Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เสรีภาพสื่อ? - สภาพของนักข่าวที่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและถูกทำร้ายร่างกายในเหตุการณ์ชุมนุม Bersih 3.0 ณ จัตุรัสเมอร์เดก้า กลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย (ที่มา: Freemalaysiatoday)


..........................................................................................................................
“เจ้าหน้าที่เทศบาลกัวลาลัมเปอร์
ก็ไม่เว้นที่จะปฏิบัติหน้าที่เสมือนตำรวจที่พยายามทำร้ายฉัน”
...........................................................................................................................

 

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(28 มีนาคม 2555) เกิดเหตุการณ์ชุมนุม BERSIH 3.0 (ครั้งที่3) โดยที่มีผู้ชุมนุมมาจากทั่วสารทิศของประเทศมาเลเซียและเป็นที่ทราบกันมาก่อนล่วงหน้าว่าจะมีการชุมนุมครั้งนี้เกิดขึ้น

การชุมนุมครั้งนี้นำโดยซามัด ซาอิด และอัมพิกา สะรีนาวาซัน ที่เคยนำการชุมนุม BERSIH 2.0 (ครั้งที่ 2.0) เป็นครั้งแรกที่ผมได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านงานเขียนปกติแล้วผมจะเป็นคนทำสื่อวีดีโอ ผมต้องขออภัยหากงานเขียนชิ้นนี้มันแย่และหวังว่าผู้อ่านจะสละเวลาเพื่ออ่านบทความชิ้นนี้จนจบ

ผมรู้สึกเหมือนถูกเรียกร้องให้เขียนงานชิ้นนี้ แต่ไม่ได้เพื่อเข้าข้างฝ่ายใด จะเป็นฝ่ายตำรวจ กลุ่มผู้ชุมนุม Bersih3.0 หรือ DBKL (พนักงานเทศบาลกรุงกัวลาลัมเปอร์) ผมหวังว่าผู้อ่านคงเข้าใจในสถานะของผมที่ทำหน้าที่สื่อวีดีโอคนหนึ่ง ผมพยายามเขียนให้มันเป็นกลางมากที่สุด

เมื่อเวลา 08.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผมไปถึงหน้ามัสยิดจาเม็ก โดยนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ของเพื่อนนักข่าวชาวต่างชาติ เมื่อไปถึงที่หมายสิ่งที่ผมเห็นคือเต็มไปด้วยกลุ่มเยาวชนจากหลายเชื้อสายกำลังทยอยเข้าประตูของจัตุรัสเมอร์เดก้า ผมเห็นทั้งกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงวัยนั่งพักอยู่ตามไหล่ทางและริมฟุตบาทของธนาคาร OCBC

ผมใช้เวลา 20 นาทีนั่งอัพโหลดวีดีโอแรกเพื่อให้แฟนฟรีมาเลเซียทูเดย์ (FTM) และชาวยูทูบทั่วโลกได้ชมและติดตามความเคลื่อนไหวการเมืองในประเทศมาเลเซีย หลังจากวีดีโอชิ้นแรกได้ยูทูบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมได้ย้ายการถ่ายทำจากมัสยิดจาเม็ก ไปยังจัตุรัสเมอร์เดก้าโดยหวังว่าจะได้ภาพและข่าวที่สนใจมากขึ้น

พูดจากใจจริง ผมและเพื่อนนักข่าวทุกบางคนรู้สึกเครียด เพราะปกติการชุมนุมทุกครั้งเราต้องเดินตามขบวนผู้ชุมนุมตลอดทาง แต่ครั้งนี้มันแตกต่างผู้ชุมนุมแค่นั่ง ถ้าผู้อ่านที่มาร่วมกับการชุมนุมครั้งนี้จะสังเกตเห็นว่าช่างภาพทั้งภาพนิ่งและวีดีโอแต่ละคนพยายามหามุมเพื่อให้ได้ภาพที่ดีและน่าสนใจ

หลังจากเสร็จสิ้นการถ่ายทำ ถึงเวลาที่ต้องอัพโหลดวีดีโอล่าสุดในเวลา 13.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) ขณะที่ผมกำลังนั่งตัดต่อวีดีโอ ได้โอกาสพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้น เจ้าหน้าที่ทุกนายอัธยาศัยดีและเป็นมิตร บางนายยังบ่นเลยว่าพวกเขาดูหนัง "The Avengers Assemble" ไม่ทันจบถูกเรียกมาปฏิบัติหน้าที่ซะก่อน

ขณะกำลังอัพโหลดไฟล์วีดีโอขึ้นยูทูบ ทันใดนั้นเห็นตำรวจที่กำลังทานข้าวและพักผ่อนอยู่ต่างรีบวิ่งกรูไปยังถนนตุนเปรัค และมีหน่วยปราบจลาจล (Federal Reserve Unit หรือ FRU) เข้าประจำที่และพร้อมปฏิบัติการ ผมจำเป็นต้องระงับการอัพโหลดไว้และมุ่งตรงเข้าไปประจำที่ตรงหน้าแถวของตำรวจ

สถานการณ์ในเวลานั้นก็อยู่ในภาวะตึงเครียดและแดดก็ร้อนจัด ผมและเพื่อนนักข่าวเลยตัดสินใจไปเก็บภาพในจัตุรัสเมอร์เดก้าดีกว่า

หลังจากที่พวกเราเข้าไปอยู่เข้าในแล้ว ต่างก็แยกย้ายเพื่อหามุมของตนเอง เวลาขณะนั้นใกล้เข้า 3 โมงเย็น เพื่อไม่ให้เสียเวลาผมลองอัพโหลดวีดีโออีกครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จเหมือนเดิมเมื่อได้ยินเสียงจากผู้ชุมนุมกำลังโห่ร้องใส่ตำรวจและกำลังฝ่าลวดหนามที่ทาง DBKL และตำรวจกั้นไว้ นักข่าวที่กำลังทำหน้าที่อยู่แถวนั้นก็รีบคว้าอุปกรณ์และรีบหนีเพื่อความปลอดภัย ตำรวจที่ประจำการแถวหน้าต่างก็วิ่งกระเจิง

 

ตำรวจปราบจลาจลปฏิบัติการ

จากเหตุการณ์ที่ทุกคนไม่ได้คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นอย่างวันนี้ ทางหน่วย FRU เริ่มปฏิบัติการฉีดน้ำและปล่อยแก๊สน้ำตาอย่างไม่ยั้ง และมีบางกลุ่มที่เป็นผู้ชายใส่เสื้อเหลืองก็ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหินมายังทางตำรวจ โดยฐานะคนที่ทำหน้าเป็นสื่อก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและต้องบันทึกทุกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เวลาก็ย่างเข้า 4 โมงเย็นแล้ว ตำรวจสามารถควบคุมตัวผู้ชุมนุมได้แล้วบางส่วน

แต่น่าเสียดายทุกครั้งที่มีการจับกุมเราไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการบันทึกภาพ และตอนที่ผมกำลังวิ่งไล่เพื่อตามตำรวจที่กำลังลากผู้ชุมนุมคนหนึ่งที่ใบหน้าเขาเต็มไปด้วยเลือดและผมก็ไม่เลิกที่จะบันทึกเหตุการณ์นั้นตลอดทาง ทันใดนั้นผมโดนตำรวจนายหนึ่งเข้าจู่โจมและบังคับให้ผมยุติการบันทึก ยังไม่พอแค่นั้นมีนายตำรวจอีกคนเข้ามาแล้วเอาน้ำมาราดใส่กล้อง

ผมเริ่มรู้สึกแปลกๆ แปลกใจมากเพราะในช่วงเจ็ดปีที่ทำหน้าที่เป็นสื่อที่ไม่เคยได้รับการปฏิบัติเยี่ยงนี้จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัธยาศัยที่ดี ความเป็นมิตรที่เคยมีให้เมื่อตอนกลางในมันหายไปไหนหมด?

ไม่ต้องคิดไกลอะไรมาก ผมจึงตัดสินใจย้ายจากจุดนั้นไปยังที่ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด ผมเข้าไปหานักข่าวคนอื่นๆ และเล่าว่าผมเจออะไรมาบ้าง  และทุกคนก็พูดเสียงเดียวกันว่าก็ได้รับการปฏิบัติจากเจ้าหน้าที่ไม่แพ้ผม ผมอดสงสัยไม่ได้ว่าสิ่งที่ผู้หน้าที่สื่อเป็นภัยคุกคามต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกันหรือ?

ทางพนักงานของเทศบาลกัวลาลัมเปอร์ ก็ไม่เว้นที่จะปฏิบัติตัวเสมือนตำรวจและพยายามทำร้ายผม เข้าตะคอกใส่ผมอย่างแรง “มึงยังไม่ย้ายไปจากที่นี่ กูจับแน่! ” แล้วก็ตบกระเป๋าเป้ของผม

ชัดเจนว่ามันเป็นข่มขู่สื่อที่กำลังทำหน้าที่ ผมกำลังสงสัยว่าพนักงานเทศบาลกัวลาลัมเปอร์มันมีอำนาจในการควบคุมตัวด้วยเหรอ? ถ้าเขามีอำนาจควบคุมตัว จับแล้วจะพาไปที่ไหน? ในห้องเก็บอุปกรณ์จัดสวนของเทศบาลกัวลาลัมเปอร์ เหรอ?

ผมไม่ได้สงสัยในหน้าที่ของตำรวจและพนักงานเทศบาลกัวลาลัมเปอร์ แต่อย่างใด แต่ทำไมพวกเขาต้องมาคุกคามสื่อที่กำลังทำหน้าที่? เราเองก็กำลังทำหน้าเหมือนคุณ หรือว่าทางพนักงานเทศบาลกัวลาลัมเปอร์ เคยสอบเพื่อเป็นตำรวจแต่ไม่ผ่าน เลยมีความฝันที่จะทำหน้าเสมือนตำรวจ? มันช่างอับอาย!

เมื่อตอนกลางของวันนี้, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฮิสมามุดดิน ตุน ฮุซเซน ได้ออกมาชี้แจงกรณีที่มีการยึดกล้องถ่ายภาพนิ่งหรือวีดีโอและเมโมรีการ์ด มันเป็นนโยบายหรือระเบียบปฏิบัติ (Standard Operation Procedure หรือ SOP) อย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่ เมื่อไรกัน?

ด้วยเหตุผลอะไรที่จำเป็นต้องยึดมัน? มันมีในยะอะไรที่ซ้อนเร้น? ขาตั้งกล้องของพวกเราก็โดนยึดไปด้วย ขาตั้งมันไม่สามารถใช้บันทึกภาพได้นิ ผมไม่เคยคิดหรอกว่า ตำรวจจะโง่ขนาดขั้นจำเป็นต้องยึดขาตั้งของเราไป

พวกเราในฐานะคนทำสื่ออยากให้ทุกฝ่ายให้ความเคารพ ว่าเราก็กำลังปฏิบัติหน้าที่ และเราก็เคารพว่าท่านก็กำลังปฏิบัติหน้าที่ของท่านอยู่เหมือนกัน ทำไมต้องทำเกินกว่าเหตุ ทำให้นักข่าวบางคนต้องได้รับบาดเจ็บ? ทำไมต้องทุบตีทำร้ายทั้งที่พวกเขากำลังทำหน้าที่? เป็นการกระทำที่ทำให้เสียภาพพจน์ของตำรวจ จากที่เคยเป็นมิตรมีความสัมพันธไมตรีที่ดี แต่ท้ายสุดไม่แตกต่างจากลิงนิสัยก้าวร้าวที่บุกรุกเข้าไปสวนชาวบ้าน, มันน่าอับอาย!

ความรุนแรงที่เกิดจากกระทำของตำรวจและพนักงานเทศบาลกัวลาลัมเปอร์ ยังไม่พอ ต้องมาซ้ำเติมด้วยความรุนแรงจากการกระทำของผู้ชุมนุมที่ไปทำร้ายช่างภาพในพื้นที่จนได้รับบาดเจ็บสาหัส (หัวแตก) ตามที่สื่อกระแสหลักและสื่อออนไลน์รายงานว่า ผู้ชุมนุมได้เข้าไปทำร้ายช่างภาพอย่างไร้เหตุผล

ใช่มันถูกต้อง! ถ้าคนทำสื่อที่เอาตัวไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แสดงว่านักข่าวก็ได้ล้ำเส้นในการเป็นสื่อ แต่ถึงอย่างไรก็ตามทางผู้ชุมนุมก็ควรจะมองในหลักมนุษยธรรม ไม่ได้หรือย่างไร? นักข่าวที่โดนทำร้าย โดนยึดกล้อง ขาตั้งกล้องและเมโมรีการ์ดในวันนั้น ทุกคนจะมีบัตรนักข่าวที่ออกโดยกระทรวงการประชาสัมพันธ์ฯ คล้องไว้ที่คอแสดงอย่างชัดเจน ไม่ใช่บัตรที่ซื้อจากร้านเครื่องเขียน! มันเป็นบ้าอะไรกันนี่?

ท้ายนี้ แด่เพื่อนนักข่าวทุกท่านที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผมขออวยพรให้ทุกท่านหายไวๆ และกลับมาทำหน้าที่ได้เหมือนเดิม และหวังว่าเหตุการณ์ในวันนั้นไม่ได้ทำให้ทุกคนต้องสิ้นหวังที่จะทำหน้าที่ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ทุกคนได้รับรู้

และผมหวังอย่างยิ่งต่อผู้ที่รับชอบกับการกระทำครั้งนี้สามารถให้คำตอบหรือคำอธิบายที่ยังคาราคาซังในสมองพวกเรา “คำขอโทษ” อย่างเดียวมันยังไม่เพียงพอ, อยากให้รู้ว่า “นกแก้วก็ยังสามารถสอนให้พูดคำว่า ขอโทษ”

 

30 เมษายน 2012, กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

 

...............................................................
ผู้เขียนบทความนี้เป็นนักข่าวของ Freemalaysiatoday.com
ที่มา : แปลจาก  Pengalaman seorang wartawan dalam perhimpunan Bersih 3.0, Freemalaysiatoday, 30 เม.ย. 55

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net