Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

โดยทั่วไปเรามีความคุ้นเคยกับการปฏิวัติผ่านการอ่านเรื่องราวที่ถูกบันทึกลงประวัติศาสตร์ มีจุดเริ่มต้นและมีจุดจบ เราอ่านประวัติศาสตร์เพราะเราต้องการเรียนบทเรียน เพื่อรู้ว่าแต่ละลัทธิทางการเมืองมันแสดงตนอย่างไรในสถานการณ์หนึ่งๆ  เหตุการณ์ในอียิปต์มันเป็นโอกาสทองสำหรับพวกเราที่จะเรียนรู้การปฏิวัติในยุคของเรา การต่อสู้ทางการเมืองที่มีการเดินหน้าและถอยหลัง ซึ่งมันมีผลต่อการยกระดับการต่อสู้ทั้งในรูปธรรมและจิตสำนึกทางการเมือง พัฒนาการดังกล่าวเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เราจะรับมือกับความขัดแย้งเหล่านี้อย่างไรภายใต้ผลประโยชน์ทางชนชั้นและการปกป้องการปฏิวัติไม่ให้ถูกอำนาจเก่าทำการปฏิวัติซ้อน วัสสิม แวกดี้ ซึ่งเป็นนักสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์ ได้อธิบายถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอิยิปต์ในปัจจุบัน ซึ่งผู้แปลคิดว่ามีความน่าสนใจ และ เราสามารถนำมาประยุกต์มองสถานการณ์ในประเทศไทยได้เช่นกัน

การปฏิวัติอียิปต์เพิ่งครบรอบ 3 ปีในเดือนมกราคม ซึ่งมวลชนหลายล้านคนได้ตั้งความหวังไว้สูงกับการปฏิวัติเมื่อพวกเขาเหยียบย่างเข้าสู่ถนนของการปฏิวัติ การปฏิวัติยังไม่สามารถออกลูกออกผลเป็นรูปธรรมที่มีศักยภาพยกและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมวลชนธรรมดาได้ อย่างไรก็ดีอียิปต์นั้นยังอยู่ในกระบวนการของการปฏิวัติ ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์ทางการเมืองนั้นเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา

มีการพาดหัวข่าวอย่างใหญ่โตว่า รัฐธรรมนูญของกองทัพได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลาม 98% ซึ่งฟังดูแล้วมันชวนให้น่าตกใจ แต่ถ้ามองภาพรวมของชัยชนะดังกล่าวมันจะให้ภาพอีกภาพๆหนึ่งซึ่งสะท้อนความเป็นจริงของสถานการณ์มากกว่า ปริมาณชัยชนะดังกล่าวมาจากจำนวนอันน้อยนิดของคนที่ออกมาใช้สิทธิเพียงแค่ 37% ของผู้ใช้สิทธิทั้งหมด ซึ่งนั่นหมายความว่าชัยชนะดังกล่าวได้เสียงสนับสนุนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประชากรอียิปต์ทั้งประเทศ

ตอนนี้กองทัพตั้งหน้าตั้งตาทั้งผลักทั้งดัน “การปฏิวัติซ้อน” เพื่อทำลายการปฏิวัติที่แท้จริง มีการปราบปรามอย่างหนักหน่วง มีการคุมขังและฆ่าสมาชิกพรรคมุสลิมบราเธอฮูด, ฝ่ายซ้าย และ นักกิจกรรมทางการเมืองในมหาวิทยาลัย เป้าหมายต่อไปในการปราบปรามของกองทัพคือ ขบวนการแรงงาน

คำถามที่เกิดขึ้น คือ ทำไมประชาชนชาวอียิปต์ถึงตกหลุมรักกับรัฐบาลของเผด็จการนายพลอัลซีซี่ ขนาดนี้? ชนชั้นปกครองของอียิปต์หลังการปฏิวัตินั้น อยู่ในสภาพที่อ่อนแอมากหลังจากเผด็จการมูบารัค ถูกมวลชนล้มลงใน เดือนมกราคม 2011 ตำรวจถูกต้อนและไล่ออกไปให้หมดจากท้องถนน เสถียรภาพการปกครองของชนชั้นปกครองอียิตป์อยู่สภาวะวิกฤตติขีดสุด ชนนั้นปกครองอียิปต์การคนที่จะมากู้ภัยให้ชนชั้นตัวเองอย่างเร่งด่วน  กองทัพได้พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะคุมสถานการณ์ภายหลังการปฏิวัติ 6 เดือนแรกนั้นแต่ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นกองทัพจึงต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์โดยหาคนอื่นมาเป็นตัวหลักในการทำลายการปฏิวัติแทนตัวเอง

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2012 มีตัวแทนจากซากเดนของมูบารัค คือ อาร์เหมด ซาร์ฟิก ลงแข่งขันกับพรรคมุสลิมฯ กองทัพนั้นต้องการสนับสนุนคนของมูบารัค แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย กองทัพจึงเลือกพรรคมุสลิมฯ แทน พรรคมุสลิมฯ เป็นพรรคเดียวที่มีการจัดตั้งมวลชนและเหลือรอดมาจากยุคของมูบารัค มวลชนตั้งความหวังว่าพรรคนี้น่าจะทำการปฏิรูปได้ อย่างไรก็ตามพรรคมุสลิมฯ เลือกที่จะเดินตามและปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มทุนและทหารมากกว่าผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ พฤติกรรมดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจและมีการต่อต้านจากข้างล่าง การประท้วงเริ่มจากท้องถนนจากนั้นได้เดินเข้าสู่รั้วโรงงาน จากรั้วโรงงานได้สู่รั้วมหาวิทยาลัย ในช่วง2 เดือนก่อนที่จะ มูรซี่ ถูกล้ม การประท้วงระเบิดขึ้นในอัตราความเร็ว 2 ครั้งต่อชั่วโมง ระดับการต่อสู้ขนาดนั้นมันทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะล้มรัฐเดิมได้

เราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ในอิยิปต์นั้นมันมากกว่าวิกฤติของการปกครอง มากกว่า 50% ของการประท้วงมาจากประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ที่เหลือเป็นวิกฤติทางการเมือง การต่อสู้ที่มีส่วนผสมสองส่วนหลักดังกล่าว มันได้ดึงทั้งสังคมอียิปต์เข้าสู่ความโกลาหลวุ่นวาย ซึ่งชนชั้นปกครองปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้เดินต่อไปไม่ได้ การประท้วงขนาดใหญ่ต่อต้านอดีตประธานาธิบดีมูรซี่ ที่พวกเราเห็นในวันที่ 30 มิถุนายนปีที่แล้ว เป็นมวลชนประกอบไปด้วยฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา


จะไปทางไหน?

ทั้งกองทัพและมูซี่ ไม่ใช่ตัวแทนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะแค่การปฏิรูปในกรอบประชาธิปไตยชนชั้นปกครองทั้งสองซีกก็เลือกไม่ทำ ประเด็นสำคัญตามมาที่เราต้องถาม คือ ใครคือตัวแทนที่จะทำการปฏิวัติ? พรรคสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์เล็กเกินไปที่จะเป็นกลไกหลักในตอนนี้ ถึงแม้ว่าพรรคเราฯ จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทเข้าร่วมในการปฏิวัติตั้งแต่ต้น พวกเราเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานทั่วไป เน้นการจัดตั้ง และ การปกป้องการปฏิวัติ  ซึ่งถ้ามีคนออกมาบนทั้งถนนสัก 7 ล้านคน การรักษากระแสและอุดมการณ์ของการปฏิวัติก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไป

มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ฝ่ายซ้ายส่วนอื่นๆ นั้นสายตาสั้นเพราะเน้นการเคลื่อนไหวเพียงแค่การกำจัดพรรคมุสลิมฯ เท่านั้น โดยไม่สนใจประเด็นอื่นๆ พอมูรซี่ไปแล้ว แนวร่วมฝ่ายซ้ายเหล่านั้นก็ตกลงไปในหลุมของกองทัพ ฝ่ายซ้ายและพวกเสรีนิยมกลายเป็นหน่วยกู้ภัยให้กับกองทัพ ทั้งๆที่ การต่อสู้นั้นขึ้นไปสู่กระแสสูงสุดสามารถสั่นเขย่าจนชนชั้นปกครองทั้งหมดเกือบพังเพราะแรงดันจากล่าง เท่านั้นยังไม่พอ พวกนี้ยังเดินต่อไปในเส้นทางสายมรณะ โดยการทำงานแทนกองทัพ เรียกร้องให้มวลชนหยุดการเคลื่อนไหวบนท้องถนน สิ่งที่เกิดขึ้นจากก้าวที่พลาดพลั้งครั้งนี้คือ ชนชั้นปกครองและซากเด็นของเผด็จการมูบารัครวมตัวกันได้อีกครั้ง ภายใต้การนำของนายพล อัลซีซี่  การรวมตัวครั้งนี้รวมไปถึงชนชั้นกลางผู้เกลียดกลัวการปฏิวัติ เพราะรับไม่ได้กับความไร้เสถียรภาพและไม่มีข้อเสนอรูปธรรมจากการปฏิวัติให้ยึดเหนี่ยว แต่กองทัพนั้นรับประกันเสถียรภาพแต่เป็นเสถียรภาพให้กับชนชั้นนายทุนเท่านั้น

อย่างไรก็ตามขณะนี้การปฏิวัติยังไม่ทำให้คำมั่นสัญญาอันเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ในใจมวลชน อย่าง ขนมปัง สันติภาพ และ ความยุติธรรมเป็นจริง มวลชนเป็นล้านๆ ยังไม่เห็นว่าการปฏิวัติช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้นอย่างไร เลนิน เคยมีบทเรียนกับสถานการณ์แบบนี้ เขาเคยพูดว่า “เรื่องที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นกับการปฏิวัติ คือ มวลชนเกิดความหดหู่”  นี่คือสิ่งที่อียิปต์กำลังเผชิญ

การปฏิวัติได้พุ่งชนอำนาจรัฐ แต่ทหารได้ออกมาเพื่อ “หยุด” การปฏิวัติ โดยการใช้ข้ออ้างที่ว่ากองทัพอยู่เหนือการเมือง บทบาทของกองทัพคือบทบาทของผู้กอบกู้สังคมที่กำลังแตกสลาย นิยายดังกล่าวทำให้ทหารได้เสียงสนับสนุนรวมถึงมวลชนปฏิวัติผู้หดหู่ด้วย

พวกเราไม่ควรหลงเชื่อข้อโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า “คนส่วนใหญ่เฉลิมฉลองกับการขึ้นมาของนายพลอัลซีซี่ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำและนักสหภาพแรงงาน” อย่างไรก็ตามมันไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่สนับสนุนพฤติกรรมของคนเหล่านี้ ตอนนี้เรากำลังเห็นการเปลี่ยนข้างของผู้นำแรงงาน พวกนี้ไม่ยอมใช้อาวุธที่มีพลังที่สุดของคนงาน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง พวกนี้ออกมาประกาศว่าจะไม่มีการนัดหยุดงาน เพราะมันจะทำให้อำนาจของทหารอ่อนแอลงซึ่งอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวที่จะสู้กับพรรคมุสลิมฯ พวกสหแรงงานอิสระกลายเป็นผู้นำที่ยึดติดกับระบบแบบราชการมุ่งเน้นการเจรจากับนายจ้าง เริ่มห่างเหินจากมวลชน

ตอนนี้ในขบวนการแรงงานนั้นมีความแตกแยกที่น่าเป็นห่วง เช่น ถ้าใครลุกขึ้นมาวิจารณ์ทหารจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศ แม้กระทั่งคนงานที่เป็นนคริสเตียน จะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกของพรรคมุสลิมฯ อย่างไรก็ตามตอนนี้เราเริ่มเห็นขบวนการแรงงานเริ่มลุกสู้อีกครั้งหนึ่ง  โดยเฉพาะจากภาคที่มีความสำคัญเช่น เหล็ก และ คนคนงานถลุงเหล็ก โรงงาน ในรามาดาล อเล็กซานเดรีย และ คลองซูเอส มันเป็นไปได้ว่าการต่อสู้จากข้างล่างครั้งนี้ อาจจะดึงบรรดาผู้นำสหภาพแรงงานอิสระกลับมาร่วมทำการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนงานได้อีกครั้ง แต่ถ้าพวกนั้นไม่กลับมา คนงานรุ่นใหม่ก็ต้องสร้างองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ที่แท้จริงของกรรมาชีพ นักสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์ได้ตั้งความหวังที่จะเห็นการต่อสู้ขึ้นสู่กระแสสูงอีกครั้ง เพราะขณะนี้รัฐบาลไม่มีความสามารถที่จะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจได้  

ความหดหู่และการขาดความมั่นใจของมวลชน เป็นกระจกสะท้อนว่าพวกเขาไม่ได้จัดตั้งและขาดอุดมการณ์ทางการเมืองที่ปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา สื่อกระแสหลักไม่เพียงแต่ทำให้เสียงของพวกเขาหายไปเท่านั้น แต่สื่อกำลังลบบทบาทของมวลชนออกไปจากการปฏิวัติอีกด้วย ประเด็นนี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อเราต้องทำความเข้าใจกับอำนาจความขัดแย้งทางชนชั้น กระบวนการในการสร้างเสถียรภาพของทหารคือ การเพิ่มความเข้มแข็งให้กับบรรดาแนวร่วมของระเบียบเก่า อย่างไรก็ตามพฤติกรรมดังกล่าวมันได้ขยายบาดแผลเดิมของสังคมให้ใหญ่และลึกมากขึ้น ซึ่งมันจะทำให้ระดับการต่อการต่อสู้รอบใหม่นั้นมีความแหลมคมและรุนแรงมากกว่าเดิม

กองทัพตั้งความหวังไว้สูงมากกับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับทหาร มีการคาดการว่าคนที่ออกมาใช้สิทธิน่าจะประมาณ 80% แต่ในความเป็นจริงคนออกมาใช้สิทธิน้อยมาก ซึ่งแสดงว่ากองทัพไม่ได้ชนะใจคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะมวลชนรุ่นใหม่ ผู้ที่เคยสนับสนุนกองทัพให้ความเห็นว่า “เขาไม่สบายใจกับพฤติกรรมของกองทัพ เพราะมันดูเหมือนมันไปคนละทางกับการฟื้นฟูประเทศ” พฤติกรรมและกระบวนการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น มันทำให้อดคิดไม่ได้นี่อาจจะเป็นชนวนที่จะนำไปสู่การปฏิวัติคลื่นต่อไป

 

ความล้มเหลวของฝ่ายซ้ายเก่า

ทุกคนที่มาจากพรรคการเมืองเก่าที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของมวลชน ล้วนแต่ถูกพิสูจน์ในสถานการณ์ปฏิวัติว่า “ล้มเหลว” ความล้มเหลวของพรรคมุสลิมฯ มันได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายซ้ายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะมวลชนกำลังมองหาอุดมการณ์ทางการเมืองที่ไปไกลกว่าพรรคมุสลิมฯ

มวลชนเป็นจำนวนมากเข้าร่วมกับทหารเพราะยังติดภาพในประวัติศาสตร์ เพราะครั้งหนึ่งกลุ่มนายทหารหนุ่มชาตินิยมก้าวหน้าภายใต้การนำของประธานาธิบดี กามอล แอบเดล นัสเซอร์ ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชน เพราะมีนโยบายก้าวหน้าที่สำคัญอย่าง การปฏิรูปที่ดิน การสร้างรัฐสวัสิการ และ มีจุดยืนคัดค้านอิสราเอล

พรรคคอมมิวนิสต์เคยมีบทบาทนำในการต่อต้านจักรวรรดินิยม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เดินตามแนวสตาลินที่เน้นการประนีประนอมกับนายทุนซีกก้าวหน้า พรรคนี้ยุบตัวลงไปในปี 1965/ 2508 ภายใต้ความคิดที่ว่าทหารปกป้องผลประโยชน์ของคนทุกกลุ่ม ส่วนที่เหลือของพรรคคอมมิวนิสต์ได้กลายมาเป็นแนวร่วมที่สำคัญของ อดีตเผด็จการมูบารัค ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2012 มวลชนของพรรคคอมมิวนิสต์ก็สนับสนุนคนของเผด็จการมูบารัค

อีกคนหนึ่งที่มีบทบาทในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี คือ ฮัมดีน แซบบาฮิ (Hamdeen Sabbni) อ้างว่าเป็นตัวแทนของการปฏิวัติ เขาชนะโหวตอย่างล้นหลามในหลายเมืองใหญ่ แต่พอทหารมา ฮัมดีน ก็ประนีประนอมโบกมือต้อนรับนายพล อัลซีซี่ เผด็จการคนใหม่อย่างรวดเร็ว

ฝ่ายซ้ายเก่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการปฏิวัติครั้งนี้ ฝ่ายซ้ายใหม่จะต้องไม่ยอมแพ้ต่อภาระกิจที่จะปกป้องผลประโยชน์ของมวลชน

 


แปลและเรียบเรียง จาก Dark Days in Egypt

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net