Skip to main content
sharethis

เจ้าหน้าที่ลาวยืนยันว่า การลงทุนของจีนที่นับวันมากขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในแขวงภาคเหนือของลาวมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เจ้าหน้าที่ชั้นสูงในกระทรวงกสิกรรม-ป่าไม้ลาว ได้ให้การยอมรับว่า การลงทุนของจีนที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศราฐกิจในลาวก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก้ได้ส่งผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนลาวอย่างกว้างขวางอีกด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า บรรดาบริษัทจากจีนที่ลงทุนอยู่ในลาวโดยเฉพาะการลงทุนในภาคกสิกรรม ที่มีการเช่าที่ดินในบริเวณกว้างเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ไม้วิก หรือยูคาลิปตัส มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และถั่วต่างๆ นั้น ก็ปรากฏว่าบรรดาบริษัทจากจีนเหล่านี้ ต่างก็ได้พากันตัดไม้ทำลายป่าอยู่ในลาวอย่างกว้างขวางอีกด้วย ดังที่เจ้าหน้าที่ลาวได้ยกตัวอย่างสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในแขวงพงสาลีว่า

“แขวงพงสาลีนี้ กรณีที่ประชาชนได้เสนอการเรียกร้องมากกว่าเรื่องอื่นก็คือ ปัญหาการตัดไม้ เพราะว่าปัญหาการตัดไม้นี้ถึงแม้ว่าฉากหน้าส่วนมากจะเป็นบริษัทของคนลาวก็ตาม แต่คนที่ตัดจริงนั้นเป็นจีน ตอนนี้เขาอยากตัดตรงไหนก็ตัด จึงทำให้ประชาชนอยากรู้เหตผลว่าตัดเพื่ออะไรถึงต้องตัดมากมายนัก ที่ที่ไม่ควรตัดก็ยังตัด ลามไปถึงเขตป่าสงวนของประชาชน”

ทางด้านเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตลุ่มแม่น้ำโขงได้รายงานว่า การลักลอบตัดไม้ในลาวได้กลายเป็นปัญหาที่นับวันจะใหญ่ขึ้น โดยเขตที่มีการลักลอบตัดไม้เถื่อนมากที่สุดในลาวนั้น ก็คือเขตชายแดนที่ติดต่อกับเวียตนาม จีน และไทย ซึ่งประมาณการว่า ได้มีการลักลอบตัดไม้และขนไม้ส่งออกจากลาวไปยัง 3 ประเทศดังกล่าวนี้ ในปริมาณมากกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตรในแต่ละปี

ทั้งนี้ จากการสำรวจสภาพป่าไม้ในลาวเมื่อปี 1992 ก็พบว่า ลาวมีอัตราความหนาแน่นของป่าไม้อยู่ถึง 47% ของพื้นที่ทั้งหมด หากแต่ว่าอัตราความหนาแน่นของป่าไม้ก้ได้ลดลงสู่ระดับ 41% ในปี 2002 และในปัจจุบันก็เชื่อว่า ป่าไม้ในลาวยังเหลืออยู่ไม่ถึง 40% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยการส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการลงทุนเพื่อการปลูกต้นไม้สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอย่างเอาจริงเอาจังนั้น ก็ทำให้ทางการลาวเชื่อมั่นว่า จะทำให้ป่าไม้ในลาวมีความหนาแน่นขึ้นเป็น 70% ของพื้นที่ทั้งประเทศได้ภายในปี 2020

ทางด้านกระทรวงแผนการและการลงทุน ก็ได้เสนอรายงานว่า นับจากปี 2000 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ จีนมีมูลค่าการลงทุนสะสมอยู่ในลาวมากกว่า 3,500 ล้านดอลลาร์ โดยถึงแม้ว่าจะเป็นอันดับ 2 รองจากเวียตนามก็ตาม หากแต่ก็เชื่อว่า การลงทุนของจีนในลาวจะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในไม่ช้านี้ เนื่องจากว่ายังมีบรรดาบริษัทจากจีนจำนวนไม่น้อยที่เตรียมจะเข้ามาลงทุนในลาวเพิ่มขึ้นอีก รวมถึงการลงทุนก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อมายังนครหลวงเวียงจัน โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ด้วย ซึ่งการลงทุนดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในลาวมากขึ้นไปอีก

 

แปลจาก http://lao.voanews.com/content/laos-chinese-investment/1517805.html


ภาษาลาวในข่าว เสนอคำว่า  ແມັດກ້ອນ (แม้ดก้อน) - ลูกบาศก์เมตร, cube metre

ແມັດກ້ອນ เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณการส่งออกไม้จากลาวไปยังประเทศต่างๆ ปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเป็นเรื่องน่ากังวลในลาว เนื่องจากการพัฒนาและให้สัมปทานทำเหมื

อง ทำเขื่อน และปลูกยางพารา เป็นเหตุให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่างจากข่าว 

ທາງດ້ານເຄືອຂ່າຍອະນຸລັກຊັບພະຍາກອນທໍາມະຊາດໃນເຂດລຸ່ມແມ່ນໍ້າຂອງໄດ້ລາຍ ງານວ່າ ການລັກລອບຕັດໄມ້ໃນລາວໄດ້ກາຍເປັນບັນຫາທີ່ໃຫຍ່ຂຶ້ນນັບມື້ ໂດຍເຂດທີ່ມີ ການລັກລອບຕັດໄມ້ເຖື່ອນຫຼາຍທີ່ສຸດໃນລາວນັ້ນ ກໍແມ່ນເຂດຊາຍແດນທີ່ຕິດຕໍ່ກັບຫວຽດ ນາມ ຈີນ ແລະໄທ ຊຶ່ງປະມານການວ່າ ໄດ້ມີການລັກລອບຕັດໄມ້ ແລະຂົນສົ່ງໄມ້ອອກ ຈາກລາວໄປຍັງ 3 ປະເທດດັ່ງກ່າວນີ້ ໃນປະລິມານຫຼາຍກວ່າ 200,000 ແມັດກ້ອນ ໃນແຕ່ລະປີ.

ทางด้านเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตลุ่มน้ำโขงได้รายงานว่า การลักลอบตัดไม้ในลาวได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น โดยเขตที่มีการลักลอบตัดไม้เถื่อนมากที่สุดในลาวนั้นคือเขตชายแดนที่ติดกับเวียตนาม จีน และไทย ซึ่งประมาณการว่า ได้มีการลักลอบส่งไม้ออกจากลาวไปยัง 3 ประเทศดังกล่าวนี้ในปริมาณมากกว่า 200,000 ลูกบาศก์เมตรในแต่ละปี

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net