ายงานเพื่อไปสมัครงานใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างไรก็ตามกลุ่มที่มีการเคลื่อนย้ายที่เห็นชัดเจนคือ แรงงานรับเหมาช่วง (sub contact) จะมีความคล่องตัวและสะดวกในการย้ายงาน ส่วนผลกระทบต่อราคาสินค้าในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากสินค้าบางชนิดมีราคาขึ้นลงตามภาวะตลาด แต่อาหารตามสั่งมีราคาสูงขึ้น แต่ในโรงงานก็มีการควบคุมราคา โดย กสร.ส่งเสริมให้ตั้งสหกรณ์ขายสินค้าราคาถูกในโรงงาน และปลูกผักสวนครัวในโรงงาน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับแรงงาน โดยมีกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมีงบประมาณ 250 ล้านบาท 

นายอาทิตย์กล่าวว่า เก็บข้อมูลทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ ซึ่งถือเป็นเฟสแรก เพื่อนำมาสรุปก่อนออกมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างและนายจ้างในเฟส 2 ที่จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทใน อีก 70 จังหวัดที่เหลือ ในวันที่ 1 มกราคม 2556 หากได้รับข้อมูลและเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในเฟสที่ 2 จะทำให้กระทรวงแรงงานทำงานได้ง่ายขึ้น ระยะเวลาที่เหลืออีกประมาณ 8 เดือน จะเร่งเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด โดยในวันที่ 25 พฤษภาคม จะประชุมร่วมกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกสาขา เพื่อรับฟังปัญหาเพราะเแต่ละกลุ่มจะมีปัญหาแตกต่างกัน 

ด้านนายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรมทั้ง 9 แห่ง ได้รับร้องเรียน 69 ราย ส่วนใหญ่เป็นกรณียังไม่ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างตามอัตราใหม่ นายจ้างนำสวัสดิการ เช่น ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเซอร์วิสชาร์จมารวมเป็นค่าจ้าง อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปผลกระทบภาพรวมได้ชัดเจน ต้องใช้อีกเวลา 2 เดือนจึงจะเห็นภาพรวมทั้งหมด 

นายชาลีกล่าวว่า เชื่อว่ายังมีลูกจ้างหลายกลุ่มโดยเฉพาะธุรกิจบริการ เช่น แม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) รวมถึงแรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการขนาดเล็กและไม่มีสหภาพแรงงานยังไม่ได้ รับการปรับขึ้นค่าจ้าง แต่คนเหล่านี้ไม่กล้าร้องเรียนกับศูนย์เพราะกลัวถูกเลิกจ้าง จึงขอให้กระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบที่แรงงานไม่ได้รับการปรับขึ้นค่าจ้าง ตามอัตราใหม่ และให้รัฐบาลบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่แรงงานจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจัดสรรเงินพิเศษในลักษณะค่าครองชีพชั่วคราวรายละ 2,000 บาท ให้แก่แรงงานทุกคนโดยตรงเป็นเวลา 1-2 เดือน และควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคด้วย 
  
(มติชนออนไลน์, 4-5-2555)

 
โซนี่ย้ายรง.ผลิตกล้องไปชลบุรี ลั่นพร้อมกลับอยุธยาเมื่อมั่นใจ ˜ทำตลาดเต็มสูบหลังพลาดเป้า 

นายโทรุ ชิมิซึ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโซนี่ ไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่โซนี่ได้เผชิญกับสถานการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น และน้ำท่วมในประเทศไทย ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจของโซนี่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ สถานการณ์การผลิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รวมทั้งซัพพลายเชน โดยได้ย้ายการผลิตสินค้าของโรงงานผลิตกล้องในนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปผลิตในโรงงานจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโรงงานผลิตวิทยุสำหรับติดรถยนต์แทน เพื่อให้มีสินค้าป้อนตลาดสนองความต้องการของผู้บริโภค ส่วนโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น หากมั่นใจในสถานการณ์น้ำท่วมก็จะกลับมาผลิตสินค้าตามปกติ รวมทั้งจะย้ายโรงงานผลิตเซ็นเซอร์สำหรับกล้องจากบางกะดีมาผลิตที่นี่ด้วย 

"เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องที่คาดการณ์ยาก ตอนนี้จึงใช้โรงงานที่ชลบุรีผลิตสินค้าเพื่อให้มีสินค้าป้อนตลาด โดยการถอดชิ้นส่วนจากโรงงานในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปประกอบที่โรงงาน ชลบุรี และได้ย้ายพนักงานจากพระนครศรีอยุธยามาทำงานที่นี่ ส่วนโรงานที่พระนครศรีอยุธยายังอยู่ และจะกลับไปผลิตอีกครั้งเมื่อพร้อม เพราะกล้องเป็นธุรกิจที่ทำกำไร และโรงงานที่พระนครศรีอยุธยาก็ผลิตสินค้าป้อนทั่วโลกด้วย" 

นายชิมิซึกล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 11,500 ล้านบาท โตเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ประมาณ 5% แต่ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้ที่ 10% เพราะเผชิญกับน้ำท่วมในช่วงปลายปีและไม่ได้ขายสินค้า 3 เดือน ทั้งนี้ ในปีนี้วางเป้าการเติบโตไว้ที่ 10% ภายใต้กลยุทธ์หลัก one sony ที่ผนึกความร่วมมือทางการตลาดร่วมกันทั้งในส่วนโรงงานผลิต โซนี่ พิคเจอร์โซนี่ มิวสิค เอนเตอร์เทนเมนท์ รวมทั้งโซนี่ ไทย ที่จะเริ่มเข้ามาดูแลธุรกิจโทรศัพท์มือถือโซนี่ โมบายล์ คอมมูนิเคชั่นส์ หรือเดิมคือ บริษัท โซนี่ อิริคสัน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมการตลาดรูปแบบใหม่ร่วมกันผ่านผลิตภัณฑ์ทั้ง อิเล็กทรอนิกส์ และโทรศัพท์มือถือเพื่อผลักดันให้รายได้เติบโตได้ตามเป้าหมายต่อไป 

นายภิญโญ สงวนเศรษฐกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายและการตลาดผลิตภัณฑ์คอนซูเมอร์ บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มของกล้องดิจิตอลที่เปลี่ยนเลนส์ได้ ยังคงเติบโตอย่างรวดเร็ว มั่นใจว่าสถานการณ์โดยรวมปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นจากการที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง 

(มติชน, 4-5-2555)

 
เกิดเหตุระเบิด-เพลิงไหม้ในนิคมฯมาบตาพุด จนท.เร่งอพยพคนงาน พร้อมระดมรถน้ำเข้าดับเพลิง 

5 ม.ค. 55 - เว็บไซต์คมชัดลึกรายงานว่า  เมื่อเวลาประมาณ 15.45 น. เกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้ โรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ทั้งนี้ภายหลังเกิดระเบิดเสียงดัง  และได้มีควันดำพวยพุ่งขึ้นมา โดยควันไฟฟุ้งกระจายปกคลุมไปรอบบริเวณ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุมีลมแรงทำให้มีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นสารเคมี กระจายออกมา เจ้าหน้าที่จึงเร่งอพยพคนงานและกันผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ให้เข้าไปภายใน นิคมฯ  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เบื้องต้นคาดว่า เหตุระเบิดและเพลิงไหม้เกิดจากถังเคมีขนาดใหญ่จำนวนหลายถังของโรงงานบีเอสที ได้เกิดระเบิดขึ้น คาดว่ามีผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ได้ระดมรถดับเพลิงภายในนิคมอุตสาหกรรมหลาย 10 คัน พร้อมรถกู้ภัยภายในรนิคมเข้าไปดับเพลิง และอพยพคนงานทั้งหมดออกจากนิคมฯ  ทำให้การจราจรติดขัดเป็นทางยาว เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจรไม่ให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปภายใน เพื่อเปิดทางให้รถน้ำเข้าไปดับเพลิง อีกทั้ง ยังคุมเพลิงไม่ได้ บาดเจ็บแล้ว 15 ราย  

ล่าสุด 16.29 ผู้ว่าระยอง สั่งอพยพคนงาน ออกจากพื้นที่แล้ว หลังกลิ่นสารเคมีกระจาย และลมพัดแรง จนไปถึงตลาดสดมาบตาพุด พร้อมประกาศใช้แผนฉุกเฉิน ระดับโรงงาน อพยะคนงานทั้งหมดออกจากมาบตาพุด ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ 

16.30 พนง.ใกล้รง.สารเคมีระเบิด มาบตาพุบ บอกสารเคมีรั่วไหลมากมีควันดำบ.ข้างเคียงเสียหายมาก 

16.34 นายวุฒิพงษ์ พนง.ในนิคมมาบตาพุด เล่าถึงวินาทีเกิดเหตุว่า ขณะที่ รง.ซินธิติกส์ระเบิด พนง.เร่งอพยพ ได้ยินเสียงระเบิด 5-6 ครั้ง 

16.45 น.มีรายงานยอดผู้บาดเจ็บโรงงาน บีเอสที มาบตาพุด ระเบิด พุ่งกว่า 80 ราย แต่ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต”

  
(เว็บไซต์คมชัดลึก, 5-5-2555)

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท