Skip to main content
sharethis

ภาคประชาชนและองค์กรสิ่งแวดล้อมในอาเซียน ออกแถลงการณ์ต่อการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงระหว่างวันที่ 16-17 ม.ค.56 ที่ สปป.ลาว เผยไร้วาระการประชุมเรื่อง ‘เขื่อนไซยะ’ จวกแสดงถึงการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาล

 
 
16 ม.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเฟซบุ๊ก หยุดเขื่อนไซยะบุรี (stop Xayaburi Dam) เผยแพร่ แถลงการณ์จากภาคประชาชนและองค์กรสิ่งแวดล้อมในอาเซียน ต่อการประชุมเอ็มอาร์ซี ระหว่างวันที่ 16-17 ม.ค.56 ที่เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว กรณีที่รัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงไม่มีวาระเรื่องเขื่อนไซยะบุรีในการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) ประจำปี ระบุเป็นการทำลายความร่วมมือในลุ่มน้ำโขงในอนาคต
 
“การที่คณะมนตรีแม่น้ำ โขงไม่นำประเด็นเขื่อนไซยะบุรีมาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา แสดงถึงการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาลสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่าง” นายนิวัติ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ความเงียบไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนไซยะบุรี เรื่องนี้ส่งผลกระทบถึงการสร้างเขื่อนอื่นๆ ในแม่น้ำโขงในอนาคต
 
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุข้อมูลด้วยว่า ในเดือน พ.ย.55 รัฐบาลลาวจัดพิธีเปิดการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ แม้มีการทักท้วงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการ ปรึกษาหารือล่วงหน้า ในขณะเดียวกันรัฐบาลลาวก็เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามที่ต้องการให้มีการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนของโครงการนี้ รวมทั้งเพิกเฉยต่อความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี) ที่เสนอให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อนออกไป จนกว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จ
 
ส่วนหนังสือพิมพ์ Cambodia Daily รายงาน ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมกัมพูชาเน้นย้ำจุดยืนของประเทศโดยการแถลงว่า “นายกรัฐมนตรีฮูนเซ็น กล่าวว่า ต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินว่าจะเกิดผล กระทบ (ต่อเรา) อย่างไร และเราเรียกร้องให้รัฐบาลลาวเคารพมติให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อน”
 
ขณะที่แหล่งทุนระหว่างประเทศได้แสดงข้อกังวลเช่นกัน ล่าสุดในเดือน พ.ย.55 รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่ามี “ข้อกังวลว่าการก่อสร้างดำเนินไปก่อนที่ การศึกษาผลกระทบจะแล้วเสร็จ”
 
 
“สองปีที่ผ่านมาโครงการเขื่อนไซยะบุรีสร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงของรัฐบาลในภูมิภาคนี้ และเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแม่น้ำข้ามพรมแดนซึ่งเป็นที่สนใจกันมากที่สุดกรณีหนึ่งในโลก” เพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานประเทศไทยองค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าว
 
เพียรพร กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลลาวปฏิเสธที่จะร่วมมือกับเพื่อนบ้าน จึงไม่น่าประหลาดใจที่ไม่มีวาระการประชุมเรื่องนี้บรรจุอยู่
 
“ลาวได้ละเมิดข้อตกลงแม่น้ำโขง ทั้งยังอ้างอีกว่าเขื่อนไซยะบุรีมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และยังไม่สนใจข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงซึ่งระบุว่า มาตรการลดผลกระทบด้านประมงและปลาของเขื่อนไซยะบุรีไม่น่าจะได้ผล” เพียรพรกล่าว
 
ด้านนายเทพ บุญณฤทธิ์ พันธมิตรเพื่อแม่น้ำในกัมพูชา (Rivers Coalition in Cambodia) และสมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (Cultural and Environmental Preservation Association) กล่าวว่า รัฐบาลในภูมิภาคนี้มีอำนาจป้องกันไม่ให้เกิดหายนะจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก ทำได้ด้วยการเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนแม่น้ำโขง โครงการอื่นๆ ทันที จนกว่าการศึกษาเพิ่มเติมและการปรึกษาหารือกับประชาชนจะเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์
 
“เราเรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาค นี้และแหล่งทุนประกันว่า จะมีการทบทวนกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าก่อนที่จะเดินหน้าโครงการเขื่อนใดๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการเขื่อนอื่นๆ ซ้ำรอยเขื่อนไซยะบุรี” นายเทพกล่าว
 
ส่วน Ms.Lam Thi Thu Suu ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม (Vietnam Rivers Network) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมและการพัฒนา (Centre for Social Research and Development - CSRD) เวียดนาม กล่าวว่า เรายังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรีที่มีต่อความเป็นอยู่และความมั่นคงด้านอาหารของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงจะกว้างไกลและรุนแรงแค่ไหน
 
“ในฐานะที่เป็นสายน้ำร่วมกัน อนาคตของเราจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือของรัฐบาลในภูมิภาคที่จะ ต้องแก้ปัญหาเขื่อนไซยะบุรีทันที ก่อนที่จะสายเกินไป” ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนามกล่าว
 
ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า ในระหว่างการลงพื้นที่แม่น้ำโขงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว องค์การแม่น้ำนานาชาติพบว่า โครงการเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงสายหลักของลาวกำลังเดินหน้าไปเช่นกัน อาทิ ในพื้นที่สร้างเขื่อนปากแบงซึ่งยังไม่เข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของเอ็มอาร์ซี ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าโครงการเขื่อนปากแบงมีกำหนดเริ่มดำเนินการในช่วง 2-12 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มจากการก่อสร้างถนนสู่หัวงานเขื่อน ชาวบ้านยังบอกอีกว่า บริษัทจากจีนได้มาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขื่อนปากลายและเขื่อนสานะคามเมื่อเร็วๆ นี้
 
อีกทั้ง เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว องค์การแม่น้ำนานาชาติพบว่าเริ่มมีการดำเนินงานเกิดขึ้นที่ พื้นที่สร้างเขื่อนดอนสะหง โดยมีการระเบิดแก่งหินสองแห่งเพื่อทำเป็นทางปลาผ่าน
 
ภาพประกอบจาก: https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4772896793317&set=o.122260101128398&type=1&relevant_count=1&ref=nf
 
 
 
 
"เขื่อนไซยะบุรีถูกตัดทิ้ง จากวาระประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขง
ทำลายความร่วมมือในลุ่มน้ำโขงในอนาคต"
 
แถลงการณ์จากภาคประชาชนและองค์กรสิ่งแวดล้อมในอาเซียน
ต่อการประชุมเอ็มอาร์ซี วันที่ 16-17 มกราคม 2556 ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว
-----------
กรุงเทพฯ ประเทศไทย: รัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขงไม่มีวาระการประชุมเรื่องเขื่อนไซยะบุรีใน การประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงประจำปี ในสัปดาห์นี้
 
“การที่คณะมนตรีแม่น้ำ โขงไม่นำประเด็นเขื่อนไซยะบุรีมาพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา แสดงถึงการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของรัฐบาลสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอน ล่าง” นายนิวัติ ร้อยแก้ว กลุ่มรักษ์เชียงของกล่าว “ความเงียบไม่ ได้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากเขื่อนไซยะบุรี เรื่องนี้ส่งผลกระทบถึงการสร้างเขื่อนอื่นๆ ในแม่น้ำโขงในอนาคต”
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2555 รัฐบาลลาวจัดพิธีเปิดการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีอย่างเป็นทางการ แม้มีการทักท้วงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโครงการนี้ ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกระบวนการ ปรึกษาหารือล่วงหน้า ในขณะเดียวกันรัฐบาลลาวเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องอย่างเป็นทางการจาก รัฐบาลกัมพูชาและเวียดนามที่ต้องการให้มีการประเมินผลกระทบข้าม พรมแดนของโครงการนี้ รวมทั้งเพิกเฉยต่อความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (เอ็มอาร์ซี)ที่เสนอให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อนออกไป จนกว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จ
 
หนังสือพิมพ์ Cambodia Daily รายงาน ข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมกัมพูชาเน้นย้ำจุดยืนของประเทศโดยการแถลงว่า “นายกรัฐมนตรีฮูนเซ็น กล่าวว่า ต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อประเมินว่าจะเกิดผล กระทบ (ต่อเรา) อย่างไร และเราเรียกร้องให้รัฐบาลลาวเคารพมติให้ชะลอการก่อสร้างเขื่อน”
 
แหล่งทุนระหว่าง ประเทศได้แสดงข้อกังวลเช่นกัน ล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่ามี “ข้อกังวลว่าการก่อสร้างดำเนินไปก่อนที่ การศึกษาผลกระทบจะแล้วเสร็จ”
 
“สองปีที่ผ่านมาโครงการ เขื่อนไซยะบุรีสร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงของรัฐบาลในภูมิภาคนี้ และเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับแม่น้ำข้ามพรมแดนซึ่งเป็นที่สนใจกันมาก สุดกรณีหนึ่งในโลก” เพียรพร ดีเทศน์ ผู้ประสานงานประเทศไทย International Rivers กล่าว “ที่ผ่านมา รัฐบาลลาวปฏิเสธที่จะร่วมมือกับเพื่อนบ้าน จึงไม่น่าประหลาดใจที่ไม่มีวาระการประชุมเรื่องนี้บรรจุอยู่ ลาวได้ละเมิดข้อตกลงแม่น้ำโขง ทั้งยังอ้างอีกว่าเขื่อนไซยะบุรีมีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และยังไม่สนใจข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านประมงซึ่งระบุว่ามาตรการลดผลกระทบ ด้านประมงและปลาของเขื่อนไซยะบุรีไม่น่าจะได้ผล”
 
“รัฐบาลในภูมิภาคนี้มี อำนาจป้องกันไม่ให้เกิดหายนะจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและ เขื่อนอื่น ๆ บนแม่น้ำโขงสายหลัก ทำได้ด้วยการเรียกร้องให้ยุติการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนแม่น้ำโขง โครงการอื่น ๆ ทันที จนกว่าการศึกษาเพิ่มเติมและการปรึกษาหารือกับประชาชนจะเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์” นายเทพ บุญณฤทธิ์ พันธมิตรเพื่อแม่น้ำในกัมพูชา (Rivers Coalition in Cambodia) และสมาคมอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (Cultural and Environmental Preservation Association) กล่าว “เราเรียกร้องให้รัฐบาลในภูมิภาค นี้และแหล่งทุนประกันว่า จะมีการทบทวนกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าก่อนที่จะเดินหน้าโครงการเขื่อนใด ๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการเขื่อนอื่นๆ ซ้ำรอยเขื่อนไซยะบุรี”
 
ในช่วงสี่ปีที่ผ่าน มา องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ รัฐบาลที่ให้ทุนและประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่างได้แสดงข้อกังวลเกี่ยวกับ ภัยคุกคามจากเขื่อนไซยะบุรีและเขื่อนอื่น ๆ ในแม่น้ำโขงสายหลัก โดยเฉพาะผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารของประชาชนหลายล้านคน และความสมบูรณ์ทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำโขง
 
“เรายังไม่มีข้อมูลที่ ชัดเจนว่าผลกระทบจากเขื่อนไซยะบุรีที่มีต่อความเป็นอยู่และความ มั่นคงด้านอาหารของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขงจะกว้างไกลและรุนแรงแค่ ไหน” Ms. Lam Thi Thu Suu ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม (Vietnam Rivers Network) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสังคมและการพัฒนา (Centre for Social Research and Development - CSRD) เวียดนาม กล่าว “ในฐานะ ที่เป็นสายน้ำร่วมกัน อนาคตของเราจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือของรัฐบาลในภูมิภาคที่จะ ต้องแก้ปัญหาเขื่อนไซยะบุรีทันที ก่อนที่จะสายเกินไป”
 
ในระหว่างการลง พื้นที่แม่น้ำโขงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว International Rivers พบว่าโครงการเขื่อนอื่นๆ บนแม่น้ำโขงสายหลักของลาวกำลังเดินหน้าไปเช่นกัน ในพื้นที่สร้างเขื่อนปากแบง ซึ่งยังไม่เข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของเอ็มอาร์ซี ชาวบ้านให้ข้อมูลว่า โครงการเขื่อนปากแบงมีกำหนดเริ่มดำเนินการในช่วง 2-12 เดือนข้างหน้า โดยเริ่มจากการก่อสร้างถนนสู่หัวงานเขื่อน ชาวบ้านยังบอกอีกว่า บริษัทจากจีนได้มาศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขื่อนปากลายและเขื่อนสานะคามเมื่อเร็ว ๆ นี้
 
เมื่อเดือนกันยายนที่แล้ว International Rivers พบ ว่าเริ่มมีการดำเนินงานเกิดขึ้นที่ พื้นที่สร้างเขื่อนดอนสะหง โดยมีการระเบิดแก่งหินสองแห่งเพื่อทำเป็นทางปลาผ่าน การประชุมคณะมนตรีแม่ น้ำโขงครั้งที่ 19 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม ณ หลวงพระบาง ประเทศลาว แหล่งทุนระหว่างประเทศที่ให้ทุนแก่เอ็มอาร์ซีจะแถลงข่าวในระหว่างการประชุม ด้วย
 
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net