อภิเชต ผัดวงค์: เชียงใหม่มหานคร จากมุมมองของคนท้องถิ่น

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
 
ปีพุทธศักราช 2555 นี้ เป็นปีที่กระทรวงมหาดไทยได้สถาปนาครบรอบ 120 ปี ตลอดระยะเวลายาวนานที่ผ่านมาได้พิสูจน์บทบาทสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ประชาชนมุ่งทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข

 
ยิ่งปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดที่ใกล้ชิดกับประชาชนฐานรากมากที่สุดและได้รับความสนใจวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในหลากหลายแง่มุม ทั้งที่มองว่าเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งอย่างแท้จริงประชาชนเข้าถึงได้ง่ายและมุมมองด้านข้อครหาต่าง ๆ เพราะเป็นองค์กรที่กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศและเป็นองค์กรที่สร้างบทบาทให้ประชาชนเข้าตรวจสอบได้ง่าย

 
แต่ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนท้องถิ่นในช่วงนี้คงไม่มีกระแสใดแรงเท่า ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ.... ภายใต้แนวคิด "จังหวัดจัดการตนเอง" โดยวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้ฤกษ์ขับเคลื่อนผลักดันประกาศเจตนารมณ์ให้ประชาชนตื่นตัวเล็งเห็นความสำคัญของการปกครองตนเอง ซึ่งน่าจะเทียบเคียงได้กับการกระจายอำนาจ เพียงแต่ต้องการสร้างอัตลักษณ์จึงคิดคำนี้ให้เด่นชัดขึ้นมา

 
ท่ามกลางกระบวนการขับเคลื่อนรอบนี้ คณะหัวหมู่ทะลวงฟันต้องการให้ทุกฝ่ายมองข้ามปัญหาที่สั่งสมมาหลายปี จึงหาวิธีหลบเลี่ยงการเผชิญหน้าระหว่างอามาตย์-ไพร่ หรือเสื้อเหลือง-เสื้อแดง ได้คิดค้นสัญลักษณ์รณรงค์โดยใช้โทน "สีส้ม" เป็นตัวเสริมมาช่วยเผยแพร่กิจกรรม

 
เชียงใหม่มหานคร “จังหวัดจัดการตนเอง” ซึ่งแตกต่างไปจากท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอาทิ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาฯ เป้าหมายคือการเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรง ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทำหน้าที่บริหารบุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรภายในจังหวัด เพราะเชื่อว่าคนท้องถิ่นย่อมทราบปัญหา สามารถรังสรรค์ภารกิจหรือโครงการขึ้นมาสนองบริการประชาชน และแก้ไขปัญหาในจังหวัดได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าระบบราชการที่ผ่านมา

 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">สาระสำคัญเชียงใหม่มหานครให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีระบบการบริหารราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ มีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ แม้ระบบการบริหารงานดังกล่าวได้สร้างคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันสังคมมีความซับซ้อน และการรวมศูนย์การตัดสินใจ และการดำเนินการปฏิบัติการกลายเป็นความซับซ้อน ระบบที่ใหญ่โต จึงไร้ประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ประชาชนในพื้นที่ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในสถานการณ์ปัจจุบันหากยังบริหารราชการแบบเดิมก็กลับจะกลายเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
"Times New Roman"">

 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">จึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดทิศทางการบริหารที่สอดคล้องกับทรัพยากรและภูมิสังคม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 

Tahoma">1. เสนอยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วน

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ท้องถิ่นเต็มพื้นที่ เชียงใหม่มหานครมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำนาจในการบริหารงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นครอบคลุมครบทุกด้าน ยกเว้น ๔ ด้านหลักที่ยังคงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลาง คือ การทหารซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ระบบเงินตรา กิจการที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และอำนาจด้านตุลาการ
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> "Times New Roman"">

 
Tahoma">2.  เสนอสร้างระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็ง โดยเสนอโครงสร้างใหม่เป็น mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">3 ส่วน ประกอบด้วย

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมือง (civil juries) ให้ประชาชนสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ

 
Tahoma">3.  เสนอปรับโครงสร้างด้านภาษีใหม่โดยกำหนดภาษีทุกประเภทที่เก็บได้ในพื้นเชียงใหม่มหา "Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">นครจะนำส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ ๓๐ และคงไว้ที่เชียงใหม่มหานคร ร้อยละ ๗๐

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">จากสาระสำคัญทั้ง "Times New Roman"">3 ข้อ ถือได้ว่าเป็นยาขนานแรงพอสมควร

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ประการแรกการยกเลิกระบบราชการส่วนภูมิภาคคงต้องมีคำอธิบายอำนาจหน้าที่และข้าราชการเดิมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่จะเดินหน้าอย่างไรหากเชียงใหม่มหานครเกิดขึ้นจริง ต้องโอนกลับกระทรวง กรมของตนในส่วนกลางหรือหากเลือกโอนอยู่ประจำในพื้นที่จะมีหลักเกณฑ์อย่างไร ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนดการปกครองท้องถิ่นมี 2 ระดับ คือท้องถิ่นระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และท้องถิ่นระดับล่าง (เทศบาล)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">อีกทั้งคงต้องเกิดข้อถกเถียงเรื่องบทบาทที่พึงประสงค์ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อีกทั้งผู้นำท้องถิ่นซึ่งขณะนี้มีทั้งนายก อบจ. นายก อบต. และนายกเทศมนตรีจะแบ่งพื้นที่และระดับการบริหารงานอย่างไรเมื่อพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 

mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">โครงสร้างใหม่ "Times New Roman"">3 ส่วนนั้น สภาพลเมือง (civil juries) มีที่มาและอำนาจหน้าที่อย่างไร สำหรับสัดส่วนรายได้ที่หน่วยงานอื่นจัดเก็บ เช่น สรรพกร สรรพสามิต ฯลฯ ขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด คงต้องรับฟังเสียงสะท้อนอีกหลายระลอก

 
อันที่จริงเชียงใหม่มหานครที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่นี้ ยังไม่กระทบต่อ อปท. ทั่วประเทศมากนัก ปัญหาที่แท้จริงของ อปท. ที่ประสบอยู่ขณะนี้เกิดจากการขาดกฎหมายที่จะเป็นไม้เป็นมือให้ได้แสดงความสามารถในการบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 
ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,853 แห่ง มีรายได้จัดเก็บเองเพียงร้อยละ 8.62 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นแล้วนับว่ายังน้อยมากเนื่องจากกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไม่เอื้อต่อการบริหารงานและไม่ทันยุคสมัย หากมีการปรับปรุงจะก่อให้เกิดรายได้อย่างมหาศาล เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณรัฐบาลกลาง

 
รัฐบาลชุดก่อนมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ...... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแต่ยังไม่ทันได้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

 
กฎหมายนี้ปรับปรุงมาจากพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และพ.ร.บ.กำหนดราคากลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2529 มีจุดมุ่งหมายขยายฐานภาษีเพื่อให้ อปท.จัดเก็บได้มากขึ้นและให้เกิดความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน mso-border-alt:none windowtext 0cm;padding:0cm">แนวคิดนี้สร้างความฮือฮาพอควร แต่ก็มีอันเงียบไป เมื่อ อปท.ไม่สามารถพัฒนารายได้ของตนก็ต้องพึ่งงบจากรัฐบาลกลางวนเวียนอยู่กับวัฒนธรรมการเมืองแบบพึ่งพานำไปสู่การวิ่งเต้นในกระบวนการจัดสรรงบเพื่อให้ท้องถิ่นพื้นที่ของตนได้รับงบมาก แบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา

mso-fareast-font-family:Calibri"> 
mso-fareast-font-family:Calibri">หากต้องกาเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้ควรขยายฐานผู้เสียภาษีให้กว้างขึ้น ปรับปรุงฐานราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี และแยกประเภทภาษีให้ชัดเจน

 
กฎหมายของ อปท. ทั้งสี่ฉบับ คือ 1.ร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.... 2. ร่าง พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ... 3. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยรายได้ของ อปท. พ.ศ....4. ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการท้องถิ่น พ.ศ... ที่หลายฝ่ายผลักดันไม่มีความคืบหน้า รวมถึงปัญหาการถ่ายโอนภากิจจากส่วนกลางสู่ อปท. ซึ่งเดิมที่กำหนดต้องโอน 324 ภารกิจ แต่ก็ทำได้ไม่ตรงตามกำหนด

 
บางปัญหาเกิดจากความไม่ชัดเจนของกฎหมาย บางภารกิจที่โอนไปแต่ไม่ยอมโอนงบประมาณจนบางภารกิจ อปท.เริ่มจะส่งคืน เช่น การซ่อมแซมถนนของกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวงชนบท ภารกิจบางอย่าง อปท.ไม่ยอมรับโอนหรือหน่วยงานส่วนกลางบางหน่วยที่ไม่ยอมโอนภารกิจ

 
ในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้มีการปกครอง 2 ระดับ คือรัฐบาลกลางกับการบริหารงานท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น เขามุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เรื่องเดือดร้อนต่างๆ ของประชาชนได้รับการแก้ไขโดยคนที่ใกล้ชิดประชาชนโดยประชาชนเองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เมื่อปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไขอย่างถูกจุดจะทำให้การแก้ไขปัญหาระดับประเทศทั้งการเมืองและเศรษฐกิจเดินหน้าได้ราบรื่นขึ้น

 

การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางหลายครั้งนำไปสู่ต้นทุนการสร้างปัญหา การเสียโอกาสและกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะหากปัญหาของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขจะนำไปสู่ความขัดแย้งและการประท้วงต่างๆ ดังที่เกิดขึ้นหลายครั้ง อำนาจที่กระจุกตัวอยู่ส่วนกลางแก้ไขปัญหาล่าช้า การปฏิวัติรัฐประหารทำได้ง่าย แค่เคลื่อนขบวนรถถังออกจากกรม กองไม่กี่คัน จับผู้นำหัวแถวไม่กี่คนอำนาจก็ผ่องถ่ายไปยังอีกฝักฝ่ายหนึ่งเพียงพลิกฝ่ามือ หากกระจายอำนาจไปยังชุมชนหรือท้องถิ่นปัญหาเหล่านี้จะทุเลาเบาบางลงไป เพราะมีการตรวจสอบถ่วงดุล

 

ในประเทศไทยเราแม้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับล่าสุดจะให้ความสำคัญการกระจายอำนาจ แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลยังอุดหนุนรายจ่ายของ อปท. ที่คิดเป็นสัดส่วนรายจ่ายของรัฐกลับไม่เป็นไปตามที่กำหนด ยิ่งหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่ายังต่ำมาก

 
ปัญหาเร่งด่วนที่ อปท. ต้องแบกรับภาระอยู่ขณะนี้คือ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลซึ่งยังไม่สามารถเบิกตรง เพราะยังไม่มีการปรับปรุงกฎหมาย ข้าราชการ พนักงานเจ็บป่วย อปท.ต้องจ่ายให้กับหน่วยรักษาโดยเบิกจากงบประมาณประจำปี บางรายป่วยโรคมะเร็งค่ายาเข็มละเกือบ 100,000 บาท อปท.ต้องรับภาระรายละเกือบ 1,000,000 บาท กระทบกับงบประมาณด้านการพัฒนา บางแห่งแบกรับภาระไม่ไหว ผู้ป่วยเห็นใจผู้บริหารฝ่ายการเมืองต้องยอมโอนย้ายไปอยู่ราชการส่วนกลาง

 
งานบางอย่างไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่แต่ถูกมอบหมายให้ดำเนินการ เช่น การจัดเก็บข้อมูล จปฐ.ของกรมพัฒนาชุมชน การให้ข้าราชการท้องถิ่นลงนามรับรองคุณสมบัติหรือจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรเพื่อขึ้นทะเบียนเกษตรซึ่งเป็นงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือการตั้งด่านสกัดยาเสพติด โดยปกติหากตำรวจตั้งด่านต้องมีตำแหน่งสัญญาบัตรขึ้นไปเป็นหัวหน้าชุด แต่ปัจจุบันเริ่มมีการสั่งการในลักษณะนี้ ทำให้ อปท.ส่วนใหญ่อึดอัด Calibri"> เพราะไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ หากมีปัญหาย่อมไม่พ้นผิด

mso-fareast-font-family:Calibri"> 
สำหรับเชียงใหม่มหานคร นับว่าเป็นความกล้าหาญของคณะผู้ทำงานที่พยายามขับเคลื่อนให้มีการปกครองแบบก้าวหน้า แม้ขณะนี้จะเป็นเพียงร่าง พ.ร.บ. ที่ยังต้องแก้ไขปรับปรุงผ่านความคิดเห็นอีกมาก และควรรณรงค์ควบคู่กับการผลักดันปรับปรุงกฎหมายสำคัญอื่นๆ เพื่อสอดรับกับกระแสโลก normal">

mso-fareast-font-family:Calibri;font-style:normal"> 
normal">การกระจายอำนาจเป็นการสร้างรากฐานสังคมไทยให้เข้มแข็งขึ้น หาก Calibri">เดินหน้ายกระดับเป็นนโยบายวาระแห่งชาติ ทำให้ปรากฏผลออกมาได้นอกจากจะเซอร์ไพรส์สร้างมิติใหม่ด้านการบริหารงานท้องถิ่นแล้ว mso-fareast-font-family:Calibri">

mso-fareast-font-family:Calibri"> 
ยังจะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ของระบบราชการไทย Calibri">

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท