พันธุ์อาจ ชัยรัตน์: ปี 2560 ความท้าทายกับพันธสัญญาของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

อีก 4 ปีข้างหน้า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาครคนที่ 16 ควรจะทำอะไรให้เมืองมหานครแห่งนี้บ้าง

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ประชากรชาวกทม. ได้รับรู้ถึงผลการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผลออกมาคือ จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,244,465 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 2,715,640 คิดเป็น 63.98 เปอร์เซ็นต์ โดยมีบัตรเสีย 37,000 ใบ (1.37%) บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 47,448 ใบ (1.75%) โดยผู้ได้รับคะแนนเสียง อันดับ 1 คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 16 คะแนน 1,256,349 คะแนน (47.75%) อันดับ 2 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 9 คะแนน 1,077,899 คะแนน (40.97%) อันดับ 3 พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวช หมายเลข 11 คะแนน 166,582 คะแนน (6.13%) อันดับ 4 นายสุหฤท สยามวาลา ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 17 คะแนน 78,825 คะแนน (3.00%) อันดับ 5 นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครอิสระ หมายเลข 10 คะแนน 28,640 คะแนน (1.09%) จะเห็นได้ว่า สองอันดับแรก ได้รับคะแนนเสียงไปถึง 88.72% ซึ่งที่เหลือก็เป็นคะแนนของผู้สมัครอิสระอีกสามท่าน [1]

คุณชายสุขุมพันธ์ ได้กล่าวว่า "ผมจะเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ ของทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ จะดูแลทุกข์สุขของทุกคนและขอชวนทุกนร่วมสร้างกรุงเทพด้วยกัน" หลังจากประสบชัยชนะในการเลือกตั้ง แน่นอน นี่คือพันธะสัญญาที่ให้ไว้ต่อหน้าสื่อและ "ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน กทม." มิใช่แค่เพียงผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือผู้ที่นิยมชมชอบในตัวของคุณชายฯ หรือ พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ต่อไปนี้ หากผู้บริหารและลูกพรรคของท่านออกมาแบ่งเขาแบ่งเราอีกก็คงจะไม่เป็นไปตามอย่างที่คุณชายได้กล่าวไว้ สิ่งนี้คงเป็นการบ้านอีกข้อของท่านผู้ว่าฯ คนใหม่ คงต้องรับไปทำด้วยความยากลำบากไม่น้อย

ที่นี้ลองย้อนกลับมาดูนโยบาย "รักกรุงเทพฯ...ร่วมสร้างกรุงเทพฯ" ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้หาเสียงและได้ให้ "พันธะสัญญา" แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง นโยบายมี 6 ข้อหลัก คือ [2]

 

1. มหานครแห่งความปลอดภัย ประกอบด้วย

1.1 ขยายเครือข่ายกล้อง CCTV 50,000 ตัว โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายเอกชน 200,000 ตัว

1.2 ติดตั้งไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์ นำร่อง 10 เส้นทางริมคลอง และสถานที่เอกชนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

1.3 ขยายโครงการ "ชุมชนร่วมใจ ระวังภัยยาเสพติด" ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ

1.4 จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติเร่งด่วน (OEM) เพื่อป้องกัน แจ้งเตือน ลดความเสียหายจากอัคคีภัย อุทกภัย และแผ่นดินไหว

1.5 เพิ่มประสิทธิภาพดับเพลิงอาคารสูง พร้อมชุดปฏิบัติการดับเพลิงขนาดเล็กสำหรับชุมชน และ

1.6 สร้างเพิ่ม อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6 แห่ง พร้อมระบบตรวจสภาพและเตือนภัยน้ำท่วม

 

2. มหานครแห่งความสุข เน้นสองมิติสำคัญคือ

2.1 การเดินทางสะดวก และจราจรคล่องตัว

2.1.1 เพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง (Light Rail / Monorail) เชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนทุกประเภท

2.1.2 สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทางรถไฟ และปรับปรุงถนนจุดตัดทางแยก ตรอก ซอย ทางลัด 100 สาย

2.1.3 เพิ่มทางเลือกการเดินทางด้วยเรือโดยสาร เริ่มที่คลองภาษีเจริญ

2.1.4 เพิ่ม 30 เส้นทางจักรยาน เพิ่มจักรยานให้เช่า 10,000 คัน

2.1.5 เพิ่มจุดจอดและจร (Park & Ride) 4 มุมเมือง

2.1.6   ตรวจสอบฟรี สภาพจราจรที่เป็นปัจจุบัน ด้วยระบบ BMA Live Traffic Application

 

2.2 สุขภาพ

2.2.1 ไม่ป่วยทั้งปี รับฟรี 1,000 บาท แถมตรวจสุขภาพ ฟรี

2.2.2 ดูแลผู้สูงอายุครบวงจร

2.2.3   ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน

2.2.4 เพิ่มบริการสุขภาพ 24 ชม. ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ ทุกพื้นที่ และ

2.2.5 สร้างศูนย์กีฬาทันสมัยครบวงจร 4 มุมเมือง พร้อมยกระดับลานกีฬาเดิม 200 แห่ง

 

3. มหานครสีเขียว

3.1 เพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ พร้อม 10 สวนสาธารณะใหญ่

3.2     สร้างสวนลอยน้ำแห่งแรก สร้างสวนสุนัข (Dog Park) 4 มุมเมือง

3.3     ส่งเสริมสวนบนอาคารสูง (Green Roof) และแนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง

3.4     เพิ่มระบบจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่จัดเก็บ ขนถ่าย จนถึงเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีทันสมัยและสะอาด

3.5     สร้างเพิ่ม โรงงานบำบัดน้ำเสีย 5 แห่ง พร้อมวางแผนขยายการบำบัดน้ำเสียครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ

3.6     ปรับภูมิทัศน์ถนนสายหลัก นำสายไฟฟ้าลงดิน 3 เส้นทาง และย้ายสายโทรศัพท์-เคเบิ้ล ลงดิน

3.7     สร้างห้องน้ำสาธารณะสะอาด ครอบคลุมจุดเชื่อมต่อการเดินทางและพื้นที่ท่องเที่ยว

 

4. มหานครแห่งการเรียนรู้

4.1 เรียนฟรี 2.0 / นักเรียนโรงเรียน กทม."อิ่มท้อง สมองดี มีวินัย โตไปไม่โกง"

4.2     นักเรียนโรงเรียน กทม. ภาษาอังกฤษแข็งแรง พร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4.3     กวดวิชาให้นักเรียน ม.3 และ ม.6 ครบทุกโรงเรียน โดยสถาบันกวดวิชาชื่อดัง

4.4     ฟรี รถรับ-ส่งนักเรียนโรงเรียน กทม. ในพื้นที่เดินทางไม่สะดวก

4.5     พร้อมบริการหมวกกันน็อค สำหรับนักเรียนโรงเรียน กทม.

4.6     ส่งเสริมศักยภาพของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครในการผลิตบัณฑิต สอนหลักสูตรต่อเนื่อง และร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

4.7     ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เปิดห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มิติใหม่อีก 10 แห่ง เพิ่มจำนวนบ้านหนังสือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และสร้างศูนย์เยาวชนมิติใหม่เพิ่ม 5 แห่ง

4.8     ส่งเสริมการอ่าน ตามโครงการ UNESCO "กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก 2556"

4.9     ติดตั้ง ฟรี Hi-Speed Wi-Fi 4 MB 5,000 จุด เน้นที่โรงเรียน ห้องสมุด สวนสาธารณะ และสถานที่อื่นๆ ของ กทม.

4.10 เพิ่มโรงเรียนรองรับนักเรียนความสามารถพิเศษ รวมถึงเด็กออติสติก อีก 100 โรงเรียน

 

5. มหานครแห่งโอกาสของทุกคน

5.1 ให้ภาคประชาชนร่วมเสนอความคิดเห็น และตรวจสอบการบริหารงานของ กทม. ผ่านระบบ i-Bangkok

5.2     ส่งเสริมความสามารถและความสนใจของคนรุ่นใหม่ โดยสร้างโรงเรียนดนตรี และโรงเรียนกีฬา

5.3     เปิดศูนย์กีฬามิติใหม่และ Extreme Sports 4 มุมเมือง

5.4     เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างตลาดสำหรับคนรุ่นใหม่ Young Designer Market ทั้งแบบถาวร และแบบครั้งคราว และเปิดเว็บไซต์เพื่อคนรุ่นใหม่ ขยายช่องทางสื่อสารงานสร้างสรรค์

5.5     เปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่ม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ฝึกอาชีพ เรียนคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ จีน และมลายู ฟรี

5.6     ขยายปริมาณและมูลค่าเศรษฐกิจภาคกลางคืน เช่น การขนส่งและกระจายสินค้า และการท่องเที่ยว

 

6. มหานครแห่งอาเซียน

6.1 เปิดโอกาสและส่งเสริมอาชีพในการผลิตและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ฮาลาล

6.2     เพิ่มและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเชิงอนุรักษ์ ทั้งฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี

6.3     ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน

6.4     จัดตั้งสภามหานครอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่าง กทม. และองค์กรในอาเซียน

6.5     จัดตั้งศูนย์ส่งเสริม SMEs อาเซียน และจัดทำ BMA SMEs ASEAN Data Bank

6.6     ร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐ มหาวิทยาลัย และเอกชน เพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบริการด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ของอาเซียนและของโลก

6.7     จัดทำแผนที่ ป้ายบอกทาง ป้ายรถประจำทาง และจุดให้ข้อมูล เป็นภาษาอังกฤษ ทั่วกรุงเทพฯ

6.8     ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ให้สื่อสารภาษาอังกฤษได้

และให้บริการที่ประทับใจ เช่น คนขับรถแท็กซี่และรถโดยสารสาธารณะ

คุณชายกล่าวว่า งานหลายอย่างรอไม่ได้ ซึ่งก็ดีครับที่ออกตัวอย่างขยันขันแข็ง

ผมอยากช่วยมองอนาคตบนพื้นฐานของนโยบาย "สร้าง กทม. สู่ ปี พ.ศ. 2560" ข่้างต้น โดยอีกสี่ปี คุณชายคงจะอยู่ครบเทอมที่ 2 ภาพอนาคตในแต่ล่ะปีควรเป็นอย่างไร และควรมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง

 

ภาพที่ 1: กทม พ.ศ. 2557 - มหานครแห่งความปลอดภัยและสีเขียว

หลังจาก กรุงเทพมหานครต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ เช่น ความรุนแรงในการประท้วง ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ภาวะโลกร้อนและอุทกภัย) ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มจะทวีความซับซ้อน รุนแรง และเพ่ิมความถี่มากยิ่งขึ้น กทม. จึงได้ร่วมมือกับรัฐบาลและทุกภาพส่วนอย่างไร้รอยต่อ ตามนโยบายของท่านผู้ว่าคนใหม่ เพื่อสร้าง กทม. ไปสู่ เมืองมหานครสำหรับทุกคน ภายในปี พ.ศ. 2560 จึงเป็นปีแห่งการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ที่อยู่อาศัยและทำงานใน กทม. เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและการสร้างเมืองมหานครสีเขียวที่มีมาตรฐานไม่ต่างจากเมืองมหานครชั้นนำของโลก

 

ปัจจัยเร่งและหน่วง

- การขยายเครือข่ายกล้องและระบบบริหารจัดการ CCTV เป็นไปได้ด้วยดี แต่อาจเกิดความเสี่ยงจากอาชญกรรมไซเบอร์

- ระบบไฟส่องสว่างครบถ้วน แต่ไม่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ดีและมีความเสียหายบ่อยครั้ง

- ศูนย์บริหารจัดการภัยพิบัติเร่งด่วน (OEM) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น แต่ขาดแคลนบุคคลากรในการทำงานได้อย่างเป็นระบบ

- เส้นทาจักรยานที่มีการเรียกร้องมาอย่างยาวนาน เสร็จสมบูรณ์ แต่มีหาบเร่แผงลอย รถโดยสารสาธารณะและรถตู้เข้ามาขวางเส้นทางเดินรถจักรยาน

- ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่องจากการทำโครงการต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เยาวชนและคนที่พึ่งพารายได้จากการค้ายาเสพติด ประสบปัญหาในด้านโอกาศและการเข้าถึงสังคมโดยรวม

- แม้ว่ากทม จะมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น แต่การเข้าถึงและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในแต่ล่ะเขตไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากพื้่นที่สาธารณะเหล่านั้น อาจต้องกมีการปรับปรุงและสร้างแคมเปญในการใช้ประโยชน์ในพื่นที่

- ระบบบริหารเพลิงภัยขนาดเล็กมีประสิทธิภาพดี ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

ภาพที่ 2: กทม พ.ศ. 2558 - มหานครแห่งการเรียนรู้และโอกาสของทุกคน

หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างระบบโครงสรางพื้นฐานใหม่ที่สามารถนำพา กทม. ไปสู่การใช้ชีวิตสีเขียว ด้วยการปรับปรุงและยกระดับความปลอดภัยและภูมิทัศน์ของเมืองมหานครแล้ว ในปีนี่้ กทม. ได้นำเสนอ นวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษา (Educational and learning innovations) แก่โรงเรียนในสังกัด ชุมชน และสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู๋ในกทม. เพื่อเรียนรู้และปรับรูปแบบการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่ได้ทำไว้ในปีที่แล้ว และที่กำลังจะตามมาอย่างเป็นระบบ เพื่อยกระดัมาตรฐานการครองชีพ และการใชัชีวิตแก่คนที่อาศัยอยู๋ใน กทม. ประชากรในเมืองมหานครแห่งนี้คือ ประชากรที่ใฝ่รู้และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทุกเชื้อชาติ และทุกความเชื่อ เพื่อเตรียมรับ มหานครแห่ง AEC นั่นเอง

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง:

- ผลจากการดำเนินการณรงค์หลังจาก "กรุงเทพเมืองหนังสือโลก 2556" และการเพิ่มโอกาศในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียว ทำให้ คน กทม. อ่านหนังสือมากขึ้น แต่เนื่องจากพฤติกรรมการอ่านเปลี่ยนไปสู่การใช้ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ระบบการจ่ายไฟและความเร็วของอินเตอร์เนตสาธารณะจึงกลายมาเป็นปัญหาใหม่

- มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครมีหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวที่เน้นมิติของเมืองมหานครมากขึ้น ประชนชนให้ความสนใจไปเรียนรู้ในเวลาว่างมากขึ้น

- นักเรียนในสังกัด กทม. สามารถอ่าน พูด และเขียน ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี และมีจริยธรรม

- หลังจากโครงการรถรับส่งนักเรียนได้ดำเนินการไปพร้อมกับการยกระดับความสามารถในการเรียนการสอน ทำให้จำนวนนักเรียนที่ต้องเดินทางไปเรียนในโรงเรียนต่างเขต ลดลง แต่มีความต้องการ ห้องสมุดชุมชนที่ดีมากขึ้นแทน

- iBangkok สามารถให้บริหารู้อยู่อาศัยในเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องขยายการบริการไปสู่คนต่างชาติที่อยู่อาศัยใน กทม. ซึ่งยังคงติดปัญหาทางระบบราชการอยู่

 

ภาพที่ 3: กทม พ.ศ. 2559 - มหานครแห่งอาเซียน [3]

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community, AC) ทีได้กำเนิดขึ้นมาในปลายปี พ.ศ. 2558 ได้นำ กทม. ไปสู่เมืองมหานครที่รองรับความหลากหลายทางเชื่้อชาติและวัฒนธรรมของประชากรที่อพยพมาอยู่อาศัยใน กทม. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy) และชนชั้นสร้างสรรค์ (Creative class) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างใช้ กทม. เป็นเมืองหลักในการดำเนินธุรกิจและใช้ชีวิต วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และองค์ความรู้ ย้ายมาเปิดกิจการในกทม มากขึ้่น ในขณะที่วิสาหกิจสังคม (Social enterprise, SE) ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเนื่องจาก เห็นโอกาสธุรกิจสังคม (Social business) จากการเปลี่ยนแปลงเมืองมหานครนี้ไปสู่ เมืองสีเขียว (Green city) เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning city) และเมืองสำหรับทุกคน (Inclusive city) ไม่ว่าจะเป็นเมืองสีรุ้ง (Rainbow city) ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ เมืองสีเทา (Grey city) ของกลุ่มผู้ชรา และเมืองของกลุ่มคนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักปั่นจักรยาน กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น อิทธิพลของความหลากหลายทางเชื่้อชาติและอัตลัษณ์มีมากขึ้น จนไปเจือจางความขัดแย้งด้านความเชื่่อทางการเมืองและแบ่งขั่วที่ได้ดำเนินมาต่อเนื่องในระดับหนึ่ง ทำให้มีพัฒนาการความขัดแย้งและการผสมผสานของคนต่างขัั่ว ความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง:

- การเพิ่มขึ้นของประชากรกลุ่มต่าง ๆ และชาวต่างชาติ ทำให้ กทม. กลายเป็น มหานครมะม่วงใหญ่ (Big Mango) อย่างแท้จริง

- กทม. กลายเป็นศูนย์การของการแลกเปลี่ยนทางศิลปะวัฒนธรรม แต่คนส่วนใหญ่กลับให้ความสำคัญต่อกิจกรรมดังกล่าวน้อย เนื่องจากมุ่งเน้นไปในการทำงานและเดินทางมากกว่า จึงต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มากกว่าพิพิธภัฑณ์และงานกิจกรรมต่าง ๆ

- การจัดตั้งสภามหานครอาเซียน (ASEAN Urban League) [4] เป็นไปได้ด้วยดี โดยให้เป็นองค์กรภายใต้อาเซียนที่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกันในด้านการพัฒนาเมือง

 

ภาพที่ 4: กทม. พ.ศ. 2560 - มหานครแห่งความสุข

ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงมีอยู่ แต่ได้ลดระดับลงไป เนืองจาก กทม ได้ดำเนินการสร้าง "สังคมฐานความรู้" (Knowledge society) ขึ้น เพื่้อสร้าง มหานครสำหรับทุกคนไปในช่วงเริ่มต้นการทำงานในสมัยที่สองของผู้ว่าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งมาในต้นปี 2556 หลังจากปรับปรุงและเปลี่ยน กทม ไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) แล้ว โครงการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนและระบบการจัดการน้ำขนาดใหญ่ก็เริ่มเห็นเป็นรูปร่าง ประชาชนมีความใส่ใจในสุขภาพจิตและสุขภาพใจ ดูเหมือนว่า มหานครแห่งความสุขกำลังจะกำเนิดขึ้่น กทม. กำลังจะเข้าสู่การเลือกผู้นำคนใหม่ในไม่ช้า

 

ปัจจัยเร่งและปัจจัยหน่วง

- รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 5 เส้นทาง สามารถใช้งานได้ในบางเส้นทาง เนื่องจากสามารถปิดโครงการได้ก่อนกำหนด

- อุโมงค์ยักษ์ 6 แห่งสร้างเสร็จและใช้งานได้จริง

- ระบบสาธาณะสุขของกทม. มีความพร้้อมในการรับมือกับสังคมวัยวุฒิและประชากรต่างชาติที่อาศัยใน กทม มากขึ้นเป็นทวีคูณ

 

ภาพอนาคต (Scenarios) เหล่านี้จะไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความฝันจากนโยบายที่ให้ไว้แก่ประชาชน ถ้าท่านได้ลงมือทำงานอย่างเป็นระบบและร่วมมือกับทุกคนอย่างแท้จริง ภาพอนาคตเหล่านี้ดูสวยงาม แต่ถ้าต้องการให้เกิดขึ้นจริง ผู้ว่าราชการฯ มีระยะเวลาทำงาน 4 ปี ภาพอนาคตกรุงเทพมหานครในอีก 4 ปี ข้างหน้า จึงต้อเป็นหน้าที่ของผู้นำท้องถิ่นท่านนี้ในการสร้างภาพดังกล่าว และฉายภาพนี้ให้แก่บุคคลากรของพรรค กรุงเทพมหานคร และประชาชนเห็นอย่างชัดเจน ดังนั้น คงต้องฝากความหวังไว้ที่ ท่านผู้ว่าฯ หม่อมราชวงค์สุขุมพันธ์ บริพัตร แล้วครับ

 

เชิงอรรถ:

[1] http://www2.ect.go.th/home.php?Province=bangkok

[2] http://www.sukhumbhand.com/policy.php

[3] http://issuu.com/noviscape/docs/10\_bangkok\_policy

[4] http://issuu.com/noviscape/docs/bkk2030\_18\_city\_innovations\_en

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท