Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

 

DNA ความรู้ทางเทคนิค ที่งานด้านสถานะบุคคลควรทำความเข้าใจ
บันทึกบทสัมภาษณ์ศ.นพ.ธานินทร์ ภู่พัฒน์ เรื่องกระบวนการตรวจ วิเคราะห์ผลตรวจDNA

 

ที่ผ่านมา การตรวจดีเอ็นเอ (DNA) นั้น เป็นเครื่องมือหรือพยานหลักฐานหนึ่งซึ่งมีการใช้หรือ (มักจะ) ถูกเรียกจากอำเภอหรือหน่วยงานทางทะเบียนในการแก้ไขปัญหาด้านสถานะบุคคล ซึ่งแน่นอนว่ามันคือ “ค่าใช้จ่าย” ที่ค่อนข้างสูงที่ตามมา และความรู้ความเข้าใจต่อเรื่องดีเอ็นเอนั้น มีหลากหลายประเด็น/ความรู้ทางเทคนิค ที่เป็นองค์ความรู้ที่ผู้ทำงานด้านสถานะบุคคลนั้นน่าจะมีการทำความเข้าใจ

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ข้าพเจ้าและคุณดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ศ.นพ.ธานินทร์ ภู่พัฒน์ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับกระบวนการตรวจ วิเคราะห์ผลตรวจ DNA

โดยเราได้มีโอกาสไปดูห้องแลป ปฏิบัติการ และอุปกรณ์ในการสกัดDNA กระบวนการขั้นตอนการตรวจDNA

และการวิเคราะห์ผลความสัมพันธ์ โดยคำนวณจากสูตรในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อพ.ศ.2538 อาจารย์ธานินทร์ได้เป็นผู้คิดสูตรคำนวณทางสถิติ “หาความสัมพันธ์พ่อแม่ลูก” ขึ้น

อาจารย์กล่าวว่า “การแปลผลไม่ใช่เรื่องง่าย และการใช้สถิติ มีความสำคัญไม่แพ้วิธีการตรวจ”

จากการสัมภาษณ์ดังกล่าว ซึ่งเรารับฟังเรียนรู้และทำความเข้าต่อประเด็นของ DNA ได้สรุปความรู้ทางเทคนิคที่น่าสนใจดังนี้

คำสำคัญที่เกี่ยวข้อง

- paternity index (PI)  หรือ posterior probability โดยการแปลผลจะต้องดูค่าตัวนี้ ซึ่งเป็น อัตราส่วนของการเป็นบุพการีของบุคคลที่ถูกกล่าวหาเทียบกับคนทั่วไป มีค่าเทียบเท่ากับ likelihood ratio (LR)

- Chance of paternity: CP คือโอกาสในการเป็นบุพการี มีค่าเท่ากับ PI/(PI+1) หมายถึง โอกาสที่จะใช่/โอกาสทั้งหมด เช่นถ้า PI = 99; CP = 99/(99+1)  = 99%

เพราะฉะนั้นจากค่า PI หรือ LR สามารถคำนวณโอกาสเป็น %

การใช้โปรแกรม
เริ่มต้นจาก หนึ่ง-ใส่ข้อมูล และสอง-ค้นหาข้อมูลว่าตรงกับคนในฐานข้อมูลหรือไม่

ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นว่าต้องตรวจกี่ตำแหน่ง หากมีลักษณะที่เป็นหนึ่งเดียวกัน (unique)  LR จะสูงมาก ซึ่งLR ต้องคำนวณจากสูตรที่อาจารยเป็นผู้พัฒนาขึ้น ซึ่งสูตรจะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับลักษณะ DNA locus [1]

ผลที่ได้
กรณีของพ่อ/แม่/ลูก
ในกรณีที่ “ไม่ถูกคัดออกจากการเป็นบุพการี” (หมายถึงโอกาสเป็นบุพการีได้)

1. กรณีพ่อ-ลูก หรือแม่-ลูก
2. กรณีพ่อ-แม่-ลูก
3. กรณีพิสูจน์บุคคลโดยเปรียบเทียบ DNA กับพ่อแม่

ทั้งสามกรณี โอกาสความเป็นบุพการีต้องได้ตั้งแต่ 99% ตรวจlocus (ตำแหน่งDNA) 10ตำแหน่ง ถ้าเป็นกรณีไม่ถูกคัดออก แต่ถ้าไม่ถึง99% จะตรวจตำแหน่งเพิ่ม

กรณีพี่น้อง/ลูกพี่ลูกน้อง
1. กรณี full siblings (พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน)งานวิจัยเชื่อว่าหากได้ 90% ก็เชื่อว่าเป็นพี่น้องพ่อแม่เดียวกันจริง
2. กรณี half siblings (กึ่งพี่น้อง เช่น ร่วมบิดา หรือร่วมมารดา,ปู่-หลาน,ย่า-หลาน,ตา-หลาน,ยาย-หลาน,ลุง/ป้า/น้า/อา-หลาน) งานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า หากตรวจได้ 80% ก็เชื่อได้แล้วว่าร่วมสายเลือดกันจริง
3. กรณี first cousin (ลูกพี่ลูกน้อง) ยังไม่มีงานวิจัยออกมา

โปรแกรมค้นหาเชื้อชาติ
โดยดูความถี่ของอัลลีล Allele Frequency Type
Theta คือสัมประสิทธิ์การมีบรรพบุรุษร่วม 
ดังนั้นลักษณะของ DNA จึงเอามาทำนาย (predict) เชื้อชาติได้  โดยโอกาสถูกต้องมีความน่าเชื่อถือถึง 90% ซึ่งต้องมีข้อมูลDNAของบุคคลเชื้อชาติ หรืออาศัยอยู่ในโซนนั้นๆ มาทำสถิติความถี่ของอัลลีล[2]

โปรแกรมนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก สำหรับประเด็นการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งหากเรามีสถิติข้อมูลความถี่ของอัลลีล ของคนในแต่ละภูมิภาค โดยหากเจ้าหน้าที่มีความสงสัยว่าเป็น “ผู้สวมบัตร” ของผู้อื่นหรือไม่ หรืออย่างกรณีคนที่อ้างคนว่าเป็น “คนไทยพลัดถิ่น” เขาเหล่านั้นมีเชื้อสายไทยหรือไม่ สถิติความถี่ของอัลลีลคงจะให้คำตอบได้เป็นแน่



[1] ในทางพันธุศาสตร์และการประมวลผลทางวิวัฒนาการ โลคัส (อังกฤษ: locus, loci) หมายถึงตำแหน่งหนึ่งๆ บนยีนหรือลำดับดีเอ็นเอซึ่งอยู่บนโครโมโซม ลำดับดีเอ็นเอบนโลคัสหนึ่งๆ อาจมีได้หลายแบบแต่ละแบบเรียกว่าอัลลีล รายการลำดับทั้งหมดของโลคัสบนจีโนมหนึ่งๆ ซึ่งเป็นที่รู้ เรียกว่าแผนที่พันธุกรรม (genetic map), กระบวนการทำแผนที่ยีน (gene mapping) คือกระบวนการที่หาโลคัสของลักษณะถ่ายทอดทางชีวภาพหนึ่งๆhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%AA_(%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C)

[2] วิทยานิพนธ์ ค่าความถี่ของอัลลีลของดีเอ็นเอไมโครแซทเทลไลท์บนโครโมโซมเพศหญิง ตำแหน่ง DXS7132 ในกลุ่มประชากรคนไทยภาคเหนือ

http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2553/scfor0553js_abs.pdf

http://dcms.thailis.or.th/tdc//browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=100156&display=list_subject&q=%E4%C1%E2%A4%C3%E1%AB%B7%E0%B7%C5%E4%C5%B7%EC%20(%BE%D1%B9%B8%D8%C8%D2%CA%B5%C3%EC)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net