รายงานเสวนา “อียิปต์ : ประชาธิปไตยทำไมต้องนองเลือด”

มองอียิปต์เหลียวมองไทย ‘จรัญ มะลูลีม-ศิโรตม์-ประวิตร-จรัล ดิษฐาอภิชัย’ ถกสถานการณ์อียิปต์ บทบาทกองทัพ กลุ่มภารดรภาพมุสลิม ความเหมือน-ต่างกับการเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์ทางออกสถานการณ์ ‘จิตรา’ ชวนไปประท้วงสถานทูตฯ อีกครั้ง 22 ส.ค.นี้ 10 โมง

20 ส.ค. 56 คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์ จัดเสวนาหัวข้อ "อียิปต์ : ประชาธิปไตยทําไมต้องนองเลือด" ที่ ห้องราณี โรงแรมโรยัลรัตนโกสินทร์ ถนนราชดําเนิน โดยมีวิทยากรประกอบด้วย จรัญ มะลูลีม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการด้านตะวันออกลางศึกษา ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าว และจรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์  

ในระหว่างเสวนา จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน ผู้ไปประท้วงที่หน้าสถานทูตอียิปต์ต่อเหตุการณ์ความรุนแรงนี้ร่วมกับกลุ่มนักกิจกรรมเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา(ดู นักกิจกรรมชูป้ายหน้าสถานทูตอียิปต์ ประณามปราบประชาชน-รัฐประหาร) ประกาศเชิญชวนเดินทางไปร่วมชุมนุมหน้าสถานทูตอียิปต์ ที่บริเวณหน้าอาคารสรชัย ถนนเอกมัย(สุขุมวิท 63) ใกล้สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย อีกเป็นครั้งที่ 2 เพื่อประณาการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลอียิปต์ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น.

จิตรา คชเดช กล่าวเชิญชวนผู้สนใจร่วมประณามที่หน้าสถานทูตอียิปต์ 22 ส.ค.นี้

0000

จรัล ดิษฐาอภิชัย

เหตุผลที่จัดเสวนาในครั้งนี้ เพราะเหตุการณ์ 14 ตุ.ค.16 นั้นนักศึกษาถูก เช่นเดียวกับเหตุการณ์หลังจากนั้นคือ 6 ต.ค.19 และ พ.ค.35 รวมทั้ง พ.ค.53 ทั้ง 4 เหตุการนี้เหมือนกัน เป็นการต่อสู้และถูกปราบปราม แต่ทั้ง 4 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยยังไม่ถึงขนาดเหตุการณ์ที่อียิปต์ที่ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีการปราบจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก การที่เราจะจัดกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 โดยที่ไม่นำพาเหตุการณ์ที่อียิปต์มาพิจารณานั้นไม่ได้เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เหมือนกัน  และถ้าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ไม่ร่วมกันหยุดยั้งการปราบปรามประชาชนในอียิปต์ มันก็จะมีผลไม่เพียงคนในอียิปต์ถูกปราบไปเรื่อยๆ แต่ยังเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นทำตาม ดังนั้นต้องแสดงทัศนะเพื่อที่จะหยุดยั้ง โดยเริ่มจากการวิเคาราะห์สถานการณ์ ซึ่งหายคนบอกว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อน เช่นเดียวกับเหตุการร์อื่นๆ ทั่วโลก ยิ่งซับซ้อนยิ่งต้องมาหาข้อเท็จจริง เมื่อวิเคราะห์แล้วก็ต้องมาแสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์นั้น

เวลาพูดถึงอียิปต์เราต้องรู้พื้นฐานอย่างน้อย อียิปต์เป็นประเทศเก่าแก่ เป็นต้นสายของอารยธรรมโลกแห่งหนึ่ง และมีบทบาทสำคัญในตะวันออกกลางและโลกมายาวนาน รวมทั้งในฐานะทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคของประเทศมหาอำนาจ จนกระทั้งเมื่อ 2 ปีกว่าที่แล้วเกิดอาหรับสปริง และคาดคะเนได้ว่าหลังจากอาหรับสปริงแล้วสถานการณ์ยังไม่จบจนถึงจนถึงปัจจุบันเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ถือเป็นโศกนาฎกรรมของมนุษย์

จรัญ มะลูลีม 

จรัญ มะลูลีม : ประวัติศาสตร์การเมืองอียิปต์โดยย่อ

ในบรรดาโลกอาหรับอียิปต์ถือเป็นประเทศที่ลิเบอรัลสุดแล้ว ที่มีความหลากหลายทั้งลักษณะที่มีทั้งที่เป็นเป็นทางโลกสูงจนถึงความเคร่งครัด เราจะได้ยินคำว่า สังคมนิยมอาหรับ หรือนัสเซอริสม์ ที่ต้องการให้โลกอาหรับต้องอยู่ด้วยกัน ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาเรียกว่า “อาหรับสปริง” หรือ ฤดูใบไม้ผลิของอาหรับหรือการเคลื่อนจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง เหตุการที่เกิดขึ้นครั้งแรกมันเหนือความคาดหมายของคนจำนวนมาก เนื่องจากดินแดนแห่งนี้ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนผ่านอย่างรุนแรง คือในประเทศตูนิเซีย เป็นประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากฝรังเศสมาก เกิดเหตุที่นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์คนหนึ่งที่เรียนจบแล้วไม่สามารถหาทางทำงานได้จึงไปขายของ แต่กลับโดนรบกวนจากตำรวจ. นำไปสู่การฆ่าตัวตาย เหตุการณ์แบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นในลกมุสลิม เพราะการฆ่าตัวตายเป็นบาปอย่างร้ายแรง แต่ว่ากระแสนี้กลับกลายเป็นความเห็นใจจากคนจำนวนมากในโลกออนไลน์ที่ไม่ใช่เฉพาะในประเทศตูนิเซีย แต่บางประเทศยุติลงได้เมื่อผู้ปกครองให้เงินประชาชนมากขึ้น ดูแลบริการมากขึ้น

ทั้งนี้ประเทศตูนิเซียเป็นที่เจริญรุ่งเรืองของแอฟริกาเหนือ แต่ปัญหาของอียิปต์และตุนิเซียที่มีความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจ แต่เป็นความเจริญที่มีลักษณะรวยกระจุกจนกระจาย จึงทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตูนีเซีย นำไปสู่การตั้งโจทย์กับผู้นำในประเทศอาหรับอื่นๆที่มีภาวะแบบนี้

สำหรับนัสเซอร์เป็นวีรบุรุษของคนจำนวนมากหลังจากโค้นสถาบันกษัตริย์ในปี 1952 แล้วก็มีการกระจายทรัพยากรนำเอาทีดินจากคนรวยมาให้คนจน รวมทั้งเขาให้การสนุบนุนขบวนการภารดรภาพมุสลิมที่ตั้งมาก่อนปี 1952 เพื่อต้องการปลดแอกประเทศอียิปต์ที่อยู่ใต้การปกครองเจ้าอาณานิคม เมื่อนัสเซอร์ปกครองไปได้ระยะหนึ่งแล้ว กลุ่มผู้คนที่นั่นก็บอกว่านัสเซอร์ห่างไกลหลักการทางศาสนา จึงมีการเสนอหลักการปกครอที่มีศาสนารวมอยู่ด้วย ซึ่งเราเรียกว่าการใช้อิสลามในการเมืองและนำไปสู่การขัดแย้งกันระหว่าภารดรภาพมุสลิมกับผู้ปกครองในเวลานั้น และในที่สุดทางการก็กล่าวอ้างว่าพวกภารดรภาพมุสลิมวางแผนสังหารนายกและประธานาธิบดี หลังจากนั้นเป็นต้นมาขบวนการภารดรภาพมุสลิมไม่อนุญาติให้ตั้งพรรคการเมือง ถูกบีบให้ส่งเพียงแค่ตัวบุคคลลงเล่นการเมืองในอียิปต์

เมื่ออาหรับสริงมาถึงอียิปต์ทุกคนคิดว่านี่เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เพราะฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา ฝ่ายฆารวาสนิยม รวมทั้ง คริสเตียนคอปติก ทุกฝ่ายรวมตัวกันเพื่อโค้นมูลบารัค ประธานาธิบดีที่สืบทอดมาจากอัลวาร์ ซาดัต ซึ่งตั้งแต่นัสเซอร์เป็นต้นมาอียิปต์ปกครองโดยนักการทหารทั้งสิ้น แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่คนที่จะเป็นผู้สมัครต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะแม้มีเสียงพรรคการเมืองฝ่ายค้าน แต่รัฐบาลทหารก็มักจะวางแผนไว้แล้ว เลือกตั้งเมื่อไหร่รัฐบาลทหารก็ชนะเลือกตั้ง

อัลวาร์ ซาดัตขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีแทนนัสเซอร์ จากเดิมนัสเซอร์นิยมโซเวียส ซาดัตหันไปหาสหรัฐอเมริกา โลกอาหรับตอนนั้นจึงขับอียิปต์ออกจากสันนิบาตอาหรับ ไม่นาน ซาดัส ถูกลอบสังหารระหว่างดูการสวนสนาม ที่ปลอมเป็นทหารมาลอบสังาร และขณะนั้นคนที่นั่งใกล้ซาดัตคือมูลบารัค ก็ขึ้นมาแทน ซึ่งมูบารัคก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศผสมกัน 2 อย่าง ที่สามารถเข้ากันได้ทั้งโซเวียสและสหรัฐอเมริกา และสหรัฐฯวางให้อียิปต์เป็นโบรคเกอร์ใหญ่ในการเจรจากับอิสลาเอล และให้เงินสนบนุนเป็นอันดับ 2 รองจากอิสลาเอล ทำให้ทหารยื้ออำนาจได้อย่างยาวนานตั้งแต่ 61 ปีที่แล้วจนเกิดเหตุการณ์ อาหรับสปริง แต่ขณะนี้มูบารัคที่ถูกโค้นอำนาจไปเมื่อ 2 ปีที่แล้วนั้น รัฐบาลรักษากากำลังจะมีการปลอยตัวเขา เป็นการพลิกความคาดหมายหลายอย่างด้วยกัน

ช่วงเปลี่ยนผ่านทั้งตูนิเซีย อียิปต์ หลายคนคิดว่าจะมีการเลือกตั้ง ซึ่งในตูนิเซียเลือกตั้งประสบความสำเร็จโดยพรรคนิยมแนวทางอิสลามประสบชัยชนะ ในอียิปต์การเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. นั้นพรรคภารดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะ แต่เลือก ประธานาธิบดี ตัวแทนภารดรภาพลงแข่งคู่กับอดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยประธานาธิบดีมูบารัค แต่ภารภาพมุสลิมชนะแบบฉิวเฉียด แสดงให้เห็นว่าฝ่ายที่ตรงข้ามรัฐบาลที่มาจากระบอบประชิปไตยมีจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ก็มีกระบวนลงประชามาติ การร่างรัฐธรรมนูญต่อเนื่องซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลทหารก็พยายามที่จะรักษาอำนาจ ความจริงก็พยายามรักษาอำนาจไว้ให้นานที่สุด และมีการขัดขวางและล้มการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ก็มีการจัดการเลือกตั้งได้ประธานาธิบดีมอร์ซีคนนี้ขึ้นมาปกครองได้ 1 ปี แต่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนและก่อให้เกิดการแปลกแยกระหว่างหมู่ชน และเศรษฐกิจเลวร้าย ในที่สุดฝ่ายที่คัดค้านประธานาธิบดีก็รวมตัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมา จนมีการยื่นคำขาดจากทหาร และทหารก็เข้ามารัฐประหาร

ทันทีที่ทหารเข้ามาใช้ความแยบยนก็ไปดึงพรรคอิสลามที่ได้คะแนนน้อยกว่าภารดรภาพมุสลิมมาร่วมด้วย และอีกหลายๆคน เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้ง ที่สำคัญตอนทำรัฐประหารนั้น สหรัฐอเมริกาได้เรียกว่าไม่สามารถเรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการรัฐประหารได้ อังกฤษ สหภาพสหภาพยุโรป ก็บอกว่านี่ไม่ใช่การรัฐประหาร ในอียิปต์เพียง 3 วันก็มีการรวมตัวกันต่อสู้กับการรัฐประหาร และล่าสุดมีคนตายกว่า 1,000 คน ได้

กรณีการโค้นอำนาจผู้นำอียิปต์ในครั้งนี้ประเทศที่เคยประณามการรัฐประหาร ไม่มีท่าที ขณะที่ซาอุดิอาระเบียกลับเห็นด้วยกับการรัฐประหาร คนที่ร่วมกับการโค้นมูลบารัคเวลามีการเลือกตั้งก็แบ่งกลุ่มก้อนเป็นหลายก้อน เหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องของเก้าอี้ในตำแหน่งสำคัญๆของรัฐบาล ก่อนที่จะเกิดการโค้นอำนาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เลือกตั้ง หรือคัดเลือกตำแหน่งสำคัญๆ มา 3 ครั้งแล้ว กลุ่มที่เป็นกลุ่มนิยมอิสลามบางกลุ่มก็คิดว่าตนเองถูกลดอำนาจ แต่ภารดรภาพมุสลิมมีอำนาจก็ไปปลดทหาร จะเป็นเรื่องที่นอกเหนืออุดมการณ์แล้วยังเป็นเรื่องของนโยบายการเมืองด้วยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

สิ่งที่ทหารเข้ามาแล้วคิดไม่ถึงว่าเวลาได้อำนาจมาแล้ว จะมีการต่อต้านขนาดหนักขนาดนี้ โดยเฉพาะเป็นช่วงเดือนรอมฎอนขณะนี้ผู้ชุมนุมเอามัสยิตเป็นศูน์กลาง ดังนั้นวันศุกร์ก็จะมีการชุมนุม สิ่งที่เหนคือคนที่สนับสนุนผู้นำคนเก่ามีมากกว่าฝ่ายผู้นำรัฐประหาร สิ่งที่รัฐบาลรักษาการทำคือจะให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ ให้มีการเลือกตั้งภายใน 6 เดือน เชิญกลุ่มภารดรภาพมุสลิมเข้ามาร่วมด้วย แต่ก็ยังคงจับตัวกลุ่มพวกเขาอยู่                                                         

เมื่อสิ้นสุดอาหรับสปริงทุกคนก็ไปลงเลือกตั้ง ดังนั้นก็มีหลายความคิดที่มีหลายกลุ่มก้อน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือการไม่ยอมรับสิ่งที่ได้มาโดยวิธีการเลือกตั้ง กลับใช้วิธีการรวมกลุ่มแล้วกดดัน ทั้งที่น่าจะแก้ไขได้ในรัฐสภา

ที่สุดแล้วอียิตป์สามารถลงเอยหลายอย่าง

1.     องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรอิสลามเข้ามามีบทบาทให้มีการพูดคุย

2.     หรือเผชิญหน้ากัน เหมือนที่เกิดในซีเรีย ในที่สุดกลายเป็นสงครามกลางเมือง

แต่ข้อสังเกตประการหนึ่งคือไม่ว่าประเทศใดที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาธิปไตย แต่ไม่ได้รัการยอมรับจากทหารและไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ ก็จะโดนคว่ำ อียิปต์ก็เช่นกัน แสดงให้เห็นว่าข้ออ้างเรื่องประชาธิปไตยสำหรับคนบางกลุ่มนั้นมีผลประโยชน์แอบแฝง เหตุผลสำคัญกลุ่มที่โดนคว่ำเป็นกลุ่มที่ ที่คัดค้าน มหาอำนาจสหรัฐฯ อาจเป็นอุปสรรคของสหรัฐฯ ที่ต้องการสร้างสันติภาพ แต่เป็นสันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรม เข้ายึดครองแล้วจัดการประเทศเหล่านั้น

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : บทบากองทัพในอียิปต์

เรื่องอียิปต์ มันมีวิธีมองหลายแบบ แบบหนึ่งที่น่าสนใจคืออียิปต์เป็นสังคมที่เคยเป็นอาณานิคมมาอย่างยาวนาน และเป็นประเทศในแอฟริกาที่มหาอำนาจทั้งหมดแทบอยากเข้าไปยึดครอง นักวิชาการกลุ่มหนึ่งจึงพยายามอธิบายเหตุการณ์และความรุนแรงในอียิปต์ในด้านหนึ่งเป็นผลมาจากอียิปต์เคยเป็นสังคมเมืองขึ้นมาเป็นเวลานาน อียิปต์จึงมีลักษณะดังนี้

ประการแรก เมื่อเป็นสังคมเมืองขึ้นเป็นเวลานาน ระบบเมืองขึ้นมีลักษณะเหมือนกันอย่างหนึ่งคือการควบคุมประชาชนเพื่อดึงเอาทรัพยากรไปขาย เมื่ออียิปต์ได้รับเอกราชความต้องการเอาทรัพยากรไปขายก็ไม่ได้ลดลงไป ดังนั้นความเป็นสังคมอาณานิคมนั้นเป็นสังคมที่รัฐบาลกลางของอียิปต์อยู่บนการดึงทรัพยากรจากชนบทจำนวนมากเข้าสู่ส่วนกลางแล้วนำไปขาย

อะไรทำให้กระบวนการดึงทรัพยากรของอียิปต์เป็ฯไปได้ คำตอบคือการสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นกลไกในการดึงทรัพยากร ดังนั้นความเป็นสังคมอาณานิคมมีลักษณะที่ทำให้รัฐมีอำนาจสูงเป็นเวลานาน และทำให้กองทัพที่เข้มแข็ง ปี 1822 ที่อียิปต์เกิดกองทัพประการสมัยใหม่ และหลังจากนั้นไม่กี่ปีมีกองพล 2 แสนคน เพื่อดึงทรัพยากร ในหัวเมืองต่างๆ เพื่อยอมให้รัฐบาลกลางดึงทรัพยากรไปขายต่างชาติ เป็นกองทัพที่ไม่ได้สู้เพื่อเอกราช ดังนั้นกองทัพอียิปต์มีบาทบาทในการควบคุมประชาชนมาอย่างยาวนาน

นอกจากนี้กองทัพยังมีบทบาทในการดูผลผลิตปถึงในระดับหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่รัฐมีกลไปในการจัดตั้งในระดับนั้นที่เข้มแข็งมาก ดังนั้นเวลาที่เห็นความรุนแรงปัจจุบันก็ต้องเห็นว่ากองทัพเป็นองค์กรที่มีบทบาทขุดรีดทรัพยากรของคนในอียิปต์ด้วย ที่มีประสบการณ์ที่ไปถึงระดับหมู่บ้าน

ประการที่ 2  ที่น่าสนใจในอียิปต์ในเวลานี้มีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มภาดรภาพมุสลิมกับกองทัพ ทีเกิดหลังจากการโค้นมูบารัคไป  ซึ่งมูบารัคเป็นผู้นำที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งและที่อยู่ในอำนาจมาอย่างยาวนาน ดังนั้นการล่มสลายของมูบารัคมันจึงเกิศูนย์ยากาศ ทั้งนี้มูบารัคปกครองได้อย่างยาวนานเพราะสามารถกดชนชั้นนำไม่ให้ขัดแย้งมาได้อย่างยาวนาน ดังนั้นในกรณีนี้มีคนประเมินว่าการอยู่ในอำนาจมาอย่างยาวนานของมูบารัคนั้น คือมีการทำให้ชนชั้นนำอียิปต์เชื่อว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากมูลบารัค เพราะถ้าไม่เลือกมูบารัคก็ไปเป็นฝ่ายค้าน รวมทั้งการทำให้พวกต่อต้านระบบมูบารัครู้สึกว่าไม่มีศัยภาพที่จะล้มระบบนี้ได้ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าชนชั้นนำมีประสบการณ์ในการจัดการกับพลังมวลชนและสร้างความปรองดองในหมู่ชนชั้นนำเอง

ประการที่ 3 อะไรที่ทำให้มูบารัคลงอำนาจไป ซึ่งมีหลายสาเหตุ แต่เมื่อมูบารัคลงจากอำนาจไปชนชั้นนำที่เป็นเอกภาพจะทำอย่างไร ซึ่งจะเห็น 2 แนวทางใหญ่ๆ

แนวทางแรก คือในช่วงแรกๆสนับสนุนมูบารัคต่อ จะเห็นได้ว่ากองทัพไม่ได้แสดงท่าทีต่อต้านมูบารัคแต่ต้น แต่เมื่อเห็นว่าน่าจะอยู่ไม่รอด จึงเกิดการแยกตั้วของชนชั้นนำอียิปต์ จึงเป็นท่าทีแบบรอดูสถานการณ์

แนวทางที่ 2 การแตกแยกหรือการแยกตัวของชนชั้นนำอียิปต์ เป็นฝ่ายเอากับไม่เอามูบารัคในหมู่ชนชั้น ฝ่ายที่ไม่เอาในเวลานั้นจนถึงตอนนี้มีทัศนะคติต่อประชาธิปไตยอย่างไร คำตอบในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าชนชั้นนำเหล่านั้นไม่ได้แปลว่าต้องการประชาธิปไตย แต่เป็นการแตกแยกที่ชนชั้นนำกลุ่มใหม่ต้องการขึ้นมาเป็นตัวแทนเอง ไม่ได้มีวาระประชาธิปไตยเลย

ประการที่ 4 บทบาทของกองทัพอียิปต์ อะไรที่ทำให้กองทัพมีท่าทีเหมือนเอียข้างประชาชน แต่ตอนนี้กลายเป็นฝ่ายสลายการชุมนุมของประชาชน คิดว่ามันมีตัวเลขหนึ่งที่น่าสนใจตัวเลขกองทัพอียิต์ ภายใต้มูบารัคไม่กี่ปีที่ผ่านมากลับมีงบประมาณลดลง เกือบเท่าตัว ทำไมจึงลดลง รายจ่ายของกองทัพก็ลดลงเรื่อยๆ ในสมัยมูบารัค ถ้าดูตัวเลขงบประมาณกองทัพอียิปต์เมื่อเทียบกับจีดีพีลดงลมาก ดังนั้นภาพของกองทัพกับมูบารัคดูมีความแนบแน่น แต่ถ้าดูตัวเลขตรงนี้ก็มีความไม่ลงรอย คิดว่าสำหรับมูบารัคมองว่ากองทัพเป็นสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เมื่อรอยแยกระหว่ากองทัพกับมูบารัคนั้นก็ไม่ใช่เรื่องประชาธิปไตย เป็นเรื่องการได้รับความสำคัญและการจัดสรรงบประมาณน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อมูบารัคลงแล้วโจทย์ใหญ่ของกองทัพจึงไม่ใช่ เรื่องประชาธิปไตย

ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ 

ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ : มองอียิปต์มองไทยมีทั้งความเหมือนและความต่าง

เป็นเรื่อที่น่าสนใจที่สื่อมวลชนไทยสนใจสถานการณ์อียิปต์ ถ้าดูในทวิตเตอร์คนไทยสองสีก็แบ่งเป็นสองฝั่งระหว่างสนับสนุนกับต่อต้านรัฐประหาร จนมีคนไทยที่ชุมนุมที่เขียนป้ายสนับสนุนให้ทหารไทยเป็นเหมือนทหารอียิปต์ ภาพเหล่านี้เหมือนคนไทยกลับไปมีส่วนร่วมกลับไปยุค ปี 2553 โดยการมองสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในช่วง 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา แน่นอนถ้าพูดถึงการเปรียบเทียบมีสิ่งที่เปรียบเทียบได้ เช่น การรัฐประหาร ที่มีคนมาสนับสนุนรัฐประหาร หรือการเปรียบเทียบอดีตประธานาธิบดีมอร์ซี่กับทักษิณ ในกลุ่มที่ต้านทักษิณก็มองว่ามอร์ซี่พยายามรวบอำนาจ มีความคลายคลึงกับยุค ทักษิณ ก่อนรัฐประหาร

ภาพผู้ชุมนุมหน้ากากขาวเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมาพร้อมป้ายผ้า(ที่มา  เพจ กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ

และที่ล่าสุดที่คนไทยรู้สึกอินมาก ถ้านับจำนวนผู้เสียชีวิตตอนนี้ก็ยังเทียบไม่ได้กับที่ซีเรีย เพราะอาจจะมองซีเรียแล้วไม่เห็นเมืองไทย แต่กรณีอียิปต์เพราะมองแล้วเห็นเมืองไทย

จากความกลัวที่จะมีการนำกฏหมายอิสลามมาใช้หรือกรณีคนไทยก็มีเรื่องความกลัวล้มเจ้า เป็นความกลัวที่จับต้องได้ในหมู่คนที่ไม่ได้เคร่งอิสลามและเป็นชาวคริส กลุ่มฝ่ายซ้าย หรือกลุ่มที่สู้เพื่อสิทธิผู้หญิง ที่มองว่ามุสลิมบราเธอร์ฮูดที่เคลือนไหวแล้วมีการตีความจากกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยว่าเป็นภัยกับชีวิตของพวกเขา และดูเหมือนว่าไม่มีฝ่ายไหนยอมฝ่ายไหน จนทำให้เกิดความเลียดชัง มองความสูญเสียของฝ่ายตรงข้ามแล้วสะใจ การมีความเชื่อว่าจะต้องกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้หมดไปจากสังคมเพื่อรักษาชีวิตที่ตนเองเชื่อ

แต่อยากเตือนว่าผนอาจมีความรู้น้อยเรื่องอียิปต์ คิดว่ามันเป็นเรื่องที่สุ่มเสียงที่สรุปว่าที่อียิปต์มันเหมือนไทย

เรื่องแรก การเมืองอียิปต์มันพ่วงกับสหรัฐฯอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะได้รับเงินสนับสนุนประเทศ มากเป็นอันดับ 2 รองจาก อิสราเอล มันอธิบายได้ว่าทำไมต้องได้ เพราะความสลับซับซ้อนของการเมืองในตะวันออกกลางที่สหรัฐฯ ต้องการความคุมภูมิภาคนั้นด้วย

ข้อดีอีกอย่างของการมองการเมืองอียิปต์นั้นคือทำให้เข้าใจด้านลบและการเป็นมือถือสากปากถือศีลของสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับซาอุดิอาราเบียที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิขับรถ อเมริกาก็ไม่มีปัญหา ตราบใดที่คุยและแบ่งเคกกันรู้เรื่อง สรุปได้ว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถ้าอ้างประชาธิปไตยได้ก็จะอ้าง แต่ถ้าขัดผลประโยชน์ก็พร้อมที่จะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แม้แต่คนอเมริกันที่รักในประชาธิปไตยก็มองว่าสิ่งที่ประธานาธิบดีโอบาม่า ไม่เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ว่าเป็นการรัฐประหารนั้นเป็นเรื่องที่น่าละอาย ทำให้อเมริกาสูญเสียบารมีความน่าเชื่อถือในหลายประเทศ มันแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ภายใต้ประธานาธิปดีโอบาม่าเองก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศไม่ต่างจากประธานาธิบดีจากพรรคริพับลิกันในชุดอื่น อันนี้เป็นเรื่องแรกที่เราไม่มีในเมืองไทย แม้เมืองไทยจะมีความสำคัญต่ออเมริกาก็ตาม แต่ก็ไม่เท่ากับอียิปต์ที่ต้องการเข้าไปควบคุมให้ได้

เรื่อง 2 คือความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างชาวคริสฯชนกลุ่มน้อยกับชาวมุสลิม แม้ไทยอาจจะเหมือนมีใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ที่อียิปต์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ชาวคริสชนกลุ่มน้อยมนอียิปต์รู้สึกว่าชีวิตของตนไม่ปลอดภัย รู้สึกถูกคุกคาม มีหนังสื่อชื่อ “After the Arab Spring” ของ John R. Bradley ที่เขียนถึงหลังปี 2011 ที่มูบารัคพ้นอำนาจ แล้วพบเพื่อนเก่าที่เป็นชาวคริสฯ ในนั้น ซึ่งเขารู้สึกว่าเขาไม่มั่นคง มีความพยายามขอวีซ่าเพื่อไปสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความรู้สึกของชนกลุ่มน้อยในอียิปต์

แม้ผู้ชุมนุมถูกปราบดว้ยกระสุนจริง แต่ก็มีการไปทำลายโบรส์ชาวคริสฯ จึงมีความสลับซับซ้อนในมิติเรื่องศาสนา ของไทย ยังไม่มีแบบนี้อย่างชัดเจน แต่ก็ดูเหมือนมีปัญหาอยู่เพราะเอาเข้าจริงเรื่องเมืองไทยพูดไม่เต็มเพราะติด ม.112 (กฏหมายหมิ่นประมาทกษิตริย์ฯ) เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องราวของสังคมได้อย่างเต็มที่ แต่รัฐประหารปี 49 นั้น เกิดขึ้นโดยอ้างเพื่อ ปกป้องสถาบันกษัตริย์ และการปราบประชาชนปี 53 ก็มีการยกเรื่องผังล้มเจ้าขึ้นมาอ้าง แต่ก็เราก็ไม่สามารถพูดได้จากกรณีที่มีการยกสถาบันพระมหากษัตริย์มาอ้างว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร เปรียบแล้วเหมือนกับคนป่วยที่ป่วยหนักที่ไม่สามารถพูดอาการป่วยของตัวเองได้ จึงทำให้รักษาลำบาก

อยากเตือนว่ามันมีทั้งความเหมือนและความต่าง สังคมไทยจึงสมควรติดตามเหตุการณ์ในอียิปต์เพื่อที่จะเรียนรู้ และมองเขาเป็นมนุษย์เช่นกัน และทำไมคนส่วนใหญ่ไม่อินมากกับการสังหารในซีเรียที่มีคนเสียชีวิตจำนวนมากกว่า ก็อาจเป็นข้อจำกันว่าเราเห็นอะไรที่คลายเราแล้วรู้สึกเพื่อที่จะโยงใยหรืออธิบายได้

และอยากฝากทุกสีเสื้อว่าอียิปต์เป็นโอกาสดีที่ทำให้เราเห็นด้านลบของแต่ละฝ่าย ในสังคมไทยคิดว่าแต่ละฝ่ายมักมองเห็นแต่ด้านบวกของฝั่งตัวเอง ถ้าเรามองอียิปต์อย่างแฟร์ๆ และเชื่อว่าเราสามารถมองได้เพราะเราไม่ใช่ชาวอียิปต์ จะเห็นทั้ง 2 ฝ่ายมีด้านมืดอยู่ มันไม่ใช่การต่อสู้ที่เป็นขาวกับดำและมีความซับซ้อนมาก

 

จรัญ มะลูลีม รอบ 2

จากการณ์ที่ ศิโรจน์ บกว่าทหารถูกลดบทบาทในสมัยมูบารัคนั้น สถานการณ์ความเป็นจริงคือเมื่อสหรัฐฯ สามารถดึงเอาอียิปต์มาเป็นแนวร่วมในเจรจาสันติภาพได้แล้ว ภาระกิจของกองทัพอียิปต์ที่เคยมีบทบาทในการสู้รบก็ค่อยๆลดน้อยถอยลงไป

สิ่งที่เห็นคือรัฐบาลใดที่คัดค้านการเจรจาสันติภาพที่ปราศจากความยุติธรรมนั้น ประเทศเหล่านี้สหรัฐฯ ก็มุ่งจะโค้น การโค้นกัสดาฟี่ ก็แบบเดียวกัน แล้วหนังสือฝรั่งก็ล้อว่าการโค้นกัสดาฟี่ประการแรกคือ น้ำมัน ประการที่ 2 คือน้ำมัน ประการที่ 3 ก็คือน้ำมัน ประการที่ 4 คือ ประชาธิปไตย

จุดจบของเหตุการณ์ที่เป็นอยู่ในอียิปต์ อาจลงเอยหลายแบบ ถ้าเป็นแบบซีเรีย คือตายอีกเยอะ เพราะอาจเกิดสงครามกลางเมือง อย่างในแอลจีเรียปี 1992 ก็เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 250,000 คน  ถ้าลงเอยแบบนี้ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรมุสลิมเข้ามาก็อาจมีแนวทางที่ดี แต่ก็ยังไม่เห็น

รัฐประหารทั้งหลายนำไปสู่ความมืดมนทั้งสิ้น ไม่ว่าที่ไหน เป็นความจริงที่ปรากฏหลายภูมิภาคของโลก

สังคมอียิปต์ตอนนี้แตกเป็ฯหลายกลุ่มมาก อียิปต์ก่อนหน้านี้ได้รับชื่นชมว่าไม่มีปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ คนกลุ่มน้อย แม้แต่คริสฯคอปติก ที่มา 10% ที่จริงอยู่อย่างดี สภาพของอียิปเริ่มเปลี่ยนแปลงไป และจะให้สรุปจดสิ้นสุดของสถานการณ์ในอียิปต์นั้นบอกตรงๆว่าดูไม่ออก แม้ว่าตอนนี้จะสงบไปพักหนึ่ง แต่ความสงบนั้นมีหลายแบบ ความสงบก่อนที่จะเกิดพายุร้าย เพราะอียิปต์นั้นเหมือนซีเรีย เนื่องจากที่มีอำนาจภายนอกเข้ามาอย่างเต็มที่

ในโลกมุสลิมมีประเทศที่เป็นรัฐศาสนาหรือเทวรัฐมาก อย่างซาอุดิอาระเบียก็เป็นรัฐศาสนา ส่วนประเทศอิหร่านแม้จะใช้หลักการทางศาสนาแต่เป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากที่สุดในบรรดาประเทศตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปฏิวัติปี 1979 ก็มีการเลือกตั้ง ส.ส. ต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่กรณีอีหร่านเป็นรัฐอิสรามได้เพราะคนส่วนหญ่ของประเทศให้การยอมรับ อิหม่ามโคไมนี อยู่ในฐานะบิดาแห่งอิหร่าน ผู้หญิงอิหร่าน เปิดเผย ไม่เห็นคนอิหร่าน ปิดหน้า เป็นประเทศที่ผู้หญิงสามารถผ่าตัดเสริมความงามจมูกได้ อย่างไรก็ตามคนก็มองว่าอิหร่านเป็นรัฐที่จำกันเสรีภาพ แต่ก็เป็นข้อจำกัดที่คนในประเทศส่วนใหญ่ยอมรับ

เรากลัวอียิปต์เป็น รัฐศาสนา แต่ซาอุดิอารเบียก็เป็นรัฐศาสนา และมุสลิมบราเธอร์ฮูด ในสายตาของคนที่เคร่งครัดนั้นก็เป็นกลุ่มที่ไม่ได้เคร่งครัด หลังจากอาหรับสปริง สิ่งที่นักเขียนตะวันตกอาจแปลกใจคือชัยชนะในการเลือกตั้งทั้งในอียิปต์ ตูนิเซีย โมรอคโค เป็นชัยชนะของกลุ่มที่นิยมศาสนาทั้งนั้น แต่คนที่กลัวมากก็คือคนที่จะเคร่งมากกว่าบราเธอร์ฮูด ในเมื่อเป็นความต้องการประชาชน ก็ต้องยอมรับ แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ ที่ตุรกีเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่เคยมีพรรคแบบเดียวกับบราเธอร์ฮูด และมาถึงรัฐบาลปัจจุบันของตุรกีก็มีลักษณเป็นแบบบราเธอร์ฮูด ที่ให้บทบาทของประชาธิปไตยเข้ามามากพร้อมกับการรักษาศาสนาไว้ วิธีการให้ประชาชนเลือกแล้วค่อยๆ ลดอำนาจขอทหาร ตอนนี้ทหารอ่อนเปรี้ยไปแล้ว

ตะวันออกกลาง เคยผ่านการใช้สังคมนิยมอาหรับมาแล้ว ที่เน้นความเป็นเอกภาพของอาหรับ สังคมนิยม เช่นพรรคบาธของซัดดัม ของซีเรีย เป็นสังคมที่อยู่ระหว่างประชาธิปไตบกับสังคมนิยม รวมทั้งมีเรื่องชีวิตหลังความตาย มีความเชื่อในโลกหน้าด้วย ดังนั้นความกลัวว่าจะเป็นแบบอิหร่าน ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้งให้สิทธิของคนที่ไม่ใช่มุสลิมอยู่ได้และยอมรับ อย่างในมาเลย์ที่มีชาวจีนอยู่ได้ น่าจะเป็นความปราถนา ก็น่าจะอยู่ได้ ดังนั้นถ้าบราเธอร์ฮูดจะกลับมาใหม่ต้องมีความใจกว้าง เปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างด้วย

นักศึกษา สนนท. ชูป้ายประท้วงรัฐบาลอียิปต์ในงานเสวนา

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ รอบ 2

ในอียิปต์มีตัวละคร 3 ฝ่าย

1.    ฝ่ายกองทัพ

2.    กลุ่มอิสลามที่นิยามความรุนแรง และไม่เห็นด้วยกับมุสลิมบราเธอร์ฮูด กลุ่มนี้กับสหรัฐฯ น่าจะเป็นคู่ขัดแย้งกันในที่สุด

3.    กลุ่มของสหรัฐฯ

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอียิปต์ มันเป็นการต่อสู้โดยใช้ความรุนแรง สิ่งที่เกิดขึ้นในอียิปต์ เกิดจากความขัดแย้งและกลุ่มหัวรุนแรงเป็นกลุ่มที่เสียงดังสุด ดังนั้นปัญหาของอียิปต์จะไม่ใช่ปัญหาของอียิปต์อีกต่อไป เมื่อไหร่ที่การฆาตรกรรมจำนวนมากๆ ในสังคมแบบนี้ จะทำให้คนรุ่นนี้และรุ่นถัดไปจะเชื่อในการต่อสู้ด้วยความรุนแรง

เรื่องรัฐศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ที่โลกตะวันตกใช้กล่าวหาทำให้สังคมอื่นเป็นสังคมที่ป่าเถือน ละเมิดสิทธิ เป็นฉลากแปะป้ายในการปราบ สิ่งที่เห็นคือรัฐศาสนาไม่ใช่เป็นปัญหาในทุกกรณี จริงๆแล้วความเชื่อทางการเมืองในโลกตะวันตกก็เป็นการแปลงเอาความเชื่อทางคริสมาแปลงเป็นความเชื่อทางการเมืองทั้งนั้น ในไทยก็เช่นกันที่เอาวันหยุดประจำชาติที่เอาศาสนาพุทธเข้ามา แต่กรณีสังคมชายเป็นใหญ่แล้วละเมิดสิทธิผู้หญิงนั้นเป็นการเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือมากกว่า

กรณีมอร์ซี่ ต่อให้เขาเป็นผู้นิยมรัฐศาสนาไม่ใช่ประเด็น เพราะมันเป็นเพียงแนวโน้ม ที่ไม่เป็นเหตุที่จะไม่ให้ทหารออกมาได้การที่มอร์ซี่ถูกไล่ออกไป เป็นการส่งสัญญาของชนชั้นนำที่ส่งไปกับคนอียิปต์ว่าการเลือกตั้งไม่ใช่หนทางในการปกครองประเทศ

ส่วนแนวโน้มเรื่องสถานการณ์ในอียิปต์ มันมีแนวโน้มอยู่ 3 แบบ คือ

แบบ 1 แอลจีเรีย ที่ตายเป็นแสน ถ้าชนชั้นนำอียิปต์ต้องการให้บราเธอร์ฮูดอยู่ใต้ดิน การให้คนส่วนใหญ่ต้องเป็นคนที่สู้ใต้ดิน เป็นเรื่องอันตราย

แบบ 2 ที่เกิดขึ้นในบลาซิล หรือเวเนซูเอล่า ที่มีการปราบปรามประชาชน ในที่สุดฝ่ายต่อต้านมาสู้ผ่านการเลือตั้ง แล้วก็กลับมาชนะใหม่

แบบ 3 ที่อาจจะดีสำหรับอียิปต์ เมื่อมุสลิมบราเธอร์ฮูดกลับมาชนะเลือกตั้งใหม่ แล้วกลับไปดำเนินคดีกับทุกคนที่ฆ่าประชาชน และทำรัฐประหารเป็นสัญญาณที่ทหารอียิปต์ไม่กล้าทำหารรัฐประหารใหม่ เป็นความคาดหวัง ซึ่งแม้แต่เมืองไทยก็ยังไม่เกิด

 

ประวิตร โรจนพฤกษ์ รอบ 2

เรื่อทหารในอียิปต์ บทบาทของทหารมีมาก จนมีคำพูดในอียิปต์ที่ค่อนข้างใช้กว้างขวาง คือ ประธานาธิบดีเป็นผู้บริหาร แต่ทหารเป็นผู้ปกครอง ในสังคมอียิปต์ประชาชนอาจไม่ได้แยกตัวเองออกจากกองทัพ เนื่องจากประชาชนต้องผ่านกระบวนการทำให้เชื่อฟังคำสั่ง เป็นปัญหาทีสังคมที่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร และผมคิดว่าในสังคมประชาธิปไตยการเกณฑ์ทหารควรเลิกได้แล้ว หรือจำกัดในวงแคบ เพราะประเทศไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม

การใช้ไพ่ที่กล่าวอ้างว่าจะเปลี่ยนแปลงเป็นรัฐอิสลามนั้นเป็นสิ่งที่ตะวันตกใช้ แต่มาถึงจุดนี้ความกลัวของคนบางคนเป็นความกลัวที่อยู่บนรากฐานตความจริงหรือในสภาพของความวิตกจริตที่ไม่ได้อยู่บนรากฐานความจริงกันแน่ ซึ่งอันนี้เป็นรากฐานเดียวกับการที่คนไทยกลัวการล้มเจ้า

มีการสำรวจ หลังจาการที่มูบารัค ลงจากอำนาจ ว่ามีการยอมรับการลงโทษแบบปาหิน ตัดแขนและประหาร มากขึ้น สิ่งที่จะบอกคือความจริงอาจไม่สัมพันธ์ เปรียบเทียบกรณีเสื้อแดงที่มีคนเชื่อว่าคนกลุ่มนี้ล้มเจ้า มันไม่มีโอกาสที่คนเสื้อแดงอธิบายคนรักเจ้าอย่างไม่พอเพียงได้เลยว่าไม่มีการล้มเจ้า เนื่องจากมีการตั้งกำแพงอคติ ดังนั้นความจริงจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจนั้นไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เรื่องขบวนการแรงาน ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าออกมาชุมนุม แต่สิ่งหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตุ ช่วงที่มอร์ซี่มีอำนาจนั้นถูกวางยาให้น้ำมันแพง และไฟดับบ่อย และตำรวจที่คนทั่วไปมักเกลียดชังมาก ตำรวจในยุคมูบารัคทำตัวเป็นนักเลงรีดไถชาวบ้าน เมื่อมูบารัคถูกขับออกจากอำนาจ ตำรวจจึงไม่ค่อยออกมาทำงานจึงนำไปสู่อาชญากรรมมากขึ้นแล้วไม่มีคนไปดูแล

จรัล ดิษฐาอภิชัย กล่าวสรุปตอนท้ายของการเสวนาว่า

1.    ไม่ว่ากลุ่มมุสลิมบราเธอร์ฮูดจะเป็นอย่างไร ทหารก็ไม่มีสิทธิที่จะปราบปรามและฆ่าพวกเขา แม้บราเธอร์ฮูดจะนำประเทศอียิปต์เป็นรัฐศาสนา ทหารก็ไม่มีสิทธิออกมา

2.    คิดว่าประชาชนคนไทยที่เคยผ่านและประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ ก็ไม่อยากให้เกิดในประเทศไทยอีก และก็ไม่อยากให้เกิดในประเทศอื่นด้วย จึงต้อหาทางร่วมส่วนในการหยุดยั่งการปราบปรามที่เกิดขึ้น รวมทั้งรัฐบาลไทยเองที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็นอะไรมากนัก จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยการปราบปรามต้องกดดันรัฐบาลไทยให้แสดงท่าทีต่อเหตุการณ์เหล่านี้ด้วย 

 

หมายเหตุ : มีการแก้ไขข้อมูลประกอบภาพผู้ชุมนุมหน้ากากขาว 18.00 น. 21 ส.ค.56

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท