Skip to main content
sharethis

กรอ.เล็งเสนอนายกฯ พิจารณาชะลอค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท

วันที่ 20 ต.ค. นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ.สัญจร ในวันพรุ่งนี้ ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ภาคเอกชนจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศ ซึ่งจะบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. ปี 2556 ในส่วน 70 จังหวัดที่เหลือออกไปก่อน โดยให้คงค่าจ้างขั้นต่ำไว้จนถึงปี 2558 หลังจากนั้น จะขอให้มีการพิจารณาปล่อยให้ค่าแรงเป็นไปตามกลไกตลาด โดยให้แต่ละพื้นที่มีการแข่งขันกันเองอย่างเสรี

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ควรให้แก่แรงงานที่จบการศึกษาขั้นต่ำประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป เพื่อให้แรงงานพัฒนาด้านการศึกษาไม่ใช่ให้เป็นการทั่วไป และขอให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงนำร่องไปแล้วด้วย เนื่องจากแบกรับภาระไม่ไหว อีกทั้ง ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันต่ำลง

 อย่างไรก็ตาม นายสมมาต คาดว่า ในปีหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มพบความยากลำบาก จากปัญหาเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้การหาตลาดยากขึ้น หากมีภาระค่าแรงเข้ามาเพิ่มก็จะยิ่งซ้ำเติมให้ขีดความสามารถทางการแข่งขัน ต่ำลง

(มติชน, 21-10-2555)

 

ก.​แรงงานชี้ 5 ​เดือน​ผู้ประกันตนขอรับ​เงินว่างงานทะลุ 2 ​แสนคน

กองวิจัยตลาด​แรงงาน กรม​การจัดหางาน กระทรวง​แรงงาน ​เผยตัว​เลข​ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะ​เบียนขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน ตั้ง​แต่​เดือนพฤษภาคม ​ถึง กันยายนที่ผ่านมาพบว่ามี​ผู้ขอ​ใช้สิทธิ​แล้ว 2 ​แสนคน ​แบ่ง​เป็น​การลาออกจากงาน​เอง 1.79 ​แสนคน ​และถูก​เลิกจ้าง 2.7 หมื่นคน ​ทั้งนี้ข้อมูลพบว่า ​แรงงานอุตสาหกรรมที่มี​ผู้ประกันตนลาออก​และถูก​เลิกจ้างมากที่สุด 5 อันดับ​แรก ประกอบด้วย

1. อุตสาหกรรม​การผลิต มี​ผู้ขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน 7.9 หมื่นคน ​แบ่ง​เป็น ​การลาออก​เอง 6.7 หมื่นคน ​และถูก​เลิกจ้าง 1.2 หมื่นคน

2. อุตสาหกรรม​การขายส่ง ​การขายปลีก ​การซ่อมยานยนต์​และรถจักรยานยนต์ มี​ผู้ขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน 4 หมื่นคน ​แยก​เป็น ลาออก​เอง 3.6 หมื่นคน ​และถูก​เลิกจ้าง 3,898 คน

3. อุตสาหกรรมที่พัก​แรม​และบริ​การด้านอาหาร มี​ผู้ขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน 1.4 หมื่นคน ​แบ่ง​เป็น ลาออก​เอง 1.2 หมื่นคน ​และถูก​เลิกจ้าง 2,341 คน

4. กิจกรรม​การบริหาร​และบริ​การสนับสนุนอื่นๆ มี​ผู้ขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน 1.3 หมื่นคน ​แยก​เป็น​การลาออก​เอง 1.1 หมื่นคน ​และถูก​เลิกจ้าง 1,436 คน

5. ​การก่อสร้าง มี​ผู้ขอรับประ​โยชน์ทด​แทนกรณีว่างงาน 9,980 คน ​แบ่ง​เป็น ​การลาออก​เอง 7,536 คน ​และถูก​เลิกจ้าง 2,444 คน

ส่วนสา​เหตุ​การลาออกจากงาน อาทิ ​การ​เปลี่ยนงาน ​ไปประกอบธุรกิจส่วนตัว ดู​แลคน​ในครอบครัว ​และหมดสัญญาจ้าง

(อินโฟร์เควสท์, 22-10-2555)

 

ครม.เห็นชอบให้ข้าราชการบวชไม่ถือเป็นวันลา

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ครม.ได้เห็นชอบให้ข้าราชการลาอุปสมบท ในโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2555 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 โดยไม่ถือเป็นวันลาตามที่ กรมการศาสนา(ศน.) กระทรงวัฒนธรรม(วธ.) เสนอ

นางสุกุมล กล่าวต่อไปว่า สำหรับการใช้สิทธิการลาดังกล่าว กำหนดระยะเวลาอุปสมบทไม่เกิน 15 วัน โดยให้สิทธิแก่ข้าราชการ (ยกเว้นข้าราชการการเมือง และข้าราชการส่วนท้องถิ่น) พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการมาแล้ว

สามารถลาอุปสมบทเพื่อเฉลิมพระเกียรติตามมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ได้อีก ส่วนผู้ที่ไม่เคยลาอุปสมบทระหว่างรับราชการ หากได้ลาอุปสมบทเพื่อเฉลิมพระเกียรติในครั้งนี้แล้ว จะไม่กระทบสิทธิในการลาอุปสมบทในอนาคต นอกจากนี้ การใช้สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี ผู้ลาจะต้องเข้าร่วมอุปสมบทในโครงการที่ส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ

หรือภาคเอกชนจัดขึ้นเป็นโครงการอย่างชัดเจน หากอุปสมบทเป็นเอกเทศ โดยไม่ได้เข้าร่วมโครงการ จะไม่ได้รับสิทธิในการลาดังกล่าว
"กิจกรรมโครงการนี้ เราจะจัดพร้อมกันในเดือน ธันวาคม เพื่อเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้มีโอกาสบำเพ็ญคุณงามความดี เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ด้วยการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการทำความดีที่สำคัญผู้เข้าร่วมอุปสมบทจะ ได้รับการอบรมตามหลักสูตรศาสนาศึกษา สำหรับผู้บวชระยะสั้นตามที่กรมการศาสนาหรือคณะสงฆ์กำหนดด้วย"รมว.วัฒนธรรม กล่าว

(เนชั่นทันข่าว, 22-10-2555)

 

นำร่องศูนย์ฝึกภาษา 27 แห่ง แห่เข้าอบรมกว่า 2.5 พันคน

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านภาษาต่างประเทศให้แก่นัก เรียน นักศึกษา และแรงงานไทย เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกระทรวงแรงงานร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าขณะนี้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ได้ร่วมกับสถานศึกษาสังกัด ศธ.จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นแล้วในสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) จำนวน 27 แห่งทั่วประเทศ เช่น นนทบุรี สุพรรณบุรี มหาสารคาม อุบลราชธานี

นพ.สมเกียรติกล่าวว่า ขณะนี้มีสถานศึกษาสังกัด ศธ.เข้าร่วมเป็นศูนย์อบรมย่อย จำนวน 50 แห่ง และได้จัดทำหลักสูตรอบรมด้านภาษา เช่น ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน ภาษาอังกฤษเพื่อการบริการและการขาย ภาษาอังกฤษเพื่อการนวด ภาษาจีนเพื่อการทำงาน ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสาร โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายนที่ผ่านมา มีผู้เข้ารับการอบรมแล้ว จำนวน 2,576 คน

"ได้ให้ กพร.ขยายการจัดตั้งศูนย์อบรมด้านภาษาต่างประเทศให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่ว ประเทศภายในปีนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่มีนโยบายต้องการเร่งพัฒนาทักษะด้านภาษา ต่างประเทศและภาษาอาเซียนให้แก่นักเรียน นักศึกษา และแรงงานไทยในสาขาต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันคนไทยมีจุดอ่อนในเรื่องนี้" นพ.สมเกียรติกล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 23-10-2555)

 

ส.อ.ท.เลิกชง กรอ.ชะลอค่าแรง 300 บาท โดน สศช.เบรกแถมแกนนำเห็นต่าง

นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ไม่สามารถเสนอให้ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันที่เหลือ 70 จังหวัดที่จะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2556 ในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานที่เกาะสมุยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ขอให้ไปหารือกับนายกรัฐมนตรีในเวทีอื่นแยกออกไป

"ถ้าเป็นเวทีอื่น ส.อ.ท.คงแค่ยื่นเรื่องเสนอ หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีคงให้กระทรวงแรงงานไปดูแล แน่นอนว่ากระทรวงแรงงานจะเดินหน้าขึ้นค่าแรงต่อไป เรื่องนี้ ส.อ.ท.ทำดีที่สุดแล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม หรือเอสเอ็มอี คงต้องทำใจและดูแลตัวเองต่อไป" นายสมมาตกล่าว

นายสมมาตกล่าวว่า ทั้งนี้ ช่วงไตรมาส 2 (เมษายน-มิถุนายน) ของปี 2556 คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนขึ้นจากผลกระทบค่าแรง เพราะจะส่งผลถึงราคาวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังมีผลจากเศรษฐกิจโลกที่ยังถดถอยโดยเฉพาะสหภาพยุโรป อาจทำให้เอสเอ็มอีต้องทยอยปิดกิจการลง และค่าแรงยังมีผลต่อจิตวิทยาทำให้ราคาสินค้าปลายทางขยับตามอย่างเลี่ยงไม่ ได้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพราะค่าครองชีพจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งดูแลเพราะมาตรการที่ระบุว่าจะช่วยเหลือเอสเอ็มอียัง ไม่เป็นรูปธรรม

รายงานข่าวจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ประจำเดือนตุลาคม แจ้งว่า ในการประชุมที่ผ่านมาได้พิจารณาวาระค่าแรงเพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอกรอ.ซึ่งมี ตัวแทนจาก สศช.เข้าหารือด้วย โดย สศช.ได้ขอให้กกร.เสนอเรื่องดังกล่าวเป็นการส่วนตัวกับนายกรัฐมนตรีเพราะเห็น ว่าเป็นเรื่องใหญ่ควรหารือกันนอกรอบก่อน ไม่ควรเสนอเข้า กรอ.ทันที ขณะเดียวกันทาง ส.อ.ท.เองยังมีความเห็นที่ต่างกันเพราะระดับแกนนำใน ส.อ.ท.ต่างเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากค่าแรง ทำให้ไม่มีการผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง

(มติชน, 23-10-2555)

 

มทร.พระนคร อุ้มพนักงานมหาวิทยาลัย ปรับ​เงิน​เดือน-สวัสดิ​การ ​เทียบ​เท่าข้าราช​การ

รศ.ดวงสุดา ​เต​โชติรส อธิ​การบดี มหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) ​เปิด​เผยว่า จากผล​การประชุมคณะกรรม​การบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย มทร.พระนคร ครั้งที่ 4 /2555 ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีมติอนุมัติร่างประกาศคณะกรรม​การบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน มหาวิทยาลัย มทร.พระนคร มีผลคับ​ใช้ตั้งวันที่ 1 ตุลาคม 2555 จำนวน 2 ​เรื่อง คือ ​เรื่องหลัก​เกณฑ์​และวิธี​การประ​เมินผล​การปฏิบัติงาน​เพื่อ​เลื่อนค่าตอบ ​แทนพนักงานมหาวิทยาลัย ​และ​เรื่องหลัก​เกณฑ์​และวิธี​การ​เลื่อนค่าตอบ​แทนพนักงานมหาวิทยาลัย ส่งผล​ให้​การปรับ​โครงสร้าง​เงิน​เดือน​เท่า​เทียมกับข้าราช​การ

รศ.ดวงสุดา กล่าวว่า นอกจากนี้จาก​การอนุมัติร่างประกาศดังกล่าว ยังสะท้อน​ให้​เห็นว่า มทร.พระนคร ดู​แลพนักงานมหาวิทยาลัย​ไม่น้อย​ไปกว่าข้าราช​การ ขณะนี้​ได้​เร่งปรับลูกจ้างชั่วคราว​ให้​เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ​เพื่อลด​ความ​เหลื่อมล้ำระหว่างพนักงานมหาวิทยาลัย ข้าราช​การ ​และลูกจ้างชั่วคราว​ในสถาบัน​การศึกษา ที่สำคัญคณะกรรม​การสวัสดิ​การภาย​ใน มทร.พระนคร ยัง​ได้จัดสวัสดิ​การ​ให้พนักงานมหาวิทยาลัย 2 ประ​เภท คือ 1.ประ​เภทสวัสดิ​การสง​เคราะห์ ​ได้​แก่ กรณีสมรส กรณีคลอดบุตร กรณี​เจ็บป่วย กรณี​ถึง​แก่กรรม ส่วนประ​เภทที่ 2 กรณีจัดกิจกรรม ​หรือสวัสดิ​การประ​เภทอื่น ​ได้​แก่ กรณีประสบภัยจาก​การปฏิบัติงาน ​และ​เกิด​ความ​เสียหายร้าย​แรงต่อร่างกาย กรณีสนับสนุนค่า​เชื้อ​เพลิง​ใน​การ​เดินทาง​ไปร่วมพิธีศพ กรณีสนับสนุน​ใน​การตรวจสุขภาพประจำปี กรณีสนับสนุนค่าประกันภัยอุบัติ​เหตุสำหรับบุคลากร ​และยัง​ให้​ความช่วย​เหลือบุคลากรที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย

“พนักงานมหาวิทยาลัย​เป็นส่วนสำคัญ​ใน​การผลักดัน มทร.พระนคร​ให้มีคุณภาพ ​โดยที่ผ่านมา​ผู้บริหาร มทร.พระนคร ห่วง​ใย ​เอา​ใจ​ใส่สวัสดิ​การของบุคลากรทุกคน รวม​ทั้ง​ได้ปรับ​เงิน​เดือน​ให้​ผู้ที่จบ​การศึกษาปริญญาตรี 15,000 บาท ​เพื่อ​ให้บุคลากรของ มทร.พระนครมีขวัญ​และกำลัง​ใจ​ใน​การ​ทำงาน ​จึงขอ​เชิญชวน​ให้บุคลากรที่มีสิทธิ​ในสวัสดิ​การดังกล่าวมา​ใช้สิทธิอย่าง ​เต็มที่ ​เพราะ​เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีราชมงคลพระนครจัด​ไว้​ให้​ แล้ว“รศ.ดวงสุดา กล่าว

(แนวหน้า, 23-10-2555)

 

กพร.ตั้งเป้าผลิตแรงงานกว่า 3 แสนคน

นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีส่งมอบกำลังแรงงานคุณภาพให้แก่สถานประกอบการใน จังหวัดอุบลราชธานีใน 3 สาขาจำนวน 39 คน แบ่งเป็นสาขาช่างซอมรถยนต์ สาขาเครื่องมือช่างกลและสาขาช่างสีอุตสาหกรรมว่า กพร.ได้ให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค(สพภ.)และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.)พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานตามโครงการระบบประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกิจการและ เพิ่มผลิตภาพแรงงานให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำเป็นวันละ 300 บาท ทั้งนี้ กพร.ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งผู้ที่จบม.3 ปวช. ปวส.ที่ว่างงานตลอดทั้งปี โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาให้ได้ประมาณ 3 แสนคน ภายใต้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท ทั้งนี้ เยาวชนและผู้ว่างงานที่สนใจสมัครเข้าอบรมได้ที่สพภ.และศฝจ.ทุกแห่ง
อธิบดีกพร. กล่าวอีกว่า ผู้ที่เข้าอบรมจะได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือด้านช่างในสาขาที่สมัครเข้าอบรม และทักษะภาษาอังกฤษ รวมถึงอบรม 9 พฤติกรรมสู่ความสำเร็จ เช่น ความอดทน ซื่อสัตย์ มีวินัยโดยใช้เวลาอบรมและฝึกงานในสถานประกอบการรวมประมาณ 15 เดือน เมื่อจบหลักสูตรอบรมแล้ว สถานประกอบการจะรับผู้ผ่านการอบรมเข้าทำงานโดยได้รับค่าจ้างมากกว่าวันละ 300 บาท นอกจากนี้ กพร.จะร่วมกับผู้ประกอบการต่างๆในการฝึกอบรมพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานที่ ทำงานอยู่ในสถานประกอบการต่างๆจำนวน 3 ล้านคนโดยใช้สถานประกอบการเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้วย

"เชื่อว่าโครงการระบบประกันคุณภาพการพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในสาขาต่างๆในภาพรวมของประเทศได้ หลังจากนี้กพร.จะขยายผลโครงการนี้โดยขอให้กรมการจัดหางาน(กกจ.)ซึ่งจัดงาน นัดพบแรงงานในจังหวัดต่างๆเป็นประจำทุกเดือน ช่วยสำรวจปัญหาความขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ต่างๆ เมื่อมีข้อมูลในเรื่องนี้แล้วกพร. จะได้เร่งฝึกอบรมแรงงานป้อนให้แก่สถานประกอบการโดยในส่วนของปัญหาการขาดแคลน แรงงานสาขาก่อสร้างนั้น กพร.จะนัดประชุมร่วมกับสมาคมผู้รับเหมาก่อสร้างเพื่อจะได้รู้ถึงความต้องการ ด้านแรงงานที่แท้จริง รวมทั้งประสานกับกกจ.ให้จัดงานนัดพบแรงงานโดยเน้นสาขาช่างก่อสร้างด้วย" นายนคร กล่าว

(เนชั่นทันข่าว, 24-10-2555)

 

ชลบุรีจัดทำโครงการศูนย์กำลังคนด้านแรงงาน แก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน

เมื่อเร็วๆนี้ นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการศูนย์ข้อมูลกำลังคนด้านแรงงานจังหวัดชลบุรี ณ ห้องประชุมพระพิพิธโภไคย ศาลากลางจังหวัดชลบุรี ตามที่จังหวัดชลบุรี ได้จัดทำศูนย์กำลังคนด้านแรง ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกระทรวงแรงงาน สถาบันการศึกษา สมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก รวมถึงสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดชลบุรี โดยจัดหางานจังหวัดชลบุรี ได้เชิญผู้ประกอบการกว่า 70 แห่ง มาเปิดรับสมัครงานกว่า 5,000 อัตรา

นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กล่าวว่า จังหวัดชลบุรี ได้จัดทำโครงการศูนย์กำลังคนด้านแรงงาน (CHONBURI LABOUR BANK) ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกระทรวงแรงงาน สถาบันการศึกษา สมาคมบริหารงานบุคคลภาคตะวันออก รวมถึงสถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ของจังหวัดชลบุรี ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมและบริการ และกลุ่มโลจิสติกส์

เนื่องจากจังหวัดชลบุรี รวมถึงจังหวัดเขตรอยต่อโดยรอบ มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีความต้องการแรงงานจำนวนมากหลายประเภท มีการหลั่งไหลของแรงงานจากทั่วทุกภูมิภาคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามาทำงานและประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การท่องเที่ยวและภาคเกษตรกรรม ความต้องการกำลังแรงงานจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันด้านแรงงานสูง สถานประกอบการต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในแต่ละปีสูงมากเพื่อการสรรหาแรงงาน กาจัดทำฐานข้อมูลด้านแรงงานเถื่อนเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ที่จะช่วยแก้ปัญหาแรงงานระยะยาวและเป็น Chonburi Model อีกด้วย

ศูนย์กำลังคนด้านแรงงานจังหวัดชลบุรี เป็นแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ซึ่งเกิดจากปัญหาการผลิตแรงงานไม่เพียงพอ และคุณภาพกำลังคนไม่ตรองกับความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงนโยบาย การจัดทำฐานข้อมูลกำลังคนเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยแบ่งเบาปัญหาดังกล่าว และเป็นหนทางในการเสนอแนะการพัฒนากำลังคนให้มีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา และผู้มีส่วนได้เสีย การจัดเก็บข้อมูลความต้องการแรงงานจากสถานประกอบการ นายจ้าง นักบริหารงานบุคคล หน่วยงานบริการจัดหางาน ผ่านช่องทาง Website http//:www.cld.go.th หลังจากนั้นผู้จัดการข้อมูลทำหน้าที่จัดเก็บ จำแนก ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังคนของจังหวัดต่อไป

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 24-10-2555)

 

จัดหางานย​โสธร​เตือนระวัง มา​เลย์จ้าง​แรงงานหญิง​แต่งงาน

นายปรีชา อินทรชาธร จัดหางานจังหวัดย​โสธร ​เปิด​เผยว่า สำนักงาน​แรงงาน​ในมา​เล​เซีย​แจ้งข้อมูล​เกี่ยวกับ​การร้องทุกข์ของ​แรงงาน หญิง​ไทยที่​เดินทาง​ไป​ทำงาน​ในประ​เทศมา​เล​เซีย ​โดยบริษัทนายจ้าง​ในประ​เทศมา​เล​เซียมี​การจ้าง​แรงงานหญิง​ไทยด้วย​การ​ เสนอ​ให้​แต่งงานกับ​ผู้ประกอบ​การ ​หรือ​เจ้าของบริษัท มี​การวาง​เงินสินสอด​ให้ครอบครัวของ​แรงงานหญิง​ไทย​และมี​การ​ทำสัญญากัน​ เป็นลายลักษณ์อักษร​เกี่ยวกับ​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ทำงาน พร้อม​ทั้งจัด​ทำ​ใบอนุญาต​ทำงาน​ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ​แต่​เนื่องจาก​เจ้าของบริษัทมีภรรยาอยู่ก่อน​แล้วหลายคน ตามหลัก​การของศาสนาอิสลาม​ผู้ชายจะสามารถสมรสกับสตรี​ได้​ไม่​เกิน 4 คน ​ทำ​ให้หญิง​ไทย​ไม่สามารถ​ทำ​ใจยอมรับ​ได้​จึง​เดินทางกลับประ​เทศ​ไทย

สำนักงานจัดหางาน จ.ย​โสธร ​จึงขอประชาสัมพันธ์​ให้​แรงงานหญิง​ไทยที่จะ​เดินทาง​ไป​ทำงาน​ในมา​เล​ เซียตรวจสอบข้อมูล​ให้​แน่ชัดก่อนตัดสิน​ใจ​เดินทาง​ไป​ทำงาน​ในลักษณะดัง กล่าว หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามรายละ​เอียด​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ สำนักงานจัดหางาน จ.ย​โสธร ​โทรศัพท์หมาย​เลข 0-4572-2057

(แนวหน้า, 24-10-2555)

 

ก่อสร้างไทยส่อวิกฤติ ขาดแรงงานกว่า 3 แสนคน

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในขณะนี้พบว่า ผู้ประกอบไม่สามารถขยายงานได้ตามแผนที่วางไว้ และเริ่มชะลอรับงานใหม่

สาเหตุเนื่องมาจากการขาดแคลนแรงงานกว่า 300,000 คน โดยเฉพาะโครงการบ้านที่อยู่อาศัย ที่ส่งผลให้การส่งมอบบ้านให้ลูกค้าล่าช้าตามไปด้วย และยังคาดการณ์ว่าแรงงานที่มีในปัจจุบันไม่เพียงพอสำหรับโครงการก่อสร้างใน ปี 2555-2556

นายจักรพร ยังกล่าวถึงแรงงานของไทยในปัจจุบันว่า แรงงานไทยตอนนี้เฉลี่ยมีอายุมากขึ้น อีกทั้งเด็กใหม่มักจะเลือกงานบริการมากกว่าที่จะใช้แรงงาน โดยเฉพาะในภาคก่อสร้างที่ถูกมองว่าเป็นงานหนัก แม้ว่าเอกชนพยายามหาเทคโนโลยีมาทดแทน แต่ก็ไม่สามารถจะรองรับได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังประเมินว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบ หลังจากกรณีที่ พม่ามีการรณรงค์ให้แรงงานที่อยู่ในต่างประเทศกลับเข้าไปทำงานในประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวในการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค จากการที่พม่าได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2556 ด้วย

(Mthai News, 24-10-2555)

 

ฝึกทหารเป็นสิงห์รถบรรทุกรับเปิดเสรีอาเซียน

ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยพล.ท.ชาญชัยณรงค์ ธนารุณ แม่ทัพภาคที่ 3 นายวัฒนา พัทรชนม์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายวชิรศักดิ์ เล้าประเสริฐ นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย และพลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง 5 หน่วยงาน ในการจัดฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุก เพื่อผลิตพยักงานขับขี่รถที่มีคุณภาพ ลดปัญหาการขาดแคลนพนักงานขับรถในภาคการขนส่ง พร้อมทั้งยกระดับพนักงานขับรถให้มีความรู้ ความสามารถทั้งในเรื่องของการขับขี่รถที่ถูกต้องปลอดภัย และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สนับสนุนกำลังพลซึ่งปลดประจำการให้มีทักษะวิชาชีพ และมีแหล่งงานรองรับที่ชัดเจน และถือว่าเป็นกิจกรรมนำร่องในการบูรณาการ ความร่วมมือทุกภาคส่วนในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป โดยเบื้องต้นผู้เข้ารับการอบรมจะมาจากกำลังพลซึ่งปลดประจำการในสังกัดกองทัพ ภาคที่ 3 ซึ่งมีระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งสิ้น 12 สัปดาห์

ทั้งนี้ทางวิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนรศวร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับวิชาชีพพนักงานขับรถบรรทุก ทั้งนี้การจัดการโซ่อุปทาน ในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ยังถือว่าขาดแคลนเป็นอย่างมาก และจากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของระบบโลจิสติกส์ไทยใน ปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพของการจัดการโลจิสติกของไทยยังต่ำกว่าประเทศคู่ค้า ทั้งในด้านศักยภาพผู้ขับขี่และด้านต้นทุน จำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในทุกระดับเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การ เป็นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนดังกล่าว

ดร.ดุษฏี สถิรเศรษฐวี รองผอ.วิทยาลัยโลจีนติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดเผยว่า สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ได้มาปรึกษาวิทยาลัยฯ อยากพัฒนาพนักงานขับรถบรรทุกที่มีคุณภาพ และให้มีเพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ ที่ปัจจุบัน มีรถบรรทุก 30 % ที่ต้องจอดอยู่เฉย ๆ เนื่องจากขาดพนักงานขับรถบรรทุก จึงปรึกษากับกรมการขนส่งทางบก และได้รับคำตอบว่ามีโครงการอบรมพนักงานขับรถบรรทุก แต่คนที่จะเข้ามาในตลาดนี้มีไม่มาก และสถิติการเกิดอุบัติเหตุก็มีมาก พนักงานขับรถขาดการควบคุมยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่ประเทศไทย กำลังจะเปิดเสรีอาเซียน หากผู้ขับรถบรรทุกมีไม่เพียงพอ ก็จะขาดโอกาส จึงประสานกับกองทัพภาคที่จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยดึงกำลังพลที่ใกล้จบประจำการ มาฝึกอบรมเป็นพนักงานขับรถบรรทุก มีระยะเวลาฝึกอบรม 12 สัปดาห์ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ และภายหลังจากการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับใบอนุญาตขับขี่รถบรรทุกของกรมการขนส่งทางบก และมีโอกาสได้เข้าทำงานกับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ที่เป็นสมาชิกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย โดยมีรายได้และสวัสดิการที่เหมาะสม

(เนชั่นทันข่าว, 24-10-2555)

 

แรงงานไทยในอิสราเอลได้รับบาดเจ็บสาหัส 2 รายจากการปะทะกัน

24 ต.ค. 55 - เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ข่าวการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยใน อิสราเอล ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ปะทะกันอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในเมืองเอสโก โดยระบุว่า

ด้วยวันนี้ (๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๕) นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกรณีแรงงานไทยได้รับบาดเจ็บจากการปะทะระหว่าง อิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ในเมืองเอสโก (Eshkol) ใกล้บริเวณฉนวนกาซา โดยมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้

๑. สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ได้รายงานว่า เมื่อวันนี้ (๒๔ ต.ค. ๒๕๕๕) เวลา ๐๗.๐๐ น. (เวลาท้องถิ่น) ได้มีการปะทะกันระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส โดยมีการยิงจรวดจากฉนวนกาซาเข้ามาในเมือง Eshkol ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอิสราเอล ทำให้แรงงานไทย ๓ คน ซึ่งกำลังทำงานในฟาร์มเลี้ยงไก่ได้รับบาดเจ็บ โดยจำนวน ๒ คนบาดเจ็บสาหัส และ ๑ คน บาดเจ็บเล็กน้อย ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ทางการอิสราเอลได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ไปรับผู้บาดเจ็บเพื่อนำส่งโรงพยาบาลโซโรกา (Soroka) ในเมืองเบียเชวา (Beer Sheva)

๒. ขณะนี้ เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บทั้งสามที่โรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว เพื่อเตรียมประสานงานและให้ความช่วยเหลือ โดยทราบว่าผู้ที่บาดเจ็บสาหัส ๒ คน อยู่ระหว่างการผ่าตัด ทั้งนี้ ได้มีการดำเนินการประสานแจ้งให้ญาติแรงงานไทยดังกล่าว ซึ่งมีภูมิลำเนาที่ จ.อุดรธานี (๒ คน) และ จ.นครพนม (๑ คน) แล้ว

๓. นอกจากนี้ นายมนัสวีให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยในอิสราเอลประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน โดยมีประมาณ ๒๗,๐๐๐ คน ทำงานในภาคการเกษตร และในกรณีที่แรงงานไทยได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีนั้น หากเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทางการอิสราเอล และบริษัทจัดหางานจะรับผิดชอบด้านการรักษาพยาบาล.

(ไทยรัฐ, 24-10-2555)

 

แรงงานแนะอย่าพกยาเข้ายูเออี

นายอนุสรณ์ ไกรวัฒนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายบัญญัติ ศิริปรีชา อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน) ณ กรุงอาบูดี สหรัฐอาหรับเอมิเรต ว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา นายสเหมียน ศรีสะอาด แรงงานไทยจาก จ.ตาก อายุ 41 ปี ถูกนำขึ้นศาลอาบูดาบี ในข้อหานำยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 195 เม็ด ยาแก้แพ้ จำนวน 195 เม็ด และยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (Tramadol) จำนวน 30 เม็ด เข้าประเทศ โดยนายสเหมียน ถูกจับที่สนามบินอาบูดาบี ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 ดีแรห์ม หรือประมาณ 178,000 บาท และจะถูกเนรเทศ ห้ามเข้ายูเออีตลอดชีวิต

ทั้งนี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ออกประกาศ เรื่อง ยารักษาโรคต้องห้ามและเข้มงวด 374 รายการ ส่วนหนึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่คนไทยซื้อหากันได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ประเทศยูเออีห้ามนำเข้า ดังนั้น แรงงานไทยทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในประเทศยูเออี ไม่ควรนำยาเข้ามาโดยเด็ดขาด ยกเว้นมีใบรับรองแพทย์เป็นภาษาอังกฤษระบุว่า จำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาโรคดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีแรงงานไทยถูกจับมาแล้ว 4 ราย

ขอเตือนให้แรงงานทุกคนควรระมัดระวังในเรื่องนี้ให้มาก ก่อนเดินทางออกจากประเทศไทย กำชับให้กรมการจัดหางาน (กกจ.) เร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับแรงงานไทย และสั่งให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิสอบถามแรงงานไทยอีกครั้ง ก่อนการเดินทางด้วย อย่างไรก็ตาม แรงงานที่จะเดินทางไปทำงานที่ยูเออีสามารถตรวจสอบรายละเอียดสิ่งของต้องห้าม ก่อนการเดินทางได้ที่ www.overseas.doe.go.th

(เนชั่นทันข่าว, 25-10-2555)

 

ห่วงพยาบาล​เจอ 2 ​เด้ง​เปิด​เออีซีส่อตกงานอื้อ

ดร.กฤษดา ​แสวงดี อุปนายกสภา​การพยาบาล กล่าวปาฐกถา​เรื่อง​การ​เตรียม​ความพร้อมพยาบาล​ไทยสู่อา​เซียน ตอนหนึ่งว่า จาก​การสำรวจ​ความ​เข้า​ใจของบุคลากร 7 สาขาที่จะ​เปิด​ให้มี​การ​เคลื่อนย้าย​แรงงาน​ได้หลัง​เปิดประชาคมอา​เซียน นั้น พบว่า บุคลากรด้าน​การพยาบาลมี​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​ใน​เรื่องนี้​เพียง10% ​เท่านั้น ​ในขณะที่​ความท้าทาย​ในระบบบริ​การสุขภาพที่จะ​เกิดจาก​การรวม​เป็นประชาคม นั้นมีหลาย​เรื่อง​ทั้ง​โรคติดต่อ ​โรคอุบัติ​ใหม่ ​และ​การควบคุม​โรค ​การ​เคลื่อนย้าย​แรงงาน​ซึ่งถือ​เป็น​เรื่องที่อ่อน​ไหวมาก​เพราะปัจจุบัน ประ​เทศ​ไทยยังขาด​แคลนบุคลากรทาง​การ​แพทย์อีก​เยอะ

ทั้งนี้ ​การขาด​แคลนกำลังคน​เป็น​เรื่องสำคัญ​เพราะ​ผู้ป่วยมากขึ้น ​โรคมี​ความซับซ้อนมากขึ้น ที่สำคัญคือ​การออกจากระบบของ​แรงงานภาครัฐ ​ซึ่งพบว่า​การ​เติบ​โตของ​เศรษฐกิจ​โลก​ทำ​ให้ตลาดงาน​เปิดมากขึ้น ​เมื่อมี​เมดิคัลฮับมี​การส่ง​เสริม​ให้ต่างชาติ​เข้ามารักษา​ในประ​เทศ​ไทย ​โดยส่วน​ใหญ่​เป็นบริ​การของ​โรงพยาบาล​เอกชน ​ทำ​ให้ต้อง​ใช้พยาบาลมากขึ้น ซ้ำ​เติมปัญหา​ความขาด​แคลน ​แต่ตนยัง​ไม่กังวล​เรื่องพยาบาลจากต่างประ​เทศจะ​เข้ามา​แย่งงานของพยาบาล​ ในประ​เทศ​ไทย ​เพราะยังมีข้อกำหนด​เรื่อง​การสอบ​ใบอนุญาตที่ต้อง​ทำตามข้อกำหนดของประ​ เทศ​ไทยอยู่ ​แต่​ไม่สามารถนิ่งนอน​ใจ​ได้ว่าข้อกำหนด​การขอ​ใบอนุญาตจะคุ้มครองพยาบาล​ ไทย​ได้​ถึง​เมื่อ​ไหร่​เพราะหากบุคลากร​ในประ​เทศ ​ไทย​เอง​ไม่มี​ความพร้อมอาจจะมี​การ​เรียกร้อง​ให้มี​การ​แก้​ไขข้อกำหนด ​เพื่อ​ให้มี​การนำ​เข้าพยาบาลต่างประ​เทศ​เข้ามาทด​แทน

"​เราต้อง​เตรียม​ความพร้อมของตัว​เอง​ให้​เป็นคนที่มีคุณภาพ ภาษาต้องดี อย่า​ให้กลายมา​เป็นอุปสรรค ที่ผ่านมา​เคยมีคนถามว่า​ทำ​ไม​เรา​ไม่ผลิตพยาบาล​เพิ่มขึ้น ถ้า​เหลือ ​เรา​ก็ส่งออก​ได้ ​แต่ดิฉันตอบ​ไปว่า ​เรา​เป็น​ผู้ผลิตนักวิชาชีพที่ต้องดู​แลชีวิตคน ​ไม่​ใช่ผลิต​เครื่องจักร​เราต้อง​การผลิตคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถภาพสากล ​ไม่​ใช่ผลิต​เอาปริมาณ ​เพราะฉะนั้น ​เราต้องมาทบ ทวน ว่า​เราพร้อม​เพียง​ใด อะ​ไรที่​เป็นจุด​แข็ง อะ​ไร​เป็นจุดอ่อน ​และจะพัฒนาอย่าง​ไร" ดร. กฤษดากล่าว

ศ.​เกียรติคุณ ดร.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาพ​การยาบาล กล่าวว่า ​การก้าว​เข้าสู่ประชา คมอา​เซียนจำ​เป็นมากที่ต้องผลิตพยาบาล​เพิ่ม​ให้​เพียงพอที่จะบริ​การ​ผู้ ป่วยที่​เพิ่มมากขึ้นด้วย ​แต่ปัจจุบันยังมีปัญหา​เรื่อง​การขาด​แคลนบุคลากรทาง​การ​แพทย์​ทั้งหมด ​โดย​ในส่วนของพยาบาลนั้น ขณะนี้ขาด​แคลนพยาบาล​ทำงานอยู่ประ มาณ 40,000 คน ​ในขณะที่กำลัง​การผลิต​ทำ​ได้ปีละ 8,500 คน คาดว่าภาย​ใน 4 ปีนี้น่าจะมีพยาบาล​เพียงพอ ​แต่ต้องดึงคน​ให้อยู่​ในระบบ​ให้​ได้

"อาจารย์ที่สอนด้าน​การพยาบาลมีประ มาณ 4,000 คน ​แต่ประมาณ 30% คือ​ผู้ที่มีอายุ​เกิน 50 ปีขึ้น​ไป ​ในอีก 10 ข้างหน้าหาก​ไม่มีตำ​แหน่งรองรับคน​เหล่านี้ ​หรือตำ​แหน่ง​ใหม่​ให้คนก้าว​เข้ามา จะ​ทำ​ให้อาจารย์สอนด้าน​การพยาบาลขาด​แคลน​ได้​เช่นกัน" นายกสภา​การพยาบาลกล่าว

​ผู้สื่อข่าวถาม​ถึง​ความคืบหน้ากรณีพยาบาลลูกจ้าง​เรียกร้อง​ให้บรรจุ​ เป็นข้าราช​การ ศ.ดร.วิจิตรกล่าวว่า ​การ​เพิ่มอัตรากำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นอยู่กับ ก.พ. อีก​ทั้งยัง​เป็นน​โยบายของรัฐบาลที่​ไม่​ให้​เพิ่มอัตราข้าราช​การ ​ซึ่งตน​เห็นว่าต้อง​เปลี่ยนน​โยบาย ว่าวิชาชีพ​ใดที่ขาด​แคลน​ไม่ต้อง​ใช้ข้อกำหนด​เหมือนวิชาชีพอื่น​และที่ ผ่านมาสภา​การพยาบาล​ได้​ทำหนังสือ​ถึงรัฐบาล​เพื่อชี้​ให้​เห็น​ถึง​ความ สำคัญของพยาบาลหลายครั้ง​แล้ว ​ก็​ได้คำตอบ​เหมือน​เดิม คือรับทราบ​และอยู่ระหว่างดำ​เนิน​การ ​แต่​เมื่อวันที่22 ต.ค.ที่ผ่านมา ตน​ได้มี​โอกาส​ได้พบกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ​จึง​ได้สอบถาม​ความคืบหน้า​เรื่องดังกล่าว​โดยนายกิตติรัตน์​ได้​แจ้งกับตน ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มี​ความ​เป็นห่วง​ใน​เรื่องดังกล่าว​จึง​ได้​เร่งรัดหน่วยงานที่​เกี่ยวข้อง ดำ​เนิน​เรื่อง​ให้​แล้ว​เสร็จภาย​ในสิ้น​เดือน พ.ย.นี้.

(ไทยโพสต์, 25-10-2555)

 

อิสราเอล-บริษัทช่วย 3 แรงงานไทย สถานทูตติดตามอาการบาดเจ็บ

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่กระทรวงการต่างประเทศ  นายมนัสวี ศรีโสดาพล อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยเหลือแรงงานไทยได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่กอง กำลังปาเลสไตน์ยิงจรวดถล่มบริเวณฉนวนกาซา ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ว่า สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล รายงานว่าแรงงานไทย 3 คนที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้ อาศัยอยู่ในเมืองเอชโคล ซึ่งทำงานในนิคมเกษตรของเมืองดังกล่าว ทั้งนี้ คนไทย 3 คนนี้ได้ถูกนำส่งโรงพยาบาลโซโรกา เมืองเบียเชวาแล้ว และแพทย์กำลังผ่าตัดช่วยชีวิต ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยฯกำลังติดตามผลการผ่าตัด ขณะเดียวกันก็ได้ติดต่อไปยังญาติของทั้ง 3 คนเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบด้วย

นายมนัสวี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมแรงงานไทยอีกหลายคนที่อยู่ในนิคมเกษตรดังกล่าว เพื่อปลอบขวัญ ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ทางการอิสราเอลมีแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในกรณีเช่นนี้อยู่แล้ว ซึ่งจะมีการนำส่งโรงพยาบาล การอพยพ และการให้ค่าชดเชย ซึ่งกรณีนี้บริษัทที่นำแรงงานข้ามาได้ให้การช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายของ แรงงานไทยที่ได้รับบาดเจ็บอยู่แล้ว สถานเอกอัครราชทูตไทยฯจะได้ติดตามการชดเชยและให้ความช่วยเหลืออย่างดีที่สุด แก่คนไทยที่ได้รับบาดเจ็บครั้งนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยขอขอบคุณรัฐบาลอิสราเอลที่ให้การดูแลแรงงานไทย และอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยฯในการเข้าเยี่ยมแรง งานไทยอย่างใกล้ชิด

เมื่อถามว่ามีแรงงานไทยต้องการขอกลับประเทศหรือไม่ นายมนัสวี กล่าวว่า ยังไม่มีแรงงานไทยคนใดร้องขอเดินทางกลับ เมื่อถามต่อว่าสถานเอกอัครราชทูตไทยฯประเมินสถานการณ์อย่างไร นายมนัสวี กล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตไทยฯมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นการปะทะที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ยังไม่ใช่สถานการณ์สงคราม ซึ่งเรามีแผนที่รองรับอยู่แล้ว โดยตอนนี้ได้มีการเตือนคนไทยให้ระมัดระวังในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตาม การอพยพคนไทยกลับประเทศนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของแต่ละคนว่าต้องการจะกลับประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีความกังวลต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจา สันติภาพ

(เดลินิวส์, 25-10-2555)

 

ชาวจุฬาฯเฮ! ฐานเงินเดือนใหม่

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. ศ.กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมติเห็นชอบนโยบายการบริหารงานบุคคลของจุฬาฯ พร้อมโครงสร้างอัตราเงินเดือนใหม่ ซึ่งจะครอบคลุมการปรับเงินเดือนให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยที่เข้าใหม่ สายปฏิบัติการ ปริญญาตรี สาขาทั่วไป 16,500 บาท จากเดิม 11,000 บาท และจะเพิ่มขึ้นจนถึงกว่า 20,000 บาทในสาขาขาดแคลน

ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ อัตราแรกเข้า ปริญญาเอก 35,450 บาท จากเดิม 21,000 บาท ปริญญาโท 25,100 บาท จาก 14,000 บาท ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 พร้อมกันนี้จะปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยเดิม จำนวนร้อยละ 70 ของจำนวนพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด 5,000 คน ในอัตราที่เหมาะสม เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและเพื่อที่มหาวิทยาลัยจะได้ คัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพรองรับการทำหน้าที่ทางวิชาการเพื่อรับใช้สังคมต่อ ไป

(เดลินิวส์, 26-10-2555)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net