หลุดกรอบผู้ใหญ่สู่เสรีภาพแบบใหม่ของวัยรุ่น

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

สังคมผู้ใหญ่ปัจจุบันมองเด็กและเยาวชนว่าไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง ขาดบทบาทในการปฏิบัติงานพัฒนาสังคม อยู่กับกระแสสังคมสมัยใหม่และเทคโนโลยีมากกว่าอยู่กับคนรอบข้าง เป็นปัญหาและอุปสรรค์ในการพัฒนาสังคมในอนาคต องค์ของรัฐหลายภาคส่วน รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคนตระหนักว่าจะเป็นปัญหา

นิด้าโพลล์ ระบุเยาวชนมองการเมืองไทยแย่ น่าเบื่อ ทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน พบว่า เยาวชน ร้อยละ 53.77  ระบุว่า การเมืองไทยในปัจจุบัน แย่ ไม่ดี วุ่นวาย และเป็นเรื่องน่าเบื่อ รองลงมา ร้อยละ 10.90 ระบุว่า เกิดการแบ่งแยก ไม่มีความปรองดอง ชิงดีชิงเด่นกัน  และร้อยละ 4.57 ระบุว่า ไม่เคารพกฎกติกา ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย และใช้กฎหมู่  แสดงให้เห็นว่าเยาวชนเกินครึ่งของการสำรวจมีมุมมองทางการเมืองในด้านลบ การเมืองเป็นเรื่องที่ไม่มีแรงดึงดูดให้เยาวชนสนใจ รวมถึงมองกรอบกติกาและความเป็นประชาธิปไตยในสังคมมีส่วนน้อยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เหตุปัจจัยที่ทำให้เยาวชนไม่สนใจการเมืองเป็นเพราะเยาวชนขาดวุฒิภาวะหรือผู้ใหญ่ขาดวุฒิภาวะเป็นสิ่งที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงต่อไป

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง “อาการลักลั่นในเรื่องสิทธิของเยาวชน เยาวชนจะได้สิทธิต่อเมื่อผู้ใหญ่ได้ผลประโยชน์ แต่เยาวชนยังขาด "อำนาจและเสรีภาพ" ในการแสดงเจตจำนงของตนเองที่จะกระทำ หรือไม่กระทำอะไรได้จากการคิด วิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเอง การพูดเรื่องเยาวชน จึงควรพูดกันมากกว่าเรื่องสิทธิ แต่มันคือเรื่องอำนาจและเสรีภาพ ที่สามารถบรรลุสิ่งที่เรากำหนดเองได้ มิใช่มีสิทธิทำตามที่ผู้อื่นชักชวน”

ผู้ใหญ่มักเอากรอบความรู้สึกตนเองมาเป็นเหตุผลจำกัดกรอบของเด็ก ผู้ใหญ่ใช้ตล่อมเด็กและใช้วิธีการจี้ให้เด็กเห็นด้วย และเด็กไม่สามารถยกเหตุผลขึ้นมาโต้แย้งผู้ใหญ่หรือมีเหตุผลสนับสนุนตนเอง เริ่มตั้งแต่การจับเด็กยัดเข้าสู่ระบบการศึกษาที่กระทรวงศึกษาออกแบบสำเร็จรูปมาแล้ว อาทิ ร่างกายใต้บงการ บนเรือนร่างในเครื่องแบบ ทำให้ตัวแทนกลุ่มสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกกฎระเบียบการตัดทรงผมนักเรียน กลายเป็นกระแสในสังคมโรงเรียน ทำให้เห็นถึงแนวความคิดของคนรุ่นใหม่ทั้งในและนอกระบบการศึกษา นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเตรียมอุดมพัฒนาการ เลขาธิการสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย โพสต์ในเฟสบุ๊คว่า การยกเลิกความเป็นไทยไม่ใช่การยกเลิกคุณธรรม จริยธรรม และมโนธรรมความเป็นมนุษย์ การมีคารวะ 6 การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่สิ่งที่กล่าวถึงนั้นคือการนำสังคมไปผูกโยงกับเผด็จการ เป็นการหยิบยกขึ้นมาเพื่อให้เกิดการถกเถียง เพื่อให้เท่าทัน ไม่ถูกครอบงำ การต่อสู้ในการเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ไม่ได้แค่ต่อสู้กับคณะรัฐประหารเท่านั้น หากคือการชูประเด็นอื่นๆ ด้วยในแง่มุมสิทธิและเสรีภาพ และความเสมอภาค ทำให้สังคมได้เห็นแนวความคิดของเด็กที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาแสดงจุดยืนทางความคิดไม่เห็นด้วยกับสังคมไทยเรื่องเสรีภาพ

หรือ กลุ่ม ‘บูหงารายา’ รุ่นใหม่ เป้าหมายเพื่อสันติภาพ ยกระดับตาดีกา มุ่งพัฒนาคน จากนักศึกษาสู่นักกิจกรรมเพื่อสังคมชายแดนใต้ มุ่งยกระดับการศึกษา พัฒนาตาดีกาเพื่อพัฒนาคุณภาพคน เป้าหมายเพื่อสันติภาพ แนวทางในอนาคตของกลุ่มบูหงารายา มุ่งไปที่การวางระบบโรงเรียนตาดีกาให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยพยายามจะยกระดับเป็นเหมือนโรงเรียนประถมศึกษาและได้วุฒิการศึกษาด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ท้าทาย การทำงานเพื่อการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ค่อนข้างมีอุปสรรค์ในการขับเคลื่อนเนื่องจากบางครั้งถูกจำกัดด้วยข้อกฎหมายความมั่นคงของรัฐรวมถึงการถูกกล่าวหาว่าปลุกระดมคนเพื่อการก่อความไม่สงบในพื้นที่ กลายเป็นปัญหาในการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่พยายามส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เมื่อได้รับการตอบสนองการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมด้วยการกล่าวหาที่รุนแรงในลักษณะนี้

กรณี ตำรวจสั่งคุมเข้ม ห้ามเด็กต่ำกว่า 18 ออกจากบ้านหลัง 4 ทุ่ม เจ้าหน้าที่ตำรวจจะลงพื้นที่ตรวจสอบตามสถานที่ต่างๆ ไม่ให้เด็กวัยรุ่นและเยาวชนทำการจับกุมมั่วสุม เนื่องจากที่ผ่านมาเหตุอาชญากรรมต่างๆ เด็กเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นผู้ก่อเหตุเสียเอง ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม แสดงให้เห็นว่าการพยายามวางกรอบกำหนดเด็กด้วยผู้ใหญ่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ดี ถ้าจะให้ร้ายว่าเด็กมั่วสุมต้องการป้องกันเหตุด้านลบที่อาจเกิด ส่วนหนึ่งก็ถือว่าเป็นความหวังดีและขณะเดียวกันก็เป็นการประสงค์ร้าย เพราะเด็กทุกคนในประเทศไม่ใช่เด็กที่มีพฤติกรรมเดียวกันทั้งหมด เด็กที่สุ่มเสียงกับการเกิดปัญหาเป็นเพียงส่วนหนึ่งซึ่งรัฐจะต้องมองกลุ่มปัญหาให้ถูกจุด มิควรสร้างกรอบจำกัดรวมจนกลายเป็นเหตุที่อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิเด็ก

(ภาพจากเว็บไซด์ http://www.gewoon-nieuws.nl/wp-content/uploads/2013/04/freedom-of-choice.jpg)

หรือกระแสสังคมที่หนุนเด็กต่ำกว่า 18 ปีตรวจเลือดเอดส์ได้เอง ไม่ต้องขอผู้ปกครอง นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า เมื่อสังคมเปลี่ยนไป เด็กสามารถประเมินความเสี่ยงได้ว่าตัวเองอาจได้รับเชื้อฯ เช่น จากการรับข้อมูลมาจากการเรียนการสอนเพศศึกษา แต่การตัดสินใจของคนที่จะเข้ารับบริการ ถ้าบริการนั้นไม่เอื้ออำนวยความสะดวก ที่ต้องไปขออนุญาตพ่อแม่ ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้ เพราะจะถูกตำหนิ ตีตราว่าไปมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร ซึ่งสิ่งนี้เป็นกำแพงใหญ่ที่ทำให้เยาวชนไม่สามารถเข้าสู่ระบบบริการได้

การเปิดเสรีในการตัดสินใจรับบริการควรเปิดให้พลเมืองของรัฐทุกคนสามารถปฏิบัติได้ การที่รัฐมีกลไกให้ผู้ปกครองอนุญาติก่อนแล้วเด็กจึงสามารถปฏิบัติได้นั้น กลายเป็นการไม่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางโอกาส เพราะบางกรณีที่เด็กมีสำนึกด้วยตัวเองแล้ว ก็ควรให้เขาได้ตัดสินใจด้วยตัวเองเช่นกัน ถ้าการกระทำนั้นไม่ได้นำไปสู่การสร้างความรุนแรงที่ละเมิดผู้อื่นในสังคม รัฐต้องสนับสนุนและให้ความสำคัญ ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เยาวชนควรรับรู้จากพฤติกรรมของเขา

บทสัมภาษณ์: ปาลิดา ประการะโพธิ์ “โปรดอย่าพูดแบบเหมารวม เด็กมัธยมก็สนใจปัญหาสังคม” คลื่นลูกใหม่ๆ ย่อมมาแทนที่คลื่นลูกเก่าเสมอ ในห้วงเวลาที่นักกิจกรรม - เอ็นจีโอรุ่นเก่าแก่ เริ่มหาที่ทางในช่วงบั้นปลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกไปสิงตามพรรคการเมือง ออกไปเป็นที่ปรึกษาตามหน่วยงานองค์กรต่างๆ หรือเริ่มแคะกระปุกเงินเก็บออมไปกว้านซื้อหากระท่อมเล็กกระท่อมน้อยตามชนบทบรรยากาศเขียวๆ สร้างสวรรค์ในช่วงท้ายของชีวิต ส่วนรุ่นกลางๆ มาหน่อยก็กำลังเพลิดเพลินกับหน้าที่บริหารองค์กร เขียนโครงการขอทุน การออกแถลงการณ์ ตั้งโต๊ะแถลงข่าว และบินไปประชุมตามที่ต่างๆ

แสดงถึงมุมมองคนรุ่นใหม่เกี่ยวกับการทำงานของนักพัฒนาที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมเมื่อตนมีอายุมากขึ้น นักพัฒนาที่อายุมากบางครั้งก็หลุดไปอยู่ในกระแสนักการเมือง หรือปล่อยวางการทำงานพัฒนาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบ รวมทั้งการทำงานให้ผ่านไปวันๆ ฉะนั้น คนรุ่นเก่าจะต้องให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ในการทำงานพัฒนาสังคม รวมทั้งจะต้องให้การสนับสนุน และกระตุ้นให้คยรุ่นใหม่เกิดพลัง และที่สำคัญคนรุ่นเก่าจะต้องไม่ดูถูกพลังคลื่นลูกใหม่ เพราะในวันหนึ่งเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต

 


(ภาพจากเว็บไซด์ http://affirmyourlife.blogspot.com/2009/09/freedom-affirmations.html)

การสร้างบรรยากาศ “เวทีสิทธิวิวาทะ: เยาวชนคอการเมือง” เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนในหลากหลายพื้นที่ ได้แสดงทรรศนะและมุมมองของพวกเขาที่มีต่อการเมืองไทย นโยบายของรัฐบาล และสถานการณ์รอบตัว เป็นการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล รวมถึงเป็นการสร้างแนวความคิดให้กับคนรุ่นใหม่เองในการตกผลึกความคิดด้วยตนเองผ่านข้อมูลที่ศึกษา และข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยน ซึ่งบรรยากาศในลักษณะนี้หากคนรุ่นใหม่ในช่วงอายุเดียวกันได้แลกเปลี่ยนกันจะทำให้คนที่เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนอย่างเต็มที่ เพราะไม่มีกรอบความคิดของผู้ใหญ่มีจำกัด ความกล้าแสดงจุดยืนทางความคิดย่อมเกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่การพูดคุยของคนรุ่นใหม่ควรมีการรวบรวมประเด็นและการสังเกตุการณณจากผู้มีประสบการและเสนอะแนะแนวทางที่พอจะเป็นไปได้ในสิ่งที่คนรุ่นใหม่คิดและมุ่งหวัง

ทางออกที่ดีในการนำสังคมไปสู่การพัฒนาและการสร้างสามัญสำนึกของพลเมืองจึงเป็นการให้ความสำคัญกับการแสดงความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ผู้ใหญ่ไม่ควรวางเส้นทางให้เขาเหล่านั้น แต่ควรมองดูและชี้แนะให้เขาสามารถเดินไปในทางที่เข้าต้องการ อย่าออกกฎหมายที่จะนำไปสู่การจำกัยสิทธิและเสรีภาพของคนรุ่นใหม่ ถ้าคนรุ่นใหม่ถูกบล็อกให้ออกมาเหมือนกันแล้ว ความแตกต่างหลากหลายก็จะไม่เกิดขึ้น รัฐจะต้องปูพื้นฐานเกี่ยวกับหลักเสรีภาพ อิสระภาพ และความเสมอภาค ตามวิถีประชาธิปไตยให้เกิดขึนตั้งแต่เขายังอยู่ในวัยเยาว์ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท