Skip to main content
sharethis


คลิกดูรูปขนาดใหญ่

บทบาทขององค์กรอิสระเป็นที่จับตาอย่างยิ่งในช่วง ‘เดทล็อก’ ทางการเมือง จนดูเหมือนทิศทางประเทศอยู่ในมือคนกลุ่มนี้อย่างสำคัญ ประกอบกับจุดหักเหทางการเมืองหลายต่อหลายครั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ทำให้ ‘คนกลาง’ อย่าง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหลายอยู่ในจุดสูงสุดของการถูกตั้งคำถาม

รายงานชิ้นนี้รวบรวมคำวินิจฉัยสำคัญๆ ขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีต่อสถาบันทางการเมืองอย่างพรรคการเมือง รัฐบาล และนโยบายภาครัฐ เพื่อทวนความจำ รวมถึงรายละเอียดที่มาของผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองไทยกลุ่มนี้ ซึ่งหลายคนอาจลืมไปแล้ว

 

วันที่ตัดสิน

ประเด็น

ผู้ร้อง

องค์กรผู้พิจารณา

สถานะ

3 ส.ค.44

ร้องให้ตัดสินให้ทักษิณ ชินวัตร รองนายกฯ ขณะนั้น พ้นจากตำแหน่งและไม่ให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี กรณีจงใจแจ้งบัญชีทรัพย์สินเท็จ

ป.ป.ช.

ศาล รธน.

มติ 8:7 ยกคำร้อง

 

8 พ.ค. 49                    

การเลือกตั้ง 2 เม.ย.49 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ?

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

ศาล รธน.

มติเสียงข้างมาก ให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ให้จัดเลือกตั้งใหม่ เหตุกำหนดวันเลือกตั้งไม่เป็นธรรม, จัดคูหาหันหลัง ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นความลับ

30 พ.ค. 50

ทรท.จ้างพรรคเล็กลงเลือกตั้ง ผิด พ.ร.บ.ประกอบ รธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง หรือไม่

ปชป.ยื่น กกต.

กกต.ยื่น อสส.

ตลก.รธน.

ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย, พัฒนาชาติไทย,แผ่นดินไทย + เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

30 พ.ค. 50

ปชป.จ้างพรรคเล็กใส่ร้าย ทรท. และล้มล้างประชาธิปไตย ผิด พ.ร.บ.ประกอบ รธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง หรือไม่

ทรท. .ยื่น กกต.

กกต.ยื่น อสส.

ตลก.รธน.

วินิจฉัยว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดในทุกข้อกล่าวหา/ ตัดสินยุบพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า + เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เหตุส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ทั้งที่ไม่มีสิทธิ

1 พ.ค. 51

พรรคพลังประชาชนเป็นตัวแทนพรรคไทยรักไทยหรือไม่

วีระ สมความคิดและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

กกต.

เสียงข้างมาก ยกคำร้อง เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอเอาผิด /

สามเสียงเห็นว่ามีหลักฐานเพียงพอว่า พลังประชาชนเข้าข่ายเป็นตัวแทน ทรท. แต่ไม่เข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบ รธน.ว่าด้วยพรรคการเมือง

9 ก.ย. 51

สมัคร สุนทรเวช นายกฯขณะนั้น จัดรายการชิมไปบ่นไปและยกโขยงหกโมงเช้า เข้าข่ายเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนหรือไม่ ผิด รธน.?

เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา และพวก


 

ศาล รธน.

วินิจฉัยให้ สมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี พ้นตำแหน่งนายกฯ

2 ธ.ค. 51

พรรคพลังประชาชน, ชาติไทย, มัชฌิมาธิปไตย ทุจริตเลือกตั้ง ผิด พ.ร.บ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง?

กกต.ยื่น อสส.

ศาล รธน.

สั่งยุบพรรคพลังประชาชน, ชาติไทย, มัชฌิมาธิปไตย + เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 5 ปี

29 พ.ย.53

ร้องให้ยุบพรรค กรณีปชป.ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์?

กกต.

ศาล รธน.

ยกคำร้อง เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

9 ธ.ค. 53

ร้องให้ยุบพรรค กรณีปชป.รับเงินบริจาค 258 ล้าน จาก บ.ทีพีไอโพลีน ในการเลือกตั้งปี 48 เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ประกอบ รธน. ว่าด้วยพรรคการเมือง หรือไม่

ดีเอสไอ ส่ง กกต. ส่ง อสส.

ศาล รธน.

ยกคำร้อง เนื่องจากกระบวนการยื่นขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

8 ม.ค. 57

การแก้มาตรา 190 ให้จำกัดอำนาจรัฐสภาในการเห็นชอบกรณีฝ่ายบริหารทำสนธิสัญญาต่างประเทศ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

ปชป.

ศาล รธน.

ขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีการรวบรัดการอภิปรายในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ และเป็นการเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายบริหาร เข้าข่ายล้มล้างการปกครองและลิดรอนอำนาจการตรวจสอบ  

20 พ.ย.56

การแก้ไขรธน.ประเด็นที่มาส.ว. ขัดมาตรา 68 ของรธน.หรือไม่


 

ส.ว. สรรหา+ ตัวแทนปชป.

ศาล รธน.

มติเสียงข้างมากวินิจฉัยว่าขัดมาตรา 68  

20 มี.ค.57 ป.ป.ช ชี้มูลให้นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา มีความผิด ฐานตัดสิทธิ์ผู้แสดงความคิดเห็นในการอภิปราย 57 คน / ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่และรอวุฒิสภาถอดถอน

ส.ส. +ส.ว.308 คน รอป.ป.ช. ชี้มูล

24 ม.ค.57

ขอให้วินิจฉัยว่าการกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่สามารถทำได้หรือไม่ และเป็นอำนาจขององค์กรใด

กกต.

ศาล รธน.

วินิจฉัยว่าสามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้  และเป็นอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบร่วมกันของนายกฯ - ประธาน กกต.

12 ก.พ. 57

การเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 เป็นโมฆะหรือไม่ จากการไม่สามารถจัดการเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร และจากการประกาศพ.ร.บ.ฉุกเฉินทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง

ปชป. ยื่นตามมาตรา 68

ศาล รธน.

ไม่รับคำร้อง

12 มี.ค. 57

พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ กรณีเสียบัตรลงคะแนนแทนกัน, ไม่ต้องนำเงินรายได้ส่งคลัง

ปชป.

ศาล รธน.

ตัดสินว่าขัดรัฐธรรมนูญ  

21 มี.ค. 57

การเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เป็นโมฆะหรือไม่เนื่องจากมีการนับคะแนนหลังการเลือกตั้ง ขัดต่อหลักความเสมอภาคที่การลงคะแนนต้องเป็นไปโดยลับ

รวมทั้งการประกาศพ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมือง

ผู้ตรวจการแผ่นดิน

ศาล รธน.

มติ 6:3 วินิจฉัยว่า พ.ร.ฎ.ยุบสภาฯ 56 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งส.ส. 2 ก.พ.57 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 108 วรรคสอง (มี 28 เขตที่ยังไม่เคยสมัครรับเลือกตั้งเลย)

21 มี.ค.57

สามารถออกพ.ร.ฎ.การเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ใน 8 จังหวัดภาคใต้ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง

กกต.

ศาล รธน.

จำหน่ายคำร้อง  เพราะวินิจฉัยแล้วว่า พ.ร.ฎ.ยุบสภา ส่วนวันเลือกตั้ง ขัดรัฐธรรมนูญ

?

อภิสิทธิ์ และพวก ทุจริตต่อหน้าที่กรณีโครงการระบายข้าวหรือไม่ และร้องขอให้ถอดถอน พรทิวา นาคาศัย อดีต รมว. พาณิชย์  

เพื่อไทย

ป.ป.ช.

รอ ป.ป.ช.มีมติ

?

ยิ่งลักษณ์ มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157 หรือไม่ กรณีไม่ยับยั้งโครงการจำนำข้าว ทั้งๆ ที่มีการทักท้วงว่าทุจริต

ปชป.

ป.ป.ช.

รอป.ป.ช. มีมติ

หาก ป.ป.ช.มีมติว่าเป็นการกระทำความผิด นายกฯ ยิ่งลักษณ์ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษา

 
 

ที่มาองค์กรอิสระ

 

คณะกรรมการการเลือตั้ง (กกต.)

รัฐธรรมนูญ 2550

กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 ทำหน้าที่สรรหา กกต. 3 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา ส่วนที่สองให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา พิจารณาสรรหา กกต. อีก 2 คน แล้วเสนอต่อประธานวุฒิสภา

ให้มีคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระชุด 7 คนประกอบด้วยประธานศาลฏีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา และที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกมาฝ่ายละหนึ่งคน โดยต้องไม่ใช่ผู้พิพากษา หรือกรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่น

รัฐธรรมนูญ 2540

กกต. มีวาระ 7 ปี มีจำนวน 5 คน มาจากการสรรหาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกให้คณะกรรมการสรรหาจำนวน 10 คนสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. 5 คน และส่วนที่สอง ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาผู้สมควรเป็น กกต. จำนวน 5 คน เพื่อให้วุฒิสภาเลือกเหลือ 5 คน

คณะกรรมการสรรหา กกต.ในส่วนแรก 10 คนประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมการศึกษาของรัฐเลือกกันเองให้เหลือสี่คน ผู้แทนพรรคการเมืองที่มี ส.ส.เลือกกันเองให้เหลือสี่คน


ศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ 2550

ศาลรัฐธรรมนูญมีวาระ 9 ปี ประกอบด้วยตุลาการ 9 คน มาจาก

1.ผู้พิพากษาในศาลฏีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฏีกา จำนวน 3 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน

2.คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ จำนวน 2 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินจำนวน 2 คน (ม.204)

คณะกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานศาลฏีกา ประธานศาลปกครองสูงสุดประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 1 คน

รัฐธรรมนูญ 2540

ศาลรัฐธรรมนูญมีวาระ 9 ปี ประกอบด้วยตุลาการ 15 คน มาจาก

1.ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จำนวน 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน

2. คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำการสรรหา ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 3 คน

คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา คณะบดีคณะนิติศาสตร์ของรัฐเลือกกันเอง 4 คน คณะบดีรัฐศาสตร์ของรัฐเลือกกันเอง 4 คน ผู้แทนพรรคการเมืองในสภาพรรคละหนึ่งคนเลือกกันเองเหลือ 4 คน

****รอยต่อช่วงรัฐประหาร 2549

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 35 ให้ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน, ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน, ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน เป็นตุลาการ โดยให้ทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แล้ว ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และในบทเฉพาะกาล มาตรา 300 ให้คณะตุลาการดังกล่าวทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการชั่วคราว จนกว่าตุลาการคณะใหม่จะเข้ารับหน้าที่


คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ปี 2549-ปี 2553

แต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549

รัฐธรรมนูญ 2550

การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะต้องคัดสรรโดยให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวน 5 คนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุดประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

****ข้อความในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ กกต. ป.ป.ช. และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ดังกล่าว ดำรงตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะสิ้นสุดวาระ

 

หมายเหตุ: แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลเมื่อ 24 มี.ค.57

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net