Skip to main content
sharethis

กรมการจัดหางานเตือนแรงงานไทยที่จะไปเก็บผลไม้ป่าที่ฟินแลนด์

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีกลุ่มคนหางานในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 99 คน เข้าร้องทุกข์กับกกจ. เพื่อขอให้ช่วยเหลือตามเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากตัวแทนผู้ประสานงาน ของบริษัท MARLA-MATTI OY ประเทศฟินแลนด์และคนงานไทย ที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าอีก 1 คน ที่เรียกรับเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางาน ไปคนละ 65,000 บาท แต่กลับไม่จัดส่งไปทำงานและไม่คืนเงินให้ ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนของกกจ. พบว่าหนึ่งในตัวแทนผู้ประสานงานดังกล่าว ไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเข้าข่ายจัดหางาน โดยไม่ได้รับอนุญาต กกจ.จึงมอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดชัยภูมิเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนงานไทยที่ถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงคน หางานได้แล้ว ขณะกลับมาจากการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศฟินแลนด์ ส่วนที่เหลือกำลังอยู่ในระหว่างการติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป

นายประวิทย์  กล่าวต่อไปว่า ก่อนที่แรงงานจะตัดสินใจสมัครไปรับจ้างเก็บผลไม้ป่ากับนายจ้างบริษัทใดๆ ขอให้คนหางาน ตรวจสอบก่อนว่าบริษัทนายจ้างรายนั้นได้รับโควตามาจำนวนกี่คนและบริษัทรับคน งานไปแล้วกี่คน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหาย ซึ่งตามระเบียบของกรมการจัดหางานกำหนดให้คนหางานที่จะแจ้งการเดินทางไปเก็บ ผลไม้ป่าต่อกรมฯ จะต้องมีสำเนาเอกสารที่ได้รับหนังสือเชิญให้ไปเก็บผลไม้ป่า จากบริษัทนายจ้างที่รับซื้อผลไม้ป่า ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับโควตาจากสมาคมนายจ้างในประเทศฟินแลนด์ และคนหางานจะต้องได้รับอนุมัติวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำ ประเทศไทย แต่กรณีนี้นายหน้าฯ ได้ไปรับสมัครคนงานไว้เกินโควตาที่บริษัทฯได้รับ ทำให้สถานทูตฯ ไม่ออกวีซ่าให้คนหางานในส่วนที่เกินโควตาจึงก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว โดยคนหางานสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศอย่าง ถูกกฎหมายได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร. 0-2245-1034 หรือ สายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694

(มติชนออนไลน์, 12-11-2556)

สรส.ยังไม่อาระยะขัดขืนหยุดงาน- ตัดน้ำตัดไฟ

นายคมสันต์ ทองศิริ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือ สรส. กล่าวถึงมติของการประชุมสมาพันธ์วันนี้ว่า จะไม่หยุดงานตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะการตัดน้ำ ตัดไฟ จะทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อน อย่างไรก็ตาม กำหนดให้แต่ละสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไปจัดประชุมวิสามัญเพื่อหามาตรการแสดง จุดยืนการต่อต้านในแต่ละสหภาพเอง โดยขณะนี้จากจำนวนสมาชิกทั้งหมด 44 สหภาพ มีเพียงสหภาพฯ เดียวที่ประชุมวิสามัญไปแล้ว คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง โดยมีนายคมสันต์ เป็นประธาน ซึ่งมีข้อสรุปว่าจะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับหน่วยงานราชการที่ค้างจ่ายค่า ไฟฟ้า โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะรอถึงวันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายนนี้ หลังจากที่สหภาพได้ยื่นหนังสือให้กระทรวงมหาดไทย เร่งจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการไฟฟ้านครหลวง

ขณะที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค เตรียมหารือในแนวทางเดียวกัน คือ การตัดน้ำหน่วยงานราชการที่ค้างจ่าย ส่วนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ขสมก. จะประชุมสมาชิกในวันพรุ่งนี้เวลา 9.00 น. มีแนวทางพิจารณา คือ การออกมาตรการ Slow Down หรือ การปล่อยรถให้บริการช้าลงจากเดิมทุกๆ 5 นาที เป็นทุกๆ 15-20 นาที

(ครอบครัวข่าว, 12-11-2556)

กสร.ชี้ บริษัท เอคโค่ ปิดโรงงานที่พิจิตร เพราะแบกรับค่าแรง 300 บาท ไม่ไหว

(12 พ.ย.)นายพานิช จิตร์แจ้ง ว่าที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรองเท้าแบรนด์ดังเพื่อการส่งออก ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนล่าง อำเภอวชิบารมี จังหวัดพิจิตร ปิดการลงว่า ทางบริษัทมองว่าการที่รัฐบาลประกาศนโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ทำให้บริษัทต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งค่าแรงและค่าขนส่งวัตถุดิบจากบริษัทที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริษัทหลัก ไปยังบริษัทที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งขณะนี้ได้ทำการตัดภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวโดยการรวมสายการผลิตไว้ที่ บริษัทหลักเพียงแห่งเดียว และได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายให้กับลูกจ้างทั้งหมดแล้วกว่า 100 ล้านบาท และพร้อมที่จะรับลูกจ้างที่ต้องการทำงานต่อไว้ทั้งหมด เพียงต้องย้ายไปทำงานที่บริษัทหลัก โดยจะมีการจ่ายค่าขนย้ายให้ ซึ่งมีการตั้งโต๊ะลงชื่อคนที่ต้องการกลับเข้าทำงาน มีคนลงชื่อแล้ว 300 คน จาก 1,138 คน ส่วนที่เหลือยังขอปรึกษากับทางครอบครัวก่อน
      
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ล่าสุดมีลูกจ้างจำนวน 450 คนได้ยื่นหนังสือขอเงินชดเชยกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมแล้ว ส่วนเรื่องของปัญหา ขณะนี้ยังไม่พบว่าลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนและยังไม่ได้รับการร้องเรียน แต่อย่างใด

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12-11-2556)

กสร.ชี้เอกชนหยุดงานเป็นสิทธิของนายจ้าง-การทำข้อตกลงกับลูกจ้าง

นายพานิช จิตร์แจ้ง ว่าที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่ภาคเอกชนจะหยุดงานเพื่อให้พนักงานไปร่วมชุมนุมแสดงออกทางการ เมืองว่า เรื่องของการหยุดงานของเจ้าของสถานประกอบการเป็นสิทธิของนายจ้าง รวมทั้งเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ส่วนกรณีที่ลูกจ้างจะลางานโดยใช้สิทธิตามที่มี อย่างการลากิจ ลาพักร้อน ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย

นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ในส่วนของภาคเอกชน ทาง คสรท.ไม่ได้สั่งให้สมาชิกหยุดงานเพื่อไปร่วมการชุมนุม เป็นเพียงการขอความร่วมมือในการไปร่วมชุมนุมในช่วงเวลาว่าง เช่น เวลาหลังเลิกงาน เพราะไม่สามารถสั่งได้ เนื่องจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่หากนายจ้างเห็นด้วยที่จะให้ลูกจ้างเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง จะอนุญาตให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อเข้าร่วมก็เป็นสิทธิของนายจ้าง ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ การหยุดงานเพื่อร่วมการชุมนุมต้องทำภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ทั้งนี้ ยังไม่ทราบจำนวนสมาชิกที่จะหยุดงานเพื่อเข้าร่วมชุมนุมในช่วงวันที่ 13-15 พฤศจิกายนนี้ นอกจากนี้ ได้ขอความร่วมมือไปยังเครือข่ายที่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลและจังหวัดใกล้ เคียง เช่น ปราจีนบุรี ส่วนสมาชิกที่อยู่ห่างไกล ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมภายในจังหวัดของตนเอง โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ

นายคมสัน ทองศิริ เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) กล่าวว่า ขณะนี้ สรส.ยังไม่ได้หารือกับองค์กรรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ว่าจะมีการนัดหยุดงานในวันที่ 13-15 พฤศจิกายน ตามที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวบนเวทีที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อคืนวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจะต้องดูสถานการณ์และหารือกันอีกครั้ง หากเกิดสถานการณ์รุนแรง กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายประชาชนก็คงจำเป็นต้องนัดหยุดงาน ขณะนี้เป็นสิทธิของแต่ละองค์กรและสมาชิกของแต่ละองค์กรรัฐวิสาหกิจที่จะไป ร่วมชุมนุมหรือหยุดงาน โดยส่วนใหญ่จะลางานหรือไปชุมนุมช่วงหลังเลิกงาน

(มติชนออนไลน์, 12-11-2556)

คนงานอุดรเมินอารยะขัดขืน

กรณีที่กลุ่มคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรม ประกาศนัดให้มีการหยุดงานวันที่ 13-15 พ.ย. 56 ตามเวทีที่กรุงเทพมหานาครได้นัดหมายเพื่อแสดงอารยขัดขืนนั้น นายพรเทพ ศักดิ์สุจริต ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า จากการสอบถามสมาชิกสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี ทราบว่า ไม่มีโรงงานใดที่มีคนงานหยุดงาน เพื่อทำอารยะขัดขืน เนื่องจากส่วนใหญ่เกรงว่า จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ โดยส่วนตัวเห็นว่าเรื่องของผู้ที่คัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองของแต่ละคน ที่จะคัดค้านกัน แต่ความเป็นจริงทุกคนต้องหากินเลี้ยงปากท้องกัน ก็ต้องทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว

"ส่วนตัวของผม คงจะไม่สามารถให้มีการหยุดงานได้ เพราะธุรกิจของผม ต้องทำตามออร์เดอร์ ที่มีการนัดวันเวลาจัดส่งสินค้าไว้ หากมีคนงานหยุดไม่มาทำงาน เรื่องนี้จะเกิดความเสียหายขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่วนนอกเวลางานผู้ใดจะไปร่วมชุมนุมหรือดำเนินกิจกรรมอะไรก็ได้ ผมไม่ได้ห้าม เพราะเป็นสิทธิที่เขาต้องการแสดงออกของแต่ละคน" นายพรเทพ กล่าว

สำหรับ จ.อุดรธานี ไม่มีการหยุดงานของผู้ใช้แรงงาน หรือผู้บริหาร รวมทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน และธุรกิจส่วนตัว ทุกฝ่ายยังทำงานตามปกติ ส่วนการชุมนุมของกลุ่มคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมยังคงมีทุกวัน ที่ลานปูนสนามทุ่งศรีเมือง แต่มีประชาชนเข้ามาร่วมจำนวนไม่มาก โดยจะมีกิจกรรมรวมตัว ร้องเพลงปลุกใจ เป่านกหวีด ร้องเพลงชาติก่อนจะแยกย้าย

(เนชั่นทันข่าว, 13-11-2556)

รมว.คมนาคมยืนยันรัฐวิสาหกิจในสังกัดไม่หยุดงาน

13 พ.ย.- รมว.คมนาคมยืนยันรัฐวิสาหกิจในสังกัดไม่มีการหยุดงาน ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ส่วนพนง.ที่จะเข้าร่วมชุมนุมเป็นสิทธิ ขอให้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ดำเนินการในนามขององค์กร
 
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าขณะนี้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับระบบขนส่งในสังกัดกระทรวง คมนาคม ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ โดยไม่มีการหยุดงานตามที่มีกระแสข่าว ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจที่จะเข้าร่วมชุมนุมนั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคล กระทรวงไม่ได้คัดค้านหรือบังคับ แต่ขอให้เป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ดำเนินการในนามขององค์กร และพนักงานต้องคำนึงถึงหน้าที่หลักในการบริการประชาชน

(สำนักข่าวไทย, 13-11-2556)

พนักงานการไฟฟ้านครหลวง ยังทำงานปกติ ไร้ป้ายติดประกาศ ขณะที่เจ้าหน้าที่เผย ใช้เวลาหลังเลิกงาน ร่วมชุมนุมต้านนิรโทษ

จากกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม ได้ประกาศยกระดับการชุมนุม โดยเชิญชวนให้ประชาชนทำอริยะขัดขืน ทั่วประเทศ ในนการหยุดงานเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 13 - 15 พฤศจิกายน 2556 เพื่อร่วมชุมนุมนั้น ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจ บริเวณที่ทำการ การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่เพลินจิต ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในขณะนี้ พบว่า การทำงานของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และพนักงานของการไฟฟ้านครหลวง ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และไม่พบการป้ายประกาศหยุดทำงานในวันดังกล่าว

ขณะที่จากการสอบถามพนักงานบางส่วน กล่าวว่า จะใช้เวลานอกการทำงานเข้าร่วมชุมนุมในการแสดงออกของสิทธิส่วนบุคคล ส่วนจะหยุดงานตามที่แกนนำประกาศหรือไม่ จะขอพิจารณาอีกครั้งก่อน นอกจากนี้พบว่า ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ประกาศงดจ่ายกระแสไฟฟ้าเป็นการชั่วคราวในบางพื้นที่ ในเวลา 08.00 - 13.00 น. ของวันนี้ บริเวณซอยประชาอุทิศ 33 แยก 10 ถนนประชาอุทิศ และซอยสุขสวัสดิ์ 25/2 ถนนสุขสวัสดิ์ เพื่อทำงานเกี่ยวกับสายป้อนไฟฟ้าแรงสูงในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบการ จ่ายกระแสไฟฟ้า

(ไอเอ็นเอ็น, 13-11-2556)

แนะตรวจสอบโควตาก่อนตัดสินใจไปทำงานต่างประเทศ

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า จากกรณีที่มีกลุ่มคนหางานในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 99 คน เข้าร้องทุกข์กับกรมการจัดหางาน เพื่อขอให้ช่วยเหลือตามเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากตัวแทนผู้ประสานงาน ของบริษัท MARLA-MATTI OY ประเทศฟินแลนด์ และคนงานไทย ที่เดินทางไปเก็บผลไม้ป่าอีก 1 คน สาเหตุเกิดจากตัวแทนผู้ประสานงานและคนงานไทยดังกล่าวได้ชักชวนให้สมัครงาน เพื่อไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศฟินแลนด์ โดยเรียกรับเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายจากคนหางาน ไปคนละ 65,000 บาท แต่ตัวแทนผู้ประสานงานและคนงานไทยดังกล่าว กลับไม่จัดส่งไปทำงานและไม่คืนเงินให้ จากการตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนของกรมการจัดหางาน พบว่าหนึ่งในตัวแทนผู้ประสานงานดังกล่าว ไม่ได้เป็นตัวแทนของบริษัทจัดหางานให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศแต่อย่างใด ดังนั้นจึงเข้าข่ายจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต กรมฯ จึงมอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดชัยภูมิเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้า หน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรแก้งค้อ จ.ชัยภูมิ โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนงานไทยที่ถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงคนหา งานได้แล้ว ขณะกลับมาจากการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศฟินแลนด์ ส่วนที่เหลือกำลังอยู่ในระหว่างการติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้ ตามระเบียบของกรมการจัดหางานกำหนดให้คนหางานที่จะแจ้งการเดินทางไปเก็บผลไม้ ป่าต่อกรมฯ จะต้องมีสำเนาเอกสารที่ได้รับหนังสือเชิญให้ไปเก็บผลไม้ป่าจากบริษัทนายจ้าง ที่รับซื้อผลไม้ป่า ซึ่งบริษัทดังกล่าวจะต้องได้รับโควตาจากสมาคมนายจ้างในประเทศฟินแลนด์ และคนหางานจะต้องได้รับอนุมัติวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตฟินแลนด์ประจำ ประเทศไทย แต่กรณีนี้นายหน้า ได้ไปรับสมัครคนงานไว้เกินโควตาที่บริษัทฯ ได้รับ ทำให้สถานทูตฯ ไม่ออกวีซ่าให้คนหางานในส่วนที่เกินโควตาจึงก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ก่อนตัดสินใจสมัครไปรับจ้างเก็บผลไม่ป่ากับนายจ้างบริษัทใดๆ ขอให้คนหางาน ตรวจสอบก่อนว่าบริษัทนายจ้างรายนั้นได้รับโควตามาจำนวนกี่คนและบริษัทรับคน งานไปแล้วกี่คน ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายจากการถูกตัวแทน ผู้ประสานงานหรือนายหน้าจัดหางานเรียกรับเงินค่าบริการไปแล้ว แต่ไม่สามารถส่งไปทำงานได้ โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศอย่างถูก กฎหมายได้ที่ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ โทร.0-2245-1034 หรือสายด่วน กรมการจัดหางาน โทร.1694

(บ้านเมือง, 15-11-2556)

ILO ร่วมภาคีต้านเอดส์ เปิดโครงการ VCT@WORK ให้คำปรึกษา ตรวจเลือด

(15 พ.ย.) องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (ILO) ร่วมกับสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์, ศูนย์วิจัยเอดส์ สภากาชาดไทย, โครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) จัดงานเปิดตัว โครงการ VCT@WORK (Voluntary HIV Counselling and Testing at Work Programme -ให้คำปรึกษา และตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมี ดร.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน กล่าวว่า โครงการนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีในไทยและทั่วโลก พร้อมสนับสนุนให้ประชาชนได้รู้สถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนเองตั้งแต่ใน ระยะเริ่มแรก เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ต่อไปด้วยการมีสุขภาพที่ดี โดยทางเจ้าของกิจการหรือสถานประกอบการ จะต้องสนับสนุนในการนำพนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทให้ได้จำนวน 100,000 คน ในการเข้ารับการตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจผ่านสถานประกอบการ ภายในสิ้นปี พ.ศ.2558 นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังนี้
      
นายมอริซิโอ บุซซี่  รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่า “สถานประกอบกิจการคือสะพานสำคัญ ที่จะเชื่อมการให้ความรู้ด้านการป้องกันกับการรักษาเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เราได้มองเห็นศักยภาพของสถานประกอบการในการสื่อสารเรื่องการ ป้องกันในประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่เราต้องให้ความสนใจในการสนับสนุนให้พนักงานได้เข้าถึงการเข้า รับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานประกอบการ หรือในกิจการที่มีความเสี่ยง”
      
นพ.ทวีทรัพย์ ศิริประภาศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กล่าวว่า “จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข การเข้ารับบริการตรวจเลือดเอชไอวีในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ มีเพียงร้อยละ 40 ของประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ได้มาเข้ารับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในประเทศไทยปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวน 480,000 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่จะมีเพียงแค่ 240,000 คน ที่ได้เข้ารับการรักษา ดังนั้นการสนับสนุนให้คำปรึกษา และการตรวจหาเอชไอวี ประกอบกับบริการด้านการรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกลยุทธ์ของประเทศที่ต้องการจะลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ และยังป้องกันการเสียชีวิตจากโรคเอดส์ได้อีกด้วย”
      
นายสาวิทย์ แก้วหวาน อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้กล่าวว่า ปัจจุบันพนักงานในไทยมีแนวโน้มที่จะไปตรวจหาเชื้อเอชไอวีกันเพิ่มมากขึ้น และถ้าหากพวกเขารู้ว่าสิทธิของตนเองจะได้รับการคุ้มครอง ก้าวแรกคือสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อนโยบายในเรื่องนี้ ดังนั้นการคุ้มครองสิทธิโดยเฉพาะเรื่องการจ้างงานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือสิ่งสำคัญในการขยายการตรวจเลือดเอชไอวี นอกจากนี้การรักษาเข้าไปยังสถานประกอบการ ซึ่งในนโยบายแรงงานของประเทศไทยได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าสถานประกอบการไม่ ควรเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี และควรจะรักษาความลับเรื่องสถานะ การติดเชื้อ โดยในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้มีมติรับรองมาตรฐานแรงงานสากลว่าด้วยเอชไอวี และเอดส์ ข้อแนะเกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ในที่ทำงาน (ข้อแนะฉบับที่ 200) มาตรฐานดังกล่าวไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อลูกจ้างที่มีเชื้อเอชไอ วี และเรียกร้องให้นายจ้างได้สนับสนุนให้ลูกจ้างเข้าถึงการตรวจหาเชื้อเอชไอวี และการรักษา
      
สำหรับโครงการ VCT@WORK ที่จัดในประเทศไทยนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลกที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บริการตรวจเลือดโดยสมัครใจ ครอบคลุมในกลุ่มพนักงานจากทั่วโลกเป็นจำนวน 5 ล้านคน ภายในปี พ.ศ.2558 โดยภาคีหลักของการจัดทำโครงการนี้ ในประเทศไทยประกอบด้วยกระทรวงแรงงาน, สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย, สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), สภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย โดยผู้ที่สนใจในรายละเอียด สอบถามได้ที่โทรศัพท์ 02-2881664 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 15-11-2556)

ไฟไหม้แคมป์คนงานก่อสร้างสมุทรปราการ กว่า 20 ห้องวอด

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 17 พ.ย. ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า ร.ต.ท.รัฐพงษ์ ศรีนอก พนักงานสอบสวน สภ.เมืองสมุทรปราการ รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้แคมป์คนงานก่อสร้าง ไม่มีเลขที่ ตั่งอยู่ข้างหมู่บ้านเด่นชัย ซ.มังกรนาคดี ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ จึงพร้อมด้วยรถดับเพลิงจากเทศบาลตำบลแพรกษา เดินทางไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุพบเปลวเพลิงกำลังโหมลุกไหม้แคมป์คนงาน ซึ่งโครงสร้างเป็นไม้อัดหลังคามุงสังกะสี ที่ปลูกติดกันกว่า 20 ห้อง เจ้าหน้าที่เข้าฉีดน้ำสกัดเพลิงนานกว่า 30 นาที จึงควบคุมเพลิงเอาไว้ได้ หลังเพลิงสงบตรวจสอบพบแคมป์คนงานและข้าวของซึ่งอยู่ภายในได้รับความเสียหาย ทั้งหมด เนื่องจากระหว่างเกิดเหตุคนงานที่พักอยู่ในแคมป์ไม่มีผู้พักอาศัยอยู่

จาการสอบถาม เด็กหญิงชัยชนก ภาคภูมิ อายุ 15 ปี ซึ่งเป็นลูกสาวของคนงานในแคมป์ดังกล่าว ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าในแคมป์คนงานได้ออกไปงานกันทั้งหมด เหลือเพียงไม่กี่คน ขณะที่ตนกำลังนอนหลับอยู่ในห้องพักได้กลิ่นเหม็นไหม้ออกจากหน้าห้อง จึงได้เดินออกมาดู พบเห็นไฟกำลังลุกไหม้สายไฟฟ้าที่พาดอยู่บนหลังคาก่อนจะเกิดเพลิงลุกลามไปติด กับตัวห้องอย่างรวดเร็ว

ตนจึงได้วิ่งไปขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านที่อยู่ละแวกดังกล่าว เพื่อให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ และโทรแจ้งผู้เป็นแม่ ซึ่งกำลังทำงานก่อสร้างอยู่ในโครงการหมู่บ้านเฟื่องฟ้า 15 เพื่อบอกคนงานทั้งหมดมาเก็บของ แต่ไม่ทันจนถูกเพลิงไหม้ทั้งหมด

เบื้องต้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ส่วนสาเหตุคาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร อย่างไรก็ตามจะได้ให้กองพิสูจน์หลักฐานมาตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อ หาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

(ข่าวสด, 17-11-2556)

ประธานกรรมการบริหาร ซีพี ออลล์ เผยแผนบริหารพนักงาน ต้องสร้างความรู้ ชี้ ช่วยลดสถิติพนักงานลาออกได้ 4-5% ต่อเดือน

นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังรับตำแหน่ง"CEO Econmass Award 2013" จากสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจว่า สำหรับบทบาทการบริหารงานในบริษัทฯคือการสร้างพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งปัจจุบัน พนักงานของบริษัทฯ มีทั้งหมด125,000 คน โดยประมาณ 2.5% เป็นบุคคลที่มีความรู้ในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และอีกประมาณ 83 %เป็นบุคคลที่มีการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่า มัธยมศึกษาปีที่ 6 ดังนั้น ทางบริษัทจึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนในด้านต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจหลักในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการให้ความรู้จะทำให้เกิดการพัฒนายกระดับของตัวพนักงานเอง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาจากการที่บริษัทฯ ได้จัดดารเรียนการสอนให้พนักงาน ส่งผลให้พนักงานที่มีวิชาความรู้น้อยลดลง1.3 % จาก 2.5 % และจากที่มีสถิติพนักงานลาออกประมาณ 15 % ภายใน 1 เดือน ลดลงเหลือ 4-5 % /เดือน

(ไอเอ็นเอ็น, 18-11-2556)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net