Skip to main content
sharethis

กฟผ.ประกาศเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินตรัง จ้าง “ราชมงคลตรัง-ม.เกษตรฯ” ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เดินเครื่องลงพื้นที่เก็บข้อมูลกรกฎาฯ นี้

เมื่อเวลา 18.30 วันที่ 7 มิถุนายน 2555 ที่ห้องอาหารโรงแรมเรือรัษฎาบัดเจ็ทโฮต็ล อำเภอเมือง จังหวัดตรัง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงาน “สังสรรค์สื่อมวลชนกับกฟผ.” และบรรยายเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าของไทย โดยมีเจ้าหน้าที่กฟผ. ผู้สื่อข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นักจัดรายการวิทยุ ในจังหวัดตรัง ร่วมประมาณ 30 คน 

นายชวการ โชคดำลีลา วิศวกร 9 กฟผ. หัวหน้าศูนย์พลังงานไฟฟ้าจังหวัดตรัง ชี้แจงว่า โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดตรัง ขนาด 800 เมกะวัตต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จะเริ่มศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 นี้เป็นต้นไป ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษา 8 เดือน

“ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (PDP 2010) กฟผ.จะต้องผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ 9 โรง โรงละ 800 เมกะวัตต์ 7,200 เมกะวัตต์ โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ อาทิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการขนส่งถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ” นายชวการ กล่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net