Skip to main content
sharethis

<--break->เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไวคอม อินเตอร์เนชั่นแนล มีเดีย เน็ตเวิรคส์ นำโดย คริสเตียน เคอร์ซ รองประธานฝ่ายวิจัยนานาชาติ เปิดเผยผลการศึกษาและวิจัยจากทั่วโลกในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ ในหัวข้อ “ภาวะปกติในอนาคต: ทรรศนะใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ทั่วโลก” (The Next Normal: An Unprecedented Look At Millennials Worldwide) (หมายเหตุ: คนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์หรือ เจนเนอเรชั่น Y เป็นกลุ่มคนที่เกิดในช่วงต้นทศวรรษ 1980- ต้นทศวรรษ 2000) รายละเอียดมีดังนี้

• ผลการศึกษาและวิจัยในเชิงปริมาณจากทั่วโลกครั้งล่าสุดนี้ สำรวจในระหว่างเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม พ.ศ.2555 และสำรวจเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ด้วยจำนวนตัวอย่างการสำรวจทั้งสิ้นกว่า 15,600 ราย โดยทำการสำรวจเฉลี่ยแต่ละประเทศเป็นจำนวน 450 ราย (900 ราย ในประเทศอังกฤษ 1,350 รายในรัสเซีย และ 350 รายในแต่ละสามประเทศ ได้แก่ อียิปต์ โมร็อคโค และไนจีเรีย) ซึ่งครอบคลุมสามช่วงวัยอย่างเท่าๆ กันโดยคร่าว กล่าวคือ ทำการสัมภาษณ์เฉลี่ย 150 รายกับสามช่วงวัย : ช่วงอายุ 9-14 ปี (กลุ่มรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์คลื่นสุดท้าย) ช่วงอายุ 15-24 ปี และช่วงอายุ 25-30 ปี (กลุ่มรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์แรก)

• วิเคราะห์เพิ่มเติมจากกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์กว่า 3,400 ราย และผู้ปกครองกว่า 665 ราย ในสหรัฐอเมริกา

ผลวิจัยระบุว่า ทุกวันนี้ เศรษฐกิจ คือปัจจัยอันดับแรกที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มคนรุ่นนี้ โดยมีจำนวนถึง 68% จากทั้งหมดที่มีความรู้สึกอ่อนไหวต่อวิกฤติเศรษฐกิจโลก ถึงแม้จะมีความเป็นกังวลในเรื่องของเศรษฐกิจที่มีนัยสำคัญ แต่โดยส่วนใหญ่ของกลุ่มคนรุ่นนี้มักจะแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความสุข และการมองโลกในแง่ดี

• มากกว่าสามในสี่ (76%) ของกลุ่มคนรุ่นนี้บรรยายถึงตนเองว่า "เป็นคนที่มีความสุขมาก"

• ระดับความสุขของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยลส์นั้นเหนือกว่าระดับความเครียดโดยอยู่ที่ระดับ 2 ต่อ 1

• ในประเทศไทย กลุ่มคนยุคมิลเลนเนี่ยลส์มีระดับความสุขอยู่ที่อันดับสามจากทั่วทั้งเอเชีย ถือเป็น 78% โดยมีประเทศฟิลิปปินส์ครองอันดับหนึ่ง ที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสุขอยู่ที่ 83% ตามด้วยอินเดีย ที่ 81% และจีน ที่ 80% มาเลเซีย ที่ 77% และสิงคโปร์ ที่ 69%


ผลการศึกษาเพิ่มเติมที่มีนัยสำคัญที่ค้นพบ มีดังนี้
กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์จะรู้สึกมีความทุกข์ต่อความไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน

ความเป็นกังวลทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดความหวาดกลัวอย่างต่อเนื่องในด้านความมั่นคงต่อหน้าที่การงาน รวมไปถึงความไม่แน่ใจและหวาดระแวงในการขยับเลื่อนฐานะของตนเอง

• จากทั่วโลกพบว่าภาวะการว่างงานเป็นประเด็นสำคัญระดับต้นๆ ของโลกที่กลุ่มคนรุ่นนี้ต้องการให้แก้ไข ซึ่งมากกว่าปัญหาความอดอยากหิวโหยของผู้คนทั่วโลก

• เกือบครึ่งของกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ (49%) เชื่อว่าสถานการณ์ของความมั่นคงในหน้าที่การงานจะยังคงมีแนวโน้มที่แย่ลง โดยที่มีจำนวนถึง 78% ที่มีความต้องการได้รับค่าจ้างในอัตราแรงงานขั้นต่ำ ดีกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีงานทำ

• ในขณะที่ในปี พ.ศ.2549 พบว่ามีจำนวนกว่า 38% ของกลุ่มวัยหนุ่มสาวที่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับประโยคที่ว่า “ฉันจะหาเงินได้มากกว่าพ่อแม่หรือผู้ปกครองของฉัน” แต่ปัจจุบันพบว่าตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือ 25% ในยุคหลังวิกฤติเศรษฐกิจ
 

การใช้เวลาอยู่กับครอบครัวคือวิธีหาความสุขอันดับแรกสำหรับกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์

ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนทั้งในชีวิตจริงและในโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่งในการหาความสุขของกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ ท่ามกลางคนยุคนี้ พบว่ามีแนวโน้มที่แวดวงความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนในชีวิตจริงนั้นแคบลง เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนในโลกออนไลน์ซึ่งมีจำนวนพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว

• ในช่วงระยะหกปีหลัง กลุ่มคนรุ่นนี้ยังคงมีกลุ่มเพื่อนรักในจำนวนเท่าเดิม แต่ในแวดวงของเพื่อนที่ต้องพบเจอประจำวันกลับมีจำนวนที่แคบลง

• ในทางกลับกัน พบว่าคนรุ่นนี้มีเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่า 200 คน ตลอดระยะเวลาหกปีที่ผ่านมา พบว่ามีตัวเลขก้าวกระโดดอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มเพื่อนทางออนไลน์ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นเพื่อน แม้ว่าจะไม่เคยพบเห็นกันมาก่อนก็ตาม

• ในประเทศไทย พบว่านอกเหนือไปจากสมาชิกในครอบครัวแล้วนั้น ดารานักร้องและเหล่าเซเลบริตี้ รวมไปถึงครู อาจารย์ เป็นกลุ่มที่ถูกยอมรับว่าเป็นผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มคนรุ่นนี้ 

วิธีการแก้ความเครียดของกลุ่มคนรุ่นนี้ในประเทศไทยที่มักจะเลือกใช้ คือ ดูโทรทัศน์ นอน และพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
 

เทคโนโลยีไม่ได้เป็นตัวกำหนด แต่เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตน

แทนที่จะเป็นตัวกำหนดกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ แต่เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้ในการแสดงตัวตน หากถามกลุ่มคนรุ่นนี้ จะได้คำตอบที่ว่า “เทคโนโลยีไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นในแบบที่พวกเขาเป็น แต่มันได้ทำให้เขาสามารถเป็นอะไรก็ได้ที่เขาอยากจะเป็น เทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุนความสัมพันธ์ให้แข็งแรงขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสุขอย่างยั่งยืนและเปิดโลกทรรศน์ให้กว้างมากขึ้น

• สามในสี่ของคนกลุ่มนี้เชื่อว่าโซเชียลมีเดียมีผลประโยชน์ในด้านความสัมพันธ์แบบเพื่อน

• และมีจำนวนมากถึง 73% ของคนกลุ่มนี้กล่าวว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นได้เปลี่ยนวิธีคิดที่พวกเขามีต่อโลกใบนี้
กลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์ในเอเชีย (นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น) มีพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ระหว่างดูโทรทัศน์ที่ค่อนข้างบ่อยมากกว่าที่ใดในโลก ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ ในประเทศจีนมีการใช้ไมโครบล็อกเหว่ยป๋อ (Weibo) ถี่มาก ในฟิลิปปินส์กลุ่มคนรุ่นนี้มักมีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากในการใช้ทุกช่องทางเพื่อสื่อสารกันเป็นปกติ ส่วนผลสำรวจในประเทศไทยพบว่า พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย (มีจำนวนถึง 42% ที่ส่งข้อความ ในขณะที่มีจำนวน 46% ใช้ในการสื่อสารกัน) มีสูงกว่าการส่งข้อความหากันระหว่างดูโทรทัศน์ (27%)
 

ความภาคภูมิใจและความอดทนอดกลั้น

กลุ่มคนรุ่นนี้กำลังแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกที่มีมากขึ้นต่อความภาคภูมิใจในประเทศของตนเองรวมไปถึงการแสดงออกถึงความสนใจในการรักษาประเพณีพื้นเมือง ในขณะเดียวกันพวกเขาเปิดใจกว้างมากขึ้นและอดทนอดกลั้นต่อมุมมองของนานาประเทศและวัฒนธรรมอื่นๆ

• มีจำนวนถึง 83% ที่เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า “ฉันภูมิใจที่เกิดเป็นคนประเทศ...” ซึ่งเพิ่มจาก 77% ในปี พ.ศ.2549

• มีจำนวนกว่า 76% ที่เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยกันรักษาประเพณีของประเทศตนเอง โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68% ในปี พ.ศ.2549

• มีจำนวน 73% ที่คิดว่าเป็นเรื่องดีที่มีคนต่างชาติเข้ามาอยู่อาศัยในบ้านเกิดของพวกเขา ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยที่เพิ่มจาก 51% ในปี พ.ศ.2549

• มีจำนวนถึง 86% ที่ระบุถึงตัวเองว่าเป็นคนที่อดทนอดกลั้น

• 84% ของคนกลุ่มนี้ เห็นด้วยกับประโยคที่ว่า “ช่วงวัยเรามีศักยภาพที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้”


ภาวะปกติในอนาคต : ระหว่าง “พวกเรา” กับ “ตัวเรา”

จากผลการวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นว่า “ภาวะปกติในอนาคต” เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับ “พวกเรา” มากกว่า “ตัวเรา” โดยลักษณะพิเศษที่สำคัญที่นิยามถึงกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนี่ยลส์นี้คือ ความตระหนักต่อสังคมทั่วโลก ความอดทนอดกลั้นและการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น รวมไปถึงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการส่งต่อและเชื่อมต่อไปทั่ว

• พบว่ามีจำนวนถึง 87% ที่มีความกระตือรือร้นและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกใบนี้

• และมีจำนวน 87% เช่นกันที่ได้ประยุกต์ใช้วลีที่ว่า “ส่งต่อและเชื่อมต่อ” สู่กันและกัน (“sharing and connecting”)

• 85% ของคนกลุ่มนี้ได้ระบุว่าตัวเองมีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้พร้อมเสมอกับการเปลี่ยนแปลง

• มีจำนวนกว่า 93% ทั่วโลกที่เชื่อว่าการปฏิบัติต่อผู้คนอื่นๆ ด้วยความเคารพถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ เพศ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือจะเป็นความหลากหลายทางเพศ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net