เครือข่ายสื่อเด็กระดมความเห็น ก่อนประมูล ‘ทีวีดิจิตอลช่องเด็ก’

 

 เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 56 สถาบัน สื่อเด็กและเยาวชน ร่วมกับเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ จัดเวทีระดมความคิดเห็นข้อเสนอต่อการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการ โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว ณ ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ อาคารศิโรจน์   ผลพันธิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต โดยเชิญนักวิชาการ ผู้ผลิตรายการเด็กเข้าร่วมระดมความเห็น ทั้งนี้ ผลการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ทางสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนและเครือข่ายครอบครัว เฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ จะนำเสนอในการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ในวันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2556 เวลา 13.00–16.30 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 2 ชั้น 2 โรงแรมเดอะสุโกศล

นางสาวเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน กล่าวถึงข้อสังเกตและความห่วงใยในฐานะผู้เชี่ยวชาญต่อสื่อสำหรับเด็ก เยาวชนว่า ในการประมูลช่องเด็กนั้นไม่ใช่เพียงทำให้เกิดช่องสำหรับเด็กเท่านั้น แต่คือการปฏิรูปสื่อ ซึ่งในแผนแม่บทของ กสทช.นั้นคือการปฏิรูปการเรียนรู้ของประชาชนควรมุ่งไปที่เจตนารมณ์ของ กฎหมาย

“ควร ปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและครอบครัวเป็นสำคัญ ต้องหาวิธีการ เครื่องมือ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ของเด็ก ต้องทำให้เด็กกลุ่มต่างๆ ได้เข้าถึง รวมทั้งการผลิตเนื้อหารายการเด็กนั้น ต้องเสริมการเรียนรู้ในสิ่งที่สังคมขาด ควรจะกำหนดมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่แนวทางในการจัดผังรายการ หรือส่งเสริมให้เกิดรายการที่ดีในการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันสื่อเองก็ต้องปกป้องเด็กและเยาวชนด้วยเช่นกัน

อยากให้ กสทช.ออกแบบหลักเกณฑ์ กลไกต่างๆ ในการพัฒนาช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมถึง พัฒนาในหมวดอื่นๆด้วย และวางเป้าหมายของการมีช่องเด็ก เนื้อหา สัดส่วนรายการเด็กชัดเจน แล้ว  ในขณะเดียวกัน กสทช.และเจ้าของช่องหรือผู้ผลิตรายการ ก็ต้องเข้าใจความหมายของคำต่างๆ ให้ตรงกันเช่นนิยามคำว่าทีวีเพื่อเด็ก มีการนำการ์ตูนจากต่างประเทศเข้ามาฉายในช่อง ก็เป็นรายการเด็กแล้วหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้จะนำไปสู่การจัดผังรายการ ช่วงเวลา และสัดส่วน การนำเสนอรายการว่าจะมากน้อยแค่ไหน” ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชนกล่าว

นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมถึงหลักเกณฑ์และกลไก ของช่องรายการเด็กด้วยว่าเจ้าของช่องเป็นใคร ควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือคนทั่วไปที่มีการรวมกลุ่มกันจะเป็นเจ้าของรายการได้หรือไม่ หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องการกำไร จะรับโฆษณาและโฆษณา 12 นาทีเหมือนช่องทั่วไปหรือไม่              

 “ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยว่าช่องจะรับโฆษณาแบบไหนได้ จะโฆษณาได้กี่นาที และนอกจากการโฆษณาแล้ว มีการให้ความรู้กับเด็กให้ประเด็นการโฆษณาให้ทันการบริโภคได้ไหม เช่นโฆษณาขนมก็ต้องให้ความรู้เรื่องขนมกับเด็กด้วยเช่นกัน” นางสาวเข็มพรกล่าว

ผศ.ดร.ธิตินันท์ บุญภาพ คอมมอน   คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวกถึงการประมูลช่องธุรกิจสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวนั้นก็คือ อยากให้มองคุณสมบัติทีวีดิจิตอลให้ชัดเจน

“ตอน นี้คนมองเรื่องทีวีดิจิตอลในเรื่องความคมชัด ที่จริงๆแล้วมันคือการสื่อสารโต้ตอบกันได้ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ในการประมูลนั้นทั้งผู้ประมูลและ กสทช.ควรที่จะหยิบส่วนนี้มาใช้ประโยชน์ เช่นการผลิตรายการสำหรับเด็กที่มีการโต้ตอบกันและใช้เป็นสื่อเรียนรู้ได้” ผศ.ดร.ธิตินันท์กล่าว

นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมการเข้าถึงเนื้อหาของกลุ่มผู้ชมที่หลายหลาย ยกตัวอย่างกลุ่มเด็ก ก็มีความหลากหลายทั้งเรื่องเพศ กลุ่ม การจัดสรรคลื่นความถี่ก็ควรคำนึงด้วย และจัดสรรให้เพียง 3 ช่องนั้นอาจจะน้อยเกินไป

นางอัญญาอร พานิชพึ่ง ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ว่า คนที่จะมาประมูลนั้น ไม่ใช่แค่มีเงินเพียงอย่างเดียว ต้องมีความรู้

 “ต้อง มีทีมที่ปรึกษาที่จะมองภาพการบริหารคลื่นนี้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่ม เป้าหมายนั่นก็คือเด็กในแต่ล่ะวัย ต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีความสนใจ และอยากที่จะเรียนรู้อะไร ที่สำคัญคือต้องมีนักจิตวิทยาด้านพัฒนาการเด็กเป็นทีมที่ปรึกษา แต่ที่สำคัญคือเราจะทำอย่างไรให้ผู้ที่ประมูลคลื่นไปได้แล้วมีนโยบายดูแล สังคม พัฒนาเนื้อหาให้ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือมีนโยบายที่จะพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต รายการเด็ก หากเป็นไปได้น่าจะให้ผู้ประมูลทำให้เห็นว่ามีความพร้อมที่จะเข้ามาเป็นผู้ บริหารสถานีได้อย่างไร ไม่ใช่มีเงินเพียงอย่างเดียว” ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ กล่าว

นายฉัตรชัย เชื้อรามัญ ผู้อำนวยการสำนักข่าวเด็กและเยาวชน ขบวนการตาสัปปะรด กล่าวถึงบทบาทของผู้ผลิตรายการเด็กในทีวีดิจิตอลว่าหลังจากนี้จะมีผู้ชมหลาก หลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตควรจะต้องยิ่งคำนึงให้มาก โดยเฉพาะช่วงอายุของผู้ชม

“ช่วงอายุผู้ชมจะหลากหลายขึ้น อาจจะต้องแบ่งออกมาเป็นช่วงวัย ผู้ผลิตต้องเข้าใจความแตกต่างนี้ด้วย ไม่ใช่แค่เพียงบอกให้เด็กได้จำ ได้คิด เพราะแต่ละวัยมีวิธีคิดที่แตกต่างกัน ผู้ผลิตต้องศึกษาและเข้าถึงและให้เด็กๆ เข้ามามีส่วนร่วมในรายการมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการผลิต การเสนอแนะและการเป็นเจ้าของ มันจะทำให้รายการสนุกและได้ประโยชน์ร่วมกัน”

เขากล่าวเสริมว่าหากเป็นไปได้ควรที่จะแบ่งช่องของเด็ก   ช่องของเยาวชน ช่องของครอบครัวให้ชัดเจน เพราะบางครั้งหารายการสำหรับเด็กเล็กไม่ได้ ซึ่งถ้ามีช่องของเด็กโดยเฉพาะครอบครัวก็จะไว้วางใจว่าเด็กสามารถเรียนรู้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ หากผู้ผลิตคิดได้อย่างนี้จะดีมาก

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท