เคลื่อนขบวนสู่หน้าทำเนียบ Pmove จี้ 2 ปี รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม Pmove เคลื่อนขบวน เตรียมชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ 6 พ.ค. เป็นต้นไป ร้องทุกข์ต่อการแก้ปัญหาที่ล้มเหลวตลอดสองปีที่ผ่านของรัฐบาล

 
 
5 พ.ค. 56 - เช้าวันนี้ สมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม Pmove เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ อยู่ระหว่างเดินทางมายังสถานีรถไฟหัวลำโพง ส่วนสมาชิก Pmove ผู้ได้รับความเดือดร้อน อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล จ.อุบลราชธานี ได้ทยอยเดินทางจากพื้นที่ โดยสารรถไฟ รถประจำทาง รถบัส มีจุดนัดพบร่วมกันที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันที่ 6 พ.ค. 2556
 
ผู้เข้ามาร่วมชุมชนเปิดใจว่า การชุมนุมของผู้ได้รับความเดือดร้อนหน้าทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ วันที่ 6 พ.ค. เป็นต้นไปนี้ มีจุดหมายเพื่อร้องทุกข์ต่อการแก้ปัญหาที่ล้มเหลวตลอดสองปีที่ผ่านของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาด้านนโยบายที่ไม่สาเร็จลุล่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายโฉนดชุมชน ๕๓ พื้นที่ ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ และผ่านความเห็นชอบของ คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) ซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐบาล แต่หน่วยงานราชการ 5 กระทรวงหลักรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ยังไม่ยอมอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทาโฉนดชุมชน ส่วนปัญหาคดีความคนจน ปัญหาที่ดินชุมชนทับซ้อนกับที่รัฐ หรือปัญหาที่อยู่ที่ดินทำกินถูกเอกชนนาไปขอเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ ปัญหาคนไร้บ้าน ปัญหาชาวเล รวมถึง ปัญหาสัญชาติและชาติพันธุ์ ปัญหาผลกระทบจากเหมืองแร่ โรงไฟฟ้า และโรงโม่หิน ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งเป็นกรณีปัญหาทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณา แก้ไขปัญหาและเยียวยาจากรัฐบาลทั้งหมดแล้ว แต่ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทำให้สถานการณ์ในพื้นที่อยู่ในภาวะวิกฤต ชาวบ้านในหลายพื้นที่ถูกฟ้องร้อง ไล่รื้อ ติดคุก และถูกคุกคามด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ
 
แม้ที่ผ่านมารัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการ และอนุกรรมการหลายคณะ เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาจนได้ข้อสรุปในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน แต่กลไกการแก้ปัญหาที่ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างขึ้น รัฐบาลกลับไม่ดาเนินตาม ไม่สั่งการ ไม่สนใจ จนการแก้ปัญหาแทบทั้งหมดไม่มีความคืบหน้า
 
นายดิเรก กองเงิน ชาวบ้านบ้านโป่ง หมู่ 2 ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงกรณีพื้นที่พิพาทที่ดินทำกินระหว่างเกษตรกรใน จ.ลำพูน-เชียงใหม่ กับนายทุนและรัฐ หลังกลุ่มชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินเข้าไปใช้ที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากนั้นจึงถูกนายทุนใช้เอกสารสิทธิ์ แจ้งความดาเนินคดี
 
จากนั้นกลุ่มชาวบ้านได้รวมตัวเจรจากับรัฐบาล และได้เสนอให้จัดตั้ง สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน และโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ในพื้นที่ 5 ชุมชนภาคเหนือ ได้แก่ บ้านไร่ดง หมู่ 3 ตำบลน้าดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลาพูน บ้านแม่อาว หมู่ 3 ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน บ้านแพะใต้ หมู่ 7 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลาพูน บ้านท่ากอม่วง ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน และบ้านโป่ง หมู่ 2 ตาบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกระจายการถือครองที่ดิน ให้สามารถจัดซื้อที่ดินให้แก่เกษตรกรรายย่อยไร้ที่ทำกิน ในกรอบงบประมาณ 167 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 22 ก.พ. 2554 และ 8 มี.ค.2554 ได้ และเร่งการร่างกฎหมายเกี่ยวกับจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลรับปากจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี
 
“2 ปี ที่ผ่านมา สิ่งที่รัฐบาลประกาศนโยบายไว้ รับปากกับชาวบ้านไว้กลับไม่มีการสั่งให้ดำเนินการ รวมถึงยังพยายามหลีกเลี่ยงที่จะนัดประชุมเพื่อสอบสาเหตุ อธิบายปัญหา ส่วนในพื้นที่ที่เคยเจรจาจะซื้อที่กับคู่กรณีไว้ เจ้าของที่ยอมตกลงจะขายที่ดินให้ และชะลอการฟ้องดาเนินคดีไว้ก่อน ถ้าได้งบประมาณมาจากโครงการธนาคารที่ดินมาซื้อ แต่ตอนนี้เจ้าของที่ยื่นฟ้องชาวบ้านแล้ว วันที่ 9 พ.ค. นี้ต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาที่อัยการ ถ้าชาวบ้านไม่มีญาติซึ่งมีตาแหน่งราชการก็ไม่สามารถประกันตัว ต้องติดคุกไม่รู้เมื่อไหร่ถึงจะประกันตัวได้” นายดิเรกกล่าว
 
สำหรับการเดินทางมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ นายดิเรก กล่าวว่า “แม้จะไม่มีความหวัง ท้อแท้กับความพยายามที่กี่ครั้งๆ รัฐบาลรับปากแต่ไม่ยอมทา ทำแต่นโยบายของตัวเอง ไม่สนใจการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ก็เป็นหนทางเดียวที่จะให้ปัญหาได้รับการแก้ไข คือต้องมาเจรจากับรัฐบาล ด้วยอำนาจของนายกรัฐมนตรีต้องสั่งการให้ปัญหาคลี่คลายไปได้” นายดิเรก พูกล่าว
 
ด้านผู้ได้รับความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูนที่ผ่านการเจรจาอย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลมาหลายครั้ง ในที่สุด 23 มกราคม 2556 สามารถบรรลุข้อตกลง 3 ข้อกับรัฐบาล ประกอบด้วย 1.ยกเลิกมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2554 ในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำการศึกษาเพิ่มเติม 2.ให้ยกเลิก คณะกรรมการฯ อนุกรรมการ และคณะทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่มีอยู่ทั้งหมด และ 3.ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลขึ้นมา 1 คณะ ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาองค์รวม
 
นางสมปอง เวียงจันทร์ แกนนำสมัชชาคนจน หนึ่งในกรรมการแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล กล่าวถึงการมาร่วมชุมนุมในครั้งนี้ว่า ข้อตกลงในครั้งนั้นกับรัฐบาล รัฐบาลรับปากจะนาเรื่องเข้า ค.ร.ม.ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มาถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินการ
 
นางสมปอง กล่าวว่า “เรารอมานานแล้วเพื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหา 13 นายก 16 รัฐบาล แต่รัฐบาลนี้ก็ไม่แตกต่างเหมือนกันหมด เราไม่ได้อยากมาชุมนุม แต่มันตกลงกันไม่ได้ เรื่องการแก้ปัญหาปากมูนไม่เข้า ค.ร.ม. เราก็ต้องรวมพลังกันเพื่อต่อรองเท่านั้นถึงจะเจราจาต่อรองปัญหาได้ เพื่อผลักดันการแก้ปัญหาปากมูนเข้า ค.ร.ม. ให้ได้”
 
ทั้งนี้ การชุมนุมของผู้เดือนร้อนจาก 4 ภาคของประเทศ ภายใต้ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม Pmove หน้าทำเนียบรัฐบาล ผู้เดือดร้อนทั้งหมดได้เตรียมพร้อมมาเพื่อยืนยันจะปักหลักรอคาตอบจากรัฐบาลให้ถึงที่สุด
 
สายอีสาน สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) ร่วมพันรวมพลเคลื่อนขบวนขึ้นรถไฟมุ่งหน้าทาเนียบรัฐบาล
 
 
 
 
 
5 พ.ค. 56 - สายอีสาน สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) ร่วมพันคน รวมพลเคลื่อนขบวนขึ้นรถไฟมุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมชุมนุมในวันพรุ่งนี้ (6 พ.ค.56) จี้! รัฐบาลล้มเหลวแก้ปัญหาคนจน ถามปัญหาเขื่อนปากมูล ผ่าน 13 นายก 16 รัฐบาล จะสาเร็จได้ในรัฐบาลปูที่รับปากแก้ปัญหาให้ชาวบ้านได้หรือไม่
 
แม้จะมีอุปสรรคต้องเจราจากับนายสถานีรถไฟเพื่อขึ้นรถไฟฟรี ตามนโยบายรถไฟฟรีเพื่อช่วยเหลือคนไทย และถูกคุมเข้มจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ แต่ชาวบ้านก็สามารถเจรจาขึ้นรถไฟได้สาเร็จ
 
ในระหว่างรอขึ้นขบวนรถไฟและทุกช่วงของการเดินทาง ยังได้แจกใบปลิว เพื่ออธิบายสถานการณ์ปัญหาความเดือดร้อนจากเขื่อนปากมูล เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ที่สัญจรไปมาและสังคม โดยจุดมุ่งหมายของขบวนที่มาร่วมในการชุมนุมครั้ง คือ ความเดือดร้อนหลายสิบปีของชาวบ้านต้องได้รับการแก้ไข
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท