การเจรจา “สันติภาพในอาเจะห์”

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

นูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของฟินแลนด์ Suomen Kuvalehti โดยเป็นตอนแรกของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจ๊ะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

0000

การเจรจา  “สันติภาพในอาเจะห์ “  สิ้นสุดลงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา จากนั้น มีปาร์ตี้เล็กๆที่ไม่เป็นทางการเกิดขึ้นที่เมืองLahti เป็นการเลี้ยงฉลองเพื่อเป็นการขอบคุณและเป็นการพบปะกับผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจา

เสียงหัวเราะ ด้วยความปิติยินดี เล็ดรอดจากประตูบ้าน  มีแขกชาวอินโดนีเซีย  6 คน นั่งคุยกันในห้องรับแขกภายในบ้านของ ยูฮา คริสเต็นสัน ในเมือง ลาห์ตี อย่างมีความสุข ด้วยความยินดีและความสุข  พวกเขานั่งคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ในเรื่อง “การเจรจาสันติภาพในอาเจะห์”

“ยูฮา คริสเต็นสัน” กุญแจสำคัญในการสนทนาประกอบด้วย  คริสเต็นสัน, แกนนำนำขบวนการอาเจะห์เสรี 5 คน และฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการสวัสดิการประชาชน ร่วมคุยกันท่ามกลางบรรยากาศเย็นจัดของหิมะยามเช้าในเมืองลาห์ตี การพูดคุยมิใช่แค่เพียงเพื่อการเสริมสร้างความรู้จักสนิทสนมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความผูกพัน สร้างความเชื่อถือต่อกันให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ  ด้วยกิจกรรมการใช้เวลาอยู่ร่วมกัน เล่นสกีด้วยกัน  เยี่ยมเยือนชมอาคาร เซบีลีอุส คอนเสริต และสุสาน

วันที่ 29 มกราคม 2548 ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน การเจรจาสันติภาพทางกางเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ได้สิ้นสุดลง  โดยมี ฯพณฯ อดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย  จัดให้มีการแถลงข่าวในเมืองเฮลซิงกิ เพื่อชี้แจงกระบวนการ และเชิญผู้แทนการเจรจากลับมายังเฮลซิงกิอีกครั้งหนึ่งในอนาคต

คณะผู้แทนการเจรจารัฐบาลอินโดนีเซียเดินทางกลับจาการ์ต้าทันที่ของเย็นของวันเดียวกัน  คงมีแต่ฟาริด ฮูเซ็น, แกนนำขบวนการอาเจะห์เสรี ที่ยังอยู่ในประเทศฟินแลนด์  เขาทั้งหมดยังอยู่ที่เมือง ลาห์ตี เมืองเล็ก ๆทางตอนใต้ของประเทศฟินแลนด์  เพื่อฉลองความสำเร็จในการลงนามในสัญญาสันติภาพ  อย่างไรก็ตาม เขาย่อมรู้ดีว่า การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีความขัดแย้งยาวนานกว่า 30 ปี ยังคงต้องอาศัยเวลาและความพยายามสักระยะหนึ่ง 

กลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรี ยังคงค้างใจ และมีหวาดระแวง ไม่ไว้ใจรัฐบาล นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า  สภาพหลังจากเหตุการณ์สึนามิยังคงเป็นสิ่งที่น่าวิตกอยู่ จึงควรร่วมมือจากทั้งสองฝ่ายและร่วมกันทำแผนพัฒนากันต่อไป เพื่อคงไว้ซึ่งสันติภาพให้ยั้งยืน

อาห์ติสสารี ผู้ที่มีความเด็ดขาดแต่ยืดหยุ่น

“นับเป็นครั้งแรกที่เราได้เผชิญหน้ากันและพูดคุยกันโดยตรงต่อกัน นี่คือความสำคัญ  เรารู้สึกว่ารัฐบาลอินโดนีเซียปฎิบัติต่อเราอย่างโปร่งใส และอย่างฉันท์มิตร“ มาลิก มะฮฺมูด ผู้บัญชาการผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีกล่าวในสต๊อคโฮล์ม

“ในระยะแรกเริ่มของการเจรจา ผู้ไกล่เกลี่ย ท่านต้องเดินเข้าๆ ออกๆ จากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง คู่กรณีมีโอกาสพบกันในวันที่ลงนามเท่านั้น ผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ยอมรับว่า  “อาห์ติสสารี เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดรอบคอบ มีความเด็ดขาด แต่ก็ยืดหยุ่น และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย  และท่านเป็นผู้ที่มีความโปร่งใสและมีทักษะ และเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องต่างๆที่เราจะถกกัน”

“มาลิก มะฮฺมูด เรียกร้องให้มีการจัดลำดับความเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิต และ

บาดเจ็บเป็นเหยื่อของแผ่นดินไหวและสึนามิ “เราขอแสดงความขอบคุณโลกที่ได้ส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนของเรา  เราขอประกันและยืนยันที่จะช่วยชาวต่างชาติที่จะเข้ามาว่าจะไม่มีอุปสรรคใดๆ ในการปฎิบัติงานของเขา เราคาดหวังว่า ผู้ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จะอยู่ในอาเจะห์ระยะหนึ่ง และการเข้ามาของพวกเขาจะเป็นการเสริมสร้างการแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์”

ในสภาพทั่วไปแล้ว  สึนามิ มิใช่เหตุสำคัญที่สร้างความเสียหายแก่สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีแต่ประการใด เพราะพวกเขาจะอาศัยอยู่ในที่ราบสูงบนเขาป่า อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สูญเสียญาติพี่น้องคนใกล้ชิดมากมาย  ประมาณการว่าในจำนวนนั้น มีสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี  ที่เสียชีวิตในเรือนจำ จำนวนเรือนร้อย 

หลังเหตุการณ์สึนามิ  สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวว่า “เรารู้สึกเสียใจ และผิดหวังกับรัฐบาลที่ไม่ยอมตกลงที่จะให้มีการหยุดยิง รัฐบาลเร่งรุกการปฎิบัติการทางทหารในระหว่างการเจรจา เราต้องการให้มีการหยุดยิง เพื่อเป็นหลักประกันว่า การช่วยเหลือ จะเข้าถึงทุกพื้นที่ที่ประสบภัย”

เส้นทางสู่ความเป็นเอกภาพที่ยาวไกล

คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกๆ ที่ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นเวลายาวนาน นุรดีน อับดุลเราะฮฺมาน ผู้แทนสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีจากออสเตรเลีย เคยถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 12 ปี ยังมีร่องรอยของการถูกทรมาณปรากฏบนร่างของเขา  สถานการณ์เวลานี้ เพียงแค่เจ้าหน้าที่สงสัยผู้หนึ่งผู้ใดว่าเป็นสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีเท่านั้น เขาก็อาจเป็นเหตุทำให้เขาถูกจับกุม และถูกคุมขังได้ตลอดเวลา

ฝ่ายสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ยังร้องกล่าวหาว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่มีความซื่อสัตย์ต่อข้อตกลงที่ผ่านการเจรจามาแล้วในอดีต “ เราได้ทำการเจรจากับฝ่ายรัฐบาล และได้มีการลงนามในสัญญาแล้ว แต่กองทัพยังคงเปิดยุทธการสงคราม เราจึงสงสัยว่าและอยากรู้ว่าเราจะต้องทำการตกลงกับใครกันแน่”

ในระหว่างตอนต้นของการเจรจา ในปี 2546  กองทัพได้ทำการสกัดจับรถยนต์ของสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ระหว่างการเดินทางไปสนามบินของคณะผู้แทนการเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรี เพื่อไปประชุมเจรจาที่ประเทศญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจค้น ควบคุมตัวและจับกุมสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ณ จุดตรวจ ทั้งๆ ที่ในรถยนต์คันดังกล่าวมีผู้ไกล่เกลี่ยชาวสวิสเซอร์แลนด์ร่วมเดินทางอยู่ด้วย

เมื่อการเจรจาครั้งสุดท้ายก่อนหน้านี้ประสบความล้มเหลว  คณะผู้แทนการเจรจาถูกตัดสินจำคุกคนละ 14 ปี จำนวนนั้นอีก 4 คนยังคงถูกจำคุกอยู่และมีหญิงสูงอายุวัย 57 ปีผู้ประสานงานการเจรจาเสียชีวิตในห้องขังระหว่างเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

“การรื้อฟื้นความเชื่อถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องอาศัยเวลา และความพยายาม  เพราะนี้ไม่ใช่ความขัดแย้งที่สามารถแก้ไขได้ภายในระยะเวลาวันสองวันได้” มาลิก มะฮฺมูด กล่าว

“วันนี้ อินโดนีเซีย มีรัฐบาลใหม่แล้ว  และเราตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกว่า และเรารู้ว่ารัฐบาลอินโดนีเซียมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ เราได้รับข่าวสารถึงความขัดแย้งในการแก่ไขปัญหา บางคนบางฝ่ายต้องการให้มีการหยุดยิง และอีกฝ่ายต้องการให้มีการเสริมกำลังทหารในอาเจะห์ให้มากขึ้น”

เดือนตุลาคม  ฯพณฯ สุศิโล บัมบัง ยุทธโยโน ประธานาธิปดีคนใหม่ หรือ Mr SBY, ฯพณฯ ยูซุฟ กัลลา รองประธานาธิบดีหรือ MR.JK และคณะรัฐมนตรี มีความริเริ่มนโยบายแก้ไขปัญหาในอาเจ๊ะห์ห์ด้วยสันติวิธี 

เผชิญปัญหาความยุ่งยากในยุคการปกครองตนเอง

รัฐบาลอินโดนีเซีย เสนอรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษแบบกว้างๆ เป็นพื้นฐานในการเจรจา มาลิก มะฮฺมูด จึงขอเวลาในการพิจารณาในเรื่องนี้ “เราได้มีการนำเอารูปแบบการปกครองตนเองพิเศษมาใช้ในอาเจะห์แล้วนับตั้งแต่ปี 2503 แต่การปกครองตนเองพิเศษไร้ความหมาย  หากไม่มีการลงมือดำเนินการอย่างจริงจัง  การปกครองตนเองพิเศษในวันนี้ เป็นแค่เพียงเสียงคำกลวงเท่านั้น รัฐบาลกลางจาการ์ต้า ยังคงเป็นผู้แต่งตั้งผู้นำอยู่”

มาลิก มะฮฺมูดกล่าวว่า ประชาชนชาวอาเจะห์จะต้องกำหนดรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษ ที่มีความเหมาะสมที่สุด “เรามั่นใจว่า ประชาธิปไตยเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”

ปัจจุบันกฎหมายของรัฐ กำหนดว่า  ร้อยละ 70  ของภาษีที่ได้มาจากทรัพยากรในอาเจะห์ โดยเฉพาะภาษีที่ได้จากน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ จะต้องคงอยู่ในจังหวัดอาเจะห์ ขบวนการอาเจะห์เสรี เรียกร้องสิ่งนี้เพื่อให้ได้เพียงจำนวนเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยจากภาษีในสิ่งเหล่านี้ เพราะการคอรัปชั่นได้ฝังลึกในสังคมอินโดนีเซียมาช้านานแล้ว

รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามแสวงหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว แต่ขบวนการอาเจะห์เสรี เสนอแนวทางที่ค่อยๆ ดำเนินการ  “ปัญหาที่กดดันที่สุดสำหรับเราคือ ความขัดแย้งด้านอาวุธ ดังนั้น ขั้นแรกที่จะเจรจาคือ การหยุดยิงเป็นเบื้องต้น  จากนั้นเราก็จะได้พบปะพูดคุยกันเกี่ยวกับนโยบาย การเมือง  เมื่อชุมชนเกิดสันติภาพ  เราจึงจะค่อยถอยกลับและพิจารณาเกี่ยวกับความต้องการที่แท้จริง นี้เป็นสิ่งที่เราต้องการสถาปนาความเชื่อใจกันต่อกันด้วย”

"รัฐบาลอาจจะสั่งการให้มีการหยุดการปฎิบัติการทางทหารได้ทันที“ มาลิก มะฮฺมูด ย้ำ “เราจึงสนับสนุนการหยุดยิงชั่วคราว แต่เราไม่ประสงค์ที่จะบีบบังคับผู้ใด  เราได้มองไปข้างหน้าและมีความระมัดระวังรอบคอบมากกว่าก่อน”

เอ็ม นุร ดจูลี แกนนำซึ่งบินตรงจากประเทศมาเลเซีย เพื่อมาร่วมประชุมเจรจาพูดถึงการดำเนินการของขบวนการอาเจะห์เสรี ที่เกี่ยวกับการตัดสินใจร่วมกันว่า  เรามีตัวแทนอยู่ทั่วทุกมุมโลก และแกนนำของเราที่อยู่ในสต๊อคโฮล์ม จะประชุมหารือกับพวกเราก่อนตัดสินใจใดๆ  และกระบวนการตัดสินใจจะถูกส่งทอดไปยังชุมชนชาวอาเจะห์ ผู้นำฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร จะต้องปรึกษาหารือซึ่งกันและกันเป็นลำดับแรก

เรายังคงรอคอยการติดต่อผ่านมือถือ นี้คือการปฏิวัติ SMS ครั้งแรกของโลก ขอขอบคุณ โนเกีย “เอ็ม นุร ดจูลี หัวเราะ

การหยุดยิงอย่างเดียวยังไม่พอ

ผู้ช่วยรัฐมนตรี ฟาริด ฮูเซ็น หนึ่งในคณะผู้แทนการเจรจารัฐบาลอินโดนีเซีย กล่าวถึงความพยายามในการติดต่อกับขบวนการอาเจะห์เสรีครั้งแรกในปี 2546 และสิ้นสุดหลังจากได้มีการเดินทางไกล และการพบปะกับ ยูฮ่า คริสเต็นสัน โดยบังเอิญ วันนี้ ฟารีด ฮูเซ็น กำลังประชุมกับผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นครั้งแรกใน เฮลซิงกิ “เราต้องการให้มีการพูดคุยโดยตรงกับขบวนการอาเจะห์เสรี เพราะเรารู้ดีว่า การติดสินใจทั้งหมดอยู่ที่ สต๊อคโฮล์ม”

ในการเจรจา รัฐบาลมีจุดยืนจะไม่เจรจาเกี่ยวกับการแยกประเทศเป็นอิสระและจะไม่มีในวาระการประชุมเจรจาอย่างเด็ดขาด สาธารณรัฐอินโดนีเซียจะพูดคุยในเรื่องของการปกครองตนเองพิเศษอย่างกว้างๆ และการแก้ไขกรณีข้อขัดแย้ง “จะไม่มีรายละเอียดที่เป็นมติ ไม่มีการตกลงเรื่องการประกาศการหยุดยิงใดๆ” ฟาริด ฮูเซ็น กล่าว 

ฟาริด เห็นว่า การประกาศการหยุดยิงในเบื้องต้นนั้นไม่มีทางสำเร็จ เพราะเกรงกันว่า ขบวนการอาเจะห์เสรี จะถือโอกาสในการระดมกองกำลังใหม่ขึ้นและและเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่กองกำลังกำลังขึ้นมาใหม่ มากกว่าที่จะทำงานบนพื้นฐานในการเสริมสร้างสันติภาพ

หลังจากมีการประกาศหยุดยิง ขบวนการอาเจะห์เสรีก็ยังคงมีขุมคลังอาวุธและกองกำลังที่จะคืนกลับสู่สภาพเดิม    “หากขบวนการอาเจะห์เสรียังคงติดอาวุธอยู่ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วไปในพื้นที่ ก็ไม่อาจประกันได้  กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธ การครอบครองอาวุธส่วนบุคคลยังคงไม่อนุญาต และเราควรยึดถือและเคารพกฎหมายนี้ต่อไป”

ฟาริด ฮูเซ็น ยังกล่าวว่า หากสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี หลีกเลี่ยงการติดต่อกับคนงานในการให้ความช่วยเหลือ และกิจกรรมของกองกำลังกองทัพ ก็จะไม่มีความขัดแย้ง ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคู่กรณีต่างฝ่ายมาเผชิญหน้ากันเท่านั้น

ข้อตกลงใหม่

รัฐบาลใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย มีผู้นำใหม่ที่เป็นผู้ที่มีความพยายามในการแสวงหาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ท่านประธานาธิบดี ที่เป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และนับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งยวด” ฟาริด กล่าวย้ำ

ฟาริด กล่าวว่า ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบานในประเทศอินโดนีเซีย ปัญหาการคอรัปชั่น ถูกจัดการและคลี่คลาย แม้ในอาเจะห์ อดีตผู้นำบางคนกำลังถูกสอบสวน

ฟาริด ฮูเซ็น พยายามที่จะสร้างความเชื่อมั่นกับขบวนการอาเจะห์เสรี ด้วยการเข้าถึงรัฐบาลใหม่ “อะไรที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ควรละวางเสีย  วันนี้ประเทศอินโดนีเซียก็เหมือนประเทศอื่นๆในโลกแล้ว วันนี้เรามีรัฐบาลพลเรือน หากผู้นำกองทัพปฏิเสธ ต่อต้านหรือขัดขวางการวินิจฉัยสั่งการจากรัฐบาล มาตรการการบังคับใช้ตามกฎหมายจะถูกนำมาใช้บังคับทันที จะมีผู้ใดอีกหรือที่เราจะเชื่อมั่นไปกว่า ฯพณฯ ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ท่านเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยสั่งการของประเทศอินโดนีเซีย และท่านเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล และควบคุมกระบวนการขั้นตอนต่างๆที่เรากำลังดำเนินการอยู่”

ชี้ให้เห็นผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับ

ฟาริด ฮูเซ็น  เป็นศัลยแพทย์คนหนึ่ง ที่มักจะเดินทางไปเยือนอาเจะห์เสมอๆ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์ สึนามิ เขาเป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงานโครงการเยียวยาการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขของรัฐบาล ต่อพื้นที่ความขัดแย้งที่มีผลกระทบต่อการปกครองตนเองในอาเจะห์ เขาย้ำว่า “ ผมเชื่อมั่นว่า เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุดลง อาเจะห์ก็จะได้รับประโยชน์จากภาษีที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติ นำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการพัฒนาการด้านการศึกษา, การบริการด้านสาธารณะสุข การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็จะได้รับการจัดสำดับความสำคัญในอาเจะห์  เราเรียกร้องให้ขบวนการอาเจะห์เสรีมาร่วมกันเป็นผู้พัฒนาจังหวัดอาเจะห์ร่วมกัน"

เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง เสียงโทรศัพท์มือถือของฟาริด ฮูเซ็นดังขึ้น นั้นเป็นเสียงเรียกจากท่านรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ที่คอยติดตามผลความคืบหน้าประจำวัน และฟาริด ฮูเซ็นจะทำหน้าที่รายงานอย่างละเอียด

จากกลางวันสู่กลางคืน ผู้นำขบวนการอาเจ๊ะห์เสรี มุ่งหน้าสู่สต๊อคโฮล์ม  ฟาริด ฮูเซ็น และ ยูฮา คริสเต็นสัน มุ่งหน้าสู่โรงภาพยนตร์ 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท