Skip to main content
sharethis

 

 

28 ก.ค.55 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผลสำรวจพบ ประชาชนในกรุงเทพฯ พึงพอใจกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในปัจจุบันเกินครึ่งหนึ่งสูงถึง ร้อยละ 52.9

ขณะที่รู้จักพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 เพียงแค่ร้อยละ 26.4 และไม่รู้ถึงสิทธิของตนเองตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544

ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,356 คน เก็บข้อมูลในวันที่ 25 - 27 ก.ค.55

นายสิงห์ สิงห์ขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์การ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เล็งเหตุถึงสิทธิของเสรีภาพของประชาชน ตาม มาตรา 245  และมาตรา 246  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดให้ผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ  และจำเลยในคดีอาญาได้รับค่าทดแทนหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและสมควรจากรัฐนั้น  เพื่อให้การรองรับสิทธิดังกล่าวเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทย จึงได้มีการตราพ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา  พ.ศ.2544 ขึ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว  ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 

minor-latin">พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาทำให้มีผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย 2 ประเภท คือ font-weight:normal"> 

color:black;font-weight:normal">1.ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงเป็นผู้ที่ถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิต หรือร่างกาย หรือจิตใจ และผู้ที่ถูกกระทำต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น หมายถึงไม่ใช่คู่กรณี คือไม่ใช่ผู้ที่ก่อให้เกิดการกระทำความผิดนั้นอย่างเช่นในกรณีผู้ที่ถูกกระทำถูกทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา ทำให้แท้งลูก และถูกฆาตกรรม

color:black;font-weight:normal">2. จำเลยในคดีอาญา หมายถึง ต้องเป็นจำเลยที่ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด แล้วมีการถอนฟ้องหรือศาลพิสูจน์แน่ชัดแล้วว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจะต้องยื่นคำขอรับสิทธิภายใน 1 ปี

นายสิงห์กล่าวด้วยว่า เป็นที่น่าเสียดายที่กฎหมายดีๆ อย่าง พรบ.ฉบับนี้ น่าจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เพราะจะเป็นประโยชน์กับประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้รู้ถึงสิทธิที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net