ASEAN Weekly: ชาติพันธุ์ในอาเซียนและ Bersih 3.0 ในกรุงเทพฯ

สัปดาห์นี้ ข่าวแรกคุยกันเรื่องการเดินทางเข้าสภาของอองซาน ซูจี ในฐานะผู้แทนราษฎรอย่างเต็มตัว เมื่อช่วงปลายเดือน เม..ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้เธอได้ปฏิเสธที่เข้าทำหน้าที่ในสภา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และไม่ต้องการปฏิญาณตนว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ถือว่าหน้าที่ สส.ของซูจีและผู้แทนจากพรรคเอ็นแอลดีได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว มาติดตามกันว่าบทบาทและกลยุทธ์ของพรรคเอ็นแอลดีในเวทีการเมืองพม่าจากนี้ไปจะเป็นอย่างไร

ข่าวต่อมา มาดูการชุมนุมรณรงค์เลือกตั้งใสสะอาดในมาเลเซีย หรือ BERSIH 3.0 ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 28 เม..ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2 แสนคน และในวันเดียวกันได้มีการจัดชุมนุมในอีกหลายเมืองพร้อมกันทั่วโลก รวมทั้งที่หน้าสถานทูตมาเลเซียในกรุงเทพฯ ด้วย มาฟังบทสัมภาษณ์พิเศษผู้ประสานงานจัดการชุมนุม BERSIH 3.0 ที่กรุงเทพฯ ว่าพวกเขาคิดอะไรอย่างไรต่อการเมืองมาเลเซีย

ช่วงที่ 2 คุยกันถึงประเด็นใหญ่ที่มีความสำคัญมากในภูมิภาค คือเรื่องความหลากหลายของกลุ่มคนต่างชาติพันธุ์วรรณา ภาษา และวัฒนธรรม ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ภายใต้คำขวัญอาเซียนหนึ่งเดียวจะมีที่ทางหรือการจัดสรรพื้นที่ทางอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างไรให้อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน ไม่กลืนกลาย กดทับ เบียดขับ และไม่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งรุนแรงทางเชื้อชาติ อาเซียนควรจะมีบทบาทอย่างไรเพื่อขจัดความขัดแย้งจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของแต่ประเทศสมาชิก และควรมีจุดแข็งร่วมกันอย่างไรทางวัฒนธรรมในระดับภูมิภาค

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท

พื้นที่ประชาสัมพันธ์