Skip to main content
sharethis

การประชุมกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย (Asia Canine Protection Alliance - ACPA) ที่กรุงฮานอย เจ้าหน้าที่รัฐในไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ให้คำมั่นสัญญาร่วมยุติการค้าเนื้อสุนัข

 
(กรุงเทพฯ) 2 กันยายน 2556 - เจ้าหน้าที่รัฐประจำประเทศของไทย กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ร่วมให้คำมั่นสัญญาในการยุติการทารุณด้านการค้าเนื้อสุนัขเชิงพาณิชย์ ในปีหนึ่งจะพบว่ามีสุนัขกว่า 5 ล้านตัวถูกสังหารอย่างโหดร้ายเพื่อตอบสนองการบริโภคของมนุษย์ ซึ่งมีการลักลอบขนส่งข้ามแดนจากประเทศไทย กัมพูชา และลาวไปยังประเทศเวียดนามเพื่อการบริโภคเนื้อสุนัข
 
การผลิตเนื้อสุนัขเริ่มมาจากการค้าขนาดเล็กในระดับครัวเรือน สู่การเป็นอุตสาหกรรมค้าสุนัขผิดกฎหมายที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งได้นำความเจ็บปวดและความทรมานมาสู่สุนัขทั้งหลาย อีกทั้งยังนำความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์อีกด้วย ทั้งนี้ การค้าในสุนัขเนื้อเกี่ยวข้องกับของโรคที่ไม่สามาถระบุได้ในสุนัขและการฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นความพยายามในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในระดับภูมิภาค
 
ประเทศต่างๆ ล้มเหลวในการดำเนินงานตามมาตรการการป้องกันโรคในสัตว์ และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลกและองค์กรสุขภาพสัตว์โลก ในการควบคุมและการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า อีกทั้งการบริโภคเนื้อสุนัขยังมีความเกี่ยวพันถึงการติดต่อแพร่กระจายของโรคพยาธิทริคิโนซิส อหิวาตกโรค รวมถึงโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเผยถึงการค้าสุนัขเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอหิวาตกโรคในประเทศเวียดนาม
 
เจ้าหน้าที่รัฐบาลเห็นชอบในการยุติการค้าเนื้อสุนัข ณ การประชุมล่าสุดที่จัดขึ้นที่กรุงฮานอย ร่วมกับกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย (Asia Canine Protection Alliance - ACPA) เจ้าหน้าที่รัฐ กล่าวถึงประเด็นการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขไว้ว่า จะทำการประกาศพักการออกกฎหมายในการขนส่งสุนัขเชิงพาณิชย์ในอีกห้าปีข้างหน้า ในขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังทบทวนถึงผลกระทบของการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าไปทั่วทั้งภูมิภาค (สำหรับประเทศไทยซึ่งการค้าสุนัขเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่มีความเห็นชอบในการกวดขันกฎหมายปัจจุบันให้มีบทลงโทษที่รุนแรงมากขึ้น)
 
นายสัตวแพทย์พรพิทักษ์ พรหล้า สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เราไม่สามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมหรือพฤติกรรมได้ แต่เราควรหยุดการลักลอบค้าสุนัข การประชุมครั้งสำคัญนี้จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานของภาครัฐ เห็นถึงปัญหาที่มาจากการค้าเนื้อสุนัข และหารือถึงแนวทางยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า”
 
นางสาวเหวียน ทู ถวี รองผู้อำนวยการกรมสุขภาพสัตว์ประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่า “สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในปีนี้ หนึ่งในเหตุผลหลักคือการลักลอบขนส่งสุนัขเพื่อการค้าข้ามชายแดน”
 
นาย บุญสืบ แช่มช้อย หัวหน้าผู้ตรวจราชการทั่วไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยประจำประเทศไทย กล่าวว่า“เราไม่เคยอนุญาตให้มีการขนส่งสุนัขจากประเทศไทยไปยังเวียดนามเพื่อการบริโภค เรายังคงแสวงหามาตรการแก้ปัญหา แต่เนื่องจากชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ นั้นยาวมาก จึงเป็นการยากในการจัดการการค้าที่ผิดกฎหมายนี้ ซึ่งเราก็กำลังพยายามอย่างเต็มที่”
 
องค์กรพิทักษ์สัตว์ สังกัดกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย จะร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่ในการช่วยเหลือทางด้านการเงิน ผู้เชี่ยวชาญและสิ่งจำเป็นอื่นๆ ทั้งนี้ กลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่าง มูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ (Change For Animals Foundation - CFAF) สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ (Humane Society International - HSI) มูลนิธิสัตว์แห่งเอเชีย (Animals Asia) และมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation) โดยดำเนินการไปทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก
 
นางสาวโลล่า เว็บเบอร์ ประธานโครงการของมูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ กล่าวว่า “ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขในประเทศเวียดนาม ไทย ลาว และกัมพูชา ทั้งนี้ การยุติการลักลอบค้าเนื้อสุนัขเพื่อการบริโภคนั้นเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในระดับชาติและระดับภูมิภาค”
 
นางสาวเคลลี่ โอ เมียร่า ผู้อำนวยการฝ่ายสัตว์เลี้ยงและการถือครองแห่งสมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ กล่าวว่า “การค้าไม่มีความเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะรักษาวัฒนธรรมหรือประเพณีแต่การค้าเป็นนั้นมีแรงขับเคลื่อนทางด้านผลประโยชน์และความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาพนอกจากนี้ ยังมีการติดตามสวัสดิภาพสัตว์และการจัดเก็บเอกสารหลักฐานชิ้นสำคัญทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและระดับโลก ที่แสดงถึงความโหดร้ายที่มีอยู่ในทุกขั้นตอนของการค้าสุนัข ตั้งแต่แหล่งที่มา การขนส่ง การขาย สู่ขั้นตอนการสังหารอย่างโหดร้าย”
 
นายต๋วน เบนดิกเซน ผู้อำนวยการมูลนิธิสัตว์แห่งเอเชียประจำประเทศเวียดนามกล่าวว่า “ขณะที่การค้าเนื้อสุนัขเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายในประเทศประเทศเวียดนามลาว และกัมพูชา แต่ในการค้าในระดับนานาชาติการค้านั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ถ้าเอกสารสุขภาพและการฉีดวัคซีนไม่ถูกต้อง ในขณะที่การค้านั้นเกี่ยวกับข้องกับสุนัขนับร้อยในการขนส่งแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่สุนัขทุกตัวจะมีเอกสารดังกล่าวอย่างถูกต้อง หรือมีการตรวจสอบอย่างละเอียดก่อนการส่งข้ามแดน ดังนั้นการค้าดังกล่าวนี้ควรจะต้องมีการยุติลงไป”
 
มร.จอห์น แดลลีย์ รองประธานมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย กล่าวว่า “โรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่ออื่น ๆ เช่น อหิวาตกโรคและโรคพยาธิทริคิโนซิสเป็นตัวแทนของการคุกคามทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วเอเชีย และก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ สุขภาพของมนุษย์ และสวัสดิภาพของสัตว์ นอกจากนี้ มันจะไม่เสียหายใดๆ เลย หากไม่มีประเทศใดในโลกทำให้การผลิต การค้าขาย และการบริโภคเนื้อสุนัขถูกกฎหมาย"
 
-----
 
สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ (Humane Society International - HSI) ร่วมกับองค์กรพันธมิตรจัดตั้งหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้วที่ HSIได้ทำงานเพื่อพิทักษ์สัตว์ทุกชนิดด้วยการใช้ศาสตร์ความรู้ การรณรงค์ การศึกษา และการต่อยอดนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง สามารถติดตามความเคลื่อนไหวการคืนชีวิตให้กับสัตว์และการเผชิญหน้ากับความโหดร้ายของโลกภายนอก ได้ที่เว็บไซต์ hsi.org
 
มูลนิธิสัตว์แห่งเอเชีย (Animals Asia) ทุ่มเทให้กับการสิ้นสุดของทารุณกรรมของการทำฟาร์มสกัดดีหมี ปรับปรุงพัฒนาสวัสดิภาพของสัตว์ในประเทศจีนและประเทสเวียดนาม รณรงค์ผู้คนให้หันมามีความเมตตาและเคารพชีวิตสัตว์ทุกชนิด ตลอดจนนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวด้วย 3 โปรแกรมหลัก ประกอบไปด้วย การหยุดการทำฟาร์มสกัดดีหมี สวัสดิภาพของสุนัขและแมว และสวนสัตว์และซาฟารี
 
มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation) กำลังต่อสู้เพื่อสวัสดิภาพของสุนัขและแมวในประเทศไทย ส่งเสริมให้มีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในสัตว์และมนุษย์ ยุติการทารุณกรรมในสัตว์ และรังสรรค์สังคมให้ปราศจากสัตว์ไร้ที่อยู่ให้หมดสิ้นไป ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ www.soidog.org
 
มูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ (Change For Animals Foundation - CFAF) เป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายให้รณรงค์ความเมตตาการุณาต่อสัตว์ทุกชนิดและยุติการทรมานสัตว์ CFAF มุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกสำหรับสัตว์ชนิดต่างๆทั่วโลกในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มพิทักษ์สัตว์ท้องถิ่นและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์นานาชาติ ติดตามเพิ่มเติมได้ที่www.changeforanimals.org
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net