เซ็นเซอร์: เสรีภาพที่ถูก “แบน”

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ด้วยเหตุผลที่เห็นว่าหนังหลายเรื่องในประเทศไทยถูกพิจารณาให้ตัดฉากที่รุนแรง ฉากที่อ่อนไหวออก หรือบางเรื่องถึงกับพิจารณาสั่งห้ามฉาย ซึ่งแน่นอนคนทำหนังคงไม่มีใครที่อยากเห็นหนังที่ตัวเองสร้างมาถูกแบน และคนที่แบบก็คงไม่ใช่คนที่ทำหนังเช่นเดียวกัน

 “หนัง” เป็นเครื่องมือกระตุ้นการตระหนักรับรู้ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมเป็นอย่างดี การสนับสนุนการแสดงออกทางความคิดของประชาชนในสังคมประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องให้เกิดขึ้น “เนื้อหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” กับ “สิทธิเสรีภาพการแสดงออกทางความคิดผ่านหนัง” เป็นประเด็นที่เกิดการถกเถียงกันในสังคม

การคาดหวังของผู้สร้างหนังหลายเรื่องที่มุ่งให้เกิดการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหา หรือการพยายามสะท้อนความรู้สึกผ่านหนัง ต้องการให้หนังได้พูดกับคนสังคม แต่หนังเหล่านั้นถูก “แบน” โดยคณะกรรมการที่มีอำนาจตามกฎหมาย ก่อให้เกิดคำถามที่ส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆในสังคม จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตักหนัง แบนหนัง และการตัด การแบนนั้นเป็นการปิดกั้นหนังด้วยเหตุผลของรัฐเกรงกลัวว่าจะเป็นตัวอย่างไม่ดีของคนในสังคมไม่

ด้วยเหตุผล “ผิดศีลธรรมอันดีงาม” เป็นเหตุผลที่ค่อนข้างเปิดกว้างและหาจุดมาตรฐานที่สมเหตุสมผลค่อนข้างยาก กระแสสังคมที่ต้องการให้เกิด “เสรีภาพในการแสดงออก” แท้จริงแล้วเป็นสังคมที่สนับสนุนการปิดกั้นการแสดงออกจากการใช้การ “เซ็นเซอร์” ใช่หรือไม่

การสนับสนุนให้เกิดการแสดงออกโดยปราศจากกรอบบังคับ เปิดโอกาสให้หนังได้เข้าถึงคนดู เปิดอิสระในการพิจารณาเอง จะเป็นทางออกสำคัญที่จะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของทางออกเรื่องอื่นๆก็เป็นได้ เพราะหนังเป็นการพูดคุยประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างสนุกสนาน แม้จะเป็นประเด็นที่ค่อนข้างเครียด บางครั้งการให้ความสำคัญกับเส้นของความเหมาะสม เส้นของความถูกต้องก็ไม่รู้ว่ามาตรฐานอยู่ตรงไหน ไม่มีเกณฑ์วัดระดับได้ชัดเจน ทำให้เกิดการนำมาปฏิบัติในสังคมบ่อยครั้ง

การแบนหนัง สะท้อนให้เห็นว่า “เสรีภาพในการแสดงออกถูกจำกัดไว้” การแสดงออกทางความคิดผ่านหนังควรให้เป็นเรื่องของคนในสังคมเป็นคนตัดสินมากกว่าคณะกรรมการตัดสินเพียงไม่กี่คน การก้าวก่ายสิทธิเสรีภาพของคนทำหนังโดยคนกลุ่มน้อยจึงเป็นเรื่องที่ต้องตั้งคำถามว่าเป็นสิ่งเหมาะสมแล้วหรือไม่ การตัดบางฉาก บางตอนของหนังออกเป็นการตัดความคิดของคนทำหนังที่ต้องการประชาชนพิจารณาข้อมูลเองด้วยหรือไม่

การทำการ “เซ็นเซอร์” เป็นการสร้างทัศนะให้สังคมปิดกั้นการยอมรับความจริง พยายามกวาดความจริงซุกไว้ใต้พรมแดง กรอบความอนุรักษ์ถูกยกขึ้นอ้างให้ประชาชนตกอยู่ภายใต้อำนาจอันชอบธรรมด้วยกฎหมาย ลักษณะการป้อนข้อมูลให้ประชาชนรับเฉพาะในส่วนที่ต้องการส่งให้ ส่วนอื่นแม้จะมีประโยชน์หลังจากที่ประชาชนได้รับมักถูกตัดด้วยความคาดว่าจะกระทบความมั่นคงและศีลธรรม “ประชาชนถูกละเมิดสิทธิที่จะไม่ดูอย่างสมบูรณ์” เป็นสังคมที่ไม่เชื่อมั่นว่าคนในสังคมมีเหตุผลคิดเอง

นอกจากนี้ หนังถือเป็นศิลปะยืดหยุ่นที่ไม่ได้บังคับให้คนต้องดู ต้องเชื่อตาม แต่เป็นการสะท้อนให้คนดูได้คิดเอง ชอบเอง เข้าใจเอง ซึ่งนั่นก็หมายถึง “เสรีภาพที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้” เป็นที่น่าเสียดายที่หนังดีที่ส่งเสริมประเด็นประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพหลายเรื่องไม่มีโอกาสได้ฉายในเมืองไทย ทำให้ประชาชนพลาดโอกาสที่จะได้รับชมและวิจารณ์แนวคิดของผู้สร้าง ซึ่งส่งผลไปถึงการพลาดโอกาสในการเข้าใจและการปรับประยุกต์ข้อมูลจากหนังมาใช้ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย

หากสังคมประชาธิปไตยเห็นความสำคัญการแสดงออกของประชาชน ต้องกระตุ้นให้เกิดการสร้างหนังสะท้อนประเด็นสังคมต่อไป และที่สำคัญ “ต้องกล้ายอมรับความจริงและให้หนังทุกเรื่องเข้าฉายมากกว่าปิดกั้น” ซึ่งหนังที่ได้รับชะตากรรมจากการสั่งห้ามมีจำนวนมาก อย่าให้มีการจำกัดคนทำหนังอีกเลย ประชาชนคิดเองเป็น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท