ประมวลเหตุการณ์วันแรงงานสากลต่างประเทศปี 2013

 แรงงานทั่วโลกออกมาชุมนุมเรียกร้องค่าแรงและสภาพการทำงานที่ดีกว่า แต่ก็มีเหตุปะทะกันในตุรกีซึ่งห้ามชุมนุมวันแรงงาน ในบางประเทศก็มีการออกมาประท้วงนโยบายลดงบประมาณของรัฐบาล

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรงงานสากลมีแรงงานหลายแห่งออกมาชุมนุมเริ่มจากในกรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย มีแรงงานหลายหมื่นคนออกมาชุมนุมเรียกร้องสภาพการทำงานที่ดีขึ้นทั้งยังประท้วงต่อต้านการตัดเงินสนับสนุนด้านเชื้อเพลิง

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่า สเต็ป แวสเซน รายงานว่าประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโนของอินโดนีเซียประกาศขึ้นราคาเชื้อเพลิงเมื่อวานนี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แต่ถ้าหากราคาเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นค่าแรงที่ได้ขึ้นก็เหมือนกับสูญไป โดยที่ก่อนหน้านี้ปธน.ยูโดโยโน บอกว่ายังไม่มีมาตรการด้านราคาเชื้อเพลิงจนกว่าสภาจะอนุมัติค่าชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

มี 80 ประเทศทั่วโลกที่ให้กำหนดให้วันที่ 1 พ.ต. เป็นวันหยุดราชการ แต่ในประเทศตุรกีทางการได้สั่งห้ามการชุมนุมในวันแรงงานสากล โดยที่จัตุรัสตักซิมในประเทศตุรกีมีการปิดกั้นไม่ให้คนมาชุมนุม แต่ก็มีคนพยายามเข้ามาชุมนุมจนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้พยายามเดินทางมาชุมนุม

เมื่อปี 1977 เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่วันแรงงานที่จัตุรัสตักซิม ทำให้มีประชาชนหลายสิบคนเสียชีวิต

ฮาสเชม อาฮีลบาร์รา ผู้สื่อข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงอีสตันบูลประเทศตุรกีว่ามีการปะทะกันชุลมุนในพื้นที่ใกล้กับจัตุรัสตักซิม ผู้ประท้วงบอกว่าพวกเขาต้องการมาชุมนุมในวันที่ 1 พ.ค. เพื่อแสดงการรำลึกถึงวีรกรรมของประชาชนที่ถูกสังหารในเหตุการณ์เมื่อปี 1977 จนเกิดการปะทะเพื่อแย่งชิงพื้นที่กันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน

ภาพเบื้องต้นเผยให้เห็นตำรวจฉีดน้ำเข้าใส่ผู้ชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุมขว้างปาสิ่งของเข้าใส่ยานพาหนะ

ในกรุงพนมเฟญ ประเทศกัมพูชา แรงงานโรงงานทอผ้าชุมนุมเรียกร้องค่าแรงและการปรับปรุงสภาพาการทำงาน ผู้จัดการชุมนุมเปิดเผยว่ามีผู้มาชุมนุมราว 5,000 คน รวมถึงสหภาพแรงงาน เดินขบวนถือป้ายและตะโกนคำขวัญ

ผู้ชุมนุมจาก 16 องค์กรสหภาพและสหพันธ์แรงงานในกัมพูชาร่วมฉลองวันแรงงานสากลและเรียกร้องให้ฝ่ายใดก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งในกัมพูชาในเดือน ก.ค. ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของพวกเขา

"ฉันต้องการค่าแรงเพิ่มขึ้นเป็น 150 ดอลลาร์ (ราว 4,500 บาท) ต่อเดือน" เนียงกล่าว เขาเป็นคนงานจากโรงงานทอผ้าซึ่งเจ้าของเป็นคนจีน

ในฟิลิปปินส์มีกลุ่มแรงงานผู้รับจ้างด้วยตนเอง (contract workers) เดินขบวนตามท้องถนนในเมืองหลวงกรุงมะนิลา แรงงานกลุ่มนี้ถูกห้ามไม่ให้จัดตั้งสหภาพแรงงาน พวกเขาเรียกร้องให้รัฐบาลทำให้พวกเขาเข้าถึงสิทธิได้มากขึ้น

ขณะที่ในกรุงเอเธนส์ เมืองหลวงของกรีซ คนงานสหภาพทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเรียกร้องให้มีการปรท้วงหยุดงาน 24 ชั่วโมงเพื่อประท้วงต่อต้านนโยบายลดงบประมาณของสหรัฐฯ

โดยเมื่อวันอาทิตย์ (28 เม.ย.) ที่ผ่านมา รัฐสภากรีซได้อนุมัติกฏหมายใหม่ที่จะทำให้ข้าราขการ 15,000 รายถูกให้ออกจากงานภายในสิ้นปีหน้า

ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ทางการไม่อนุมัติให้มีการชุมนุม 16 แห่ง รวมถึงการชุมนุมที่นำโดยพรรครัฐบาลของวลาดิเมียร์ ปูติน ขณะที่กลุ่มอื่นๆ รวมถึงพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียวางแผนจัดการชุมนุมของตัวเอง โดยคาดกว่าจะมีผู้มาเข้าร่วมมากถึง 90,000 คน

ในบังกลาเทศ ซึ่งเกิดเหตุการณ์ตึกถล่มโรงงานทอผ้าปเมื่อไม่นานมานี้จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน ก็มีการชุมนุมเรียกร้องให้ประหารชีวิตเจ้าของอาคาร และเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงาน

ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน ประชาชนหลายพันคนออกมาประท้วงเรื่องปัญหาอัตราการว่างงานสูงและเรื่องมาตรการตัดงบประมาณของรัฐบาล โดยที่สเปนมีระดับอัตราการว่างงานร้อยละ 27 ผู้สื่อข่าว ทอม เบอร์ริดจ์ ของบีบีซีรายงานจากพื้นที่บอกว่าทั้งสหภาพและประชาชนทั่วไปต่างมีความเชื่อร่วมกันว่านโยบายตัดงบประมาณของรัฐบาลไม่ส่งผลดี

เรียบเรียงจาก

May Day marked by global workers' protests, Aljazeera, 01-05-2013

Bangladesh: Protests as building collapse death toll passes 400, BBC, 01-05-2013

Thousands join Madrid May Day protests, BBC, 01-05-2013
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท