Skip to main content
sharethis

โมซิน ฮามิด ผู้เขียนเรื่อง "ศาสนิกชนผู้ลังเล" กล่าวถึงการมองโลกแบบเหมารวมว่าชาวมุสลิมเป็นกลุ่มคนที่คิดแบบเดียวกันหมด แต่จริงๆ แล้วพวกเขามีความเคร่งไม่เท่ากัน บ้างก็ตีความคำสอนต่างกัน เช่นเดียวกับชาวพุทธ และศาสนาอื่นๆ

เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2013 โมซิน ฮามิด ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "ศาสนิกชนผู้ลังเล" (The Reluctance Fundamentalist) ได้นำเสนอบทความที่กล่าวว่าชาวตะวันตกมักจะมองภาพชาวมุสลิมแบบเหมารวมเป็นพวกเดียวกันหมด ทั้งที่จริงๆ แล้วชาวมุสลิมกว่าหลายล้านคนทั้วโลกต่างก็มีแนวคิดความเป็นปัจเจกบุคคลในตัวเอง

ฮามิดเล่าถึงประสบการณ์เมื่อปี 2007 หกปีหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐฯ หลังจากตีพิมพ์หนังสือเรื่อง "ศาสนิกชนผู้ลังเล" เขาก็เดินทางไปในยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยสื่อที่สัมภาษณ์เขามักจะพูดถึงศาสนาอิสลามราวกับเป็นสิ่งที่มีความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียว เป็นระบบการมองโลกที่มีความชัดเจนราวกับ 'ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์' ที่ต่างกับ 'ระบบปฏิบัติการ' ของสิ่งที่เรียกว่า "โลกตะวันตก"

"ผู้คนมักจะพูดซ้ำๆ ว่า 'พวกเราชาวยุโรป' มีมุมมองต่างจาก 'พวกคุณชาวมุสลิม' อย่างไร มันทำให้ผมโมโหจนถึงขั้นต้องเอาหนังสือเดินทางประเทศอังกฤษออกมาโบกเหนือศีรษะ" ฮามิดกล่าว

อย่างไรก็ตามฮามิดบอกว่าหลังจากที่มีภาพยนตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือของเขาเข้าฉาย คำถามดังกล่าวก็ลดน้อยลง แต่ยังคงมีบางแห่งที่มีแนวคิดเหมารวมว่าคนศาสนาอิสลามต้องคิดเหมือนกันหมดอยู่

"เมื่อไม่นานมานี้มีเพื่อนผมในลอนดอนที่ชอบเดินทางไปหลายที่บอกผมว่า ขณะที่ชาวมุสลิมอาจจะมีความก้าวร้าว แต่พวกเขาก็มีการรวมกลุ่มด้วยความเกื้อกูลต่อกัน" ฮามิตกล่าวในบทความ "ผมก็ตอบกลับไปโดยเล่าเรื่องขณะกำลังยืนต่อแถวในสนามบินกรุงริยาร์ด เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของซาอุฯ ขว้างหนังสือเดินทางใส่หน้าของแรงงานชาวปากีสถาน ถ้านั่นเรียกว่าความเกื้อกูล ผมก็รู้สึกว่าเราคงให้ความหมายคำนี้ไม่ตรงกัน"

ฮามิดกล่าวอีกว่า อิสลามไม่ใช่เชื้อชาติ แต่แนวคิดหวาดกลัวอิสลามมีลักษณะในเชิงการเหยียดเชื้อชาติอยู่ ฮามิดบอกว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ได้ 'เลือก' ว่าจะเป็นอิสลามแบบเดียวกับการเลือกอาชีพ หรือเลือกชื่นชมวงดนตรี ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ก็เหมือนกับกลุ่มความเชื่ออื่นๆคือเกิดมาพร้อมกับศาสนาติดตัว แต่พวกเขาก็มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาความสัมพันธ์กับศาสนาในแบบของตัวเอง และมีมุมมองแนวคิดแบบปัจเจกบุคคลซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น "ศาสนาย่อยๆ" ของพวกเขาเอง

"มีความเชื่อหลากหลายกว่าพันล้านความเชื่อในหมู่คนที่เรียกตัวเองว่าเป็นมุสลิม แต่ละคนก็มีต่างกัน เช่นเดียวกันคนที่เรียกตัวเองว่าชาวคริสต์ ชาวพุทธ หรือฮินดู แต่แนวคิดหวาดกลัวอิสลามก็ไม่ได้เล็งเห็นถึงความหลากหลายนี้ ไม่ได้เห็นความเป็นมนุษย์ในแต่ละปัจเจกบุคคล มันคือความพยายามป้ายสีสมาชิกในกลุ่มหนึ่งๆ ด้วยสีเดียวกันหมด ถ้าเช่นนั้นแล้วมันก็เหมือนกับแนวคิดเหยียดสีผิวดีๆ นี่เอง" ฮามิดกล่าว

ในบทความระบุว่าแนวคิดหวาดกลัวอิสลามมาจากความคิดของพวกนักคิดสายทหารในสหรัฐฯ ของกลุ่มพรรคการเมืองในยุโรปที่หวาดกลัวต่างชาติ และแม้แต่ในวาทกรรมของกลุ่มอเทวนิยม ซึ่งในการถกเถียงของพวกเขามักจะให้ภาพอิสลามว่าเป็นสิ่งที่ 'เลวร้ายกว่า' ศาสนาทั่วไป "ราวกับกำลังพูดว่าพวกโจรจี้ปล้นเป็นคนไม่ดี แต่โจรจี้ปล้นที่เป็นคนดำนั้นแย่ยิ่งกว่า เพราะคนผิวดำถูกมองว่ามีความรุนแรงเป้นนิสัยติดตัวมากกว่า" ฮามิดกล่าว

ฮามิดกล่าวอีกว่า แนวคิดหวาดกลัวอิสลามเกิดขึ้นซ้ำๆ ในข้อถกเถียงสาธารณะ ตั้งแต่กรณ๊การสร้างศูนย์วัฒนธรรมอิสลามในย่านดาวน์ทาวน์ของแมนฮัตตัน (ที่เรียกว่า "มัสยิดกราวน์ซีโร่") หรือการสั่งห้ามการสร้างหอคอยสุเหร่าในสวิตซ์เซอร์แลนด์ นอกจากข้อถกเะถียงสาธารณะแล้วมันยังเกิดขึ้นกับการปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันด้วย

โดยฮามิดได้เล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวตอนที่เขาไปงานวันเกิดเพือนในกรุงมะนิลา โดยนั่งข้างผู้หญิงชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งหลังจากแนะนำตัวกันแล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็พูดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยว่าเธอจะไม่มีทางแต่งงานกับชายชาวมุสลิม "ผมตอบติดตลกกลับไปว่า 'มันเร็วไปสำหรับเรานะที่จะหารือกันเรื่องแต่งงาน' แต่ผมก็รู้สึกโกรธเคือง"

"ในอเมริกาช่วงก่อนเหตุการณ์ 9/11 ที่ผมใช้ชีวิตอยู่ มีบรรทัดฐานทางสังคมเรื่องความสุภาพทำให้ผมไม่เคยได้ยินเรื่องแบบนี้มาก่อน ไม่ว่าจะมีคนคิดแบบเดียวกับผู้หญิงคนนั้นมากแค่ไหนก็ตาม" ฮามิดกล่าว

ฮามิดบอกว่า แนวคิดหวาดกลัวอิสลามมักจะลดความสำคัญของปัจเจก และให้ความสำคัญกับคนเป็นกลุ่ม เขาจึงหันมามองเรื่องภาพเหลารวมที่คนมองศาสนาอิสลาม เช่นแนวคิดที่ว่าชาวมุสลิมเชื่อเรื่องการขลิบอวัยวะเพศหญิง "แต่ในช่วงตลอด 41 ปี ที่ผมมีชีวิตอยู่ ผมได้คุยกับคนที่บอกว่าตัวเองเป็นมุสลิมแต่ทุกคนต่างก็เชื่อว่าพิธีกรรมแบบนี้เป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม" ฮามิดกล่าว เขาบอกอีกว่าตัวเขาเองไม่เชื่อว่าพิธีกรรมแบบนี้จะมีอยู่จริงมาก่อนจนกระทั่งอ่านเจอในหนังสือพิมพ์เมื่อช่วงประมาณอายุ 20 ปี

ขณะที่เมื่อพูดถึงบทบาทของผู้หญิงในการเมือง ฮามิดบอกว่าจริงอยู่ที่มีชาวมุสลิมหลายล้านคนไม่เชื่อว่าผู้หญิงควรจะมีบทบาททางการเมือง แต่ก็มีอีกหลายล้านคนที่ไม่มีปัญหาอะไรกับการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีหญิงขึ้นมาบริหารประเทศเช่นในประเทศที่มีชาวมุสลิมอยู่เป็นส่วนใหญ่อย่างปากีสถานหรือบังกลาเทศ ซึ่งการเลือกตั้งในปากีสถานเมื่อไม่นานมานี้ก็มีผู้หญิงได้รับเลือกตั้ง 448 คนทั้งในสภาระดับชาติและระดับจังหวัด

ฮามิดเล่าว่ายายทวดของเขาส่งลูกสาวไปเรียนในมหาวิทยาลัย ยายของเขาก็เป็นประธานของสมาคมสตรีปากีสถาน ที่มำหน้าที่พัฒนาสิทธิสตรีในประเทศ แต่ขณะเดียวกันในหมู่ญาติๆ ของเขาก็มีบางคนที่อยู่ในกรอบอนุรักษ์ไม่ยอมเจอผู้ชายที่ไม่ใช่คนในสายเลือดตัวเอง บางคนสวมผ้าคลุมหัวขณะที่บางคนก็สวมมินิสเกิร์ต บางคนเป็นอาจารย์หรือมีธุรกิจของตนเองขณะที่บางคนก็แทบไม่ได้ออกจากบ้าน

"ถ้าคุณถามถึงศาสนาของพวกเธอ พวกเธอก็จะตอบเหมือนกันหมดว่า 'อิสลาม' แต่เมื่อคุณพยายามเอาคำๆ มาอธิบายแนวคิดทางการเมือง อาชีพ และค่านิยมทางสังคม พวกคุณคงรู้สึกลำบากมากในการพยายามสรุปพวกเธอให้อยู่ในมุมมองเดียว" ฮามิดกล่าว

"ศาสนาในชีวิตจริงต่างจากการข้อกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรในพระคัมภีร์ที่ถูกตีความอย่างเคร่งครัด มีน้อยคนมากที่จะดำเนินชีวิตตามการตีความคำสอนตามตัวอักษร มีหลายคนที่ไม่มีความรู้หรือมีความรู้เรื่องพระคัมภีร์เพียงน้อยนิด ส่วนคนที่รู้มากก็เลือกตีความตามที่ตนเห็นสะดวกหรือเป็นไปตามสามัญสำนึกทางจริยธรรมของตนเองว่าสิ่งไหนที่ดี" ฮามิดกล่าว "แล้วก็มีคนอื่นๆ ที่มองศาสนาของตัวเองเหมือนเป็นเชื้อชาติที่เขารับมาด้วยตนเอง แต่ก็ใช้ชีวิตแบบไม่ได้อยู่กับความเชื่ออะไร"

ผู้เขียนบทความยังได้เล่าถึงกรณ๊ที่กลุ่มตอลีบันถ่ายวีดิโอเฆี่ยนผู้หญิงโดยอ้างว่าเป็นการลงโทษพฤติกรรม 'ละเมิดศีลธรรม' คนขับรถของครอบครัวฮามิดแสดงความเห้นในเรื่องนี้ว่าการกระทำของตอลีบันไม่เป็นอิสลามเพราะอิสลามบอกให้คนทำความดีโดยที่เขาไม่ได้อ้างอิงหรือตีความอะไรซับซ้อนเพื่อสนับสนุนความคิดตน ดังนั้นฮามิดจึงคิดว่ามาตรวัดด้านจริยธรรมของคนขับรถผู้นี้ไม่ใช่สิ่งที่มาจากคำสอนแต่เป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจากภายใน

มีบางคนกล่าวถึงหนังสือศาสนิกชนผู้ลังเลว่าเป็นเรื่องของคนที่เปลี่ยนแปลงตัวเองกลายเป็นผู้เคร่งครัดในหลักการศาสนาอิสลาม แต่ฮามิดก็ยืนยันว่าสิ่งที่ตัวละครเอกในเรื่องคือเฉงจิสกระทำไม่มีเรื่องใดเลยที่เป็นเรื่องในเชิงศาสนา ความเชื่อของตัวละครตัวนี้เหมือนนักมนุษย์นิยมฆราวาสนิยม แม้กระนั้นเองเฉงจิสก็ยังคงเรียกตัวเองว่าเป็นชาวมุสลิมและรู้สึกไม่พอใจนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามคนอ่านจำนวนกลับมองว่าเฉงจีสเป้นตัวละครผู้เคร่งศาสนาอิสลาม

มีคำถามว่าทำไมผู้อ่านถึงตีความเช่นนี้ ฮามิดผู้เขียนเรื่องนี้อธิบายว่าเขาเขียนนิยายเล่มนี้โดยใส่ใจกับการแยกแยะเรื่องจุดยืนทางการเมืองออกจากเรื่องความเชื่อและศาสนาที่แฝงอยู่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนๆ หนึ่งสามารถแสดงตัวตนทางการเมืองเป็นเรื่องได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อในหลักศาสนาร่วมไปด้วย แต่คนก็มักจะอ่านมันกลับกันคือเห็นว่าคนๆ นี้มีระบบปฏิบัติการทางศาสนาเช่นนี้ เขาจึงคิดเช่นนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนๆ หนึ่งอาจจะไม่มีระบบปฏิบัติการที่ว่าอยู่เลยก็ได้

"พอคิดเช่นนี้ พวกเราจึงกลายเป็นผู้สร้างภาพเหมารวมขึ้นมา ถ้าพวกเรามองศาสนาในแง่ของการปฏิบัติในโลกภายนอก พวกเราก็จะเห็นความหลากหลาย" ฮามิดกล่าว "บางทีการพยายามมองเหมารวมมันก็เป็น"


เรียบเรียงจาก

Mohsin Hamid: 'Islam is not a monolith', The Guardian, 19-05-2013
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net