นักปรัชญาชายขอบ: มอง 'อั้ม เนโกะ' ที่ศิลปะ ไอเดีย และความกล้าที่จะแตกต่าง

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ภาพ “อั้ม เนโกะ” นักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั่งเหยียดไขว้ขาบนแท่นฐานรูปปั้นปรีดี พนมยงค์ ที่อัพโหลลงเฟซบุ๊ก พร้อมข้อความว่า  

"♥ ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน"


เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง มีทั้งที่ชื่นชม และด่าทอ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงกับจะให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง บ้างตั้งคำถามว่านั่นเป็นการแสดงออกภายใต้ขอบเขต “อันเหมาะสม” ของสิ่งที่เรียกกันว่าสิทธิ เสรีภาพหรือไม่

การแสดงเสรีภาพเช่นนั้นเกิดจากความคิดที่ “รอบคอบ” แล้วหรือยัง กระทั่งว่าเป็นการใช้เสรีภาพที่ไปละเมิดเสรีภาพของคนอื่นๆ โดยเป็นการแสดงออกที่ “ลบหลู่” สิ่งที่คนอื่นๆ เขาเคารพหรือไม่ เป็นต้น

นึกๆ ดู “ขอบเขต” ของเสรีภาพในสังคมเรานี่ก็แปลก คือการแสดงออกอย่างเสรีจะกระทบต่อ “ความรู้สึกอ่อนไหว” ประเภทที่เรียกว่า “รัก” “เคารพ” เป็นไม่ได้ มีอันต้องถูกความรู้สึกที่เอ่อล้นด้วยความรักเคารพนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความเกลียดชังย่างท่วมท้น และประเดประดังคำประณามสาปแช่งตามมาเป็นระลอกคลื่น

ถามว่า การแสดงออกแบบ “อั้ม เนโกะ” ไปกระทบต่อเสรีภาพของคนอื่นๆ ที่จะรักเคารพรูปปั้นปรีดีอย่างไรครับ การที่เธอไปนั่งเหยียดไขว้ขาบนแท่นฐานรูปปั้นมันไปกีดขวาง ปิดกั้นเสรีภาพที่จะรัก เคารพของคนอื่นๆ อย่างไรไม่ทราบ อย่างมากมันก็แค่ทำให้คนอื่นๆ ไม่พอใจ หรือโกรธ

แต่ใครๆ มีสิทธิ์จะอ้างความไม่พอใจ โกรธ หรือ “ความรู้สึกละเอียดอ่อน” ใดๆ ไปปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก “แบบอั้ม เนโกะ” ได้หรือครับ หรือเราจะอ้างว่า เพราะการกระทำของเธอกระทบกระเทือน “ซาง” (ในที่นี้หมายถึงความรู้สึก ความเชื่อ) ของคนส่วนใหญ่ จึงเป็นการกระทำที่ผิด หรือไม่ควรทำ ได้หรือ

ผมว่าอ้างไม่ได้หรอกครับ ตราบที่เธอไม่ได้ทำให้รูปปั้นนั้นชำรุดเสียหาย หรือยกเว้นว่าการกระทำของเธอจะแสดงออกโดยลักษณะและเจตนาที่เป็นการเหยียดหยามจิตใจ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น หรือดูหมิ่นเหยียดหยามสิ่งที่ผู้อื่นเคารพ


แต่กรณีนี้เราต้องดูที่ “ศิลปะ” “ไอเดีย” และ “ความกล้าที่จะแตกต่าง”

“ศิลปะ” ในที่นี้ผมหมายความกว้างๆ ว่า “วิธีการดึงดูดความสนใจของผู้คน” เช่น แกนนำมวลชนมีวาทศิลป์ดึงดูดความสนใจของผู้คน การเดินขบวน การประท้วงต่างๆ ก็ต้องมีศิลปะดึงดูดความสนใจของผู้คนเช่นกัน ฉะนั้น การโพสต์ท่าถ่ายรูปนั่งเหยียดไขว้ขาบนแท่นฐานรูปปั้นปรีดี ก็คือศิลปะดึงดูดความสนใจของผู้คนในแบบของอั้ม เนโกะ

ประเด็นสำคัญอยู่ที่เธอต้องการใช้ศิลปะง่ายๆ นี้ดึงดูดให้คนสนใจ “ไอเดีย” อะไร เราจะเห็นว่าที่เธอต้องการสื่อกับทุกคนคือไอเดียที่ว่า


"♥ ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน"


ซึ่งเธออธิบายเพิ่มเติมผ่านการให้สัมภาษณ์มติชนออนไลน์ว่า


จุดประสงค์ หรือเจตนารมณ์จริงๆ คือ ต้องการสื่อให้ทุกคนเข้าใจเจตนารมณ์ของอาจารย์ปรีดี ที่ตั้งธรรมศาสตร์มาเพื่อความเสมอภาค ให้แก่ราษฎรทุกคน และสร้างธรรมศาสตร์มาในวันที่มีรัฐธรรมนูญฉบับปกครองชั่วคราวเกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าธรรมศาสตร์ต้องเป็นสถานที่ที่ตอบรับต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎร มีความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ทำให้อาจารย์ปรีดี กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กลายมาเป็นเทพเจ้า กลายเป็นสิ่งที่คนมาบนบานศาลกล่าว เอาสิ่งของมาแก้บนแก้ถวาย ซึ่งไม่ใช่เจตนารมณ์ของอาจารย์ปรีดี color:blue">


และเธอยังฝาก “ความคิด” ไปถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า


เข้าใจว่าอาจารย์สมคิด เข้าใจถึงสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย รวมทั้งเข้าใจเจตนารมณ์อาจารย์ปรีดีที่ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมา เพื่อที่จะตอบรับต่อข้อเสนอแนะของคณะราษฎร ที่ต้องการจะให้ก่อเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ตั้งใจให้ก่อเกิดการรัฐประหาร หรือการแก่งแย่งอำนาจ ต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ทั้งสถานศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้ และจะเป็นจุดมุ่งหมายเป็นสะพานต่อรวมไปถึงสังคมภายนอกให้รับรู้ว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเป็นก้าวแรกของการเดินไปสู่สิทธิเสรีภาพของประชาชน มากกว่าการถูกจองจำภายใต้อำนาจของเผด็จการ ของการรัฐประหาร ทำให้นักศึกษาทราบจุดคิดที่แท้จริงที่อาจารย์ปรีดีต้องการสื่อ แล้วหวังว่าอาจารย์คงจะเข้าใจ ตามที่หนูต้องการสื่อตามเจตนารมณ์ที่แสดงออกในภาพนั้น Tahoma;color:blue">


ที่สำคัญ “ความกล้าที่จะแตกต่าง” ของเธอต่างหากที่มีคุณค่ามาก ผมนึกถึงปัญหาที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ตั้งข้อสังเกตไว้ในเฟชบุ๊กว่า “วัฒนธรรมการเมือง / อุดมการณ์ แห่งการ "ว่าอะไรว่าตามกัน" The Culture / Ideology of "Conformity" ในบ้านเรามีอยู่ในทุกวงการ แม้แต่ในวงวิชาการ ภายใต้วัฒนธรรมว่าอะไรว่าตามกัน หรือ “เข้าเมืองตาหลิ่วตาตาม” แม้ปัจเจกบุคคลจะมองเห็นความผิดถูกด้วยตนเอง หรือกระทั่งมีความคิดทวนกระแส แต่ก็ไม่กล้าแสดงความเห็นต่าง หรือยืนยันหลักการที่ถูกต้องออกมาตรงๆ หากเห็นว่ากระแสของพวกเดียวกันไม่เอาด้วย


มันมีกำแพงของความเป็นพวกเดียวกัน ความกลัว ความเกรงใจ ความกตัญญู และฯลฯ ที่ปิดกั้นไม่ให้เรากล้าที่จะแตกต่าง ผลที่สุดก็ทำให้สังคมไม่ก้าวหน้าทางความคิด มองจากแง่นี้ “ความกล้าที่จะแตกต่าง” จึงมีความจำเป็นหากสังคมเราต้องการความก้าวหน้าทางความคิดหรือทางอื่นๆ

หากลองสังเกตดู จะเห็นว่าไอเดียใต้ภาพนั้น มีคำสำคัญคือ “ความรัก” “ความคลั่ง” “กฎหมายหมิ่น” “เราทุกคนเท่ากัน” mso-ascii-font-family:"Trebuchet MS";mso-hansi-font-family:"Trebuchet MS""> Tahoma;color:blue">


ซึ่งเราอาจแปลเป็นคำถามได้ว่า ทำไมสังคมเราจึงต้องจมปรักอยู่กับความรัก ความคลั่ง? ทำไมเราต้องถูกกดทับสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยกฎหมายหมิ่น? ทำไมเราต้องตกอยู่ภายใต้ “ระบบอำนาจต่อรองทางการเมือง” ที่ไม่เท่าเทียมและอยุติธรรมภายใต้มายาคติที่ว่า “คนเราไม่เท่ากัน”?

ฉะนั้น ถ้าเราเคารพปรีดี เราต้องทำตามเจตนารมณ์ปรีดี คือ ต้องร่วมกันสร้างประชาธิปไตยที่คนเราเท่าเทียมกัน

ซึ่งหมายถึงต้องหลุดพ้นจากพันธนาการแห่งความรัก ความคลั่ง เลิกใช้ความรัก ความคลั่ง มาสร้างความเกลียดชังและความรุนแรงต่อกัน ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ และปฏิรูปกติกาการอยู่ร่วมกันให้ “ทุกคน” อยู่ภายใต้หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยอันเดียวกัน คือ หลักสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค ภราดรภาพ

แน่นอนว่า ใครๆ ที่เคยสนับสนุนรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ก็ต้องกลับตัวกลับใจตาม “ธรรมโอวาท” ของ อั้ม เนโกะ โดยเร่งด่วน ก่อนจะสายเกินไป! Tahoma;color:blue">

mso-ascii-font-family:"Times New Roman";mso-hansi-font-family:"Times New Roman""> 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท