Skip to main content
sharethis

ทุ่ม 5 พันล้าน ปล่อยกู้ "ผู้ประกันตน" ไปทำงานตปท. เผยให้สิทธิรายละไม่เกิน 1 แสนบาท

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศของ สปส.ว่า บอร์ด สปส.ได้หารือกันถึงการดำเนินโครงการดังกล่าวโดยเห็นว่า เบื้องต้นแรงงานที่จะเข้าร่วมโครงการควรเป็นแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อออกจากงานแล้วไปทำงานต่างประเทศจะต้องเปลี่ยนไปเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 ส่วนแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคมระยะหนึ่ง จึงจะเข้าร่วมโครงการได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องระยะเวลาการเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม บอร์ด สปส.จึงได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบศึกษาถึงความเหมาะสมของการกำหนดระยะ เวลาการเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม

นพ.สมเกียรติกล่าวอีกว่า ส่วนเงินกองทุนประกันสังคมที่จะใช้ในโครงการนำมาจากเงินลงทุนด้านสังคม ซึ่ง สปส.จัดสรรวงเงินไว้ทั้งสิ้น 40,000 ล้านบาท และที่ผ่านมา ได้ใช้ดำเนินโครงการต่างๆ ทำให้ขณะนี้มีเงินเหลืออยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท ที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการ คาดว่าจะปล่อยกู้ให้แก่แรงงานที่จะไปทำงานต่างประเทศได้รายละไม่เกิน 100,000 บาท เนื่องจากปัจจุบันการทำงานไปต่างประเทศไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายสูงเหมือนในอดีต แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องอัตราดอกเบี้ยว่าควรเป็นร้อยละเท่าใด ส่วนข้อกังวลเมื่อโครงการปล่อยเงินกู้ไปแล้วจะเกิดปัญหาหนี้เสียตามมานั้น ได้วางระบบป้องกันปัญหานี้โดยใช้วิธีการหักเงินเดือนจากบัญชีเงินเดือนของ แรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ เพื่อผ่อนชำระหนี้กับธนาคารที่ไปยื่นกู้ไว้

"ผมมองว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการควรสูงกว่าการปล่อยสินเชื่อภาย ในประเทศ แต่อัตราดอกเบี้ยไม่ควรเกินร้อยละ 10 ต่อปี เพราะธนาคารต้องวางระบบต่างๆ ในต่างประเทศเพื่อรองรับโครงการ เช่น การหักเงินเดือนจากบัญชีเงินเดือนเพื่อผ่อนชำระหนี้เงินกู้ การโอนเงินส่งกลับมาเมืองไทยของแรงงาน โดยธนาคารจะได้รับประโยชน์ในส่วนของเงินค่าธรรมเนียมการโอนเงิน" นพ.สมเกียรติกล่าว และว่า จากการที่คณะทำงานโครงการได้หารือกับตัวแทนธนาคารต่างๆ เบื้องต้นมีหลายธนาคารที่เสนออัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7-8 เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) ซึ่งอยู่ในอัตราที่ไม่สูงเกินไป จึงได้ขอให้ธนาคารต่างๆ เร่งส่งข้อมูลอัตราดอกเบี้ยให้คณะทำงานพิจารณาในเดือนตุลาคม และนำเสนอบอร์ด สปส.ต่อไป

(มติชน, 8-10-2555)

 

เตือนแรงงานไทย เปิดเน็ต-ไปนอก

มหาสารคาม - นางสาวทัศนีย์ จิตต์ทองกุล จัดหางานจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่าปัจจุบันขบวนการฉ้อโกงทางอินเตอร์เน็ตมีรูปแบบลักษณะหลอกลวงที่ หลากหลายและพัฒนาเทคนิคการหลอกให้แนบเนียนมากยิ่งขึ้น โดยเสนองานทางอินเตอร์เน็ตไปต่างประเทศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้มีคนไทยตก เป็นเหยื่อ ล่าสุดหลอกไปประเทศมาเลเซีย ด้วยอัตราค่าจ้างที่สูงและสวัสดิการเพื่อจูงใจให้หลงเชื่อ โดยคนงานจะต้องบันทึกคำให้การอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและรับรองเอกสารกับศาล ยุติธรรมมาเลเซีย ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยการให้โอนเงินให้และหลังจากนั้นจะแจ้งให้โอนเงินให้อีก โดยอ้างว่าเป็นค่ารับรองเอกสารกับหน่วยงานทางราชการ

ขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการเสนองานทางอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะการเสนอ ตำแหน่งงานในต่างประเทศ ควรตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของบริษัทนายจ้างก่อนตัดสินใจ หรือติดต่อสถานทูตไทย หรือสำนักงานแรงงานไทยให้ช่วยตรวจสอบก่อนทุกครั้งและไม่ควรจ่ายเงินล่วงหน้า ใดๆ

(ข่าวสด, 9-10-2555)

 

ผู้ประกันตน"เอดส์-ไต"เซ็ง ย้ายสิทธิติดกม.ความลับฯ

หลังจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเดินหน้าลดความเหลื่อมล้ำด้านบริการสาธารณสุขใน 3 กองทุนสุขภาพของรัฐ โดยขยายการรักษาที่เท่าเทียมไปยังกลุ่มผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายและ กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการประชุมชี้แจงการสร้างความเป็นเอกภาพ และบูรณาการสิทธิประโยชน์ให้แก่สถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม ทั้งนี้ นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มที่ต้องเปลี่ยนสิทธิการรักษาต้องดำเนินการแบ่งเป็น 6 กรณี คือ 1.จากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง เป็นประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน ผู้ป่วยเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญา และโรงพยาบาลที่จะรักษาอาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้ 2.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิบัตรทอง ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำ และเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษาอาจเป็นคนละโรงพยาบาลก็ได้ 3.จากสิทธิบัตรทองเป็นสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ได้รับสิทธินับจากวันบรรจุ โดยจะไม่มีระบบลงทะเบียน ผู้ป่วยต้องติดต่อโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการรักษา 4.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ เป็นสิทธิบัตรทอง ได้รับสิทธิบัตรทองทันทีหลังจากสิ้นสุดสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ป่วยเลือกลงทะเบียนหน่วยบริการประจำและเลือกโรงพยาบาลที่จะรักษาอาจเป็น คนละโรงพยาบาล 5.จากสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเป็นสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนได้สิทธิหลังจ่ายเงินสมทบครบ 90 วัน และเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาและโรงพยาบาลรักษาที่อาจจะเป็นคนละแห่งก็ได้ และ 6.จากสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกันตนยังคงสิทธิหลังออกจากงาน 180 วัน ไม่มีระบบลงทะเบียนให้ผู้ป่วยติดต่อเลือกโรงพยาบาลของรัฐที่สะดวกเข้ารับการ รักษา

"ทั้ง 6 กรณี ผู้ป่วยสามารถเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาแตกต่างจากโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ได้เฉพาะที่เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลเท่านั้น และในการย้ายโรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องแสดงความจำนงแก่ผู้ประสานของโรงพยาบาลเดิม เพื่อขอข้อมูลทางการแพทย์ไปให้โรงพยาบาลใหม่ เนื่องจากไม่มีระบบออนไลน์ เพราะข้อมูลของผู้ป่วยจะต้องเป็นความลับตามที่กฎหมายกำหนด" นพ.พีรพลกล่าว

นางสุพัชรี มีครุฑ ผู้ตรวจราชการ สปส. กล่าวว่า ในส่วนของผู้ป่วยที่เป็นผู้ประกันตน ทั้งที่เป็นผู้ประกันตนเดิม และผู้ที่เปลี่ยนจากสิทธิอื่นไปเข้าประกันสังคม หากเลือกโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นโรงพยาบาลเอกชน จะไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลรักษาเป็นโรงพยาบาลอื่นได้ ต้องรักษากับโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาที่ระบุในบัตรประกันสังคมเท่านั้น เนื่องจากระบบของ สปส.จะทำสัญญากับโรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น แต่หากเป็นผู้ประกันตนที่โรงพยาบาลตามบัตรเป็นโรงพยาบาลสังกัด สธ. จะได้รับการอนุโลมให้เข้ารักษาในโรงพยาบาลสังกัด สธ.อื่น ที่ไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรได้ แต่ต้องอยู่ภายในโรงพยาบาลเดียวกัน

"สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยทั้งสิทธิประกันสังคมและสิทธิบัตรทอง เห็นว่ามีความแตกต่างแค่ในส่วนของเงินที่จ่ายเท่านั้น เช่น กรณีการตรวจซีดีโฟร์ (CD4) ผู้ป่วยเอดส์ สปส.จ่าย 500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ขณะที่ สปสช.จ่าย 400 บาท หรือการตรวจปริมาณไวรัสในร่างกายที่ สปส.จ่าย 2,500 บาทต่อการตรวจรู้ผล ส่วน สปสช.จ่ายชดเชยเป็นน้ำยา 1.1 เท่า พร้อมค่าบริหารจัดการ 250 บาท เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สปส.จะพยายามให้ได้มาตรฐานเดียวกัน" นางสุพัชรีกล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 9-10-2555)

ราชภัฏขอพนักงานเป็นขรก. ชี้ออกนอกระบบไม่ส่งผลต่อคุณภาพ

เมื่อวันที่ 9 .. จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์บริหารงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ประธานคณะกรรมการฯ เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ คณะกรรมการฯ ได้เสนอว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏต้องมีทางเลือก 3 ทาง ดังนี้ 1. เป็นมหาวิทยาลัยในระบบราชการ 2. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และ 3. เป็นมหาวิทยาลัยทิศทางใหม่ โดยหน่วยงานบางส่วนอยู่นอกระบบราชการ แต่เป็นหน่วยงานในกำกับ

ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมเห็นควรให้ดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏตามแนวทางการปฏิรูปของ คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและกำลังคนภาครัฐ (คปร.) และจะเสนอให้ทบทวนมติ ครม.เพื่อขอเปลี่ยนพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการ โดยมีหลักการดังนี้ 1. ขอคืนอัตราข้าราชการที่เกษียณแล้วให้กลับมาเป็นข้าราชการ 2. ขอให้เปลี่ยนอัตราพนักงานที่จะขอเพิ่มเติมให้เป็นข้าราชการ และ 3. ขอให้พนักงานมหาวิทยาลัยมีโอกาสเลือกในการปรับเป็นข้าราชการหรือคงสถานภาพ เดิม ทั้งนี้ จะได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของพนักงานมหาวิทยาลัยที่สังกัดมหาวิทยาลัย ราชภัฏทั่วประเทศ โดยให้อธิการบดีดำเนินการตรวจสอบความต้องการของแต่ละมหาวิทยาลัย เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะได้ประชุมร่วมกับ คปร.ต่อไป

อุดมศึกษา ไม่ควรมีทางเลือกเดียว หากอ้างว่าจำเป็นต้องออกนอกระบบเพื่อให้เกิดคุณภาพ ก็ต้องพิจารณาว่า ตลอดระยะเวลา 4–5 ปีที่ผ่านมา เวลามีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับอยู่ในระดับบนจะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบราชการ หรืออย่างน้อยก็อาศัยระบบราชการเป็นกลไกหล่อเลี้ยง นั่นหมายความว่า การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพของมหาวิทยาลัยอย่างมีนัย สำคัญ” ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าว.

(
ไทยรัฐ, 9-10-2555)

 

ปราจีนบุรี-พนง.แพน ประท้วงจ่ายค่าชดเชยหลังถูกไล่ออก

(10 .) กลุ่มพนักงานบริษัทกบินทร์บุรี แพนเอเชียฟุตแวร์ จำกัด ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ 5 ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวนกว่า 300 คน ได้มารวมตัวกันที่หน้าบริษัท เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยหลังจากที่บริษัทหยุดกิจการ และ ปลดพนักงานเกือบทั้งหมดออก อีกทั้งไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ตามที่กรมแรงงานกำหนด โดยตั้งเวทีปราศรัยบนถนนสายสุวรรณศรสายเก่า กบินทร์แพน-เทศบาลตำบลกบินทร์ ปิดช่องทางการจราจร 1 ช่องทาง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.กบินทร์บุรี คอยอำนวยความสะดวก

นางนวลจันทร์ อินทร์ธิรักษ์ พนักงานฝ่ายผลิต เปิดเผยว่า ถูกบริษัทประกาศเลิกจ้างตั้งวันที่ 8 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยให้ค่าตอบแทนแค่ 25%  แต่พนักงานทุกคนไม่ยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เพราะบริษัทเป็นโรงงานกลุ่มแพนที่ผลิตรองเท้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกเพื่อ ส่งออก แต่จู่ๆ มาบอกเลิกจ้างโดยอ้างโรงงานไม่มีออเดอร์จากต่างประเทศ จึงทำให้โรงงานขาดสภาพคล่อง และค่าใช้จ่ายมากขึ้น ประกอบกับต้นปีหน้าทางรัฐบาลได้ประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บริษัทเลิกจ้าง ส่วนพนักงานที่มีเงินเดือนประจำจะถูกโอนย้ายไปทำที่บริษัทในเครือ แต่จะไม่ต่อสัญญาให้ ส่วนพวกตนทำมานานกว่า 10-20 ปี จึงออกมาเรียกข้อเงินค่าสวัสดิการที่ควรได้ทั้งหมดเต็ม 100% ถ้าไม่ได้จะใช้มาตรการที่รุนแรง และอาจปิดถนนสายสุวรรณศรทั้งหมด

(ครอบครัวข่าว, 10-10-2555)

 

กองทุนประกันสังคม​เล็งลงทุน​เพิ่ม​ใน ตปท.200 ล้านดอลล์ ปลายปีนี้-ต้นปีหน้า

นายวิน พรหม​แพทย์ หัวหน้างานลงทุนต่างประ​เทศ​และอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานประกันสังคม ​เปิด​เผยว่า กองทุนประกันสังคมมี​แผนจะ​เข้าลงทุน​เพิ่ม​ในตลาดต่างประ​เทศจำนวน​เงิน 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ​ในช่วงประมาณปลายปีนี้​ถึงต้นปีหน้า ​ซึ่งจะ​ทำ​ให้สัดส่วน​การลงทุน​ในตลาดต่างประ​เทศ​เพิ่มขึ้น​เป็น 5% จากปัจจุบัน 3% ​โดยกองทุนจะ​เน้นลงทุน Emerging market ​ได้​แก่ ​โป​แลนด์ ​เกาหลี อิน​โดนี​เซีย มา​เล​เซีย ​เป็นต้น

ทั้งนี้ วง​เงิน 200 ล้านดอลลาร์จะ​แบ่งลงทุน 3 กล่ม ​ได้​แก่ 1) พันธบัตรประ​เทศที่มี​ความมั่นคงสูง ​และมีระดับหนี้ภาครัฐต่ำสัดส่วน 60% 2)หุ้นต่างประ​เทศที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ​เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าจำ​เป็น ​เช่น อุป​โภคบริ​โภค ค้าปลีก ​และ​เวชภัณฑ์ สัดส่วน 25%  ​และ 3) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประ​เทศที่มีราย​ได้จากค่า​เช่ามั่นคง สัดส่วน 15% ​โดยจะมอบหมาย​ให้ บลจ.ธนชาต ร่วมกับบริษัทจัด​การกองทุนต่างประ​เทศ จัดตั้งกองทุน private fund

นายวิน กล่าวว่า ช่วง 6 ​เดือน​แรกของปีนี้ กองทุนฯสามารถ​ทำกำ​ไร​ได้​แล้ว 2.1 หมื่นล้านบาท มาจากดอก​เบี้ยรับ 1.6 หมื่นล้าน ที่​เหลือ​เป็น​เงินปันผลจาก​การลงทุน​ในหุ้น ​และ​ทั้งปี 55 ตั้ง​เป้า​ทำกำ​ไร​หรือ​ได้รับผลตอบ​แทนจาก​การลงทุนที่ 4 หมื่นล้านบาท

ในระยะยาวกองทุนประกันสังคมจะมีอัตราผลตอบ​แทนที่ระดับ 5.5 - 6% ​เพราะต้องมีภาระจ่ายบำนาญ​เพิ่มขึ้น ที่​เริ่มจ่าย​ในปี 2556 ​และต้องจ่ายมากที่สุด​ในปี 2570 ​ซึ่งกองทุนฯ​เน้นลงทุนระยะยาวรวม​ทั้งผลตอบ​แทนที่สม่ำ​เสมอต่อ​เนื่อง ​จึงสน​ใจที่จะลงทุนกองทุน​โครงสร้างพื้นฐาน ที่​เห็นว่าประ​เทศ​ในอา​เซียนจะมี​ความต้อง​การมากขึ้น หลังจาก​เปิดประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน(AEC) ​เช่น ประ​เทศ​ไทย อิน​โดนี​เซีย

สำหรับปีที่ผ่านมากองทุนมีอัตราผลตอบ​แทน 6.40% ​และ​เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 7.17% รวม​ทั้งมีอัตราผลตอบ​แทน​เฉลี่ยนับตั้ง​แต่จัดตั้งกองทุน 7.55% ต่อปี

ทั้งนี้ สิ้นมิ..55 พอร์ตลงทุนมีจำนวน 9.2 ​แสนล้านบาท ​แบ่ง​เป็น​การลงทุน​ในพันธบัตรรัฐบาล,พันธบัตรธปท.​และตั๋ว​เงินคลัง  6 ​แสนล้านบาท ​หรือคิด​เป็นสัดส่วน 66.18% พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (กระทรวงคลังค้ำประกัน) 8.2 หมื่นล้านบาท ​หรือมีสัดส่วน 8.9% หุ้นกู้​เอกชน(อยู่​ในอันดับ​ความน่า​เชื่อถือ) 4.1 หมื่นล้านบาท ​หรือมีสัดส่วน 4.46%

เงินฝากธนาคาร 2 หมื่นล้านบาท คิด​เป็นสัดส่วน 2.24% ตราสารหนี้รัฐวิสาหกิจที่กระทรวง​การคลัง​ไม่​ได้ค้ำประกัน มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ​หรือสัดส่วน 5.41% นอกจากนี้​การลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ​และกองทุนต่างประ​เทศ  3.7 หมื่นล้านบาท คิด​เป็นสัดส่วน 4.03% ​และลงทุนหุ้น​ไทย 8 หมื่นล้านบาท (ประมาณ 8.77%)

(
อิน​โฟ​เควสท์, 10-10-2555)

 

"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ประชานิยม "จบใหม่" เงินเดือน 1.5 หมื่น ทำ ".ตรี" เตะฝุ่นปีหน้า 1.6-1.7 แสนคน

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า จำนวนผู้ว่างงานที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีปี 2556 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% หรือ 1.6-1.7 แสนคน จากปัจจุบันที่มี 1.45 แสนคน นายยงยุทธกล่าวว่า อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ บวกกับการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท/เดือน ในปี 2557 เพราะปัจจัยทั้ง 2 ประการทำให้นายจ้างคงอัตราการจ้างงานไว้เท่าเดิม ไม่จ้างคนใหม่เพิ่ม "หากดูตัวเลขอัตราการว่างงานหลังจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในเดือน เม.. จะเห็นว่าเพิ่มขึ้นจาก 0.7% เป็น 0.8% หรือเพิ่มจากประมาณ 3 แสน เป็น 4 แสนคน แสดงให้เห็นว่านายจ้าง Freeze ตำแหน่งงานไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบหนักต่อผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่จะสำเร็จการศึกษาใน เดือน ก..ปีหน้า" นอกจากนี้แล้ว การเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทในปี 2557 แม้จะเพิ่มเฉพาะฝั่งข้าราชการ แต่จะมีผลกระทบในเชิงจิตวิทยาให้เอกชนปรับเงินเดือนเพิ่มตามไปด้วย และชะลอการจ้างงานใหม่ลง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์แม้จะมีความต้องการแรงงานเพิ่ม และคาดว่าจะดูดซับแรงงานได้ประมาณ 1 แสนคน แต่เชื่อว่าจะเน้นจ้างงานผู้จบการศึกษาระดับ

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-10-2555)

 

ลุ้นอัตราจ้าง สอศ.ขึ้นพนักงานราชการ 1 หมื่นอัตรา

เมื่อวันที่ 11 .. นายศักดา คงเพชร รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยความคืบหน้าในการผลักดันกลุ่มครูและเจ้าหน้าที่ชั่วคราวในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) 19,998 คน เปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานราชการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและเพิ่มขวัญและกำลังใจในการทำงานว่า นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามที่ สอศ.ได้เสนอแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนด เป็นวาระการประชุม ครม.

ทั้งนี้ สำหรับตนแล้วไม่มั่นใจว่า ครม.จะจัดสรรให้ทั้งหมด เพราะอาจจะติดขัดในเรื่องของงบประมาณที่จะนำมาใช้ดำเนินการ เนื่องจากกรอบอัตรากำลังจำนวนนี้ไม่ได้จัดขอไว้ในหมวดงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี 2556 ซึ่งหาก ครม.จะอนุมัติให้ก็คงต้องใช้เม็ดเงินจากงบประมาณกลางของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเงินประมาณ 3,600 ล้านบาท แต่ถ้าอนุมัติให้ก่อนครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 10,000 อัตรา ก็จะใช้เม็ดเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า หาก ครม.อนุมัติให้เปลี่ยนสถานะครูและเจ้าหน้าที่ของ สอศ.เป็นพนักงานราชการก่อนครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 10,000 อัตรา ตนได้มอบเป็นนโยบายให้กับนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) และผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด สอศ.ไว้ล่วงหน้าว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนที่ได้รับอนุมัติมาให้พิจารณาตามหลักความอาวุโส ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 20 ให้พิจารณาจากความรู้ความสามารถ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีและ ครม.เมตตาในเรื่องนี้ อย่างน้อยแต่ละวิทยาลัยก็จะยังพอเหลือเงินจากค่าใช้จ่ายรายหัวของนักเรียน นักศึกษา ซึ่งแต่ละปีต้องนำมาใช้จ้างครูและเจ้าหน้าที่อัตราจ้างชั่วคราว จะได้นำมาใช้ในการพัฒนาวิทยาลัยในส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนต่อไป.

(
ไทยรัฐ, 11-10-2555)

 

พนง.ผลิตรองเท้าส่งออกบุกศาลากลางปราจีนฯ ทวงสิทธิเงินค่าถูกเลิกจ้าง

(11 ..) พนักงานบริษัท กบินทร์บุรีแพนเอเชียฟุตแวร์ จำกัด กว่า 300 คนได้รวมกลุ่มประท้วงหน้าศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเรียกร้องสิทธิในการเลิกจ้าง โดยมีนายสมสกุล โมราวรรณ อายุ 40 ปี เป็นแกนนำ

ทั้งนี้ พนักงานดังกล่าวได้ถูกบอกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ..55 โดยอ้างว่าประสบภาวะขาดทุนทำให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน และบริษัทจะจ่ายให้พนักงานเพียง 30% แต่พนักงานไม่ยอมจึงมีการชุมนุมเรียกร้องสิทธิดังกล่าว

นอกจากนั้น ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้แก่นายอรุณ พุมเพรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งข้อเรียกร้องประกอบด้วย ขอให้ทางบริษัทออกใบรับรองการทำงาน ใบผ่านงานจากบริษัท โดยระบุว่า บริษัทปิดกิจการเลิกจ้าง และไม่ให้พนักงานเขียนใบลาออก ขอให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามกฎหมาย มาตรา 118 ขอให้หน่วยงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานให้การดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนให้ แก่ลูกจ้าง โดยให้มีการเจรจากับบริษัทฯ ในสัปดาห์นี้ เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทไม่ยอมพูดคุยเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด

สำหรับบริษัท กบินทร์บุรีแพนเอเชียฟุตแวร์ จำกัด ได้ทำการผลิตรองเท้าส่งออกต่างประเทศยี่ห้อดัง เช่น โปโล, ฮัมเมล เป็นรองเท้าส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และทวีปยุโรป ทางบริษัทรับทำยี่ห้ออื่นๆ อีกหลายยี่ห้อ

ด้านนายอรุณ พุมเพรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้เรียกประชุมตัวแทนพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 15 คนที่ห้องประชุมชั้น 2 พร้อมกล่าวว่า จังหวัดปราจีนบุรีจะดูแลเรื่องนี้ และขอให้ทุกคนขึ้นทะเบียนคนว่างงานไว้ พร้อมจะประสานบริษัทฯ ให้คิดค่าตอบแทนต่อรองกับพนักงานที่ถูกเลิกจ้างต่อไป หากไม่ได้รับความเป็นธรรมจะได้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 11-10-2555)

 

.แรงงาน ชู 3 มาตรการ เตรียมพร้อมรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 .

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 12 .. 55  นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัด ซึ่งเริ่มมีผลในวันที่ 1 .. 56 ว่า กระทรวงแรงงานได้วางมาตรการไว้ 3 มาตรการ ได้แก่ 1. การให้ 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กรมการจัดหางาน (กกจ.) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) และสำนักงานประกันสังคมทั้งในส่วนกลางและจังหวัด บูรณาการการทำงานร่วมกันโดยลงพื้นที่ไปรับพูดคุยกับสถานประกอบการภายใน จังหวัด โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็ม เพื่อขอความร่วมมือปรับขึ้นค่าจ้างตามกฎหมาย และรับฟังปัญหาและผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง รวมทั้งชี้แจงถึงมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล เช่น มาตรการการลดภาษี นอกจากนี้ ให้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานในจังหวัดต่างๆ ไปพูดคุยกับสถานประกอบการ เพื่อเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบการเพื่อเพิ่มผลผลิต

2. การสำรวจและเก็บข้อมูลผู้ว่างงานและตกงาน เนื่องจากผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างโดยให้ กกจ.จัดหาตำแหน่งงานรองรับ และ 3. การส่งเสริมการมีงานทำโดยการจัดฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อประกอบอาชีพอิสระโดยเฉพาะแรงงานและประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

"ถึงวันนี้ประเทศไทยจะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อยกระดับทักษะ ฝีมือและคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยให้ดีขึ้น ทำให้แรงงานไทยมีศักยภาพแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้เพราะเหลือไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า ไทยจะต้องก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขณะนี้ทุกประเทศในอาเซียนปรับขึ้นค่าจ้างกันไปหมดแล้ว กระทั่งบางประเทศ เช่น มาเลเซียมีอัตราค่าจ้างสูงกว่าไทย อย่างไรก็ตาม คาดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้ไม่น่าจะมีผลกระทบทำให้แรงงานตกงานเป็น จำนวนมาก เนื่องจากเวลานี้ไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก แต่สิ่งที่กระทรวงแรงงาน หน่วยงานรัฐและเอกชนต่างๆ จะต้องเร่งดำเนินการคือ การพัฒนาทักษะฝีมือทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนให้แก่แรงงานไทยเพื่อรอง รับเออีซี"

(
คมชัดลึก, 12-10-2555)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net