Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

"ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่กำลังเกิดจากนโยบายการจำนำข้าวทุกเม็ด ได้แก่ การขยายตัวอย่างมากของการปลูกข้าวในฤดูกาลที่ผ่านมาและ จะขยายตัวมากขึ้นในการปลูกข้าวนาปรังที่กำลังจะมาถึง เหตุผลง่ายๆ ก็คือ เมื่อไม่มีความเสี่ยงด้านราคา การลงทุน/ลงแรงปลูกข้าวก็ได้กำไรเห็นๆ อยู่แล้ว ยกเว้นว่าจะเจอกับภัยธรรมชาติจนไม่ได้ผลผลิตเลย แต่นั้นแหละก็ยังได้โอกาสรับค่าชดเชยความเสียหายนั้นๆ จากรัฐ"

ย่อหน้าแรกของบทความ "ใครจะเป็นคนทำให้เกิดการทบทวนนโยบายจำนำข้าวทุกเม็ด" ของ อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์  ในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 55 ที่สรุปความได้ว่านโยบายจำนำข้าวควรมีนักเทคโนแครตมาช่วยกันแก้ไขปรับปรุง นโยบายโครงการจำนำข้าวที่ในทัศนะของผู้เขียนแล้วประเมินว่ามีแนวโน้มจะเป็น ประโยชน์เฉพาะหน้ามากกว่าจะก้าวไปสู่การสร้างสังคมสวัสดิการ 

และในอีกบทความของผู้เขียนชิ้นเดียวกัน คือ "ความล้มเหลวของการจำนำข้าวทุกเม็ด : การสร้าง “ ความต้องการเทียม” ในตลาดเปราะบาง" ประชาไท 4 พฤศจิกายน 55   ซึ่งได้หยิบเอาเครื่องมือของนักเทคโนแครตมาใช้วิเคราะห์ว่านโยบายจำนำข้าว นั้นสร้างความต้องการเทียมเพื่อควบคุมกลไกตลาดที่ไม่สามารถดึงราคาข้าวขึ้น ได้จริง แต่มีผลทำให้ "ตลาด(ข้าว) เปราะบาง" มากขึ้น  เพราะเมื่อราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้น ตลาดไม่ได้ต้องการข้าวมากขึ้นแต่หันไปบริโภคสินค้าอื่นทดแทนได้ แต่ราคาข้าวที่เพิ่มมากขึ้นกลับทำให้ชาวนาอยากผลิตมากขึ้นและนี่เองที่เป็น ผลทำให้ รัฐไม่สามารถควบคุมกลไกตลาดได้อีกต่อไป 

เราลองกลับกลับไปย้อนอ่านย่อหน้าแรกที่ยกขึ้นมานั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วถามตัวเองว่าจริงหรือ?  

เมื่อภัยธรรมชาติคุกคามผลผลิตจนเกิดความเสียหายแล้วการชดเชยของรัฐที่ให้ มันสร้างความพึงพอใจจนทำให้ชาวนาพร้อมที่จะตัดสินใจทำการผลิตเพื่อเผชิญสิ่ง นั้นแลกเอากับผลตอบแทนที่เกิดจากกำไรส่วนต่างในการลงทุนลงแรงทำการผลิตที่ อ่อนไหวกับสารพัดปัจจัยอย่าง ฝน ฟ้า อากาศ โรคแมลง และอื่นๆ ได้อย่างคุ้มค่า?

ดูเหมือนว่านักวิชาการจะยังไม่เข้าใจ "ความเสี่ยง และความเปราะบางของชาวนา" มากกว่าเท่า "ตลาด(ข้าว)เปราะบาง" เอาเสียเลย
 

ต้นทุนที่ไม่ถูกนับรวมไว้ในการชดเชยชาวนา

ช่วงต้นกันยายน 2553  ที่บ้านหนองน้ำใหญ่ อ.ผักไห่ จ.อยุธยา  พื้นที่ลุ่มภาคกลางเผชิญน้ำท่วมหนักโดยน้ำมาไวกว่าปกติราว 15 วัน  หลังจากก่อนหน้านัั้นในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ปีเดียวกัน ชาวนาในที่ลุ่มดังกล่าวแทบไม่มีน้ำทำนา และรัฐบาลมีนโยบายรณรงค์ให้เลื่อนการทำนาช้าลง ซึ่งผลของการรณรงค์นี้จะเป็นจริงได้เมื่อกรมชลประทานงดปล่อยน้ำลงมา  แต่ถึงกระนั้น ชาวนาที่ทำนาปรังก็ยังขวนขวายหาน้ำมาทำนาแลปลูกข้าวหนที่สองโดยการสูบน้ำส่ง ทอดถึง 3 - 4 ช่วง  จนกระทั่งข้าวเกือบได้เกี่ยวขายแต่ต้องถูกน้ำท่วมไปก่อนได้เกี่ยว  และรัฐก็ไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้กับชาวนาเหล่านี้ โดย จนท.รัฐในพื้นที่อ้างว่า "น้ำท่วมไม่มิดข้าว ต้องท่วมน้ำขาวจึงให้"  

เราอาจจะช่วยกันตั้งข้อสังเกตว่า  - - "ควรหรือไม่ที่รัฐจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับพวกเขา  ในอัตราชดเชย 40 % ของต้นทุนการผลิต(เฉลี่ย) หรือราว 2,000 กว่าบาท/ไร่"  หากเราจะตัดประเด็นเรื่อง น้ำและระบบชลประทานเป็นของใคร? ออกไปก่อนจะมาวิเคราะห์กัน

สำหรับชาวนาที่พอมีทุนหรือกู้ยืมได้  การปรับที่นาให้พอทำนาปรัง 2 หนได้ ต้องมีการขุดลอกคูและปรับที่ให้เรียบ ซึ่งให้ทุนมากพอดูสำหรับที่นาลุ่มที่มักไม่ราบเรียบได้เองเพื่อให้เหมาะกับ การคุมน้ำทำนาหว่านน้ำตม   อีกทั้งยังต้องยกคันกั้นน้ำให้สูงและกว้างพอเพื่อคุมน้ำที่มากเกินไปไม่ให้ เข้าไปในนาเกินความต้องการและความสะดวกสบายในการใช้เครื่องจักรกลทำนา 

40 % ที่อาจจะได้รับชดเชยมาเมื่อน้ำท่วมข้าวนั่นคิดเพียงแค่ต้นทุนการผลิตระยะ สั้นเฉพาะรอบการผลิตเพียง 1 ฤดูปลูก คือ ปุ๋ย ยา ค่าจ้าง ค่าน้ำมัน และอื่นๆ   หากแต่ต้นทุนที่เป็นทุนถึ่งถาวรอย่างการจ้างปรับที่นานั้นไม่ได้รวมอยู่ด้วย

ซ้ำหนักยิ่งกว่าสำหรับชาวนารายหนึ่งที่ผันตัวเองจากการเป็นลูกจ้างเร่ร่อนนอกภาคการเกษตรแล้วกลับมาทำนาโดยการลงทุนซื้อที่นาทำนาเอง

การทำนาท่ามกลางความเสี่ยงที่ไม่ใช่มีแค่น้ำท่วม น้ำแล้ง แต่ยังมีภัยจากโรคแมลงระบาด ซึ่งตามกลับไปดูจะเห็นว่าในช่วงปี 2551 - 2554 เป็นช่วงที่เพลี้ยกระโดสีน้ำตาลแพร่ระบาดอย่างกว่างขวางและมีผลทำให้ผลผลิต ข้าวลดลงจนเกิดความเสียหายรุนแรง

ความเสียหายและความเปราะบางเหล่านี้  มักไม่ถูกนับรวมให้เข้ามาอยู่ในระบบคิดของเทคโนแครตด้วยหรือเปล่า ?

ในทางปฏิบัติ  กลับพบว่าด้วยผลของธุรกิจค้าข้าวที่ประกอบกิจการนี้มาอย่างยาวนานและด้วย ความชำนาญอย่างมืออาชีพ  กลุ่มพ่อค้าข้าวเหล่านี้มีการสำรวจตลาด และพัฒนาต่อยอดธุรกิจด้วยระบบการซื้อข้าวล่วงหน้า และแน่นอนอว่าเพื่อให้ชัวร์ในการจัดการ การออกสำรวจผลผลิตในระดับไร่นาจึงเป็นกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของพวกพ่อค้า เหล่านี้ด้วย  ทำให้พวกเขาสามารถที่จะำหนดปริมาณผลผลิตและราคาที่จะซื้อขายและทำกำไร รวมทั้งสต็อกไว้ล่วงหน้า 

แต่สำหรับชาวนา  ได้ข้าวมาก็ต้องขายไป  ถูกแพงยังไงก็ต้องขายให้เขา เพราะยังไงก็ต้องพึ่งตลาด


วาทกรรมพ่อค้า VS วาทะกรรมชาวนา

"หากพ่อค้าข้าวอยู่ไม่ได้  ชาวนาก็อยู่ไม่ได้"  บทสรุปของเหล่าเทคโนแครตที่วิจารณ์โครงการรับจำนำ  ทำให้เราต้องจดจำพังเพย "น้ำพึ่งเรือ  เสือพึ่งป่า"  

แต่ในยุคนี้สมัยนี้  ชาวนา รู้แล้วว่าเรือจะถูกใช้เมื่อน้ำท่วมเท่านั้นและมีรถใช้สัญจรสะดวกกว่ายาม ปกติตามโครงสร้างการพัฒนาสาธารณูปโภคของรัฐ   ส่วนเสือกับป่า  ชาวนาอาจจะเห็นมาตั้งนานแล้วจากประสบการณ์ของเขาว่ามันกลายเป็น "เสือนอนกิน" โดยมีนักเทคโนแครตเป็นคนทำให้ทั้งชาวบ้าน คนชั้นกลาง เข้าใจว่ามันได้กลายเป็นเสือเชื่องๆ ด้วยวาทกรรมทางเศรษฐศาสตร์ไปเสียแล้ว

ข้อเสนอที่ทั้งพ่อค้าข้าวและนักเศรษฐศาสตร์ที่ให้รัฐหันไปเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตโดยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แทนการทะลายกำแพงราคาข้าวที่รับซื้อจากชาวนาที่กดต่ำกว่า 10,000 บ./ตัน  นั้นชวนให้น่าสงสัยและเกิดคำถามขึ้นมาใหม่ได้อีกเช่นกัน

นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายค้านโครงการจำนำข้าว มักบอกว่าควรให้ชาวนาเพิ่มผลผลิต/ไร่ ให้มากขึ้น เพื่อให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น ซึ่งจึงมีคำถามว่า ในภาพรวมถ้าชาวนาทั้งประเทศทำนา 10 ล้านไร่ เคยได้ผลผลิต 10 ล้านตัน แต่เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นจนชาวนาทั้งประเทศได้ข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 12 - 15 ล้านตัน หรือได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมา 2 - 5 ล้านตัน ราคาข้าวที่พวกพ่อค้ารับซื้อ จะถูกขึ้น เท่าเดิม หรือว่า แพงขึ้น (ถ้าไม่มีโครงการรับจำนำ) ในหลักดีมาน-ซับพลาย ราคาข้าว 12 - 15 ตัน มันน่าจะถูกลงใช่ไหม?

ถ้าผลผลิตมันเพิ่มขึ้นอย่างที่ว่านั้น ก็มีแนวโน้มว่าราคาข้าวจะถูกลง มันน่าจะเป็นข้อเสนอเพื่อสร้างตลาดเทียมให้ชาวนาเชื่ออย่างนั้นใช่หรือไม่? เพราะเมื่อชาวนาเพิ่มประสิทธิภาพได้เมื่อไหร่ ชาวนาที่ทุนน้อยกว่าและต้องขายในเพดานราคาที่กดต่ำไม่เกิน 10,000 บ./ตัน ก่อนหน้าโครงการจำนำข้าวของ รบ.ยิ่งลักษณ์ ก็จะต้องล้มหายตายจากไปจากระบบการผลิตข้าวขาย

แต่ที่ยังชาวนาเหลือรอดและตายไปอย่างช้าๆ ได้เพราะชาวนาเหล่านี้ยังได้ทุนสนับสนุนจากการหากินและรายได้ของเครือญาติ นอกภาคการเกษตร

ชาวนาคงรู้ซึ้งดีในหลักเศรษฐศาสตร์ที่มักห่วงกังวลแต่ความเสี่ยงและความเปราะบางของตลาด  มากกว่าของชาวนา  และได้แต่หวังว่าจะไม่อยากให้ลูกหลานของตัวเองมาตกอยุ่ในบ่วงกรรมของวาทกรรมเหล่านี้   และหากนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ส่งเสริมเอื้อให้ชาวนากลับมาทำนาขายข้าในราคาที่พอจะปลดหนี้ได้บ้าง สะสมทุนได้บ้าง  นั่นหมายถึงว่ามีโอกาสเลือกในทางเลือกที่มีมากกว่าการเป็นชาวนาไปตลอดทั้งปีทั้งชาติ   

ไม่น่าแปลกใจที่ หลายคนยังเข้าใจว่าข้าวราคาดีแล้วจะมีชาวนาเพิ่มมากขึ้น แต่มันยังไม่แน่เสมอไป

หากตามข่าวดูจะเห็นว่ารัฐบาลกำลังเตรียมรับมือกับภัยแล้งรอบใหม่ที่ชาวนาไทยจะต้องเจอ 

เมื่อย้อนกลับมาถามชาวนารายหนึ่งในพื้นที่ศึกษา  เขาบอกว่ามันไม่ค่อยต่างกันกับ ก่อนการประกันราคาเท่าไหร่

เพราะสำหรับเขา  ที่ก็ต้องเช่าจ่ายค่าเช่าแพงขึ้นตามกลไกราคา   น้ำก็ของหลวง ของฟ้า นึกจะปล่อยน้ำมาก็ปล่อย นึกจะแห้งก็แห้ง ซ้ำยังต้องเผื่อเหลือเผื่อแบ่งจำยอมให้ต้องเสียสละปล่อยน้ำท่วมให้นาเพื่อรักษาเมืองไว้อีก   

เขาย้ำว่า มันดีขึ้นมานิดหน่อยตรงราคาค่าจ้างในนาข้าวมันเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย หลังจากข้าวได้ราคา

มันก็แค่นั้นเอง  ชาวนาไร้ที่  ไร้นา  ไร้ค่าเกินกว่าจะมีคนมาทำความเข้าใจ

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net