Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สมบัติ ธำรงธัญวงค์พูดเกี่ยวกับที่มาของนักปราชญ์ว่าเกิดมาจากวิกฤติของสังคมที่กำลังมีการคอรัปชั่นและจำเป็นต้องมีคนดีในการสรรหาตัวแทนและการป้องกันสิทธิของประชาชน ซึ่งเศรษฐกิจที่เป็นอยู่นั้นคือทุนสามานย์และเป็นระบบทักษิณ  แต่ในความเป็นจริงของแวดวงวิชาการ เรื่องที่พูดกันอยู่นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เลย เพราะนี่เป็นปรากฎการณ์ของประเทศกำลังพัฒนาและการแก้ไขปัญหาโดยนักปราชญ์แห่งสภาประชาชนที่กำลังเสนอกันอยู่นั้น อย่างเช่น คดีคอรัปชั่นที่ไม่มีอายุความ หรือว่าการกำหนดให้จัดสรรคนดีเป็นตัวแทนในการเขียนกฏและกติกาในสังคม หากพิจารณาความเป็นไปได้นั้นดูเหมือนกับว่าสิ่งที่กำลังพูดไม่ได้ปรากฎอยู่ในระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลก ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลก(นอกจากในงานของเพลโต้ที่เขียนเกี่ยวกับอุตมรัฐไว้ แต่วิธีการแก้ปัญหาต่างกันคือผู้ปกครองเป็นนักบวชเสียมากกว่า)  

การออกแบบกลไกการแก้ปัญหาทุนสามานย์และระบบทักษิณ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี50เกิดความล้มเหลว เนื่องจากในตัวกฏหมายรัฐธรรมนูญนั้นผู้ร่างกฏหมายมีอำนาจทางการเมืองแต่กลับไม่เข้าใจกฎหมาย การกำกับด้านเศรษฐกิจที่นำเอามาใช้ในฐานะเครื่องมือเพื่อสร้างระบบดุลยภาพทางสังคมกล่าวคือ นอกจากจะไม่เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นเรื่องของระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกแล้ว ความเข้าใจด้านการใช้กฎเศรษฐกิจไปสัมพันธ์กับชีวิตผู้คนที่มีความสับสนอย่างมากในการกำหนดเป็นนโยบายแนวปฎิบัติเพื่อต่อสู้กับทุนสามานย์และระบบทักษิณ อย่างเช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี เศรษฐกิจแบบระบบคำสั่ง(สังคมนิยม) เศรษฐกิจชายขอบ มีทุกอย่างในตัวเดียวกัน ซึ่งผมก็พยายามเฝ้าดูว่านักปราชญ์ของสภาประชาชนจะเสนออะไรออกมา เพราะเท่าที่เห็นก็เป็นแค่เรื่องเทคนิคการปราบคอร์รัปชั่นมากกว่า

ความจริงแล้วปัญหาทุนนิยมสามานย์เกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือตลาดภาครัฐ คือนั้นมีค่าเช่าทางการเมือง โดยเฉพาะการสัมปทาน การใช้งบประมาณของรัฐและกิจกรรมอื่นๆ อย่างเช่น ในชิลีก็เคยเกิดปัญหาแบบนี้ และปัญหาดังกล่าวก็ถูกแก้ไขโดยการพัฒนาสถาบันและการแบ่งแยกแรงงานด้านเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากการมีมาตรการทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้นจะไม่มีผลใดๆที่จะแก้ปัญหาในชิลีได้  ภายใต้เผด็จการโดยปิโนเช่ที่พยายามเปลี่ยนแปลงความหมายจากการใช้งบประมาณของรัฐหรือการพึ่งพาวัตถุดิบเป็นเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ฐานวัตถุดิบที่จะต้องมีสถาบันให้การสนับสนุน แต่อย่างน้อยภายในประเทศนั้นต้องเป็นรัฐแบบประชาธิปไตย เพราะโดยทั่วไปบริษัทที่ไม่ใช่ฐานวัตถุดิบไม่สามารถที่จะเติบโตได้เนื่องจากจะต้องวิ่งเต้นเกี่ยวกับค่าเช่าทางการเมือง

ศาลยุติธรรมมีความอิสระในฐานะฝ่ายตุลาการ (รวมถึงหลักการที่ไม่ยึดคืนทรัพย์สินภาคเอกชน) และไม่สามารถซื้อเจ้าหน้าที่ศาลได้ (ทำอย่างไร)  หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้แม้มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากที่สุด แต่ความคิดริเริ่มก็อาจจะถึงวาระที่จะล้มเหลวได้   นี่คือความขัดแย้งของเผด็จการปิโนเช่เป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยปิโนเช่ไม่กล้าที่จะละเมิดกฎหมาย ซึ่งการปฎิบัติตามกฎหมายประสบความสำเร็จที่จะควบคุมระบบกลไกราชการและทำให้เกิดการทุจริตต่ำที่สุดในภูมิภาค   นอกจากใช้อำนาจ3แบบในระบบประชาธิปไตยที่ถ่วงดุลและอำนาจที่ 4 คือสำนักงานตรวจสอบทางการเงินในประเทศชิลีที่คอยควบคุมการเงินทั้งหมดของเจ้าหน้าที่แต่ละรายและมีรายละเอียด  ความเป็นไปตรวจสอบกิจกรรมของภาครัฐอย่างใกล้ชิดรัฐบาลในกิจกรรมที่มีนัยที่ผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น  การปฏิบัติตามกฎหมายและการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมคือ แปรรูปการกระจายอำนาจของระบบการเงิน  การลดภาษีศุลกากร  การปฏิรูปภาษีเป็นต้น

สิ่งเหล่านี้ก็ให้เกิดผลที่คุ้มค่า กล่าวคือ นักลงทุนต่างชาติจะมาลงทุนในตลาดชิลี ผู้คนยอมรับความเป็นอิสระของศาลและการบังคับใช้กฎหมายและธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่ามีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  การแบ่งแยกแรงงาน   การทุจริตจึงลดลง รัฐบาลช่วยประเทศออกจากการพึ่งพาเศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการกระจายการลงทุนทางเศรษฐกิจ การลดบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจผ่านการแปรรูป หากไม่ดำเนินการแบบนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะลดบทบาทของเศรษฐกิจภาครัฐและทุนสามานย์ได้

การแปรรูปของเศรษฐกิจภาครัฐนั้นมีส่วนสำคัญในการก่อตัวของมวลชนที่เป็นผู้สนับสนุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและการพัฒนาสถาบัน แม้กระทั่งอำนาจในชิลีแปรรูปได้กลายเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งทางเศรษฐกิจในแต่ละขั้นตอนและกินเวลานานหลายสิบปี  ปิโนเช่  อนุญาตให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มาจากฐานวัตถุดิบ นอกจากนี้ได้รับการอุดหนุนเจ้าของใหม่ที่จะได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุนภาครัฐใช้ระบบของการเสนอราคาเปิดโปร่งใสเป็นผลให้ชาวชิลีมีการจัดการเพื่อดึงดูดความสนใจของต่างประเทศการลงทุนและการส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรงซึ่งหลักประกันนี้อยู่บนพื้นฐานระบบประชาธิปไตยและกลไกตลาด

ฉะนั้นหากดูอดีตที่ผ่านมาในประเทศ การกล่าวอ้างถึงการยึดอำนาจโดยมหาประชาชน แทบจะไม่เห็นทางออกที่จะนำไปสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศเลย แต่สิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ก็คือ การเผด็จการแบบขวาจัดแบบชาตินิยมและเผด็จการซ้ายจัดแบบสุดโต่ง การวิพากษ์ระบบทุนนิยมแบบสามานย์นั้นสามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมทางแบบหลักวิชาการซึ่งเศรษฐกิจในระดับองค์กรของสังคมก็เคยแก้ปัญหาแบบนี้มาแล้ว และสิ่งที่เสนอโดยนักปราชญ์ของสภาประชาชนจึงเป็นปรากฎการณ์ที่พร่ามัว และยังไม่เห็นอนาคตในการปฏิรูปประเทศ

 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net