Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis




ภาพประกอบโดย The Isaan Record

คำถามของลาวและพัฒนากลายมาเป็นคำถามของไทยลาวเฉกเช่นการตระหนักถึงความสำคัญของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของสังคมไทย

จากหลักศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหง ประเทศไทยเป็นดินแดนสวรรค์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว และทำมาค้าขายกับชาวต่างประเทศ: อัศจรรย์ประเทศไทย และสยามเมืองยิ้ม

อย่างไรก็ตาม โครงสร้างสังคมที่ต่างกันรวมทั้งความหลากหลายของสีทางการเมืองและรัฐบาลได้แบ่งแยกแดนสวรรค์แห่งนี้ออกเป็นฝักฝ่าย ชนชั้น และชาติพันธุ์ และทำให้พื้นฐานสังคมไทยไม่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

ทั้งยังเป็นแนวทางที่ควรจะนำมาพิจารณาให้ชัดเจนถึงหัวใจสำคัญของปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งเรียกว่า “ปัญหาอีสาน” หรือ “คำถามของลาว”

“คำถามของลาว” เป็นประเด็นคำถามเกี่ยวกับที่ราบสูงโคราช ที่ประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่คือ “คนไทยลาว” ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้โดยสถาบันภาษาและวัฒนธรรมสำหรับการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปีปลายปี พ.ศ. 2533 และเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน   

เนื่องจากความยากจนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความด้อยพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระบบเศรษฐกิจ ความอ่อนแอของระบบการศึกษา และความแตกต่างทางด้านสังคม-วัฒนธรรม คำถามดังกล่าว ได้กลายเป็นสิ่งค้างคาใจของพระราชาไทยมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี ทั้งยังครอบคลุมถึงเขตแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลทางเครือญาติของคนไทยลาวในภาคเหนือของประเทศไทยอีกด้วย
ทั้งนี้ ชาวสยามได้ตอบคำถามของลาวเกี่ยวกับสิ่งที่เคยเป็นโดยเรียกตามคำศัพท์สมัยใหม่ว่า “การสร้างความเป็นไทย”

การสร้างความเป็นไทย เป็นคำศัพท์ใหม่สำหรับการเริ่มต้นทำให้เป็นศูนย์กลางในช่วงแรกที่ประเทศไทยมีความความแตกต่างหลากหลาย โดยใช้นโยบายของรัฐเป็นตัวเริ่มต้นขับเคลื่อนและกำหนดให้ประชาชนในเขตชายแดนของภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ประชาชนเหล่านั้นสามารถจ่ายภาษี ทำงาน และเป็นพื้นที่กันชนในสงครามรวมทั้งเป็นกำลังทหาร 

เป็นเวลามากกว่าปี ที่ทำให้คนลาวจากชายแดนตะวันออกของแม่น้ำโขงเข้ามาตั้งรกรากในที่ราบสูงโคราช บางกลุ่มเข้ามาสมัครใจ บางกลุ่มเข้าโดยการกวาดต้อนผู้คนขนานใหญ่ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้ได้ทำให้คนลาวบางกลุ่มเข้ามาตั้งรกรากถึง ที่ราบลุ่มภาคกลาง เช่น สระบุรี และบางกลุ่มก็เคลื่อนย้ายลงไปทางใต้ 

กล่าวถึงประเภทของรูปแบบการทำให้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาให้เป็นรัฐสยามสมัยใหม่นี้ ยืมมาจากรูปแบบการเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตก เช่น นโยบายพหุชาติพันธุ์ที่รวบรวมผู้คนที่แตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียวในระบบเศรษฐกิจและกฎหมายเดียวกัน ในกาลนี้ พื้นที่ชายแดนกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญยิ่งในฐานะของการกำหนดเส้นขอบของแผนที่รัฐชาติในการทำข้อตกลงสัญญาระหว่างจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศสในปี 2447-2450 ซึ่งการทำแผนที่ดังกล่าวนี้ เป็นการแข่งกันกำหนดเขตแดนทางธรรมชาติของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่คนไทยรู้จักดีจากกรณีปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร

นอกจากนั้น ชาวสยามก็รู้ได้ทันทีถึงเหตุผลของการมุ่งสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่เป็นไปเพื่อเป็นโต้ตอบลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผนึกกำลังและรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวภายใต้สยามประเทศ – โดยเฉพาะคนลาว – และกลายมาเป็นคนไทย ซึ่งต่อมาปรากฏการณ์นี้นำมาซึ่งการเปลี่ยนชื่อของประเทศ

เพื่อรวบรวมภูมิภาคเข้าสู่ศูนย์กลาง นโยบายใหม่ๆของรัฐบาลได้เกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น ระบบการปกครองของรัฐบาลที่มีฐานตั้งอยู่โคราชและพื้นที่ใกล้เคียงกับระบบการปกครองโดยกษัตริย์ได้ถูกพัฒนาขึ้น ระบบมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบ เทศาภิบาล และนำมาสู่การสร้างระบบบริหารราชการจังหวัด พ.ศ. 2440 ได้มีการตราพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่นขึ้น ในระหว่างนั้นคนไทยลาวได้รวมตัวกันเป็นขบวนการเพื่อต่อต้านรัฐบาล และที่เป็นที่รู้จักในนามของ ผู้มีบุญ และขบวนการนี้ก็ได้ถูกปราบลงในปี 2453 

โรงเรียนประจำจังหวัดถูกสร้างขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อให้บริการด้านการฝึกอบรมพื้นฐานสำหรับผู้บริหารในอนาคต ในเบื้องต้น ภาษาลาว – หัวใจสำคัญของวัฒนธรรม – ได้ถูกละเลย ซึ่งตราบใดก็ตาม ที่คนไทยลาวเรียนภาษาไทยและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการรัฐไทยย่อมมีความพึงพอใจเป็นหลัก

กระบวนการทำให้เป็นไทยตามแบบอย่างตะวันตกนั้นได้มุ่งเน้นการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยหลัก อาทิเช่น  การก่อสร้างทางรถไฟ โทรคมนาคม ระบบไปรษณีย์ และการขยายการควบคุมของรัฐไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ชุดนักเรียนและเครื่องแบบทหารแบบตะวันตกถูกนำมาประยุกต์ใช้กับข้าราชการสมัยใหม่ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงความเป็นสมัยใหม่ด้านการแต่งกายของชาวสยามยุคใหม่ นอกจากนั้น การประดับเหรียญตราและการติดยศตำแหน่งยังถูกนำมาใช้เพื่อบ่งบอกถึงลำดับขั้นของการสั่งการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขณะที่คุณภาพการศึกษาในภาคอีสานยังคงล้าหลัง และคนไทยลาวไม่นิยมสื่อสารกันด้วยภาษาไทย ทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลายเท่าที่ควรในการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว จะเห็นได้ชัดว่าการเรียนภาษาไทยและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยจากส่วนกลางเป็นวิธีการของการการสร้างความเป็นไทย 

กล่าวถึงระบบการศึกษาของประเทศ พ.ศ. 2464 ได้มีการประกาศใช้ราชบัญญัติการประถมศึกษาภาคบังคับแห่งชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยในกระบวนการทำให้เป็นไทยและยังทำให้เป้าหมายของการทำให้เป็นรัฐสมัยใหม่ที่บริการจัดหาระบบการศึกษาแก่ประชาชน ซึ่งการเรียนในโรงเรียนประถมระยะเริ่มต้นนั้นเรียนแค่ 3 ปี และต่อมาเพิ่มเป็น 4 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจากการจัดเก็บภาษีของชุมชน แต่ครูผู้สอนโดยทั่วไปแล้วไม่ได้รับการอบรมและจ่ายค่าตอบแทนอย่างดีเท่าที่ควร เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยได้ให้เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่โรงเรียนต่างๆ 

หน่วยงานด้านระบบการประถมศึกษาภาคบังคับได้ถูกนำเข้ามาในภาคอีสานในยุคสมัยของการทำให้เป็นสมัยใหม่และการเพิ่มผลผลิตข้าวซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชั้นเจ้าของที่ดินและการเก็บรายได้ของรัฐ แต่แทนที่จะสอนเพียงความเป็นไทยและความรู้สมัยใหม่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเกษตรและวงจรการปลูกพืชที่ครูผู้สอนนั้นได้ประสบความยากลำบากเนื่องจากไม่เคยผ่านกระบวนการอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการเกษตรสมัยใหม่เพียงแค่ได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น และส่งผลให้เกิดความล้มเหลวของระบบการเรียนการสอนเกี่ยวกับ “ชีวิตที่ถูกต้องดีงาม” – พลเมือง ภาษาไทย วรรณกรรม วัฒนธรรม และศาสนา ดังนั้น เมื่อผ่านระบบการหล่อหลอมทางสังคมด้านการเมืองการปกครองแล้ว การเคารพในอำนาจหน้าที่และประชามติก็มีมากกว่าการพัฒนาประสิทธิผลทางการเกษตรของภูมิภาค  

กล่าวถึงสื่อมวลชนในรูปแบบของวิทยุในขณะนั้นที่นำมาซึ่งมาตรฐานความเป็นไทยให้แก่คนไทย อาทิเช่น การเสวนาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สองของ “นายมั่นและนายคง” ที่เป็นระเบียบทางสังคมสำหรับคนไทย ทั้งนี้ ระเบียบปฏิบัติดังกล่าวได้ถูกนำมาบังคับใช้ในนามของ รัฐนิยม - คำประกาศของรัฐ ซึ่งดูเสมือนว่ากระบวนการทำให้เป็นไทยประสบความสำเร็จ และคำถามของลาวได้ถูกตอบโจทย์

บนหนทางดังกล่าว อาจมีบางสิ่งบางอย่างที่กำลังเดินไปในทางที่ผิดที่ควร ชุดความคิดบนฐานของภาษาเดียวและวัฒนธรรมเดียวกลายเป็นแนวทางและเป้าหมายของกระบวนการทำให้เป็นไทย- บรรทัดฐานใหม่ และในการดำเนินการตามครรลองดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เท่าเทียมกันของชนกลุ่มน้อย – “ความเป็นอื่น” 

การประณามเกี่ยวกับการกำราบโดยรัฐบาลเริ่มแพร่งพรายและการสะท้อนกลับของผู้คนต่อระบบการทำให้เป็นไทยได้มีความชัดเจนขึ้นทั้งภาพและเสียง  

การสร้างความเป็นราชการไม่ได้นำมาซึ่งประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนคนธรรมดาในภาคอีสานแต่อย่างใดในทางตรงกันข้ามระบบดังกล่าวกลับนำมาซึ่งการผูกขาดแต่เพียงผู้เดียวโดยระบบเจ้าขุนมูลนายที่เป็นมาและเป็นไปอย่างต่อเนื่องจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมด้านการเมืองการปกครองที่เป็นผลผลิตจากระบบโรงเรียน  

มากกว่านั้น สำนักวิทยาศาสตร์เกษตรที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2466 เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความล้าหลังและความล้มเหลวของระบบการเกษตรในปี พ.ศ. 2473 และหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2475 กระบวนการหล่อหลอมทางสังคมด้านการเมืองการปกครองได้เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น คำถามที่ว่า จะฝึกฝึกอบรมคนไทยลาวเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างไรนั้นกลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นหลังจากมีการก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีแห่งขอนแก่นและกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่นในปัจจุบัน

การค่อยๆล่มสลายไปของระบบโรงเรียนวัดนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการมาเข้ามาของระบบการศึกษาแบบใหม่ ที่เห็นได้จากการสูญหายของต้นฉบับวรรณกรรมไทยลาวโบราณ – ฮีตสิบสองคองสิบสี่ - และภูมิปัญญาของคนไทยลาวที่สั่งสมมา กอปรกับการหายไปของตัวหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตและถูกแทนที่โดยตำราเรียนจากรัฐไทยส่วนกลางทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและในโรงเรียนวัด ระบบการศึกษาสมัยใหม่ได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายแทนที่ระบบโรงเรียนวัด เช่น มีการสร้างตึกและอาคารเรียนทั้งไม้และคอนกรีตสมัยใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 

อย่างไรก็ตาม คุณภาพของโรงเรียนที่สร้างขึ้นใหม่ในภาคอีสานยังไม่สามารถเทียบเท่าคุณภาพของโรงเรียนในส่วนกลาง เป็นความยุ่งยากสำหรับเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ต้องเรียนภาษาไทยซึ่งไม่ได้เป็นภาษาแม่ ทำให้การเรียนรู้ภาษาไทยของเด็กค่อนข้างช้าเมื่อมีการแข่งขันเปรียบเทียบในระดับชาติ พบว่ามีเพียงคนไทยลาว จำนวนน้อยเท่านั้นที่สามารถผ่านการทดสอบในระบบนี้ไปได้ มากกว่านั้น ข้าราชการที่เข้ามาปกครองในระดับจังหวัด เมือง และโรงเรียน ส่วนมากเป็นคนไทยภาคกลางและคนไทยเชื้อสายจีนที่ในความเป็นจริงต้องการมาทำงานในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท

อนึ่ง สงครามเย็นที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เห็นว่ารัฐบาลไทยมีการปกครองแบบรัฐทหารเพียงระบบเดียวหลังจากปฏิรูปการปกครอง ขณะที่สงครามเวียดนามกำลังปะทุขึ้นนั้น คำถามของลาว ในประเทศไทยได้ถูกทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นตามนิยามของของรัฐทหาร

ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ “รัฐโดมิโน”- ประเทศสามารถกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ได้เมื่อประเทศเพื่อนบ้านปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ กระนั้นแล้ว คำถามของลาวได้ถูกลดทอนลงและกลายเป็นคำถามพื้นๆ เกี่ยวกับการทำลายภัยคุกคามของชาติ ถนนกลายมาเป็นเส้นทางรถไฟและการสื่อสารแบบใหม่ผ่านวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของโรงเรียนมัธยมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นแนวทางใหม่ของการควบคุมที่รัฐสร้างขึ้นและยังคงมีผลคงอยู่จนถึงปัจจุบัน  

แม้ว่าจะมีวาทะเกี่ยวกับการเสียสละเพื่อชาติแต่ในเวลานั้นรัฐบาลทหารก็ยังคงทำการปกครองโดยปลายกระบอกปืน รวมทั้งการปราบปราบก็มีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง กระนั้น ในปีพ.ศ. 2523 ยุทธศาสตร์อันปราดเปรื่องที่รู้จักในนาม “การเมืองนำการทหาร”ที่แสดงให้เห็นว่าการปกครองโดยระบบทหารนั้นมีความเหมาะสมแล้ว ในขณะที่กบฏคอมมิวนิสต์ได้รับการอภัยโทษ ออกจากป่า และตั้งรกราก ณ ดินแดนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   

อนึ่ง การยอมแพ้ของกบฏคอมมิวนิสต์ในปี 2523  ทำให้ดูเสมือนว่าคำถามเกี่ยวกับลาวได้รับการคลี่คลาย แต่ในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ คำถามยังคงถูกซุกซ่อนอยู่ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นรวมทั้งสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขเพียงแค่เปลี่ยนรูปและทำนองที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เท่านั้นเอง 

ท้ายที่สุดแล้ว คลื่นการปกครองของทหารได้เกิดการรวมตัวกันอย่างกระตือรือร้น จนเป็นภาวะที่ล่อแหลมและนำไปสู่การนองเลือดขึ้นในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ความหลากหลาย – พหุลักษณ์และเอกลักษณ์ – ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นผลพวงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฉบับ พ.ศ. 2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในขณะนั้น   

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังทำให้เห็นถึงบทเรียนจากการปฏิวัติย่อมๆของประเทศในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ชี้ให้เห็นว่า เด็กนักเรียนในภาคอีสานสามารถเรียนรู้รากเหง้าวัฒนธรรมและภาษาของพวกเขาได้ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการถ่ายทอดและเล่าเรียนในระบบโรงเรียนทั้งยังเป็นหนึ่งในแนวทางของการตอบโจทย์คำถามของลาว - การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของระบบการศึกษาที่เพิ่มขึ้น   

การผลักดันเกี่ยวกับพหุลักษณ์ได้เกิดขึ้นจากความหลากหลายทางยุทธศาสตร์นานาชาติที่ลงนามโดยรัฐบาลไทย เช่น การให้สัตยาบันของประเทศไทยเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององการสหประชาชาติ (ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในปี 2535) และองค์การสหประชาชาติเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (ยูเนสโก) ร่วมแถลงการณ์นานาชาติเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (2545) รวมทั้งแถลงการณ์องค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของชนพื้นเมือง (2550)

ในความเป็นจริงนั้น ข้อจำกัดของกลุ่มนักวิชาการ ข้าราชการ และนักนโยบาย ที่ได้ตระหนักว่า การสร้างความเป็นไทยนั้นย่อมรวมถึงและการไม่กีดกันเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมที่ไม่ใช่เพียงแค่มาจากส่วนกลางที่การตกผลึกของรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความขัดแย้งทางด้านความคิดเกี่ยวกับการสร้างรัฐไทยสมัยใหม่แต่อย่างใด

ความหลากหลายดังกล่าวนี้ยังรวมไปถึงนโยบายของรัฐที่ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับศตวรรษใหม่ อาทิเช่น การมุ่งสู่การเรียนรู้สังคมในประเทศไทย ที่ตีพิมพ์โดยกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549  และจากคำประกาศของเอกสารดังกล่าวก็ได้ชี้ให้เห็นว่ามีการสร้างอัตลักษณ์และภาษาทั้งแห่งชาติและท้องถิ่นไปพร้อมกัน “การยกระดับและการเปลี่ยนรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนความรู้เศรษฐศาสตร์ระดับโลกให้มีความสอดคล้องกับความสำคัญของการพัฒนาภาษาไทยและการให้คุณค่าแก่ความหลากหลายของภาษาชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด”   

การให้ความตระหนักและให้คุณค่าแก่ความหลากหลายดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การร่างนโยบายที่น่าสนใจและเป็นอีกก้าวหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหาของคำถามของลาว โดยร่างนโยบายนี้คือ ร่างนโยบายภาษาแห่งชาติ ที่ได้รับการพัฒนาและคิดค้นมานานกว่า 6 ปี โดยราชบัณฑิตยสถานและความร่วมมือของสถาบันวิจัยเพื่อภาษาและวัฒนธรรมแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ทำการนำเสนอสู่เวทีการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับภาษา การศึกษา และเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ปี พ.ศ. 2553โดยอดีตนายรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

ร่างนโยบายฉบับดังกล่าวนี้ยังคงอยู่ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนผ่านรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 มาสู่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยในเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งร่างนโยบายฉบับนี้ ได้ถูกผลักดันเข้าสู่ชุดนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่โดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี 

เอกสารฉบับนี้ ได้กล่าวถึงตรรกของความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และยังเป็นข้อสรุปของเนื้อหาใจความสำคัญ รวมทั้งเป็นแนวคำตอบที่มีความความหลากหลายของมุมมองต่อคำถามของลาวขณะเดียวกันการปกป้องอัตลักษณ์ของคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างเป็นทางการโดยการทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาแห่งชาติก็ดำเนินไปพร้อมกัน  ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่ได้ระบุภาษาแห่งชาติในรัฐธรรมนูญ 

จากเอกสารร่างนโยบายภาษาแห่งชาติ ภาษาภูมิภาคและภาษาถิ่นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานของท้องถิ่นด้านการศึกษา อัตลักษณ์ และสังคม ดังนั้น ภาษาจะถูกบรรจุไว้ในหน้าแรกสุดของการกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น การบริหารราชการและการปกครองส่วนท้องถิ่น

อนึ่ง วิทยุชุมชนได้ใช้ภาษาท้องถิ่นในการดำเนินรายการ กระนั้นแล้วการดำเนินการเกี่ยวกับร่างนโยบายภาษาแห่งชาติ น่าจะหมายถึงมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่รับประกันการผลิตครูผู้สอนที่สามารถทำการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยลาวในโรงเรียนได้ ทั้งยังหมายรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ อาทิเช่น แพทย์ เภสัชกร และพยาบาล จะต้องเรียนภาษาถิ่นเพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้ป่วยในท้องถิ่น มากกว่านั้น รัฐบาลท้องถิ่นยังสามารถดำเนินเกี่ยวกับการธุรกิจด้านภาษาท้องถิ่นหรือแม้กระทั่งภาษาแห่งชาติได้

กล่าวถึงผลทดสอบคะแนน นอกจากคุณภาพการเรียนการสอนและตำราเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนได้ดีในโรงเรียนแล้ว การวัดผลคะแนนโดยใช้การทดสอบภาษาแม่แก่เด็กนักเรียน พบว่า ผลทดสอบคะแนนที่ได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ผลการวิจัยในระดับสากลยังแสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้าด้านวิชาการของนักเรียนพัฒนาขึ้นและอัตราการออกจากโรงเรียนกลางครันของนักเรียนลดลงเมื่อนักเรียนมีความรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของระบบการศึกษานั้นๆ กล่าวโดยสรุปคือความเสมอภาคทางการศึกษาจะมีมากขึ้น อนึ่ง ผลการวัดผลคะแนนที่สูงขึ้นนี้เป็นตัวเร่งความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในประเทศไทย พบว่า ผลการทดสอบคะแนนในระดับสากลของประเทศไทยอยู่ในลำดับรั้งท้ายและความสามารถทางวิชาการยังเป็นรองประเทศเวียดนามเป็นอย่างมาก จากการที่ระบบการศึกษาของเวียดนามได้ถูกทำลายไปโดยสงครามเวียดนาม แต่ลำดับความสามารถของการทดสอบทางวิชาการนานาชาติด้านคณิตศาสตร์ ปี 2555 พบว่า เวียดนามอยู่ในลำดับที่ 17 และประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 50 จากทั้งหมด 65 ประเทศ 

ดังนั้นแล้ว ร่างนโยบายภาษาแห่งชาตินี้เป็นการเปิดโอกาสให้แก่เด็กนักเรียนไทยลาว ในการแสดงนำเสนอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และความสามารถในการพูดได้หลายภาษาจากระบบการเรียนการสอนสองภาษาที่ให้ความสำคัญกับภาษาแม่และภาษาไทยในโรงเรียนประถมศึกษารวมทั้งการการต่อยอดภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งภาษา ซึ่งจะทำให้เห็นถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น – แนวคิดหลักของความเป็นพหุลักษณ์ – การเคารพในความหลากหลาย ในขณะที่ อัตลักษณ์ของชาติก็ได้รับการส่งเสริมไปอย่างพร้อมเพรียงกัน 

ภาษาและตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์ในทางธรรมชาติ ฉะนั้น ทันทีที่มีการติดป้ายภาษาไทยลาว ย่อมมีการตั้งคำถามตามมาอย่างแน่นอนว่า “ใครสามารถอ่านและเข้าใจภาษาบนป้ายได้ รวมทั้งยังบ่งชี้ได้ว่าใครอ่านได้และใครที่อ่านไม่ได้”   

ประมาณเดือนมกราคม 2557 มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เฉลิมฉลองการครบรอบ “50 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อสังคม” ในการนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทำการเพิ่มตัวหนังสือภาษาไทยลาวบนป้ายชื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ประตูทางเข้าหลักของมหาวิทยาลัย 2 ประตู ที่ติดกับถนนมะลิวัลย์ โดยป้ายดังกล่าวประกอบไปด้วยภาษาทั้งหมด 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาไทยลาว  

ตัวหนังสือภาษาไทยลาวที่ใช้เขียนป้ายนั้นคือ ตัวอักษรไทน้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆตัวอักษรในประวัติศาสตร์ของที่ราบลุ่มตอนกลางแม่น้ำโขง ตัวหนังสือนี้ได้ถือกำเนิดมาจากการประดิษฐ์ตัวอักษรในสมัยอาณาจักรสุโขทัยโดยพระยาลิไท ตัวอักษรไทน้อยนี้เป็นตัวหนังสือที่เกิดก่อนตัวหนังสือลาวและตัวหนังสือไทยสมัยใหม่ นอกจากนั้น ตัวหนังสือนี้ยังเป็นตัวแทนงานวรรณกรรม – ความสามารถในการรู้หนังสือภาษาไทยลาวที่เป็นภาษาที่หายสาบสูญ รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมที่เลือนลาง ของคนไทยลาวจำนวนล้านคนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ทุกๆปีของการสำเร็จภาคการศึกษาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวนมากกว่าพันคนจะต้องถ่ายภาพหน้าป้ายประตูทางเข้าหลักของมหาวิทยาลัย แน่นอนคำถามที่ตามมาจากการถ่ายภาพนั้นคือ ภาษาไทยลาวนี้มีความหมายอย่างไรต่อบัณฑิตและญาติที่ทำการถ่ายภาพร่วมกัน ใครจะเป็นคนที่มองเห็นป้ายเหล่านั้น แต่อย่างน้อย บัณฑิต และผู้ปกครอง รวมทั้งญาติอาจจะไม่ทราบว่าคนไทยลาวมีความรุ่มรวยทางวรรณกรรมมากเพียงใด คำถามย่อมเกิดขึ้นแน่นอนว่าทำไมมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงติดป้ายภาษาไทยลาวหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

หัวใจสำคัญของคำถามง่ายๆ คือ นโยบาย ซึ่งเป็นนโยบายฉบับที่ปัจจุบันได้รับการปฏิเสธท่ามกลางสถานการณ์ที่วุ่นวายของการแบ่งสีแบ่งฝ่ายและวัฒนธรรมการคอร์รัปชั่นทางนโยบายของพรรคการเมืองที่ชัดเจน ร่างนโยบายภาษาแห่งชาติ มีกำหนดผ่านมติคณะรัฐมนตรีในปี 2557 แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่เห็นช่องทางในการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีท่ามกลางความเกลียดชังและวุ่นวายทางการเมืองที่ปะทุเพิ่มมากขึ้น

นโยบายภาษาแห่งชาตินี้สามารถเป็นยอดคลื่นที่สูงที่สุดของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่จะนำความเสมอภาคและความหลากหลายมาสู่ประเทศไทย ทั้งยังอาจจะสามารถเยียวยาความเป็นสมัยใหม่ของรัฐไทยที่มาจากการ “เสียเลือด เสียเนื้อ” แทนที่โดยยอมรับและส่งเสริมความแตกต่างของอัตลักษณ์อย่างกระตือรือร้นมากกว่าการยอมจำนนต่อการแบ่งกลุ่มประชาชน

ในทางตรงกันข้าม นโยบายดังกล่าวยังเป็นการเสนอให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพระยะยาวที่บางครั้งอาจจะหล่นหายไปในระหว่างทางของการถกเถียงและการตั้งคำถามของลาว

ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับช่วงเวลาของการแบ่งแยก และมีโอกาสสูงมากที่จะนำไปสู่การนองเลือดครั้งยิ่งใหญ่และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มีบางคนถึงกับกล่าวว่า การนองเลือดจำเป็นต้องเกิดขึ้น และผู้คนก็นั้นตระหนักดีว่ามันคือความแตกต่างและเป็นความแตกต่างพื้นฐานที่มีอยู่ระหว่างภาคเหนือและภาคอีสานกับภาคกลางและภาคใต้ ซึ่งผู้คนเหล่านั้นอาจจะทราบหรือไม่ทราบถึงความแตกต่างนี้ก็ตามและคนไทยต่างก็ครุ่นคิดถึงคำถามของลาว – ที่ปัจจุบันกลายมาเป็นคำถามของไทยลาวแทนที่   

ประเทศไทยหรือเรียกอีกอย่างว่า “สยามเมืองยิ้ม”- ได้เผชิญกับปัญหาของวิกฤติการทางการเมืองที่มองไม่เห็นทางออกมาเป็นเวลากว่า 1 ปี หรือเรียกอีกอย่างว่า “แดนสวรรค์ที่ล่มสลาย”

อย่างไรก็ตาม เราอาจจะได้เห็นถึงการหล่อหลอมทางจิตวิญญาณขึ้นมาใหม่อีกครั้งตามประชามติของสังคมที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้เปิดทางเอาไว้ การนองเลือด ความสิ้นหวัง และความหวัง รวมทั้งกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆที่มีอยู่นั้นความเข้มแข็งเพียงพอหรือไม่ที่จะผนึกรวมความเป็นหนึ่งเดียวในท่ามกลางความหลากหลายนี้ได้สำเร็จ อนึ่ง ภาษาภูมิภาคและภาษาท้องถิ่นที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของความหลากหลายของอัตลักษณ์ประเทศไทย ซึ่งหากแม้ว่าได้รับอนุญาตให้นำกลับมาใช้และพัฒนาให้เจริญงอกงามอีกครั้ง รวมทั้งการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอย่างยุติธรรม เหล่านี้อาจเป็นความฝันที่ท้าทายถึงความสามารถในการเรียกกลับคืนมาใหม่ของแดนสวรรค์ที่ล่มสลาย

 

 

หมายเหตุ: แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ Paradise Lost in the Land of Smiles: The 'Thai Lao Question' โดย Sirinath Matra

เกี่ยวกับผู้เขียน: เกี่ยวกับผู้เขียน: John Draper เป็นนักภาษาศาสตร์สังคม (sociolinguist) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาประวัติศาสตร์สมัยใหม่จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และปริญญาโทสาขาภาษาศาสตร์ประยุกตฺจากมหาวิยาลัยเซาธ์ควีนสแลนด์ เขาทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง “การศึกษาภาษาศาสตร์สังคมของชุมชนลาว (อีสาน)” เขามีผลงานตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระหว่างประเทศทางด้านการสอนภาษาอังกฤษให้ผู้ที่พูดภาษาอื่น (TESOL) พหุภาษาและพหุวัฒนธรรม การวางแผนภาษา และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผลงานตีพิมพ์ชิ้นล่าสุดของเขา (กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการจัดพิมพ์) คือ “วัฒนธรรมกับการส่งเสริมภาษาในประเทศไทย: นัยยะของการนำป้ายหลายภาษามาใช้ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยชาวไทย-ลาว” (Culture and Language Promotion in Thailand: Implications for the Thai Lao Minority of Introducing Multilingual Signage), ชาติพันธุ์เอเชีย ปัจจุบันเขาเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้รับมอบหมายให้ประจำโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมอีสาน (ดู www.icmrpthailand.org และ www.facebook.com/icmrpthailand)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net