เรื่องราวของ 'ฟาริด ฮูเซ็น' ในการเจรจาสันติภาพ 'อาเจะห์' ที่เฮลซิงกิ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากสถานีวิทยุเนเธอร์แลนด์ Aboeprijadi Santosa  โดยเป็นตอนที่ 4 ของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 

 0000

หลังจากการพูดคุยเรื่องสันติภาพในอาเจะห์ผ่านไป 25 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 เดือน ประวัติศาสตร์แห่งสนธิสัญญาสันติภาพมาถึงจุดสำเร็จของผลในเฮลซิงกิ ที่มีประสิทธิผลมากกว่า สนธิสัญญา โคฮา 2002  (CoHA : The Cessation of Hostilities  Agreement  ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์)

กุญแจสำคัญที่นำสู่ความสำเร็จ เกิดจากคนกลางผู้ไกล่เกลี่ย อดีตประธานาธิบดีมาร์ตติ อะห์ติซารี ผู้นำที่ได้รับความเชื่อถือ และมีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในยุโรป และปัจจัยสนับสนุนจากความเข้มแข็งของทีมงานที่ประกอบจากชนหลายเชื้อชาติ ปัจเจกบุคคลที่มิใช่คนที่มีเชื้อสายชวา รองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา    ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของทีมงาน รวมทั้งฮามีด อะวาลุดดีน, ซอฟยาน ดญาลิล ,ฟาริด ฮูเซ็น,อุสมาน บาเซียฮฺและ ไอกุสตี อะกุง วีซากา พุดญา

ดร.ฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการประชาชน ผู้ที่ทำหน้าที่ล็อบบี้อย่างไม่เห็นแก่เหนื่อยยากในระหว่างกระบวนการประชุมสันติภาพเฮลซิงกิ  นักวิสาหกิจชาวฟินแลนด์ยูฮา  คริสเท็นเซ็น ผู้ทำหน้าที่ช่วยในภารกิจของฟาริด ฮูเซ็น

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ของนักล็อบบี้ยิสต์ ฟาริด ฮูเซ็น (FH) โดยผู้สื่อข่าว อะโบปรีจาดี ซานโตโซ (Aboeprijadi Santoso) จากสถานีวิทยุเนเธอร์แลนด์ (RN) ในเฮลซิงกิ

การล็อบบี้อย่างมั่นคง

FH : เริ่มต้นที่ สภาผู้แทนราษฎร / สภาที่ปรึกษาประชาชน มีมติให้มีการแก้ปัญหาด้วยการสร้างความเข้าใจอย่างเบ็ดเสร็จและถาวร  คำว่าความเข้าใจและถาวร หมายถึงทุกๆฝ่ายต้องมีความเห็นพ้องต้องกันและยืนหยัดเพื่อกระบวนการสันติ  ทุกๆคนต้องเข้าถึง และท่านประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีต่างก็เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นดังเช่นผู้อื่นๆที่ต้องการแก้ไขปัญหานี้

RN : เป็นความริ่เริ่มของท่านรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ใช่หรือไม่ ?

FH :  ใช่แล้ว ที่กล่าวเช่นนี้นับตั้งแต่การเริ่มต้นในยุคของประธานาธิบดี เมกาวาตี  การพูดคุยเพื่อสันติภาพ โคฮา (CoHA : The Cessation of Hostilities  Agreement  ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์) ประสบความล้มเหลว รัฐบาลจึงมองหาแนวทางความเป็นไปได้ในการจัดให้มีการพูดคุยเพื่อสันติภาพ อีกวาระหนึ่ง  และไม่จำเป็นว่าจะเป็นเวลายาวนานเท่าที่จะเกิดขึ้น ในการแก้ไขความขัดแย้ง ความจริงผู้ที่ต้องการให้มีการพูดจาเกิดขึ้น  หมายถึง มีช่องทางความเป็นไปได้ที่จะบรรลุเป้าหมายอย่างแน่นอน นับตั้งเริ่มต้น ผมเองเป็นผู้ที่ทำงานภายใต้คำสั่งของท่าน ยูซุฟ กัลลา  ท่านได้มอบภารกิจให้ผมแสวงหาเมล็ดพันธ์ุแห่งสันติ  ผมจึงเริ่มต้นในการแสวงหาเมล็ดพันธ์ุแห่งสันติภาพจากครอบครัว ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิดของแกนนำ หัวหน้าขบวนการอาเจะห์เสรี ในสวีเดน ผมสอบถาม ร้องขอเพื่อแนะนำตนเองต่อหัวหน้าขบวนการอาเจะห์เสรี      ความจริงผมต้องเดินทางมาสวีเดนถึงสองครั้ง จึงสำเร็จและสามารถเข้าพบพวกเขาได้ เพราะว่า.....

RN: เพราะว่าผู้ใดครับท่าน

FH : แน่นอน ผมคิดว่าท่านคงรู้ ว่ามีใครบ้าง  ไซนี (Zaini) มีครอบครัวอยู่ที่นี่หนึ่งละ  มาลิก มะฮมูด (Malik Mahmud) หนึ่งละ ผมได้ติดต่อกับครอบครัวเขาเหล่านี้

RN : ในอาเจะห์หรือ?

FH : ใช่แล้ว ไม่ว่าครอบครัวของพวกเขาจะอยู่ที่ไหน ผมจะหาทางพยายามติดต่อขอพบทั้งหมด  แต่ทุกคนยึดมั่นในกฎของขบวนการอาเจะห์เสรี   ที่พวกเขาจะไม่มีการพบปะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนกว่าพวกเขาจะได้รับมติเป็นเอกฉันท์จากทุกฝ่ายในขบวนการก่อน ผมคิดว่าพวกเขาหากเขามีการประชุมเป็นเอกเทศ เขาจะกำหนด หรือมอบหมายให้บุคคลหรือผู้ใดผู้หนึ่งที่สามารถติดต่อได้  ดังนั้นจึงไม่มีการพบปะกับผู้ใดเกิดขึ้นได้ หากทุกฝ่ายของขบวนการอาเจะห์เสรียังไม่มีมติ จากขบวนการอาเจะห์เสรี ทั้งขบวนการอาเจะห์เสรีที่อยู่โพ้นทะเล ,นักรบบนภูเขาในอาเจะห์, พลเรือนชุมชนในอาเจะห์ เป็นต้น คนกลางของผมคือ ชายคนหนึ่งชื่อ มะฮฺยุดดีน ท่านไม่เคยพบเขาหรอก เขาอยู่ในฐานะพลเรือน  เขาจะแนะนำให้ผมรู้จักครอบครัว A ,ครอบครัว B, และครอบครัว C , จากนั้นผมทำการติดต่อ ไม่มีสัญญา หรือหรือติดต่อตรงระหว่างเรา ผมแสวงหาอย่างโดดเดียวทั้งนี้เพื่อมนุษยธรรม  ด้วยพื้นฐานในความศรัทธายึดมั่นต่อพระผู้เป็นเจ้า หวังในความเมตตาการประทานพรจากพระองค์แก่การปฎิบัติการของผม  ด้วยความบริสุทธิ์ใจเป็นพื้นฐานในความบริสุทธิใจ  เช่นเดียวกับที่ผมเคยเกี่ยวข้องกับประชาชนในโปโซและอัมบอน ทุกแห่งทั้งในประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร์ ผมจะพยายามเสาะหา  แม้จะไกลถึงเนเธอร์แลนด์ที่เดียว

ครอบครัวดังเช่นสะพาน

RN : สร้างสะพานถึงสวีเดนได้อย่างไร?

FH :  ใช่ ก็เช่นเดิมผ่านสายสัมพันธ์ผ่านครอบครัว ไม่มีผู้ใดรู้จักผม เขารู้แค่ผมชื่อนายฟาริด ฮูเซ็น เท่านั้น ผมเคยร่วมงานกับท่าน ยูซุฟ กัลลาในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน โปโซ และอัมบอน ครับผมเป็นผู้ช่วยท่านยูซุฟ นับว่า โชคดี ที่ผมเป็นคนภายนอก ที่ผมหมายถึงภายนอก คือผมไม่ใช่คนมีเชื้อสายเป็นคน ชวา แม้มิใช่เป็นปัญหาหลักที่แท้จริง เขาจะไม่ยอมรับผม แต่เนื่องจากผมเป็นคนที่มาจากสุลาเวซี มิใช่ เพียงแต่เขายอมรับผมหลังจากความพยายามครั้งที่ 5 บางที่อาจเป็นเพราะพวกเขาเห็นความพยายามที่ต้องการพบพวกเขาอย่างแท้จริง และเห็นว่าผมมีความปรารถนาดีที่จะขอพบกับพวกเขาด้วยความจริงใจ แต่ก็ยังไม่ยอมผมเผชิญหน้ากับพวกเขาอย่างซึ่งหน้า

         ผมและ ยูฮา คริสเต็นเซ็น พยายามที่จะพบพวกเขา  เพราะยูฮา เคยบอกผมว่า เขามีความรู้จักกับสมาชิกแกนนำ ขบวนการอาเจะห์เสรี      ผ่านช่องทางธุรกิจของเขา ครั้งหนึ่ง ยูฮา  คริสเท็นเซ็น มาขอพบผมที่สำนักงานในจาการ์ต้าด้วยการเข้ามาเสนอขายเรือความเร็วสูง ความจริงแล้วผมเคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัว นับตั้งแต่ที่ มหาวิทยาลัย ฮาซานนุดดีน  เขาเป็นนักวิจัยที่นั้น ส่วนผมยังเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยที่นั้นเช่นกัน  ดังนั้นเมื่อเขามาเสนอขายเรือความเร็วสูง ผมจึงตอบตกลงและผมจะแจ้งภายหลัง  และเขาก็ได้แสดงความยินดีกับความสำเร็จของผมกับความตกลงสันติภาพในโปโซ และ อัมบอน และเขาแจ้งแก่ผมว่าเขารู้จักกับคนในขบวนการอาเจะห์เสรี    ผมจึงถามเขาว่าเขาสามารถจะจัดให้มาการประชุมพบปะกับให้ผมกับสมาชิก หรือแกนนำขบวนการอาเจะห์เสรีได้หรือไม่ เขาตอบตกลง เขาสามารถทำได้ มีทางเป็นไปได้ 100 % ผมสามารถจัดการให้คุณได้  อย่างไรก็ตามเขาเองก็ไม่รู้ว่ากฎของขบวนการอาเจะห์เสรี นั้นจะต้องมีมติความเห็นของจากกลุ่มฝ่ายต่างๆของขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นเอกฉันท์ก่อน จึงจะมีการอนุญาตที่จะให้มีการพบปะผู้อื่นได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินโดนีเซีย

          เวลาผ่านไปเป็นเวลายาวนาน ก่อนที่จะมีการพบปะอย่างจริงจัง ผมได้ใช้ความพยายามถึง 4 - 5 ครั้งเพื่อจะขอพบปะกับพวกเขา ครั้งหนึ่งผมเดินวนเวียนรอบๆ คอมเพล็กซ์ที่พักของพวกเขาที่เมือง นอร์สเบิร์ก  จากนั้นผมได้พบกับพวกเขาที่ห้องล็อบบี้ของโรงแรม  แต่พวกเขาไม่ยอมพูดคุยด้วย นี้คือเรื่องราวทั้งหมด

          ถามว่า ทำไม่ผมจึงไม่สามารถพูดคุยกับฺขบวนการอาเจะห์เสรีได้โดยตรง มีปัญหาอะไรหรือ ผมพยายามไปมาหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม การเดินทางเที่ยวนี้ ผมไม่สามารถพูดคุยกับพวกเขาที่อยู่โพ้นทะเล  ผมได้พบกับคณะผู้แทนคณะที่อาศัยอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผมได้พบกับผู้แทนทีอาศัยอยู่ในประเทศเดนมาร์ค

RN : ท่านเดินทางไปประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อไหร่ ?

FH : ต้นปี 2547 ผมเดินทางไปที่นั้น ผมได้พบกับ ฟัดลุน (Fadlun)  เราพบกันและได้แลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน ครั้งหนึ่งผมโกรธ ยูฮา   “ยูฮา  คุณได้ทำผิดสัญญา” เขาตอบว่า “เอาละ เราเปลี่ยนไปพบองค์กรริเริ่มเพื่อการบริการจัดการภาวะวิกฤติ” CMI :The Crisis Management Initiative) แทน

RN : ใครเป็นต้นคิด ?

FH :  เป็นความคิดของเขา เขาต้องการแนะนำผม ตัวเขาเองก็ไม่เคยรู้จักกับ อะห์ติซารี มาก่อนเช่นกัน ผมจึงถามเขาว่า เขาจะทำอย่างไร ? เขาประสานกับเพื่อนของเขา หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายวัน เกาปปาเล็หติ (Kauppalehti)  เป็นผู้หนึ่งที่ติดต่อกับท่าน อะห์ติซารี โดยแจ้งท่านว่าผมต้องการพบ เขาอธิบายทุกอย่างเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเจะห์  ในเดือนธันวาคม 2547 ก่อนเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

ทักษะนักการทูต

RN : ในระยะแรกเริ่ม ท่านอะห์ติซารีได้พบกับผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี หรือไม่ ?

FH : ครั้งแรกเริ่มพบกันที่ล็อบบี้ของโรงแรม แต่ไม่ได้คุยกัน  คุณถามว่าถ้าเราพบกัน  ใช่เราพบกันแต่ไม่ได้พูดคุยกัน พวกเขาถูกห้ามไม่ให้พูดจากับผู้ใดเพราะพวกเขาไม่ได้รับอนุญาต พวกเขาต้องได้รับการอนุญาตจาก ฮาซัน ดิ ติโร (Hasan di Tiro)  และกลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรี กลุ่มอื่น ก่อน ที่จะสามารถพบกับผม พวกเขาจะไม่เดินเข้าหาผมและผมก็ไม่เข้าไปหาพวกเขา  แต่  ยูฮา  ใช้เวลาพูดคุยกับพวกเขานานพอสมควร

RN : ท่านมาร์ตติ อะห์ติซารี ตอบรับท่านอย่างไร ?

FH : มหัศจรรย์มาก ท่านเป็นคนมหัศจรรย์จริงๆ ท่านเป็นนักการทูตอย่างแท้จริง ท่านรับฟังผมพูด ผมได้อธิบายเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองตนเองพิเศษ, ข้อตกลง โคฮา (CoHA : The Cessation of Hostilities  Agreement  ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์) และเราผิดหวังในข้อตกลงโคฮา อย่างไร ?

RN : ในท้ายที่สุดเขาได้มีการพบปะกับขบวนการอาเจะห์เสรี  อย่างไร ?

EH :  ไม่ครับ จากนั้น ยูฮา  จัดการให้ เราได้มีการพูดจากัน ได้มีการติดต่อกับอะห์ติซารี ถึงสามครั้ง ผมติดต่อกับอะห์ติซารี แล้วจากนั้น จากนั้น ผมมีโอกาสแนะนำ อะห์ติซารี กับท่านรองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา    ให้เป็นผู้ดำเนินการทุกๆสิ่ง นั้นคือเรื่องราว   ท่านยูซุฟ กัลลา  แนะนำให้ผมทำตนเป็นมิตรกับขบวนการอาเจะห์เสรี บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อน นั้นหมายถึงท่านต้องการให้ผมสร้างความเป็นญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด

ทีมงานที่เข้มแข็ง

RN : ท่านยูซุฟ กัลลา เป็นผู้ดำเนินการในการเรียกร้อง สิ่งนี้     

FH : ไม่ ไม่ใช่เป็นการเรียกร้อง แต่เป็นคำสั่ง รัฐบาลเชื่อมั่นพวกเรา สำหรับพวกเรา ประชาชนชาวอินโดนีเซียทั้งมวลเป็นความต้องการที่แท้จริง เขาเชื่อมั่น ว่าเราคือของจริงของแท้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทีมงาน ยังคงเป็นทีมงานทั้ง 5 คนตลอด เรารับฟังพวกเขาอย่างจริงใจ ทีมงานนี้มีความยึดมั่นในบทบาท หน้าที่   ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นคนคิด  ผู้หนึ่งเป็นผู้เขียนและอื่นๆ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้คอยแก้ไขปัญหา เช่นนักล็อบบี้ยิสต์ มีผู้รับผิดชอบสิ่งนี้”

เช่นนี้ ดร.ฟาริด ฮูเซ็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสวัสดิการประชาชน เป็นนักล็อบบี้ยิสต์ เป็นผู้ที่คอยทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในกระบวนสันติภาพที่เฮลซิงกิ  

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท