Skip to main content
sharethis

กวี จงกิจถาวร บรรณาธิการอาวุโสเครือเนชั่นมัลติมิเดียกรุ๊ป และประธาน South Asian Press Association (SEAPA) บรรยายพิเศษ “มองประชาคมอาเซียนจากมมุมข่าว” ในโครงการอบรมนักข่าวโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ครั้งที่ 1/2555 ณ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ บ้านพักรับรอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2555

0 0 0

สิ่งที่ต้องรู้ในกฎบัตรอาเซียน
ตอนนี้อาเซียนมีกฎบัตร มีกรอบการทำงานชัดเจนที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตามและมีบทลงโทษ ต่างกับสมัยก่อนเวลาจะเขียนเรื่องอาเซียน ไม่มีข้อผูกมัดอะไร เพราะทุกอย่างเป็นความสมัครใจ

กฎบัตรอาเซียน มีประเด็นที่ต้องรู้ คือ ทุก 5 ปีจะมีการทบทวน ซึ่งประเทศไหนต้องการให้ทบทวนสามารถเสนอได้ ฉะนั้นปีหน้าคือหลังจากวันที่ 15 ธันวาคม 2556 จะถึงกำหนดการทบทวน โดยประเทศบรูไนจะเป็นเจ้าภาพทบทวนกฎบัตรอาเซียน

กฎบัตรอาเซียนเขียนด้วยภาษาอังกฤษและมีการแปลเป็นทุกภาษาของประเทศสมาชิก โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศสมาชิกสุดท้ายที่แปลกฎบัตรอาเซียนเป็นภาษาตากาลอค หาอ่านกฎบัตรอาเซียนและคำแปลภาษาต่าง ๆ ได้ ที่ www.asean.org

สหภาพยุโรป (อียู) สู้ประชาคมอาเซียนไม่ได้ เพราะประชาคมอาเซียนมีกฎบัตรสั้นกว่าและมีภาษาเดียว กฎบัตรอาเซียนเหนือกว่าสนธิสัญญาลิสบอนของสหภาพยุโรป เพราะสั้นกว่า สามารถกำหนดภาษาทำงานไว้เพียงภาษาเดียว คือภาษาอังกฤษ อีกทั้งมีการกำหนดให้มีคำขวัญและเพลงประจำอาเซียนได้ ซึ่งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปไม่สามารถตกลงกันได้เลยในเรื่องเหล่านี้

ประชาคมอาเซียนมีงบประมาณ 14 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสหภาพยุโรปมีงบประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญยูโร สหภาพยุโรปมีคนทำงาน 2,400 คน ครึ่งหนึ่งเป็นลามแปลภาษา 27 ภาษา ส่วนคนทำงานของประชาคมอาเซียนมีทั้งหมด 267 คน 70 คน เป็นชาวอาเซียนด้วยกัน

ในความเป็นจริงประชาคมอาเซียนไม่มีงบประมาณเลย แต่ได้เงินมาจากประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศละ 1,000,000 เหรียญ

ดังนั้น เวลาพูดถึงอาเซียนจะต้อง เข้าใจเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียน คือ ประชาคมอาเซียนต้องทำตาม ประชาคมอาเซียนมีบทลงโทษ และจะมีการทบทวนกฎบัตรทุกๆ 5 ปี

ความร่วมมืออาเซียนในช่วง 42 ปี
ในช่วงแรก ปี ค.ศ.1967 – 1976 มีความร่วมมือที่เน้น 3 มิติ ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจ การสร้างความเข้าใจในปัญหาของสมาชิก และปลูกฝังนิสัยหารือปรึกษา

ช่วงที่สอง ปี ค.ศ.1976 – 1986 มีการทดสอบความร่วมมืออาเซียน เน้นความมั่นคงภายใน ปัญหาการก่อการร้ายตามชายแดน แก้ปัญหาเฉพาะในภูมิภาค เช่น ปัญหากัมพูชา ผู้อพยพ ไม่แทรกแซงการเมืองภายในสมาชิก

ช่วงที่สาม ปี ค.ศ.1987 – 1996 เป็นทศวรรษของการปรับตัวหลังสงครามเย็น การเริ่มขยายตัวอาเซียนและมีการรับสมาชิกใหม่ ช่วงที่สี่ ปี ค.ศ.1997 – 2008 เป็นทศวรรษของการสับเปลี่ยนและสับสน ช่วงที่ห้า ปี ค.ศ.2009 เป็นช่วงอาเซียนใหม่ มีกฎบัตรอาเซียน มีความเป็นนิติบุคคล ทั้งหมดมีส่วนทำให้เกิด “วิถีอาเซียน” 

วิถีอาเซียน (Asean Way) คืออะไร
อาเซียนมีหลักการเหล็ก  7 ประการ คือ อาเซียนไม่แทรกแซงสมาชิกอื่น ไม่ใช้กำลังทางทหารแก้ปัญหาแต่ใช้การทูตมากกว่า โดยผู้นำอาเซียนต้องคุยกันบ่อย อย่างน้อยๆปีละ 2 ครั้ง อาเซียนรวมกันมีพลังต่อรอง ถ้าแยกกันจะพากันไปตาย

เสียงของสมาชิกประชาคมอาเซียนมีค่าเท่ากัน คือประเทศละ 1 เสียง ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่ารวยหรือจน และต้องจ่ายค่าสมัครเท่ากันประเทศละ 1,000,000 เหรียญ งบประมาณของอาเซียนจึงมีแค่ 14 ล้านเหรียญ ซึ่งน้อยมาก อาเซียนจึงขี้เหนียว ประหยัด หวังเล็งผลเลิศตลอดเวลา

เวลาประชาคมอาเซียนตัดสินใจอะไรนั้น ต้องคิดอยู่เสมอว่า ต้องมีฉันทามมติของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

สรุป คือ สนธิสัญญามิตรภาพความร่วมมือของประชาคมอาเซียน คือห้ามแทรกแซง ห้ามใช้กำลัง และพูดจากัน

สิ่งที่อาเซียนต้องทำอย่างต่อเนื่อง หรือ ASEAN Connectivity มี 3 เรื่องใหญ่ คือ การพัฒนาด้านโครงสร้าง ด้านสถาบัน และด้านประชาชนซึ่งสำคัญที่สุด

วิสัยทัศน์อาเซียน
วิสัยทัศน์ของอาเซียน ประกอบด้วย ความเป็นอาเซียนที่แข็งแรงและเป็นหนึ่งเดียว ไม่ว่าอาเซียนจะมีกี่เสา จะมีAEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) หรือไม่ อาเซียนก็ต้องแข็งแรงและเป็นหนึ่งเดียว

เป็นอาเซียนที่เปิดกว้าง มีพลวัตรและประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เพราะตอนที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย จะมีส่วนส่งเสริมให้อาเซียนต้องเปิดกว้างได้

อาเซียนต้องร่วมหล่อเลี้ยงหรือแชร์ค่านิยมร่วมกัน อาเซียนต้องเทไหลข้อมูลร่วมกัน อาเซียนต้องแพร่ข้อมูลเกี่ยวปัญหาภูมิภาคร่วมกัน ซึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้า อาเซียนต้องเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน

7 เอกสารหลักของอาเซียน
หากอ่านทั้ง 7 เอกสารหลักของอาเซียน ได้ทั้งหมด จะสามารถตีประเด็นอาเซียนได้หมด เนื่องจากทั้ง 7 เอกสารมีประเด็นที่เป็นข้อตกลงทั้งหมด 232 ข้อ

เอกสารสำคัญที่พูดถึงความร่วมมือทั่วไปในอาเซียน คือ ปฏิญาณ กรุงเทพ (Bangkok Declaration 1967) ส่วนเอกสารที่เหลือ ได้แก่ สนธิสัญญาว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมือ (Treaty of Amity and Cooperatiom 1976) แผนปฏิบัติงานของประชาคมอาเซียนสามเสาหลัก ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม (Roadmaps for an Asean Community 2009-2015)

หนังสือปกเขียวเล่มเล็ก กฎบัตรอาเซียน (Little Green book, Asean Charter) สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเซียอาคเนย์ (Southeast Asian Nuclear Weapons Free Zone 1995) แม่บทโครงข่ายอาเซียน (Master Plan on Asean Connectivity) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน (Asean Intergovernmental Commissioner for Human Rights)

7 สาระในปฏิญาณกรุงเทพ 
ปฏิญาณกรุงเทพ 8 สิงหาคม 1967 มีสาระสำคัญอยู่ 7 ประการ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม, เพื่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค, เพิ่มความร่วมมือการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม, ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการฝึกฝนและการวิจัย, ร่วมมือด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า คมนาคม โทรคมนาคม และส่งเสริมการอยู่ดีกินดีของประชาชน, ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับเอเชียอาคเนย์, ให้ความร่วมมือกับองค์กรภูมิภาคและระหว่างประเทศอื่นๆ

อาเซียน + ... คืออะไร
ประชาคมอาเซียนเป็นองค์กรฉลาดและไม่ค่อยมั่นคง ฉะนั้นประชาคมอาเซียนจึงต้องดึงประเทศนอกภูมิภาคเข้ามาร่วมด้วย เป็นคู่เจรจา คือ อาเซียน+3, อาเซียน+4, อาเซียน+6, อาเซียน+8 เป็นต้น

อาเซียน+3 คือ อาเซียนบวกประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

อาเซียน+6 คือ อาเซียนบวกประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

อาเซียน+8 คือ อาเซียนบวกประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลายเป็น East Asia Summit นั่นเอง

ความหมายสัญญาลักษณ์ ASEAN

—น้ำเงินคือสันติภาพและเสถียรภาพ
แดงคือความกล้าหาญและพลวัตร
ขาวคือความบริสุทธิ์
—เหลืองคือความมั่งคั่ง
—วงกลมคือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
—ต้นข้าวสิบต้นมัดรวมกัน คือความสามัคคี พลังอาเซียน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
กวี จงกิจถาวร : มองอาเซียนผ่านมุม‘ข่าว’(1) พลวัติในรอบ 45 ปี
กวี จงกิจถาวร : มองอาเซียนผ่านมุม‘ข่าว’(2) เผยคุณสมบัติพิเศษ–667 ตัวเลขต้องจำ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net