Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

กว่า 20 ปีแล้ว ที่สังคมไทยได้นำ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533มาใช้ในการเพื่อดูแลสวัสดิภาพของแรงงานในระบบ จำนวน 11.7 ล้านคน จากแรงงานทั้งประเทศกว่า 39.6 ล้านคน มีสำนักงานประกันสังคม ภายใต้กระทรวงแรงงานเป็นผู้ดูแล โดยมีเงินสะสมในกองทุนกว่า 991,837 ล้านบาท ปัจจุบันเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี บริบทของสังคมไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และกำลังเข้าสู่ AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมในปัจจุบัน ไม่สามารถบริหารจัดการให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงน่าจะถึงเวลาที่เราควรจะทบทวน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับ บริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีรายละเอียดที่จะแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ความครอบคลุมกลุ่มแรงงาน แต่เดิม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ผูกพันกับการจ้างงาน จึงครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบที่มีนายจ้าง เช่น ลูกจ้างในโรงงาน บริษัท ไม่รวมถึงกลุ่ม ‘แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทน’ เช่น เกษตรพันธะสัญญา ผู้ที่รับงานไปทำที่บ้าน และอื่นๆ แต่ปัจจุบันการจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นควรขยายความครอบคลุมไปสู่ประชาชนทุกกลุ่ม และการจ้างงานทุกรูปแบบ เข้าสู่แนวคิด ‘ประกันสังคมถ้วนหน้า’ ประเด็นนี้น่าเป็นหลักการและแนวคิดที่สำคัญที่สุดที่ควรปรับปรุง

ประเด็นที่ 2 ความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม ที่ผ่านมามีปัญหาในการดำเนินงานที่ล่าช้า ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง บุคลากรไม่เพียงพอและขาดแคลนคุณภาพ ขาดการตรวจสอบการทำงาน ส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุนต่างๆ จำนวนมาก และที่สำคัญ ผู้ประกันตนและนายจ้างเองขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานต่างๆ ของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นสำนักงานประกันสังคมควรเป็นองค์กรอิสระ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ต้องมาจากการเลือกตั้งจากคณะกรรมการไม่ใช่เป็นข้าราชการเช่นในปัจจุบัน เพื่อจะได้ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้าสู่สำนักงานได้

ประเด็นที่ 3 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ควรประกอบด้วยคณะกรรมการที่ดูแลทั้งด้านสวัสดิการแรงงานคณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการการลงทุน คณะกรรมการตรวจสอบ โดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นมืออาชีพ มีความเป็นอิสระปราศจากกลุ่มผลประโยชน์ นอกจากนั้นการเลือกตัวแทนแรงงาน เข้ามาเป็นตัวแทนต้องมีวิธีการสรรหาตัวแทนที่สามารถเป็นตัวแทนของแรงงานได้อย่างแท้จริง เพราะวิธีการเลือกตัวแทนที่ผ่านมาเลือกมาจากสหภาพแรงงาน ซึ่งข้อเท็จจริงมี สมาชิกสหภาพเพียง 300,000 คนเท่านั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีเลือกตัวแทนให้เป็นตัวแทนของผู้ประกันตนอย่างแท้จริง

ประเด็นที่ 4 สิทธิประโยชน์ เป็นเรื่องที่ควรเร่งปรับปรุง เพราะสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์กลับด้อยกว่า ‘บัตรทอง’ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่บัตรทองเพิ่งมีมาได้เพียง 10 ปีเท่านั้น และนับวันจะยิ่งห่างกันมากขึ้นไปทุกๆ ที นอกจากนั้นสิทธิประโยชน์สำหรับแรงงานต่างด้าวบางอย่างก็ไม่เหมาะสม เช่น ว่างงานและชราภาพ คนเหล่านี้ ไม่มีทางได้รับสิทธิประโยชน์เหล่านี้เลยทั้งๆ ที่เขาต้องจ่ายเท่าคนไทย เพราะเมื่อตกงานเขาก็ต้องกลับประเทศแล้ว หรือเมื่อเกษียณอายุก็ต้องกลับประเทศเช่นกัน ทำให้แรงงานต่างด้าวเหล่านั้นไม่อยากเข้าสู่ระบบประกันสังคม และที่สำคัญที่สุดผู้ประกันตนยังเป็นกลุ่มเดียวที่ยังต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล ขณะที่คนกลุ่มอื่นยังไม่ต้องจ่าย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อการปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคมในครั้งนี้

กว่า 20 ปีแล้ว ที่สังคมไทยได้นำ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533มาใช้ในการเพื่อดูแลสวัสดิภาพของแรงงานในระบบ จำนวน 11.7 ล้านคน จากแรงงานทั้งประเทศกว่า 39.6 ล้านคน มีสำนักงานประกันสังคม ภายใต้กระทรวงแรงงานเป็นผู้ดูแล โดยมีเงินสะสมในกองทุนกว่า 991,837 ล้านบาท ปัจจุบันเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี บริบทของสังคมไทย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และกำลังเข้าสู่ AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขณะที่การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมในปัจจุบัน ไม่สามารถบริหารจัดการให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงน่าจะถึงเวลาที่เราควรจะทบทวน พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับ บริบทของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีรายละเอียดที่จะแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ความครอบคลุมกลุ่มแรงงาน แต่เดิม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ผูกพันกับการจ้างงาน จึงครอบคลุมเฉพาะแรงงานในระบบที่มีนายจ้าง เช่น ลูกจ้างในโรงงาน บริษัท ไม่รวมถึงกลุ่ม ‘แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทน’ เช่น เกษตรพันธะสัญญา ผู้ที่รับงานไปทำที่บ้าน และอื่นๆ แต่ปัจจุบันการจ้างงานมีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นควรขยายความครอบคลุมไปสู่ประชาชนทุกกลุ่ม และการจ้างงานทุกรูปแบบ เข้าสู่แนวคิด ‘ประกันสังคมถ้วนหน้า’ ประเด็นนี้น่าเป็นหลักการและแนวคิดที่สำคัญที่สุดที่ควรปรับปรุง

ประเด็นที่ 2 ความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม ที่ผ่านมามีปัญหาในการดำเนินงานที่ล่าช้า ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง บุคลากรไม่เพียงพอและขาดแคลนคุณภาพ ขาดการตรวจสอบการทำงาน ส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุนต่างๆ จำนวนมาก และที่สำคัญ ผู้ประกันตนและนายจ้างเองขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานต่างๆ ของสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นสำนักงานประกันสังคมควรเป็นองค์กรอิสระ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ต้องมาจากการเลือกตั้งจากคณะกรรมการไม่ใช่เป็นข้าราชการเช่นในปัจจุบัน เพื่อจะได้ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้าสู่สำนักงานได้

ประเด็นที่ 3 องค์ประกอบของคณะกรรมการ ควรประกอบด้วยคณะกรรมการที่ดูแลทั้งด้านสวัสดิการแรงงานคณะกรรมการการแพทย์ คณะกรรมการการลงทุน คณะกรรมการตรวจสอบ โดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นมืออาชีพ มีความเป็นอิสระปราศจากกลุ่มผลประโยชน์ นอกจากนั้นการเลือกตัวแทนแรงงาน เข้ามาเป็นตัวแทนต้องมีวิธีการสรรหาตัวแทนที่สามารถเป็นตัวแทนของแรงงานได้อย่างแท้จริง เพราะวิธีการเลือกตัวแทนที่ผ่านมาเลือกมาจากสหภาพแรงงาน ซึ่งข้อเท็จจริงมี สมาชิกสหภาพเพียง 300,000 คนเท่านั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีเลือกตัวแทนให้เป็นตัวแทนของผู้ประกันตนอย่างแท้จริง

ประเด็นที่ 4 สิทธิประโยชน์ เป็นเรื่องที่ควรเร่งปรับปรุง เพราะสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ด้านการแพทย์กลับด้อยกว่า ‘บัตรทอง’ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่บัตรทองเพิ่งมีมาได้เพียง 10 ปีเท่านั้น และนับวันจะยิ่งห่างกันมากขึ้นไปทุกๆ ที นอกจากนั้นสิทธิประโยชน์สำหรับแรงงานต่างด้าวบางอย่างก็ไม่เหมาะสม เช่น ว่างงานและชราภาพ คนเหล่านี้ ไม่มีทางได้รับสิทธิประโยชน์เหล่านี้เลยทั้งๆ ที่เขาต้องจ่ายเท่าคนไทย เพราะเมื่อตกงานเขาก็ต้องกลับประเทศแล้ว หรือเมื่อเกษียณอายุก็ต้องกลับประเทศเช่นกัน ทำให้แรงงานต่างด้าวเหล่านั้นไม่อยากเข้าสู่ระบบประกันสังคม และที่สำคัญที่สุดผู้ประกันตนยังเป็นกลุ่มเดียวที่ยังต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาล ขณะที่คนกลุ่มอื่นยังไม่ต้องจ่าย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อการปรับปรุง พ.ร.บ.ประกันสังคมในครั้งนี้

ประเด็นที่ 5 ประเด็นอื่นๆ เช่น ความยั่งยืนของกองทุน มีงานวิชาการทั้งจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ชี้ให้เห็นชัดว่า หลังจากมีการจ่ายบำนาญชรา กองทุนประกันสังคมเงินที่มีเงินมหาศาลจะหมดไปภายในเวลา 20 ปี จำเป็นต้องเก็บเบี้ยประกันจากผู้ประกันตนจาก 5% เป็น 10% และ 15% มากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นควรเพิ่มเพดานการเก็บเงินจากไม่เกิน 15,000 บาทให้มากขึ้น เป็นต้น และหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคมในอนาคตต่อไป

ช่วงนี้ รัฐสภากำลังจะรับรองร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับต่างๆ ทั้งของกระทรวงแรงงาน ของภาคประชาชน และของพรรคประชาธิปัตย์ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ผู้ประกันตนควรใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกันตนอย่างยั่งยืนต่อไป และเชื่อว่าในประเด็นสำคัญ อาทิ ความเป็นองค์กรอิสระนั้น เป็นไปได้ยากที่กระทรวงแรงงานจะปล่อยให้สำนักงานประกันสังคมที่มีเม็ดเงินเป็นแสนล้านบาท ที่เคยอยู่ในมือ ออกนอกระบบไปเป็นองค์กรอิสระที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบโดยผู้ประกันตนได้อย่างง่ายๆ แน่นอน

เช่น ความยั่งยืนของกองทุน มีงานวิชาการทั้งจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ชี้ให้เห็นชัดว่า หลังจากมีการจ่ายบำนาญชรา กองทุนประกันสังคมเงินที่มีเงินมหาศาลจะหมดไปภายในเวลา 20 ปี จำเป็นต้องเก็บเบี้ยประกันจากผู้ประกันตนจาก 5% เป็น 10% และ 15% มากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นควรเพิ่มเพดานการเก็บเงินจากไม่เกิน 15,000 บาทให้มากขึ้น เป็นต้น และหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคมในอนาคตต่อไป

ช่วงนี้ รัฐสภากำลังจะรับรองร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับต่างๆ ทั้งของกระทรวงแรงงาน ของภาคประชาชน และของพรรคประชาธิปัตย์ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ผู้ประกันตนควรใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกันตนอย่างยั่งยืนต่อไป และเชื่อว่าในประเด็นสำคัญ อาทิ ความเป็นองค์กรอิสระนั้น เป็นไปได้ยากที่กระทรวงแรงงานจะปล่อยให้สำนักงานประกันสังคมที่มีเม็ดเงินเป็นแสนล้านบาท ที่เคยอยู่ในมือ ออกนอกระบบไปเป็นองค์กรอิสระที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบโดยผู้ประกันตนได้อย่างง่ายๆ แน่นอน

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net