Skip to main content
sharethis

เผดิมชัยขู่เด้งขรก.ไร้ผลงาน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับทีมฝ่ายการเมืองเพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงใน กระทรวงแรงงาน แทนผู้ที่เกษียณอายุราชการ ทั้งในระดับ 9 และ 10 ซึ่งคาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายนนี้ โดยหากอธิบดีแต่ละกรมยังไม่มีผลงานให้เห็น อาจจะเสนอให้มีการโยกย้ายหมุนเวียนอธิบดีทุกกรม เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยจะให้ความเป็นธรรม และมีคำตอบแก่สังคม
         
ทางด้านนายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ล่าสุดปลัดกระทรวงแรงงาน ได้มีคำสั่งโยกย้ายสลับตำแหน่งผู้บริหารกระทรวง ระดับรองอธิบดี 4 กรม ใน 4 ตำแหน่ง ซึ่งจะเริ่มมีผลภายในสัปดาห์นี้

(โลกวันนี้, 13-8-2555)

"ร่วมจ่าย 30 บาทรักษาโรค" ดีเดย์ 1 ก.ย. นี้ - 21 กลุ่มได้สิทธิยกเว้น

13 ส.ค.55 - วิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการร่วมจ่ายค่าธรรมเนียมบริการ 30 บาทในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายรัฐบาลว่า โครงการดังกล่าวจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2555 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยดำเนินการในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และในโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยประชาชนจะร่วมจ่าย ในกรณีที่มีการรับยาเท่านั้น หากรายใดไม่ประสงค์จะจ่าย 30 บาท ก็สามารถใช้สิทธิ์ได้

โดยผู้ที่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาทมีทั้งหมด 21 กลุ่ม ก็จะได้รับการยกเว้นร่วมจ่ายเหมือนเดิม ขณะนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ และให้โรงพยาบาลทุกแห่งพัฒนาความพร้อมให้บริการที่ดีขึ้นทุกด้านทั้งผู้ป่วย ฉุกเฉิน ผู้ป่วยเรื้อรัง บริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเที่ยง

นอกจากนั้น ยังให้ให้สิทธิประชาชน สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการที่พอใจได้ปีละ 4 ครั้ง จากเดิมเปลี่ยนได้ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้บัตรประชาชนหรือเอกสารทางราชการที่มีเลข 13 หลักเป็นหลักฐาน เพิ่มความสะดวกประชาชนยิ่งขึ้น ในเขต กทม.สามารถยื่นเปลี่ยนได้ที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดยื่นที่สถานบริการสาธารณสุข

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จะมีการประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เพื่อให้ระบบบริการราบรื่นเหมือนกันทั่วประเทศ โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนที่มี 875 แห่ง ให้จัดแพทย์ตรวจรักษาอย่างน้อย 2 คน โครงการร่วมจ่ายนี้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิใน พื้นที่ใกล้บ้านมากขึ้น ซึ่งสามารถดูแลประชาชนได้ดี เหมือนโรงพยาบาลใหญ่ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดัน การตรวจรักษาโรคทั่วไป โดยใช้ระบบการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตพูดคุยปรึกษากับแพทย์ผู้รักษาในโรง พยาบาลใหญ่โดยตรง

ขณะที่นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.กล่าวว่า ขณะนี้ สปสช.ได้จัดทำคู่มือบัตรทองจำนวน 3 ล้านฉบับ เพื่อชี้แจงเรื่องการร่วมจ่ายด้วย แจกให้ประชาชน โดยกลุ่มประชาชนที่ได้รับการยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท มีทั้งหมด 21 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วน หรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน 2.ผู้มีรายได้น้อย 3.ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว

4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และบุคคลในครอบครัว 5.ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี 6.เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 7.คนพิการทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว 8.พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรอง และบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม 9.ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตร และบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท 10.นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 11.นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์ 12.ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว

13.อาสาสมัครมาเลเรีย ตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว 14.ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว 15.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน 16.ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน 17.สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป 18.หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม 19.อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม 20.อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก 21.บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ

(มติชน, 13-8-2555)

พม.เปิดโครงการสัปดาห์จ้างคนพิการ

เมื่อวันที่ 14 ส.ค. ที่เทสโก้โลตัส สาขาแจ้งวัฒนะ นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการ mso-ascii-font-family:Tahoma;mso-hansi-font-family:Tahoma">สัปดาห์รณรงค์การจ้างงานคนพิการ 7 วัน 700 ตำแหน่งŽ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดระหว่าง 14-20 ส.ค. ที่ห้างเทสโก้โลตัส 15 สาขา ได้แก่ 1.แจ้งวัฒนะ 2.ปิ่นเกล้า 3.บางแค 4.ประชาชื่น 5.ลาดพร้าว 6.จรัญสนิทวงศ์ 7.พระราม 1 8.พระราม 4 9.บางปะกอก 10.มีนบุรี 11.รัตนาธิเบศร์ 12.รังสิต 13.ศรีนครินทร์ 14.มหาชัย และ 15.ศาลายา โดยกิจกรรมภายในงานมีการรับสมัครงานคนพิการ การลงทะเบียนขอเข้ารับการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมสู่การทำงานฟรี การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของคนพิการและนายจ้าง และการให้คำแนะนำปรึกษาด้านการประกอบอาชีพ 

นายวิเชียรกล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีอาชีพ การมีงานทำของคนพิการ เนื่องจากจะทำให้คนพิการมีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองของคนพิการอย่างยั่งยืน เป็นการเปลี่ยนคนพิการจาก Tahoma;mso-hansi-font-family:Tahoma">ภาระŽ ให้เป็น mso-hansi-font-family:Tahoma">พลังŽ ของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ นอกจากนี้ยังทำให้คนพิการรู้สึกว่าตนมีคุณค่า เกิดความภาคภูมิใจ มีความมั่นใจในตนเอง และได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิและโอกาส การมีงานทำในสถานประกอบการมากขึ้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจ้างงานคนพิการให้เป็นไปตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมครั้งนี้จะส่งผลให้คนพิการมีงานทำเพิ่มขึ้น และทำให้ทราบข้อมูลความต้องการด้านการประกอบอาชีพของคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนส่งเสริมอาชีพให้แก่คนพิการต่อไป รวมทั้งสถานประกอบการของเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ได้ตระหนักและมีส่วนร่วมสร้างงานให้แก่คนพิการมากขึ้น โดยประเทศต่างๆ ทั่วโลกเห็นว่าการส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการมีงานทำถือเป็นการให้โอกาสทาง สังคมที่ดีที่สุดแก่คนพิการ

(ข่าวสด, 14-8-2555)

ก.แรงงานส่งอาสาสมัครช่วยแก้คนเตะฝุ่น

ก.แรงงาน - นายสมเกียรติ ฉายะศรี วงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง 'อาสาพาไป สมัครงาน' แก่แรงงานจังหวัดและจัดหางานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ว่า เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน กระทรวงได้มอบหมายให้สำนักงานแรงงานจังหวัด ทุกจังหวัด จัดประชุมพี่เลี้ยงอาสาสมัครแรงงาน และอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล เพื่อชี้แจง ซักซ้อมแนวทาง ขั้นตอนการทำงานในโครงการ 'อาสาพาไปสมัครงาน'

โดยให้สำนักงานจัดหางานจังหวัด ชี้แจง อธิบายรายละเอียดของตำแหน่งงานว่างในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงที่ได้จัด เตรียม ไว้ โดยจะมอบให้อาสาสมัครลงพื้นที่ตำบล หรือหมู่บ้าน เพื่อสอบถาม รวบรวมข้อมูล ของกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน นักศึกษา ที่จบการศึกษาแต่ยังไม่มีงานทำและประสงค์ที่จะทำงาน

(ข่าวสด, 15-8-2555)

สศช.ชี้เปิดเออีซีไทยเสียเปรียบขาดแรงงาน

นางสุวรรณี  คำมั่น  รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมด้านแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 ว่า เมื่อเกิดประชาคมอาเซียนจะทำให้จำนวนประชากรของประเทศในอาเซียน รวมกันแล้วมีจำนวน 600 ล้านคน คิดเป็น 9-10% ของประชากรโลก ซึ่งในจำนวนนี้อยู่ในตลาดแรงงานอาเซียนประมาณ 300  ล้านคน โดยจะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีขึ้นใน 7 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาลสถาปนิก   วิศวกร  บัญชี  นักสำรวจ 

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการ เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้กรอบประชาคมอาเซียนเพื่อพิจารณาถึงข้อได้เปรียบ เสียเปรียบ พบว่า สาขาวิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์และพยาบาลมีข้อได้เปรียบ ด้านคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับแนวหน้าประเทศอื่นในอาเซียน ขณะที่สาขาชีพบัญชี มีข้อได้เปรียบโดย พ.ร.บ.วิชาชีพ ช่วยปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพได้เป็นอย่างดี เพราะมีการสอบขอใบอนุญาตเป็นภาษาไทย

นอกจากนี้ ในสาขาวิชาชีพสถาปนิก วิศวกร และ นักสำรวจ  มีข้อได้เปรียบ เพราะการศึกษาสาขาวิศวกรรมของไทยอยู่ในระดับแนวหน้า และสภาวิศวกรไม่ได้สนับสนุนให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากนัก  ส่วนข้อเสียเปรียบคือปัญหาการเรียนต่อปริญญาตรีของนักศึกษาสายอาชีพ (ปวส.) ทำให้แรงงานระดับกลางขาดแคลน   

ผลวิจัยพบว่าศักยภาพการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแล้ว ยังไม่สูงมากนักเพราะกำลังคนของไทยโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและการวิจัยของไทยมีจำนวนน้อย  และคุณภาพของแรงงานสาขาต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด  ดังนั้นต้องเร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยและเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น รวมทั้งพัฒนาแรงงานให้มีทักษะฝีมือสูงขึ้น  มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน ไอที

(กรุงเทพธุรกิจ, 15-8-2555)

ลูกจ้างอ่วมแบกรายจ่าย-หนี้พุ่ง หลัง ปูขึ้นค่าแรง 300 บาท

(16 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า คสรท.ได้สำรวจค่าครองชีพผู้ใช้แรงงานปี 2555 ภายหลังรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ประกาศใช้ค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยได้สำรวจผู้ใช้แรงงานใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และ อ่างทอง จำนวน 2,516 คน ทั้งกลุ่มลูกจ้างรายเดือน รายวันและเหมาช่วง ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ไฟฟ้า ยานยนต์ สิ่งทอ ปิโตรเลียมเคมีภัณฑ์ และธนาคารการเงิน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 76 นายจ้างปรับค่าจ้างหลังเดือนเมษายน 2555 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ ขณะที่ร้อยละ 18.3 มีการปรับค่าจ้างแบบมีเงื่อนไข และอีกร้อยละ 5.1 ไม่มีการปรับค่าจ้าง

นายชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลค่าใช้จ่ายรายคน และรายครอบครัวในช่วงเดือน ส.ค.54 กับ เดือน พ.ค.55 พบว่า ค่าใช้จ่ายรายวัน ในปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 348.39 บาทต่อวัน ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 462.31 บาทต่อวัน ส่วนรายครอบครัวในปี 54 เท่ากับ 561.79 บาทต่อวัน และในปี 55 เท่ากับ 740.26 บาทต่อวัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 113.92 บาท หรือร้อยละ 32.7 ส่วนค่าใช้จ่ายรายเดือน ใน ปี 54 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 10,451.7 บาท ส่วนปี 55 คิดเป็นรายคนเท่ากับ 13,869.3 บาท และรายครอบครัวปี 54 เท่ากับ 16,853.7 บาท ในปี 55 เท่ากับ 22,207.8 บาท เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายทั้งสองปี พบว่า เพิ่มขึ้น 178.47 บาท หรือร้อยละ 31.77
      
นายชาลี กล่าวด้วยว่า เมื่อสำรวจลงไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ พบว่า ปีนี้ลูกจ้างมีค่าใช้จ่ายรายวันเพิ่มขึ้นจากปี 54 เช่น ค่าอาหารและค่าเดินทาง เดิมจ่ายคนละ 175 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 259.26 บาทต่อวัน, ค่าน้ำประปา เดิมจ่ายอยู่คนละ 6.7 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 6.86 บาทต่อวัน ค่าโทรศัพท์ เดิมต้องจ่ายคนละ 10 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 12 บาทต่อวัน ส่วนค่าเช่าบ้านเดิมจ่ายคนละ 58 บาทต่อวัน เพิ่มเป็น 91 บาทต่อวัน และค่าเสื้อผ้า รองเท้า เดิมจ่ายคนละ 19 บาทต่อวัน เพิ่มเป็นคนละ 34 บาทต่อวัน
      
นายชาลี กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ยังพบว่า แรงงานมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม โดยเฉลี่ยประมาณ 30-40% โดยเป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด รองลงมาเป็นหนี้ธนาคาร หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หนี้สหกรณ์ และหนี้บัตรเครดิต ทั้งนี้ แรงงานต่างคาดหวังว่า จะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนำมาชำระหนี้ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
      
หากจะให้แรงงาน 1 คน เลี้ยงตัวเองได้ในภาวะค่าครองชีพในปัจจุบัน ควรปรับค่าจ้างให้อยู่ที่วันละ 348 บาทต่อคน และต้องปรับขึ้นให้เท่ากันทั่วประเทศ และหากจะให้แรงงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักของไอแอลโอ จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างวันละ 561 บาทต่อคนประธาน คสรท.กล่าว และว่า อยากให้รัฐบาลยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เนื่องจากในอนาคตค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ค่าครองชีพทุกจังหวัดก็ไม่ได้ต่างกัน จึงควรให้คณะกรรมการค่าจ้างกลางเป็นผู้พิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพียง คณะเดียว รวมทั้งควรมีการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างแรงงานฝีมือ โดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมให้ชัดเจน ส่วนค่าจ้างขั้นต่ำก็ใช้สำหรับแรงงานไร้ฝีมือ
      
ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และโลหะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจค่าครองชีพครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีการปล่อยให้ภาคอุตสาหกรรมใช้แรงงานราคาถูกต่อไป โดยปล่อยให้การปรับขึ้นค่าจ้าง เป็นการตัดสินใจระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเท่านั้น จึงอยากให้รัฐบาลมีมาตรการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ และแก้ไขปัญหา เช่น การนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง การเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน และการไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย และประเด็นสำคัญอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ให้ สูงขึ้นเกินความเป็นจริง
      
ถ้ารัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมราคาอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ได้ ก็จะทำให้ผู้ใช้แรงงานยิ่งมีความเป็นอยู่ยากลำบาก นอกจากนั้น บางจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกัน เช่น ชลบุรี ซึ่งได้รับค่าจ้างที่อยู่ 216 บาท ขณะที่สมุทรปราการได้ 300บาท แต่กลับพบว่าค่าครองชีพทั้งสองจังหวัดไม่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.76% แต่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.57% เท่านั้น หลังจากปรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศแล้ว รัฐบาลก็ไม่ควรแช่แข็งการปรับขึ้นค่าจ้าง เห็นว่าควรปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปี" นายยงยุทธ กล่าว
      
นายยงยุทธ กล่าวอีกว่า ยังมีแรงงานนอกระบบอีกกว่า 24 ล้านคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่ไม่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท แถมยังถูกซ้ำเติบจากผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพ ราคาสินค้าที่สูงขึ้นด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการเยียวยาแรงงานกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม คสรท.ยังคงสนับสนุนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งมองว่ารัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว แต่รัฐบาลควรเข้ามาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่านี้
      
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท.กล่าวว่า จากการพูดคุยกับแรงงานหญิงในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานหญิงจำนวนมาก ต่างสะท้อนว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีการถีบตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะนมเด็กที่ราคาเพิ่มขึ้นชัดเจน ทำให้รายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ช่วยแบ่งเบาภาระให้แรงงานได้มีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายขายสินค้าราคาถูกแต่ก็ทำได้ไม่ทั่วถึง นอกจากนี้ พบว่าแรงงานส่วนใหญ่ยังต้องทำโอทีเหมือนเดิมเพื่อให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพียงพอกับค่าครองชีพ
      
น.ส.ธนพร วิจันทร์ เลขาธิการกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง กล่าวว่า ในพื้นที่สระบุรีและใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นใกล้ เคียงกับ 7 จังหวัดนำร่องที่ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นคือราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมัน และก๊าซซึ่งในต่างจังหวัดราคาในปั๊มจะมีราคาสูงกว่าในกรุงเทพ จึงอยากให้รัฐควบคุมราคาสินค้า
      
อยากให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานเข้าไปตรวจสอบธุรกิจเอสเอ็มอีในต่าง จังหวัดที่อ้างว่าขาดทุนและไม่ยอมปรับขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากบางเอสเอ็มอี เป็นบริษัทที่รับเหมาช่วงจากสถานประกอบการรายใหญ่หลายแห่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีอำนาจในการจ่ายค่าจ้าง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเอสเอ็มอีใดได้รับผลกระทบจริงก็ต้องเข้าไปช่วยเหลือน.ส.ธนพร กล่าว

ปลัดแรงงานเมินข้อเสนอ คสรท.ยุบ "อนุกก.ค่าจ้างจังหวัด"

เมื่อวันที่ 16 ส.ค.2555 นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน(รง.)ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง กล่าวถึงข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เสนอให้ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดว่า คงไม่สามารถยกเลิกคณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดได้ เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯไม่ได้มีหน้าที่แค่ประชุมเพื่อกำหนดค่าจ้างของ จังหวัดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่คอยเป็นหูเป็นตาเก็บข้อมูล ความเดือดร้อน ตลอดจนค่าครองชีพและค่าจ้าง รวมถึงค่าสวัสดิการต่างๆซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะต่างกันไป ซึ่งคณะอนุกรรมการฯก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นในแต่ละปี

นพ.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่คสรท.เสนอให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อเนื่องหลังจากปรับขึ้นค่า จ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศแล้ว โดยให้ปรับค่าจ้างสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อในแต่ละปีนั้น ขณะนี้ยังคงยึดตามมติบอร์ดค่าจ้างที่ออกมาก่อนหน้านี้ระบุว่าหลังจากการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 70 จังหวัดที่เหลือในวันที่ 1 ม.ค.2556 แล้ว ก็ให้หยุดการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำออกไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ มองว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเป็ฯเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาปรับขึ้นค่า จ้างเท่านั้น

ส่วนกรณีที่เสนอให้จัดทำโครงสร้างค่าจ้างแรงงานฝีมือให้ชัดเจนนั้น นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า ตนมีแนวคิดที่จะนำร่องการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างดังกล่าวอยู่แล้ว ซึ่งเบื้องต้นมีแผนที่จะนำร่องในสถานประกอบการขนาดกลาง โดยจะร่วมมือกับสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยในการจัดทำโครงสร้างค่า จ้างแรงงานฝีมือคาดว่าจะเริ่มหารือได้ในเดือนต.ค.นี้ เพื่อร่วมกันพิจารณาว่าจะเริ่มนำร่องในสถานประกอบการประเภทใดบ้างและจำนวน กี่แห่ง ซึ่งโครงสร้างค่าจ้างนี้จะพิจารณาตามตำแหน่งความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ทำงาน เพื่อให้แรงงานฝีมือเกิดการพัฒนาตนเอง จะได้รับการปรับค่าจ้างที่เหมาะสม

"การจัดทำโครงสร้างค่าจ้างอยู่ๆจะไปออกเป็นกฎหมายบังคับให้ทุกสถาน ประกอบการทำเลยคงไม่ได้ เพราะสถานประกอบการมีหลายขนาดและหลายประเภทกิจการ ผมจึงมีแนวคิดว่าอยากจะจัดทำเป็นโมเดลโครงสร้างค่าจ้างและนำร่องในบางประเภท ธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ก่อน เพื่อให้เป็นต้นแบบที่จะนำไปใช้ขยายผลไปสู่กิจการอื่นๆต่อไป" นพ.สมเกียรติ กล่าว

(เนชั่นทันข่าว, 16-8-2555)

ก.แรงงานชง ครม.กรอบรับรองฝีมือแรงงานอาเซียน 21 ส.ค.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมครม.วันที่  21 สค.นี้ กระทรวงแรงงานเสนอเรื่องกรอบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียน   และมอบหมายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน (รง.) เป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทยในการกำหนดกรอบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของ กลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ สาระสำคัญของเรื่อง คือกระทรวงแรงงาน รายงานว่า เนื่องจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2550 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอา เซียน (Declaration of the ASEAN Economic Community Blueprint) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทาง แผนงานในด้านเศรษฐกิจที่จะต้องดำเนินงานให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จนบรรลุเป้าหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งผลผูกพันของ AEC Blueprint ตามภารกิจของ รง. เกี่ยวข้องกับแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2 เป้าหมาย คือ

1.การเปิดเสรีการค้าบริการ เกี่ยวข้องในมาตรการการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพให้สอด คล้องตามข้อกำหนดในแต่ละข้อตกลง (Mutual Recognition Agreement) หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงแรงงาน. (รง.)และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)  และมาตรฐานการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างขีดความสามารถในด้านการ ค้าบริการ หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  

2.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี  เกี่ยวข้องในมาตรการในเรื่องการอำนวยความสะดวก   ในการตรวจลงตราและใบอนุญาตทำงาน   สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียน   ที่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามพรมแดน   และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุน  หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน  และ กระทรวงการต่างประเทศ ,มาตรการพัฒนากรอบแผนงานมาตรฐานความสามารถ   และคุณสมบัติของงานหรืออาชีพ   และความชำนาญของผู้ฝึกอบรมในสาขาบริการสำคัญ   และสาขาบริการอื่น ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ   กระทรวงแรงงาน  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา   , การเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยของประเทศสมาชิกอาเซียน  เพื่อสนับสนุนความชำนาญ การเข้าทำงาน และพัฒนาเครือข่ายข้อมูลด้านตลาดแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน  หน่วยงานที่รับผิดชอบกระทรวงแรงงาน

ขณะที่ กระทรวงพลังงาน (พน.)เสนอ  เรื่อง องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียขอความเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง  A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย   ให้ครม.พิจารณา   

สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงพลังงาน(พน. ) รายงานว่า สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 เมษายน 2541 , 14 กันยายน 2542, 14 กันยายน 2547 และ 13 กุมภาพันธ์ 2550)  นั้น ซึ่งทางบริษัท เปโตรนาสได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียว่า ประเทศมาเลเซียมีความ ต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมาก  บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะขอนำก๊าซตามสิทธิการขอซื้อของเปโตรนาสจาก พื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย  แปลง A-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง  A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555

โดย องค์กรร่วมไทย - มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18  ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย  ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 97 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial)  โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) ก่อนที่องค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ได้ดังนี้

1. วันที่มีผลบังคับใช้ของสัญญา  อายุสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2555 จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18  ฉบับลงวันที่ 30 ตุลาคม 2542

2. กลุ่มผู้ขายจะส่งก๊าซส่วนเพิ่มให้กับบริษัท เปโตรนาสในอัตรา 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (และส่งเพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากได้รับการร้องขอจากบริษัท  เปโตรนาส) เป็นเวลา 1 ปี  เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า  869  ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู  ซึ่งทางบริษัท เปโตรนาสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อผูกพันและความรับผิดของกลุ่มผู้ซื้อที่ เกิดภายใต้สัญญาฉบับนี้แต่เพียงผู้เดียว

อย่างไรก็ตาม  กระทรวงพลังงาน( พน. ) โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 นี้ ให้ สำนักงานอัยการสูงสุด(อส.) ตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว  ดังนั้นทางกระทรวงพลังงาน  จึงเสนอให้ครม.พิจารณาดังนี้

1. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย  ระหว่างองค์กรร่วมไทย  - มาเลเซีย  และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited  ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ

2.  ให้องค์กรร่วมไทย  - มาเลเซียลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18  กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว        

(กรุงเทพธุรกิจ, 18-8-2555)

งบกระทรวงแรงงานวิ่งฉิว 20 นาทีผ่าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556 ได้เริ่มเข้าสู่การพิจารณา มาตรา 19 ซึ่งเป็นงบประมาณของกระทรวงแรงงาน จำนวน 36,525,505,500 บาท โดยการอภิปรายเน้นไปในด้าน การเข้าถึงสิทธิ์ของลูกจ้างในเรื่องของอาชีวะอนามัยที่ไม่ชัดเขน ปัญหาการเรียกกับค่าหัวคิวในการส่งแรงงานไปต่างประเทศที่สูงเกินไป ประสิทธิภาพของกองทุนประกันสังคมที่ยังไม่มีมาตราฐาน และนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทที่ไม่มีมาตราการในการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้ประกอบการที่ส่งผล ไปสู่การเลิกจ้าง

ทั้งนี้ภายหลังใช้เวลาอภิปราย 20 นาที ที่ประชุมได้มีมติเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการเสียงข้างมากด้วยคะแนน 285 ต่อ 110 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ไม่ลงคะแนน 4 เสียง

(เนชั่นทันข่าว, 18-8-2555)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net