Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

นูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากวิทยุสากลเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นตอนที่สองของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจ๊ะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 

0000

การเจรจาสันติภาพอาเจะห์ รอบที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2547 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ หัวข้อหลักในการประชุมพิจารณาเป็น เรื่องเกี่ยวกับการปกครองพิเศษตนเอง หรือรูปแบบที่มีลักษณะพิเศษกว่า ตามข้อเสนอของขบวนการอาเจะห์เสรีที่ต้องการมีรัฐบาลตนเองที่มีอิสระ   หัวข้อตามระเบียบวาระการประชุมในวันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2547 เรื่องการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะเรื่องของการคงอยู่ของพรรคการเมืองท้องถิ่น  การพูดคุยมีความคืบหน้าเล็กน้อย และมีคำศัพท์บางคำที่สามารถตกลงกันได้  อย่างไรก็ตาม แม้ไม่มีปัญหา ยังมีปัญหาอุปสรรคที่จะต้องก้าวผ่านไป  และมีหัวข้อที่ซับซ้อนมากมายที่จะต้องแก้ไข สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เรียกร้องให้ยุติข้อขัดแย้ง ในขณะที่ขบวนการอาเจะห์เสรี ใช้วิธีการหน่วงเหนี่ยวการเจรจา ด้วยปัญหาการเรียกร้องเอกราช และยื่นเงื่อนไขให้มีข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งทางสาธารณะรัฐอินโดนีเซียบอกปัดปฎิเสธ   และแน่นอนที่สุดจะเห็นว่าการเจรจาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและบรรลุข้อตกลงสันติภาพในระยะเวลาอันใกล้หรือภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนนี้อย่างแน่นอน หรืออาจบรรลุข้อตกลงได้ จนกว่าการประชุมในรอบที่ 4 หรือรอบที่ 5 ประวัติศาสตร์การเจรจาสันติภาพที่เฮลซิงกิจะลงเอยอย่างไร และไม่ใช่เหตุจากสึนามิหรอกหรือ?

นักวิสาหกิจสองคน

มีเบื้องหลังกระบวนการเจรจาเฮลซิงกิ ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ 

ประการที่หนึ่ง ประธานาธิบดี ศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน  หรือ ประธานาธิบดี SBY อดีตนายพลผู้มีทัศนะสายพิราบ  เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในความริเริ่มการพูดคุยสันติภาพในอาเจะห์ เป็นผู้ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคะแนนเลือกตั้งที่ชนะขาดในอาเจะห์  และในสายตาประเทศตะวันตก ท่านเป็นสัญลักษณ์ แห่งประชาธิปไตยใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย 

ประการที่สอง ประชาชนชาวอาเจะห์มีความเหนื่อยหน่ายกับความขัดแย้งและเริ่มมีการเรียกร้องเพื่อแสวงหาสันติภาพทุกวิธีทาง  เหตุการณ์แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิซ้ำเติมความเศร้าสลดที่เขาประสบอยู่ ประกอบกับ ท่ประธานาธิบดี ศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นที่รื้อฟื้นการพูดคุยเพื่อสันติภาพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้เห็นภาพความช่วยเหลือของชาวต่างชาตินำมาสู่อาเจ๊ะห์ หลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ  

ท่านประธานาธิบดี ศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน ยังคงแสวงหาความช่วยเหลือและการสนับสนุน โดยท่านได้เชื้อเชิญบรรดาเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆลงพื้นที่ มาเยือนอาเจะห์  และไม่เพียงแค่การช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เท่านั้น ยังมีประเทศสิงค์โปร์ และลิเบีย และประเทศอื่นๆ เป็นต้น   ยุทธศาสตร์ของท่านประธานาธิบดีสอดคล้องกับความมุ่งมั่น ความทะเยอทะยานของท่านรองประธานาธิบดียูซุป กัลลา 

รองประธานาธิบดี ยูซุป กัลลา อดีตนักวิสาหกิจจากสุลาเวซีใต้ที่ประธานาธิบดี ศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน เลือกและเชิญมาร่วมบริหารและฟื้นฟูประเทศชาติ ในส่วนของการพูดคุยเพื่อสันติภาพในอาเจะห์  มีนักวิสาหกิจสองคนทำงานกันอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง 

นักวิสาหกิจคนแรกคือ ยูซุฟ กัลลา  ผู้ที่เคยเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยที่ประสบความสำเร็จ ในการพูดคุยเพื่อสร้างสันติภาพในโปโซ และวันนี้ท่านมีเป้าหมายเพื่อนำความสำเร็จสู่อาเจะห์ นักวิสาหกิจคนที่สองคือ นายยูฮา คริสเท็นเซ็น นักวิสาหกิจชาวฟินแลนด์ ผู้มีภรรยาเป็นนักวิจัยด้านภาษา ทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เมืองสุลาเวซีใต้ ในระยะเวลาสั้นๆเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาอินโดนีเซีย และภาษามากัสสาร์ คริสเท็นเซ็นอายุ 46 ปี  มีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรม ประเพณี  และวิถีชีวิตของสังคม และเข้าใจ รู้ซึ้งในวัฒนธรรมประเพณีที่ละเอียดอ่อนของอินโดนีเซีย  จึงเป็นผู้ที่เข้าใจในวิถีความแตกต่างจากเพื่อนต่างชาติ  ผู้ซึ่งบางครั้งมีความสงบ เยือกเย็นและสงวนท่าที

ฟาริสและ คริสเท็นเซ็น

เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น มีครอบครัวชาวสุลาเวซี หนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนกัน คริสเท็นเซ็น มาบอกกล่าวกับ ฟาริด ฮูเซ็น คนสนิทของท่านกัลลาว่า เขามีสายสัมพันธ์ รู้จักและสามารถติดต่อกับแกนนำขบวนการอาเจะห์เสรี ในสต๊อคโฮล์ม  ประเทศสวีเด็น ข้อมูลข่าวดังกล่าวนี้ สร้างความกระตือรื้อร้นต่อฟาริดมาก เขาจึงแจ้งต่อยังท่านรองประธานาธิบดี กัลลา และท่านจึงขอให้คริสเท็นเซ็นให้ความช่วยเหลือดำเนินการติดต่อกับ ขบวนการอาเจะห์เสรี ในนามรัฐบาลอินโดนีเซีย  และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ทั้งฟาริด และคริสเท็นเซ็น จึงเดินทางไปสวีเด็น แต่ขบวนการอาเจะห์เสรีปฎิเสธที่จะพบกับ ฟาริด  ฮูเซ็น

เดือนมกราคม 2548 หลังเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ   คริสเท็นเซ็น สามารถโน้มน้าวชักชวนให้ขบวนการอาเจะห์เสรี มาพบกับ ฯพณฯ มาร์ตติ อะห์ติซารี ประธาน CMI  (The Crisis Management Initiative Organization : องค์กรริเริ่มเพื่อการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ  : ผู้แปล)  สำเร็จ

มีคนจำนวนมาก ถามว่า ทำไมนักธุรกิจผู้ที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ติดต่อใดๆกับอาเจะห์ เดินทาง ไปๆ มาๆ ระหว่างสต๊อคโฮล์ม เฮลซิงกิ และจาการ์ต้า ยอมอุทิศตนทุ่มเทเพื่อแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์ และเขาเป็นคนต่างด้าวและอาเจะห์ก็มิใช่เป็นประเทศชาติของเขา

“สิ่งที่ผมมีความพยายามกระทำ ผมต้องการเห็นสันติภาพ และขณะนั้นประเทศอินโดนีเซียได้เป็นประชาธิปไตยแล้ว” ยูฮา  คริสเท็นเซ็น ตอบ เขาให้สัมภาษณ์ กาตริ เมอร์กัลป์ลิโอ (Katri Merikalio)  ผู้สื่อข่าว วารสารฟินแลนด์  ซูโอเม็น กูวาและห์ติ (Suomen Kuvalehti)  ที่นิยมเรียกว่า เอ็สกา (Eska) วารสาร ไทมส์ ภาคภาษาฟินแลนด์  และความคาดหวังของ ยูฮา  คริสเท็นเซ็นกลายเป็นความจริง เมื่อ ฟาริด ฮูเซ็น และฮามิด อะวาลุดดีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายและสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซีย และคนของกัลลา จากสุลาเวซีใต้ นำคณะผู้แทนเจรจากับขบวนการอาเจะห์เสรี เมื่อคณะผู้แทนเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรี ตัดสินใจประชุมพบปะกับ มาร์ตติ อะห์ติซารี    เมื่อเดือน มกราคม 2548 ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในอาเจะห์จึงเกิดขึ้น ประจวบกับการเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ เป็นเสมือนตัวเร่งให้เกิดกระบวนการสันติภาพให้เร็วขึ้น

ความปรารถนาดี

ประเทศฟินแลนด์ เป็นประเทศเฉกเช่นประเทศอื่นๆในสแกนดิเนเวียที่มีวัฒนธรรมประเพณี มีวิถีรักความสงบสันติเป็นเวลายาวนานนับศตวรรษ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างฟินแลนด์และอินโดนีเซีย มีการแลกเปลี่ยนการค้า ระหว่างผลิตภัณฑ์จากสินค้าผลิตภัณฑ์จากไม้ และโนเกีย  ที่สำคัญคือ นับตั้งแต่ ประธานาธิบดี ซูฮาร์โต้ สิ้นอำนาจลง นักธุรกิจ นักลงทุนชาวฟินแลนด์จำนวนมาก ต่างยุติกิจการในประเทศอินโดนีเซียและเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศจีน , องค์กร CMI ภายใต้ มาร์ตติ อะห์ติซารี  เลือกในความพยายามที่จะสร้างสันติภาพ เสมือนเป็นการมอบความปรารถนาดีจากประเทศฟินแลนด์ เฉกเช่น ประเทศสวีเด็นที่มีต่อประเทศบอสเนีย และประเทศนอร์เวย์ที่มีต่อประเทศศรีลังกา องค์กร CMI หวังที่จะเสริมสร้างภาพพจน์ของประเทศฟินแลนด์ผ่านบทบาทฑูตแห่งสันติภาพนำมามอบให้

บททดสอบของมาร์ตติ อะห์ติซารี

ประเทศฟินแลนด์ เคยเป็นแบบอย่าง ภาพพจน์ดีและเป็นแม่แบบที่ดีเพราะมีความเหมาะสมหลายประการ ประเทศฟินแลนด์ไม่มีกองกำลังที่จะสังหารประชาชน  ไม่มีการลักพาตัวผู้สื่อข่าว อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์มี เกาะโอแลนด์ ที่มีระบบการปกครองเกาะในรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษ  ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกรุงสต๊อคโฮล์ม ประชาชนพูดภาษาสวีดิช 

มีธงชาติของตนเอง ปฎิเสธการมีกองกำลังทหารนับตั้งแต่ ปี 2464 เป็นต้นมา ประชาชนอยู่อย่างสันติและฐานะที่เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของฟินแลนด์ และโอแลนด์มิได้เหมือน อาเจ๊ะห์ มีอดีตประธานาธิบดี  มาร์ตติ อะห์ติซารี  เป็นผู้ทีได้รับความนิยมและเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในยุโรป จึงเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จ                     

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net