รวมพลคนรักประชาธิปไตยมหาสารคาม ชี้ต้องเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง 2 ก.พ.

เสวนา “รวมพลคนรักประชาธิปไตย ศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและเครือข่าย” มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ออกแถลงการณ์เรียกร้องตนเองและเพื่อนผู้รักประชาธิปไตยทุกกลุ่มออกมาปกป้องประชาธิปไตยโดยการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ที่ห้องบรรยาย D-207 ภายในวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและเครือข่าย ได้จัดงาน “รวมพลคนรักประชาธิปไตย ศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและเครือข่าย” ซึ่งมีอาจารย์และตัวแทนศิษย์เก่า-ปัจจุบันร่วมอภิปราย อาทิ 1. อาจารย์ปฤณ เทพนรินทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง 2. อาจารย์ธวัชชัย ป้องศรี อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง 3. อาจารย์ ดร. วินัย ผลเจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง 4.อาจารย์ ดร. อลงกรณ์ อรรคแสง รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ อดีตคณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครองและอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    
อาจารย์ปฤณ เทพนรินทร์ กล่าวว่า ความจำเป็นของการเลือกตั้งคือจุดเริ่มต้นของการปฏิรูป เพราะการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับระบอบประชาธิปไตย โดยการเริ่มต้นด้วยการปฏิรูปด้วยการเลือกตั้งซึ่งมีความจำเป็น 4 ข้อ คือ 1.การเลือกตั้งแสดงถึงอาณัติสัญญาระหว่างเจ้าของอำนาจอธิปไตย (ประชาชน) กับผู้เสนอตัวเป็นตัวแทน (พรรคการเมือง) 2. การเลือกตั้งช่วยให้ความชอบธรรมกับผู้ที่จะดำเนินการปฏิรูป 3. การเลือกตั้งเป็นกลไกฐานรากและเป็นกระบวนการสำคัญของการยืนยันถึงการมีประชาธิปไตย และ 4. ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีส่วนแบ่งให้กับทุกคน
    
อาจารย์ ดร.วินัย ผลเจริญ กล่าวว่า ทัศนะการมองประชาชนยังไม่มีความพร้อมต่อระบอบประชาธิปไตยนั้นเริ่มตั้งแต่ ร. 7 และเรื่องเหล่านี้ก็เลี่ยงหนีไม่พ้นเรื่องของมาตรา 112 ที่เป็นปัญหาในการจัดการกับมายาคติดังกล่าว และการเลือกตั้งเป็นหนทางเดียวที่มองคนเท่าเทียมกัน
    
อาจารย์ธวัชชัย ป้องศรี กล่าวว่า สิทธิและเสรีภาพของทุกคนนั้นเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเกิดในชนชั้นวรรณะนั้นก็ตาม และอาจารย์ธวัชชัยมองว่าการลดความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางสังคมนั้นต้องกระทำผ่านกระบวนการกระจายรายได้เพื่อลดความเหลื้อล้ำทางสังคมที่เป็นอยู่ และการเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สร้างความชอบธรรมที่สุดในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งอาจไม่ใช่เหตุผลที่เพียงพอของการเป็นประชาธิปไตย แต่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง
    
อาจารย์ ดร.อลงกรณ์ อรรคแสง กล่าวว่า การชุมนุมทางการเมืองนั้นเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ที่ปราศจากอาวุธ และบางครั้งมันก็อาจจะกระทบสิทธิคนอื่นบ้างเพื่อให้คนเหล่านั้นไปบังคับหรือผลักดันไปที่รัฐบาล อาจารย์ ดร.อลงกรณ์ มองว่า กปปส.นั้นเกิดจากการจุดติดของคุณสุเทพ ที่มีความเข้าใจโครงสร้างทางการเมือง จุดเริ่มต้นของความไม่พอใจคุณทักษิณคือการสูญเสียอำนาจควบคุมของรัฐบาล กปปส.นั้นเป็นการรวมตัวของชนชั้นกลาง เทคโนเครต และนายทุน
    
อิทธิพล   โคตะมี กล่าวว่า ที่ผ่านมามีงานศึกษาสังคมอีสานหลายชิ้นที่มองว่าชาวบ้านมีอำนาจและเปลี่ยนไปแล้ว จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนเล่มที่ 13 ให้ภาพลักษณ์ชนบทว่า คนชนบทยากจน ทำนาโดยพึ่งน้ำฝน ปลูกข้าวได้พอเหลือขายเพียงเล็กน้อย ขาดแคลนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ คนชนบทจะมีโอกาสกินปลาเฉพาะฤดูฝนและฤดูน้ำ เป็นอัตราการกินปลาที่ค่อนข้างต่ำคือ 10 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับอัตรามาตรฐานที่มนุษย์แต่ละคนกินปลาต่อปีจาก 40 กิโลกรัมต่อปี ซึ่งเป็นฐานของการสร้างมายาคติให้กับการมองว่าคนต่างจังหวัด แตกต่างและไม่เท่ากัน และไม่ควรมีสิทธิทางการเมืองที่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม อิทธิพล มองว่า ที่ผ่านมาสังคมอีสานได้มีการเปลี่ยนแปลงไปใน 2 ทาง คือ  1. ใกล้ชิดกับสังคมเมืองมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพและความคิดแบบสมัยใหม่ เช่น มีระบบตลาดที่ใช้ทุนมากขึ้น มีการบริโภคเหมือนกับคนเมือง และที่สำคัญมีความเป็นปัจเจกชนมากขึ้น 2. มีความพยายามที่จะรักษาความเป็นชนบทจากการเกิดอุตสาหกรรมข้ามชาติที่มาทำให้ชาวนาได้มาตรฐานสากล แต่การอธิบายว่าเป็นวิถีการผลิตที่มีลักษณะของชาวนาดั้งเดิม นอกจากนี้การรักษาอัตลักษณ์ความเป็นชนบท ในบางอย่างก็สามารถทำให้ชาวบ้านมีการต่อรองได้
    
ผศ.ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ มองว่า ประชาธิปไตยในโลกใบนี้ไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะ ประชาธิปไตยต่อมาด้วยการต่อสู้ เพราะสังคมดั้งเดิมนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากสังคมที่เป็นประชาธิปไตยจึงต้องมีการต่อสู้กับอำนาจดั้งเดิมในสังคมนั้น ๆ ผศ.ดร.สมชัย ตั้งข้อสังเกตว่า ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง 2 ฝ่ายนั้น ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ฝักใฝ่เข้าข้างทั้ง 2 ฝ่าย สิ่งที่ กปปส. พยายามกระทำนั้นสะท้อนให้เห็นว่าไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำของ พันธมิตรฯ เมื่อปี พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2553 ที่มีการปราบปรามคนเสื้อแดง สิ่งที่ กปปส. ได้เรียกร้องที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะกระบวนการที่พยายามกระทำให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง ประกอบกับการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น ปปช. ชี้มูลความผิด นายก และ สส. และที่สำคัญ กกต. อาจจะลาออกจากการดำรงตำแหน่ง ถ้าไม่มีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กพ. นั้นคนรักประชาธิปไตยจะทำอย่างไรนั้น ผศ.ดร.สมชัย มองว่า ต้องพยายามสู้ประเด็นต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการณ์เมืองที่เกิดขึ้น และสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตย เพราะ “เฮากำลังเว้าในสิ่งที่ถูกกฎหมาย เฮากำลังเว้าในสิ่งที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เฮากำลังเฮ็ดในสิ่งที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย จั่งชั้นเฮาต้องยืนยันการเลือกตั้ง”

แถลงการณ์ศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและเครือข่ายนักศึกษารักประชาธิปไตย

ณ เวลานี้พายุมวลมหาสภาประชาชน กปปส. ก่อกำเนิดขึ้นจากรากเหง้าเหล่าชนชั้นนำจารีต และคลื่นลมสมุนในสังคมไทย กำลังทวีความแรงเข้ากระหน่ำหนทางที่เรียกว่าประชาธิปไตย อันเป็นสัจธรรมข้อหนึ่งของทุกสังคมที่ไม่มีที่ไหนหลีกเลี่ยงได้ หนทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในเมืองไทยด้วยคนที่ศรัทธาในความเท่ากัน ผ่านการอุทิศร่างกาย ทรัพย์สิน ชีวิตและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะมันไม่เคยได้มาอย่างง่ายดาย ดังปรากฏในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และล่าสุดคือพี่น้องที่ไปตายอยู่กลางกรุงเทพมหานคร

ระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในสังคมไทย มันมากพอที่จะพิสูจน์ได้แล้วว่า หนทางประชาธิปไตยมันเป็นเสมือนไฟที่กำลังลามทุ่ง และจะเผาไหม้จิตวิญญาณแห่งการสยบยอมทิ้งไป แต่จะจุดเชื้อไฟแห่งการต่อสู้ขึ้นแทน ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ไฟกำลังลามไปอาจมีอำนาจนอกระบบที่มืดบอด ผสมเข้ากับพายุฯ กลั่นเอาความกรวงเปล่าไร้หลักการพรากหลักไฟประชาธิปไตยนั้นไป แม้กระทั่งการกลั่นเอาเม็ดฝนเลือดโปรยทางให้เราได้เเลเห็น เพราะเชื่อว่า “คนไม่เท่ากัน” แต่ก็อย่างที่กล่าวไป ยังไงไฟประชาธิปไตยมันยิ่งจะลุกโซน และการลุกโชนครั้งนี้มันจะเผาไหม้จนกว่าจะได้ชัยชนะ

เกรงก็แต่ว่าพายุฯ และคลื่นสมุนจะไม่เข้าใจ จนนำพาความหายะเข้าสู่ตนเองและผู้อื่น ส่วนการรวมพลศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและเครือข่ายนักศึกษารักประชาธิปไตยในครั้งนี้ เนื่องจากเราอยากประกาศว่าไฟคุณธรรมมันได้ลามมาถึงที่แห่งนี้แล้ว และเชื่อว่ามีอีกหลายแห่งที่กำลังคุโชน เราจึงเห็นว่าท่ามกลางพายุฯและไฟประชาธิปไตยกำลังปะทะกันนั้น กำลังจะก่อเกิดภัยพิบัติทางการเมืองอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงได้

เราจึงมีข้อเสนอ 4 ประการ เพื่อยืนยันความอยู่รอดของคนในสังคม ดังนี้ ประการแรก รัฐบาลที่มาตามกรอบประชาธิปไตยควรสู้ต่อไปตามความชอบธรรมที่ตนมีอยู่ ประการที่สอง เราขอคัดค้านการใช้อำนาจนอกระบบทุกรูปแบบในการแก้ปัญหาการเมือง ประการที่สาม เราขอประณามการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรงเพื่อความสะใจของกลุ่มตน และอยากบอกทุกคนว่า ณ เวลานี้การเลือกตั้งสำคัญที่สุด ประการสุดท้าย เราขอเรียกร้องตนเองและเพื่อนผู้รักประชาธิปไตยทุกกลุ่มออกมาปกป้องประชาธิปไตยโดยการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และถ้าสถานการณ์เลวร้ายขึ้นกว่านี้เราจะยืนหยัดต่อสู้จนกว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยที่แท้จริง ยืนหยัดคนเท่ากัน

ศิษย์เก่า-ปัจจุบันวิทยาลัยการเมืองการปกครองและ
เครือข่ายนักศึกษารักประชาธิปไตย
27 ธันวาคม 255

 
1. นายทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์ 48011320506
2. นายณัฏฐพัชร์ สีหมงคล 48011310158
3. อิสรนันท์ จันทรักษ์ 48011310327
4. อนุวัฒน์ พรหมมา 49011310191
5. ลัดดาวัลย์ นามโคตร 48011320190
6. สงวน ศรีสอน 48011310396
7. วิมลลักษณ์ คำใบ 49011320116
8. นายวัชรายุทธ วงศาอ้วน
9. นางสาวดลลดา พันธุ์สาง 47011310145
10. กิตติพงษ์ นาสมยนต์ 48011220106
11. นายวิษณุ อาณารัตน์ 48011310236
12. โกเมน จันทะสิงห์ 48011310024
13. วิสุทธิศักดิ์ ภูโปร่ง
14. นางจารุวรรณ รัตนวงศาโรจน์ 47011310140
15. นาย ภูมินทร์ พาลุสุข 53011312498
16. นาย ประภัสชัย กองศักดิ์
17. นายชูชาติ แก่นจำปา 48011310069
18. เกียรติศักดิ์ วิจิตขะจี 48011310355
19. อิศราภรณ์ ปัจจัยโคถา 48011310410
20. นางสาววาสนา สินบุญ 48011320251
21. นายศุภศักดิ์ ภักดียุทธ 48011310258
22. นายภควัต หัสจรรย์
23. สุดารัตน์ บุญธรรม 49011310312
24. นายประมวล ดวงนิล
25. กิตตินันท์ นาชัยคำ
26. นายสราวุธ สะภา
27. พงศ์ธร สีทาดี 49011310234
28. ฐิตาภรณ์ ถาวรธรรม 48011310290
29. กริช กีฬา 48011320004
30. วิชานนท์ อาพัดนอก
31. นายโอภาส สินธุโคตร
32. นางสาวสุจิรา กวดขันธ์ รหัส 48011320207
33. น.ส.อนุลักษณ์ โขมะพันธ์ 51011311321
34. บรรลือฤทธิ์ ทองดีนอก 48011320244
35. นางสาวหทัยรัตน์ ทุมวงศ์ 48011320259
36. ส.ต.ท.รุ่งโรจน์ สุวรรณพิมพ์ 48011310209
37. นายโกวิท มีภาทัศน์ 48011310025
38. นายสมศักดิ์ เงางาม 53011312357
39. นายสุรศักดิ์ วงษ์ไธสง 53011312525
40. เทวฤทธิ์ นูนวน 51011311072
41. วรุฒ จักรวรรดิ์ 51011314176
42. นายวุฒิืเกียรติ อุ่นหัวเรือ 52011310397
43. นายบัณฑิต หอมเกษ 51011314099
44. นายปิยะวัฒน์ นามโฮง
45. นายเรืองฤทธิ์ โพธิพรม 47011310163
46. จักราวุธ ปินะเก 51011311033
47. สมยศ วงษ์มา
48. นายศุภกิจ จันทะพงษ์ 52011311412
49. จินตนา พลเยี่ยม 49011310030
50. จาพิกรณ์ เผือกโสภา
51. นายชัชรินทร์ ชัยดี
52. นายวิทยา แสงปราชญ์ 48011310230
53. นายอิทธิพล สีขาว
54. ธัญญา ทุมวารีย์ 51011301007
55. Samai Khongsena 47011320079
56. อรยา ทองดี 49011310194
57. วีระศักดิ์ ไชยคุณ 4610110286
58. น.ส.อรพิน ซาเสน 5011313340
59. ชาญณรงค์ เหมือนปั้น 51011311052
60. ณัฐพงษ์ ราชมี
61. ศราวุฒิ ไวยะเวช 48011310243
62. นาย สดใส ใจตรง 48012310259
63. รชานนท์ ภิบาลวงษ์ 51011311301
64. วินัย ผลเจริญ
65. อาทิตย์ รักษ์พลพันธ์ 47011310316
66. ไพรพนา ราชโส 48011310182
67. กิติพงษ์ ปลูกชาลี 48011310337
68. นางสาวเพชรรัตน์ ถาไชยลา
69. นายทิวา นินทะสิงห์
70. ว่าที่ร้อยตรีพิทักษ์ ดาวัน
71. นางสาวอนงค์ อุ่นศรี
72. ปฏิพัทธ์ เข็มทิศ 47011320035
73. นาย ภัทรพล ปิติทรัพย์เตชะกุล 48011320130
74. นางสาวจุฑามาศ มละครบุรี 48011310047
75. นายธนศักดิ์ ทวีโชติ 51011323014
76. นายสุรสีห์ วรโยธา
77. นายอิทธิพล โคตะมี ]
78. นายธีรพงษ์ กันทำ
79. นายศตคุณ คนไว
80. อ.เกรียงไกร เพียรสร้างสรร
81. วัชรพงษ์ สุขเพีย 51011313073
82. สถาปนิก วรสุเมธากุล 51011313141
83. วัชรพงษ์ นูพิมพ์ 47011320065
84. นายยุทธนา ลุนสำโรง นักกิจกรรมทางสังคม
85. Khawee Khananon Moonlon
86. เป็นเอก ศิริโยธา
87. นายวิวัฒน์ หงษ์สาวงค์ 54011310438
88. นาย กฤณากรณ์ ศิริสุทธิ สมาชิกวงสไบแพร
89. นางสาวนิตยา ราชประสิทธิ์
90. นายอนิรุทร์ มูลวันดี 54010115105
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มมส
91. น.ส.วรัญญา สุมาริธรรม 55010116085
กลุ่มเทียนไข มมส.
92. นางสาวจินตหรา สวัสดิรักษ์ สาขาวิชาการ
พัฒนาชุมชน มมส.
93. นางสาวกรองกาญจน์ เขียวศรี สาขาวิชาการ
พัฒนาชุมชน มมส.
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท