Skip to main content
sharethis

Prachatai Eyes View: เคนย่า ซาฟารี สลัม และท่านผู้นำคนใหม่

ช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ มูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ได้เชิญผมไปร่วมประชุมประจำปี เครือข่าย Searchlight ที่เน้นการบ่งชี้และศึกษาแนวโน้มอนาคตของความยากจนและการพัฒนา ที่ นครไนโรบี เมืองหลวงของประเทศเคนย่า เริ่มต้นการเดินทางก็ทำตัวเป็นนักท่องเที่ยว ไปบ้าน Karen Blixen เจ้าของตำนานและต้นกำเนิด Out of Africa ที่ลือลั้น ไปเที่ยวดูฝูงยีราฟ และดูความเป็นอยู่ของคนชั้นสูงและนักการเมืองเคนย่า คนขับรถของโรงแรมที่พัก ก็ช่างเจรจา โดยเฉพาะตอนที่ผมกับเพื่อนชาวไทยและสิงคโปร์ไปแวะรับประทานอาหารกลางวันที่ภัตตาคารสุดหรู ของพิพิธภัฑธ์ Karen ที่ได้บรรยากาศเจ้าอาณานิคมเสียนี้กระไร คนขับรถ ก็สุดจะตาดี ชี้ไปที่คนโน้นคนนี้ บอกว่า นั้นเป็น รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง มาพักรับประทานอาหารกับภรรยา (ตัวจริง) อีกคนเป็น สส. พรรครัฐบาล แถมยังเล่าอีกว่า ท่านสมาชิกสภาผู้ทรงเกียรติของรัฐสภาเคนย่านี่รำรวยมาก ได้เงินเดือน รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000 บาทต่อเดือน (มากกว่าพี่ไทย 5 เท่า) แถมไม่พอ ยังเคยเสนอเป็นกฎหมายในสภา ว่า หลังจากหมดวาระ แล้ว รัฐสภาต้องจ่ายเบี้ยบำเหน็จ ให้ อีก 110,000 เหรียญ หรือประมาณ 3 ล้านบาท เป็นโบนัส แถมไม่พอ ไม่ต้องเสียภาษีด้วย (ฟังแล้วรัก สส. ไทยขึ้นเป็นกอง) สรุปว่ามาวันแรก ๆ ได้เห็นทั้ง สัตว์ในซาฟารี และ นักการเมืองซาฟารีไปพร้อมกัน เหนือคำบรรยาย

ช่วงต้น ๆ ของที่ประชุม เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทรนด์ที่เกิดขึ้นมาในแต่ล่ะทวีป เพื่อมองหาแนวทางประยุกต์เข้ากับบริบทของกาฬทวีป แต่ Highlight ไปตกอยู่ที่วันท้าย ๆ ผู้จัด Society of International Development (SID) พาผมไปเที่ยว สลัมมูคูรู (Mukuru slum) ที่กว่าร้อยล่ะ 60 ของประชากร หกแสนคนเป็นเด็กและเยาวชน ช่วงที่ไปฝนตกหนัก ถนนกลางสลัมทั้งแชะเหม็น เพราะมีขยะเกลื่อน ไฟฟ้าและน้ำปะปา ชาวสลัมต้องจ่ายให้กับผู้มีอิทธิพลที่ไปดึงเอาไฟกับน้ำมาจากรัฐ (คุ้นไหมพี่น้อง) เด็ก ๆ ดูมีความน่ารัก และสดใส ดี ในสลัมมีทั้งโบสถ์ ผับ ร้านดูฟุตบอล ไอทีสแควร์ และคลินิก เหมือนเป็นอีกโลกหนึ่งและ ผมเคยไปสลัมที่ South Africa และ Mumbai มาแล้ว แต่ที่นี่ โหดสัดดดดดดดดดดดดดดดดด

วันเดียวกัน เป็นวันที่มีการฉลองประธานาธิบดีคนใหม่ (คนที่ 4) อูฮูรู เคนยัตต้า (Uhuru Kenyatta) ลูกชายของ โจโม้ เคนยัตต้า (Jomo Keyatta) ประธานาธิบดีคนแรก หลังหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร (เส้นทางชีวิตการเมือง ไม่ต่างจาก ปาร์ค กึน เฮ และ คิม จอง อึน ของ สองเกาหลี เลย) เฮ่อ ๆ ชาติหน้ามีจริงเถอะ ....

ตามท้องถนนขายรูปพร้อมกรอบ เหมือนแถวนี้เลย หรือว่าไวรัสมันติดกันมาเนี่ย

สรุป จบท้าย คนขับรถอีกคนเล่าว่า "มีนักการเมืองเคนย่าไปเยี่ยมนักการเมือง เอเชีย นั่งรถผ่านถนนสวยงามใหญ่โต มาถึงบ้านพักท่าน สส ผู้มาเยื่อนเอ่ยปาก ชมเปาะ ถนนสวยมาก ๆ ท่าน เจ้าภาพ กระซิบแบบเหนียมอายว่า ถนนนี้ ฉามฉิบ น่ะ ฉามฉิบ (เปอร์เซ็นต์) ว่าแล้ว ก็ถึงคราวสส. เอเซียไปเยือนเคนย่าบ้าง เจ้าภาพส่ง ฮ. ไปรับ (ดีที่ไม่ตก) ผู้มาเยือนเห็นบ้านและการต้อนรับถึงกับเอ่ยปาก โอ้ว ท่านช่างร่ำรวยเสียจริง เจ้าภาพถามว่าเห็นถนนระหว่างทางบินมาไหม ผู้มาเยือนกล่าวไม่เห็น เจ้าภาพกระซิบกว่า เอาหมดเบย เอาหมดเบย" จบ

  • ภาพที่ 1: ประชาคมอัฟริกาตะวันออก (East African Community, EAC) มีมากกว่า ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community, AC) นานแล้ว
  • ภาพที่ 2: On Her Majesty Service (OHMS) แปลเองพี่น้อง
  • ภาพที่ 3: IT Square ณ Mukuru Slum
  • ภาพที่ 4: ถนนใน Mukuru Slum
  • ภาพที่ 5: โบสถ์ใน Mukuru Slum
  • ภาพที่ 6: คนขายภาพพร้อมกรอบ ปธน. คนใหม่ (ภาพชินตา คนแถวนี้แน่เบย)
  • ภาพที่ 7: คลินิค 24 ชั่วโมง Mukuru Slum
  • ภาพที่ 8: เด็กนักเรียนที่ รร. แห่งหนึ่งใน Mukuru Slum
  • ภาพที่ 9: ผู้นำกลุ่มสตรีใน Mukuru Slum
  • ภาพที่ 10: อนาคตนายแบบ Mukuru Slum
  • ภาพที่ 11: MPESA เงินด่วนมือถือ ที่แพร่หลายมากในอัฟริกา จัดเป็นนวัตกรรมทางการเงินสำหรับคนจนที่ได้ผลมาก
  • ภาพที่ 12: ภาพ Graffiti ที่เปรียบนักการเมืองเป็นอีแร้ง ของกลุ่มศิลปิน Creative economy ใน ไนโรบี
  • ภาพที่ 13: No Posters VS No Vultures ศิลปะการเมือง ต่อต่างคอร์รัปชั่นที่เสี่ยงกับการโดนจับ
  • ภาพที่ 14 Vulture อีแร้งนรก ตัวแทนนักการเมืองคอร์รัปชั่นในเคนย่า
  • ภาพที่ 15: Do you have Hope? Creative Economy Hub

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net