Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
 

 

 
mso-bidi-language:TH">ข้อเสนอแนะ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ รัฐสภาทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตั้ง ส.ส.ร. นั้น ฟังแล้ว ตลกอย่างไร ผู้เขียนอธิบายไปแล้ว ( http://bit.ly/talok13 )
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">จนมาถึงวันนี้ ตลก ศุกร์ 13ที่ว่า ก็ได้กลายร่างเป็น ฝันร้ายของประชาธิปไตยไทยไปเรียบร้อย
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">ฝันร้ายที่หนึ่ง ศาลได้ลดสถานะตนเองจาก mso-bidi-language:TH">‘ผู้ชี้ขาด ว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ มาเป็นเพียง ที่ปรึกษาว่าอะไรควรไม่ควร
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">ฝันร้ายที่สอง แทนที่ศาลจะ TH">‘วินิจฉัยปัญหาให้สังคมเดินหน้าต่อได้ ศาลกลับ สร้างปัญหาเพิ่มความขัดแย้งต่อไปว่า การแก้ไข มาตรา 291 วาระ 2 นั้นได้ตกไปแล้วหรือไม่ ? และสภาจะต้องเดินหน้าต่อไปอย่างไร ?
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">ฝันร้ายที่สาม  ศาล ชิงอ่านคำวินิจฉัยให้มีผลไปก่อน แต่กลับ ยื้อไม่ให้สังคมได้ตรวจสอบคำวินิจฉัย กล่าวคือ ศาลเก็บสิ่งที่อ่านไปปรับแก้ และรอให้ตุลาการประชุมเห็นชอบอีกครั้ง ซึ่งขัดกับกฎหมายที่กำหนดให้คำวินิจฉัยมีผลในวันอ่าน และเป็นเด็ดขาด
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">โฆษกศาลยังแถลงอีกว่า ตุลาการมีเวลาทำคำวินิจฉัยส่วนตน 60 วัน ซึ่งขัดกับกฎหมายที่กำหนดให้ตุลาการแต่ละคนต้องเขียนคำวินิจฉัยให้เสร็จก่อนการลงมติ ซึ่งบัดนี้ก็ยังไม่ชัดว่า ศาลได้ลงมติเรื่องการลงประชามติ ตามที่ข่าวรายงานจริงหรือไม่ ? และหากมีการงดเว้นไม่ลงมติ จะถือว่าศาลทำผิดกฎหมายหรือไม่ ? (ดู http://bit.ly/Praden2 )
mso-bidi-language:TH"> 
 
mso-bidi-language:TH">แต่ฝันร้ายที่น่ากลัวที่สุด TH"> ก็คือ การที่ mso-bidi-language:TH">‘สมาชิกพรรคเพื่อไทยบางท่าน ดูจะมีอาการ ฝันหลอน ตามศาล โดยพร้อมจะยอมทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยง การถูกยุบพรรค
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">หากพรรคการเมืองใด ยอมให้ กฎหมายถูกทำลาย และประชาธิปไตยถูกทำร้าย เพียงเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของพรรคตนไว้ พรรคแบบนี้ หากจะถูกยุบไป ก็คงไม่น่าเสียดายนัก!
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">ผู้เขียนย้ำว่า พรรคการเมืองและรัฐสภาต้องยึด TH">‘รัฐธรรมนูญให้อยู่เหนือศาลรัฐธรรมนูญ TH">!
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">กล่าวคือ เมื่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 บัญญัติว่า TH">‘รัฐสภามีหน้าที่ต้องเดินต่อไปยังวาระ 3 และไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจศาลมา เสนอแนะเรื่องการทำประชามติ อีกทั้งศาลเองก็ยืนยันไปแล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ดังนั้น สภาจึงมี หน้าที่ต้องเดินหน้าต่อไปสู่วาระ 3 (เพื่อลงมติว่า เห็นชอบการแก้ไข มาตรา 291 หรือไม่)
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">คำถามสำคัญ ก็คือ รัฐสภาจะเดินหน้าต่อไปด้วย TH">‘ท่าทีอย่างไร ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหลักแหลมแยบยลในทางการเมือง เป็นธรรมและลดแรงกดดันจากทุกฝ่าย ไปในเวลาเดียวกัน ?
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ผู้เขียนขอเสนอแนวคิด การลงประชามติโดยการ mso-bidi-language:TH">‘Vote No’ ไม่เอา ส.ส.ร. TH">ซึ่งมีหลักการดังนี้
mso-bidi-language:TH"> 
color:#002060;mso-bidi-language:TH">1. เมื่อศาลไม่ได้เจาะจงว่า การลงประชามติที่ศาลเสนอนั้นเป็นอย่างไร สภาจึงมีสิทธิตีความและพิจารณาแสวงหาวิธีการลงประชามติที่เหมาะสมและไม่ขัดต่อหลักกฎหมายได้
color:#002060;mso-bidi-language:TH"> 
color:#002060;mso-bidi-language:TH">2. ก่อนการลงมติในวาระที่ 3 รัฐสภาสามารถประกาศ คำมั่นทางการเมืองแก่ประชาชน ดังนี้
color:#002060;mso-bidi-language:TH"> 
2.1 ในวันเลือกตั้ง ส.ส.ร. หากประชาชนได้กาช่อง ไม่ประสงค์ลงคะแนน’ (Vote No) รวมกันสูงเป็นลำดับที่ 1 จากคะแนนทั้งหมด รัฐสภาจะยอมรับว่า ประชาชนมีมติไม่ต้องการให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และสภาก็จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยกเลิกการตั้ง ส.ส.ร. (โดยยอมรับข้อจำกัดว่า อาจมีประชาชนบางส่วนต้องการให้มี ส.ส.ร. แต่ไม่ประสงค์เลือก)
color:#002060;mso-bidi-language:TH"> 
2.2 ตรงกันข้าม หากประชาชนเสียงข้างมากตัดสินใจลงคะแนนเลือก ส.ส.ร. สภาก็ย่อมเคารพมติของประชาชนในการเดินหน้าให้มี ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
color:#002060;mso-bidi-language:TH"> 
3. หากกการ mso-bidi-language:TH">Vote No ยังไม่ชัดพอ สภาสามารถใช้อีกวิธีโดยให้ ผู้ที่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ส่งตัวแทนมาลงสมัครเป็น ส.ส.ร. ในแต่ละเขต โดยบรรดาผู้สมัครเหล่านี้ สามารถประกาศให้ชัดแจ้งว่า หากพวกตนได้รับเลือกเข้าไปเป็น ส.ส.ร. เสียงข้างมาก พวกตนก็จะลาออกจากการเป็น ส.ส.ร. เพื่อทำให้กระบวนการ ส.ส.ร. ต้องยุติลงตาม ร่าง มาตรา 291/15 และรัฐสภาก็ให้คำมั่นจะสนับสนุนการยุติลงดังกล่าว
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">วิธีที่นำเสนอมามานี้ เป็นการอำนวยให้ประชาชนสามารถ TH">‘ลงมติยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้ตั้งแต่ก่อนการแก้ไขทั้งฉบับจะเริ่มขึ้น ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งประหยัดงบประมาณ เพราะทำไปในคราวเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส.ร.
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">ที่สำคัญ แม้สุดท้าย ส.ส.ร. จะเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จ แต่ก็ต้องให้ประชาชน mso-bidi-language:TH">‘ลงประชามติอีกครั้งว่า จะเก็บรัฐธรรมนูญฉบับเดิมไว้ หรือจะยอมรับร่างฉบับใหม่ ซี่งก็สอดคล้องกับความห่วงใยและข้อเสนอแนะของศาลอยู่ดี
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">จากที่นำเสนอมา จึงไม่มีเหตุผลที่ผู้ใดจะต้อง TH">‘ฝันหลอน ตามศาล โดยยอมให้กระบวนการในวาระที่ 2 ตกไป หรือยอมทำประชามติก่อนการลงมติ วาระ 3 ซึ่งไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีตัวเลือกชัดเจน อีกทั้งสิ้นเปลืองงบประมาณ
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH">เว้นแต่ว่า จะมีผู้ใด ที่ไม่ได้สนใจประชาชน แต่หวังเพียงจะรักษาอำนาจของพรรคพวกตนไว้ แม้จะต้องแลกกับการ ทำลายกฎหมาย และทำร้ายประชาธิปไตยก็ตาม !
mso-bidi-language:TH"> 
mso-bidi-language:TH"> 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net