Skip to main content
sharethis

ศาลบราซิลพิพากษาระงับโครงการเขื่อน กลุ่มผู้พัฒนาโครงการต้องจ่ายค่าปรับวันละ 2.5 แสนเหรียญสหรัฐ หากไม่ปฏิบัติตาม คาดจะมีการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ด้านประธานศาล TRF1 ประกาศความตั้งใจจะคว่ำคำตัดสิน

 
 
เว็บไซต์องค์กรแม่น้ำนานาชาติ  เผยแพร่ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.55 ที่ผ่านมา ศาลบราซิลอ่านคำพิพากษาระงับการก่อสร้างเขื่อนที่เกิดการถกเถียงอย่างร้อนแรง อย่างเขื่อนเบโล มองต์ บนแม่น้ำซิงกู (Xingu) ในเขตลุ่มน้ำอเมซอน โดยอ้างหลักฐานจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่ามีความบกพร่องในการปรึกษาหารือกับชนพื้นเมืองก่อนการอนุมัติโครงการ
 
คณะผู้พิพากษาศาลบราซิลระดับภูมิภาค (TRF1) คงคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ที่ประกาศว่า การอนุมัติโครงการของรัฐสภาแห่งบราซิลในปี 2548 นั้น มิชอบด้วยกฎหมาย โดยยึดข้อสรุปที่ว่ารัฐธรรมนูญแห่งบราซิลและอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 169 ซึ่งบราซิลเป็นสมาชิกอยู่นั้น กำหนดไว้ว่า รัฐสภาจะสามารถอนุมัติการใช้ทรัพยากรน้ำสำหรับโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าได้ต่อเมื่อมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการปรึกษาหา​​รือกับชนพื้นเมืองซึ่งจะได้รับผลจากโครงการแล้วเท่านั้น
 
อันหมายถึง รัฐสภาแห่งบราซิลจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น โดยการจัดประชุมปรึกษาหา​​รือเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการกับชนพื้นเมืองจากลุ่มแม่น้ำซิงกู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนเผ่าจารูนา (Juruna), อารารา(Arara) และ คิคริน (Xikrin) ความคิดเห็นต่อโครงการของพวกเขาควรได้รับการพิจารณาในการตัดสินใจของรัฐสภา ว่าจะอนุมัติโครงการเขื่อนเบโล มองต์ (Belo Monte) หรือไม่ และในขณะเดียวกันการก่อสร้างเขื่อนได้ถูกสั่งระงับแล้ว กลุ่มผู้พัฒนาโครงการ ซึ่งได้แก่ บริษัท Norte Energia, S.A, นำโดย Eletrobras ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานจะต้องจ่ายค่าปรับรายวันประมาณ 250,000 เหรียญสหรัฐ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งระงับโครงการ คาดว่าผู้พัฒนาโครงการจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลฎีกาของบราซิล
 
ผู้พิพากษาโซซ่า พรูดองต์ (Souza Prudente) กล่าวว่า “การตัดสินใจของศาลย้ำชัดว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐบาลบราซิลและรัฐสภาจะต้องเคารพรัฐธรรมนูญและข้อตกลงระหว่างประเทศ ในการปรึกษาหา​​รือล่วงหน้ากับชนพื้นเมืองเกี่ยวกับโครงการที่จะนำพาวิถีชีวิตและดินแดนของพวกเขาไปสู่ความเสี่ยงในอนาคต และสิทธิมนุษยชนและการปกป้องสิ่งแวดล้อม ไม่ด้อยค่าไปกว่าประโยชน์ทางธุรกิจเช่นกัน”
 
“คำพิพากษาของศาลล่าสุด พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งที่คนพื้นเมือง นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน และสำนักงานอัยการเพื่อสาธารณะ (Federal Public Prosecutor’s Office) ได้รับการเรียกร้องมาตลอด เราหวังว่า นายดิลมา อัตเตอรนี่ (Dilma’s Attorney) ประธานอัยการสูงสุด และผู้พิพากษาหัวหน้าศาลรัฐบาลกลาง (TRF1) จะไม่พยายามล้มล้างการตัดสินใจที่สำคัญเช่นที่ ดังที่พวกเขาได้เคยทำมาแล้วในสถานการณ์ที่คล้ายกันในอดีตที่ผ่านมา” เบรนต์ มิลลิแกน ตัวแทนจากองค์กรแม่น้ำนานาชาติกล่าว
 
“การตัดสินใจครั้งนี้เป็นการตอกย้ำการเรียกร้องของ คณะกรรมาธิการอเมริกันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เมื่อเดือนเมษายน 2011 ที่ผ่านมา โดยได้เรียกร้องให้มีการระงับโครงการ เนื่องจากการขาดการปรึกษาหา​​รือกับชุมชนท้องถิ่น เราหวังว่า บริษัทนอร์ทเอ็นเนอเจีย (Norte Energia) และรัฐบาล จะยอมรับต่อการตัดสินใจครั้งนี้และเคารพสิทธิของชุมชนพื้นเมือง” จอนห์สัน คาวาลคานต์ ตัวแทนจาก ของสมาคม Cavalcante of the Interamerican Association for Environmental Defense (AIDA) ซึ่งเป็นองค์กรให้การสนับสนุนทางด้านกฎหมายแก่ชุมชนที่คาดว่าได้รับผลกระทบ
 
รัฐสภาของบราซิล ได้อนุมัติโครงการเขื่อน เบโล มองต์ เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ทั้งที่ไม่มีรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และมีเพียงรายงานการศึกษาที่จัดทำโดยสามบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของบราซิล คือ บริษัทพลังงานของรัฐ Eletrobras บริษัท Camargo Correa, Andrade Gutierre และ บริษัท Odebrecht และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง สำหรับการประเมินความผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนของชนพื้นเมืองและชุมชนดั้งเดิมอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ปลายน้ำ เพราะเขื่อนขนาดใหญ่นี้จะเปลี่ยนแปลงการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำซิงกู มากถึง 80% รายงานดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลกลางของบราซิล (IBAMA) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ภายใต้แรงกดดันทางการเมืองที่รุนแรงและการคัดค้านเป็นอย่างมากจากหน่วยงานด้านเทคนิคต่างๆ
 
การเผชิญหน้าสร้างเขื่อนเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2011, การคาดการณ์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่กว้างขวางล่วงหน้าของเขื่อนเบโล มองต์เกิดขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนพื้นเมืองได้ต้องลุกขึ้นเพื่อต่อต้านเขื่อนเบโล มองต์(Belo Monte)
 
ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติ Rio+20 (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน : United Nations Conference on Environment and Development) เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 ตัวแทนชนพื้นเมืองที่จะได้รับผลกระทบ ได้บุกยึดพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนเป็นเวลา 21 วัน เพื่อประท้วงและต่อต้านการพัฒนาโครงการ และฉีกสัญญากับนักสร้างเขื่อน โดยชุมชนพื้นเมืองได้กักตัว 3 วิศวกรของบริษัทนอร์ทเอ็นเนอเจีย (Norte Energia) ไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการประท้วงเรียกร้องให้มีการระงับการโครงการอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามจากการลดผลกระทบตามข้อเรียกร้องของพวกเขา
 
เดือนที่แล้วสำนักงานอัยการแห่งชาติ ยื่นฟ้องเรียกร้องให้มีการระงับใบอนุญาตการก่อสร้างเขื่อน เบโล ม็องต์ นำไปสู่ความบานปลายแห่งขวามขัดแย้งและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางที่ไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือต่อชนพื้นเมือง และน่าจะเป็นผลเชิงบวกต่อคำตัดสินของคณะลูกขุนจากมุมมองของชนพื้นเมือง
 
ภาวะความขัดแย้งด้านละเมิดสิทธิของชนพื้นเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการพัฒนาลุ่มน้ำอเมซอน ล่าสุด สัปดาห์ที่ผ่านผู้พิพากษาโซซ่า พรูดองต์ ในนามของกลุ่มของผู้พิพากษาจาก TRF1 ได้สั่งระงับทันที 1 ใน 5 เขื่อนขนาดใหญ่ที่วางแผนไว้สำหรับการพัฒนาในแม่น้ำเตเรส ปีเรส์ (Teles Pires) แม่น้ำสาขาของ ตาพาโจส์ (Tapajos) ด้วยเหตุผลที่ว่า การขาดการปรึกษาหา​​รือล่วงหน้าและแจ้งกับชนพื้นเมืองคายาบิ Kayabi อาเพียกา (Apiakás) และ มูนโดโรคู (Munduruku) ซึ่งจะเป็นผู้รับผลกระทบโดยตรงจากโครงการดังกล่าว
 
ผู้พิพากษาโซซ่า พรูดองต์ กล่าวว่า “ในกรณีของเขื่อนเตเรส ปีเรส์ (Teles Pires) ถือว่าเป็นโครงการที่จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชนพื้นเมือง มากกว่าเขื่อนเบโล มองต์ (Belo Monte) เพราะการตัดสินใจทางการเมืองที่จะดำเนินการกับการก่อสร้างของห้าเขื่อนขนาดใหญ่ในแม่น้ำเตเรส ปีเรส์ กระทำโดย รัฐมนตรีกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน ที่ไม่มีการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ และยังไม่มีการประเมินผลกระทบต่อวิถีชีวิตและดินแดนของชนพื้นเมือง เซเต เกดาส์ (Sete Quedas) ผลกระทบต่อแก่งในแม่น้ำเตเรส ปีเรส์ ถือว่ามีความสำคัญสำหรับการหาปลา ซึ่งเป็นการดำรงชีพหลักของพวกเขา และคาดว่ารัฐบาลและรัฐสภาก็ละเลยภาระหน้าที่ของตน ในกระบวนการการปรึกษาหา​​รือล่วงหน้าและแจ้งกับชนพื้นเมืองที่ซึ่งถูกกำหนดโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญและอนุสัญญา ILO 169 เช่นกัน”
 
เมื่อวานนี้ เมื่อประธานศาล TRF1 ประกาศความตั้งใจของเขาที่จะคว่ำการตัดสินใจของนายโซซ่า พรูดองต์ และผู้พิพากษาของรัฐบาลภูมิภาคอื่นๆ เกี่ยวกับโครงกาไฟฟ้าพลังน้ำใน แม่น้ำเตเรส ปีเรส์ (Teles Pires) นับเป็นการเพิ่มวิกฤตการณ์ภายในระบบตุลาการของบราซิลมากขึ้น ภายใต้การบริหารงานของนางจิลมา รูสเซฟ (Dilma Rousseff) ประธานาธิบดีหญิงบราซิลคนปัจจุบันที่มีความทะเยอทะยานในการพัฒนาเขื่อนในลุ่มน้ำอเมซอน
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net