Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากวิทยุสากลเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นตอนที่สองของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 
 
 
0000
 
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดร.ฟาริด ฮูเซ็น  พักอาศัยอยู่ที่เรือนรับรองของรัฐบาลฟินแลนด์จัดให้ ที่เมือง วานต้า (Vantaa) ห่างจากใจกลางเมือง เฮลซิงกิประมาณ 25 กิโลเมตร ขณะที่เขานั่งพักผ่อนอยู่ที่ห้องนั่งเล่น เขารีบไปหาผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจ๊ะห์เสรี (GAM)  ที่นั่งอยู่สองท่าน  จึงมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันอย่างฉันท์มิตรในเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวกับกรุงเฮลซิงกิ  จากนั้น ขณะที่เขาจะเดินออกจากห้องพักนั่งเล่น  ฟาริดจึงเอื้อนเอ่ยแก่ทั้งสองว่า”ทำไมเราต้องมาอยู่คนละฝ่ายกัน ทำไม่เราไม่มาพายเรือลำเดียวกัน อย่างพวกเรา ทำไม่เราไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรามาร่วมกันสร้างสรรอาเจะห์ดีกว่า ”
 
ผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรีตอบเขาอย่างสุภาพว่า ความขัดแย้งในอาเจะห์มีมากกว่า 29 ปีแล้ว เขากล่าวว่า มันต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ  แบ่งปันกระบวนทัศน์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติด้วยความเชื่อถือไว้วางใจ การแสดงความรักต่อกัน 
 
ผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรีอีกท่านกล่าวว่า หากเราไม่สามารถแบ่งปันวิสัยทัศน์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เราก็ไม่อาจที่จะพายเรือลำเดียวกันได้ การที่เราได้มาโต้เถียงทะเลาะกันก่อนในวันนี้ เท่านั้นจะเป็นทางออกและประกันว่าเรือจะถึงจุดหมายสุดท้าย ไม่มีผู้ใดที่จะตอบสนอง เราทั้งหมดคือผู้เป็นหลักที่จะนำมันมาพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการในบ้านรับรองนี้
 
การพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการสิ้นสุดลงในสัปดาห์นั้น  เป็นการสิ้นสุดการเจรจารอบที่ 3 โดยการเจรจารอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 27  29 มกราคม 2548 และการเจรจารอบที่ 2 ระหว่างวันที่  21 – 23 กุมภาพันธ์ 2548 เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน
 
การถกเถียงในเรื่องเดียวกันอาจกระทำกันซ้ำๆ ซากๆในการเจรจากันมากกว่าหนึ่งถึงสองครั้ง  การทบทวนย้อนกลับพิจารณาข้อความหรือกระทำซ้ำในหัวข้อเดียวกัน เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตั้งข้อสังเกตในเรื่องหรือประเด็นมีความเห็นต่างกัน และทั้งสองฝ่ายใช้ถ้อยที่ถ้อยอาศัยด้วยอัธยาศัยที่ดีต่อกันและผู้เจรจาต่างปรับทัศนคติที่ดีต่อกัน เมื่อเขาแยกกันออกจากโต๊ะเจรจา พวกเขาจะพูดคุยกันอย่างมีอัธยาศัยไมตรี และมีการพูดหยอกเหย้ากัน ด้วยเรื่องตลก เฮฮาตลอด แต่เมื่อเขามานั่งบนโต๊ะเจรจา เผชิญหน้ากันบนโต๊ะเจรจาทั้งสองฝ่ายจะใช้ภาษา คำพูด หนักแน่นจริงจังเป็นงานเป็นการอย่างเป็นทางการ
 
หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายอินโดนีเซีย นำทีมโดย ฮามิด อะวาลุดดีน (Hamid Awaluddin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เป็นผู้นำเสนอข้อเสนอที่มีการเตรียมมาอย่างดีแล้วต่อผู้แทนคณะเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นข้อเสนอที่เรียกร้องให้ยุติความเป็นปรปักษ์ ความเกลียดชังที่มีต่อกัน  เรียกร้องให้มีการวางอาวุธและเชิญชวนมาร่วมกันในการฟื้นฟูสันติภาพ ปรองดองสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการสร้างความเจริญความมั่งคั่งให้กับอาเจะห์
 
คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ยังเสนอ ให้มีเขตปกครองตนเองพิเศษ, การประกาศนิรโทษกรรม,การเพิ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแก่อาเจะห์, การปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดนี้  ฮามิด กล่าวเสริมว่า ได้มีการจัดทำเป็นกรอบข้อตกลงทำความเข้าใจแล้วอย่างละเอียดเพื่อเตรียมมอบให้แก่อาเจะห์อย่างถาวร ยิ่งกว่านั้นยังมีข้อเสนอกรอบกฎหมายของเขตปกครองตนเองพิเศษ 18,2001 ด้วย
 
การเพิ่มเงินกระตุ้นเศรษฐกิจประเภทต่างๆ มีมูลค่าราว 10 ล้านล้านรูเปียส (ราว 3 พันล้านบาท) รวมถึงโครงการพัฒนาถนน สะพาน การศึกษา ปรับปรุงพัฒนาความสะดวกด้านคมนาคมการขนส่งทั้งทางอากาศ ทางบก และทางทะเลและอื่นๆ และขณะเดียวกัน ขบวนการอาเจะห์เสรีจะต้องยุติบทบาท ยอมวางอาวุธ และละเว้นการปลุกระดม การยุยงการก่อการจราจล
 
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีข้อเสนออะไรบ้าง ? ข้อเสนอของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับแนวความคิดการปกครองที่มีรัฐบาลของตนเอง การนำเสนอที่เป็นลายลักษณ์อักษร เสนอรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ครอบคลุมถึงการจัดการด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเมือง สาธารณรัฐอินโดนีเซียรับข้อเสนอและจะตอบเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยผ่านองค์กรริเริ่มเพื่อการบริการจัดการภาวะวิกฤติ (CMI :The Crisis Management Initiative)
 
ความเข้าใจผิดเกิดกับ คำจำกัดความของคำว่า “รัฐบาลตนเอง” (Autonomy) ต่างฝ่ายต่างตีความตามความเข้าใจของฝ่ายตน  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้คำจำกัดความคำว่า “รัฐบาลตนเอง” หมายถึง “สิทธิการปกครองตนเองพิเศษอย่างกว้างขวาง” แต่สำหรับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ใช้คำจำกัดความชองคำว่า”รัฐบาลตนเอง” หมายถึง”รูปแบบของรัฐอย่างหนึ่ง”
 
“อย่างไรก็ตาม การตีความคำว่า “รัฐ” ของเรา ไม่เหมือน คำว่า “รัฐ”ในความหมายของระบบ สหพันธรัฐ เพราะอินโดนีเซียมีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว ที่มีการแยกเป็นปกครองส่วนภูมิภาคเหมือนลักษณะรัฐ แต่มิใช่เป็นรัฐ” นุรจูลี  ผู้แทนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวและเสริมว่า คำว่า”เขตปกครองตนเองพิเศษ”ความจริงแล้วมีส่วนเสริมความขัดแย้ง  “หากเรายังคงยืนยันที่จะใช้คำว่า “ปกครองตนเองพิเศษ” เราก็จะวนไปวนมาเป็นวงกลมซ้ำแล้วซ้ำอีกเหมือนเดิม ดังนั้นคำจำกัดความไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง
 
ในการพูดคุยนอกรอบ  ขบวนการอาเจะห์เสรีอธิบายคำว่า รัฐบาลตนเอง เหมือนจังหวัดหนึ่งในการปกครองแบบรัฐเดี่ยวมีเพลงและธงตนเอง มีอำนาจในด้านการจัดการศึกษา การท่องเที่ยว การท่า รวมถึงปัญหาความละเอียดอ่อนในการอนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนประชาชนมีสิทธิในการยับยั้ง วิโต้ญัตติที่เกี่ยวข้องกับอาเจะห์
 
ข้อเสนอของฺฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ค่อนข้างจะเป็นรูปธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการประชาสัมพันธ์ผู้หนึ่งที่ร่วมพูดคุยตั้งแต่เริ่มต้นกล่าวว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นข้อเสนอของขบวนการอาเจะห์เสรีสามารถรับได้ทันที่ บางส่วนอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง และบางส่วนไม่สามารถรับได้เลยเนื่องจากขัดกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศ
 
การถกเถียงในหัวข้อ “รัฐบาลตนเอง" เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงที่ยืดเยื้อในการถกกันระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กับคณะผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ที่เมือง วานต้า เฮลซิงกิ
 
ทุกๆ วันยังคงมีการพูดถึงจุดกึงกลางของปัญหาของ รัฐบาลตนเอง และเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เกี่ยวข้อง และแม้ว่าจะเข้าสู่การเจรจารอบที่ 3 แต่ญัตตินี้ยังคงเป็นหัวข้อหลักในการถกเถียงกันต่อไป
 
การพูดคุยดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ท่ามกลางการเจรจาตกลงสันติภาพในอาเจะห์  ผู้แทนคณะเจรจาของขบวนการอาเจ๊ะห์เสรีได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพพจน์ที่เลวร้ายของรัฐบาลอินโดนีเซีย แม้จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม  แต่ก็ได้สร้างความหัวเสียสร้างบรรยากาศที่เสียหายในการเจรจา เช่นเมื่อ  นูรจูลี รายงานในที่ประชุมว่า เมื่อเร็วๆนี้ หญิงสาวชาวอาเจะห์ถูกชายฉกรรจ์ จำนวน 9 คนทำการละเมิดทางเพศด้วยการข่มขืน และกล่าวเพิ่มเติมว่าชายผู้ต้องสงสัยทั้ง 9 คนเป็นคนของทหารรัฐบาล   ยิ่งกว่านั้น นูรจูลี ยังได้ นำเสนอตัวเลขของกำลังทหารแห่งกองทัพแห่งชาติ อินโดนีเซีย (TNI :Tentera Nasunal Indonesia ) ที่ประจำการในอาเจะห์ ว่ายังไม่มีการลดจำนวนกองกำลังประจำการแต่อย่างใด
 
สถานการณ์เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมีการล็อบบี้ไว้ก่อนหน้าทั้งฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ว่าการเสนอข้อเสนอใดๆ ต้องให้มีการรับรองจากทั้งสองฝ่ายก่อนเป็นหลักเหณฑ์  เนื่องจากต้องการสร้างความเป็นเอกภาพจากขั้วทั้งสองฝ่าย และย่อมเป็นที่เข้าใจดีกันว่า ความขัดแย้งในอาเจะห์ เกิดขึ้นเป็นเวลายาวนานถึง 29 ปี ประชาชนทั้งสองฝ่ายต่างตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง   ความผิดหวัง การพลัดพรากถูกทอดทิ้ง ไม่มีความหวังหมดอาลัยตายอยาก  จึงไม่ต้องการให้มีการพูดถึงเรื่องร้ายๆ และพูดในแง่ร้าย หากยังคงมีการตอกย้ำแล้ว การพูดคุยเพื่อสันติภาพเพื่ออาเจะห์ที่เริ่มต้นด้วยดีแล้ว ก็จะมีผลออกมาเหมือนเดิมๆในที่สุด
 
ก่อนที่การพูดคุยนอกรอบจะเกิดขึ้นที่เฮลซิงกิ  ได้มีการพูดคุยรอบอื่นๆ แล้วที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการนี้พยายามเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับชาติและนานาชาติ แต่ก็ประสบความล้มเหลว สันติภาพในอาเจะห์จึงยังคงมืดมน
 
ก่อนจะมีการพูดจาสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการในเฮลซิงกิครั้งนี้ การพูดจาเพื่อสันติภาพโคฮา (CoHA : The Cessation of Hostilities  Agreement  ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์) ก็เกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อ 9 ธันวาคม 2544 ซึ่งผลที่เกิดจากการเจรจาสันติภาพโคฮา ยังไม่เป็นที่พอใจ และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีก็ได้กลับคืนสู่ฐานที่มั่นบนภูเขาด้วยกำลังอาวุธเต็มอัตรากำลังทันที
 
บทเรียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงการออกแรงผลักดันอย่างมุ่งมั่นมากแล้ว เขาจึงต้องการให้มีการแสดงออกถึงความตั้งใจที่ดี และการพิจารณาข้อเสนอด้วยความเคารพและให้เกียรติ ด้วยการที่ไม่ต้องการให้กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน มิฉะนั้นแล้วสันติภาพจะไม่เกิดขึ้นในอาเจะห์อย่างแน่นอน
สมาชิกคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายอินโดนีเซีย รวมถึง ซอฟญาน เอ ดจาลิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมและการประชาสัมพันธ์  และฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการประชาชนยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ ยังคาดหวังว่ายังสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างสันติภาพได้
 
“ผมยังมีทัศนคติที่ดี มองในแง่ดีเสมอว่า คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายจะต้องประสบความสำเร็จในภารกิจการเจรจาและสามารถเข้าถึงการตกลงสันติภาพในอาเจะห์อย่างแท้จริง   การมองในแง่ดีนี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เพื่อนของผม และผมเข้าถึงอาเจะห์ “ ฟาริดกล่าว ตามความเข้าใจนั้น การเจรจานอกรอบยังต้องอาศัยเวลา ทุกคนทำงานด้วยกัน ถกเถียงกันอย่างจริงจังและมีเนื้อหาสาระมากมาย
 
ผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี ต่างก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไซนี อับดุลลอฮฺ , นุรดี, บัคเตียร์, และนุรจูลี กล่าวกับ ผู้สื่อข่าว KOMPAS ว่า 
 
“หากเราไม่แสดงออกถึงช่องว่างในการถกเพื่อสันติภาพด้วยทัศนะแง่ดีแล้ว เราคงจะไม่มารวมการพูดจาอย่างแน่นอน” นุรดีน กล่าว
 
ส่วนหนึ่งของปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น  องค์กรริเริ่มเพื่อการบริการจัดการภาวะวิกฤติ (ซีเอ็มไอ) แก้ไขด้วยการกำหนดเส้นตาย และระยะเวลาของการเจรจา มาเรีย-อีเลนา เคาเวลล์ ผู้ประสานงานการไกล่เกลี่ย กล่าวว่า ได้กำหนดระยะเวลาการไกล่เกลี่ยให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม   เธอกล่าวว่า หากการเจรจาไม่บรรลุสันติภาพ หรือไม่สามารถลงเอยด้วยความเข้าใจได้ การเจรจาก็จะยุติลง  
 
“เราจะพูดจากันวกวนซ้ำซากเป็นวงกลมทำไม  การที่ซีเอ็มไอกำหนดเส้นตายเป็นแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งมั่นและจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็วเท่าที่จะทำได้

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net