จดหมายเปิดผนึกค้านวัดพนัญเชิงย้ายสุสานจีน อยุธยา

ระบุเป็นการดูหมิ่นจิตใจชาวจีน ยืนยันกรรมสิทธิทางประวัติศาสตร์ เสนอปลดป้ายและเจรจาร่วมหาทางออกโดยยึดหลักเคารพและเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เสนอผู้ว่า กรมศิลปากร หน่วยงานทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมดูแล

 

จากกรณีที่ วัดพนัญเชิงได้ทำจดหมายถึงลูกหลานชาวจีนที่มีบรรพชนอยู่ในสุสานจีนฝั่งถนนตรงข้ามของวัดติดและติดป้ายประกาศ ให้ญาติพี่น้องของผู้ตายนำศพออกจากสุสานภายในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2557 โดยให้เหตุผลว่าทางวัดจะได้ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นที่จอดรถ  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาสักการะหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ขยายพื้นที่โรงเรียน และเหตุผลล่าสุด ก็คือเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนั้น 

นักวิชาการอาทิ ศ.ดร.ชาญวิทย์  เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ฉลอง  สุนทราวาณิชย์  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิพัฒน์  สุยะ หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ  นักเขียน นักกิจกรรมและคนทำงานด้านท่องเที่ยว จำนวน กว่า 155 คน จากทั่วประเทศ ได้ร่วมกันลงชื่อในจดหมายคัดค้านการดำเนินการดังกล่าว

ในจดหมายได้ชี้แจงถึงเหตุผลของการคัดค้านว่า พื้นที่สุสานดังกล่าวเมื่อมองในทางประวัติศาสตร์และวิเคราะห์จากลายลักษณ์อักษรของผู้บริจาคแล้วถือว่าเป็นสิทธิของชาวจีน โดยกลุ่มได้เรียกร้องให้ทางวัดพนัญเชิงผ่อนผันโดยปลดป้ายประกาศให้เคลื่อนย้ายศพออกเนื่องจากถือเป็นการดูหมิ่นทำร้ายจิตใจลูกหลานชาวจีน พร้อมทั้งเสนอให้หาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่

๐๐๐๐

จดหมายเปิดผนึกคัดค้านการรื้อสุสานจีนวัดพนัญเชิง
โดยเครือข่ายนักวิชาการ นักกิจกรรม นักเขียน และคนทำงานเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวพระนครศรีอยุธยา

 

ตามที่วัดพนัญเชิงได้ติดป้ายประกาศและทำจดหมายถึงลูกหลานชาวจีนที่มีบรรพชนอยู่ในสุสานจีนฝั่งถนนตรงข้ามวัด  ให้ไปนำศพออกจากสถานที่ภายในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2557 ที่จะถึงนี้  เพื่อวัดจะได้ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นที่จอดรถ  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาสักการะหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ขยายพื้นที่โรงเรียน และอีกเหตุผลล่าสุด ได้แก่ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านลูกหลานคนจีนทั้งในและนอกพระนครศรีอยุธยา  ต่างตระหนกตกใจ  และดำเนินการคัดค้านในรูปแบบต่างๆ นั้น  เราผู้มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายนี้ขอฝากความเห็นด้วยความห่วงใยต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้

(1) วัดพนัญเชิงมีประวัติก่อตั้งสัมพันธ์กับชุมชนจีนที่มีประวัติศาสตร์ควบคู่กับพระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และในการกำหนดเขตภูมิสถานกรุงศรีอยุธยาตามแผนที่โบราณฉบับต่างๆ ล้วนแต่บ่งชี้ว่าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตั้งแต่ปากน้ำแม่เบี้ย บางกะจะ วัดพนัญเชิง วัดขอม วัดเกาะแก้ว ย่านคลองสวนพลู ตลอดถึงฝั่งขวาของคลองนายก่าย วัดสุวรรณดาราราม วัดรัตนชัย (วัดจีน) ล้วนถือกำหนดให้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและชุมชนชาวจีน ในแง่ประวัติศาสตร์ชาวจีนจึงมีสิทธิในที่ดินที่เป็นสุสานจีนดังกล่าว 

(2) การก่อตั้งสุสานในที่ดินดังกล่าว ซึ่งเดิมเป็นที่วัดขอม (ร้าง) เมื่อ พ.ศ.2495 จากหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏยืนยันชัดเจนถึงเจตนารมณ์ของพระโบราณคณิศร เจ้าอาวาสวัดพนัญเชิงในสมัยนั้น  ที่จะอุทิศที่ดินดังกล่าวนี้ให้เป็นสุสานจีนเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะตลอดไป  หาได้เป็นการชั่วคราวแต่อย่างใดไม่  การนำเอาที่ดินสุสานไปทำเป็นที่จอดรถ  ถือเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นและทำร้ายจิตใจลูกหลานชาวจีนอย่างรุนแรง  การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนยิ่งไม่ใช่สิ่งที่จะหยิบยกเอามาเป็นข้ออ้างในเรื่องนี้  เพราะวิถีของประชาคมอาเซียนนั้นหมายถึงการจรรโลงแนวทางการอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข  บนพื้นฐานการเคารพและเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม 
 
(3) แนวทางการแก้ไข  เบื้องต้นขอให้ทางวัดผ่อนคลายความกังวลของพี่น้องชาวจีน  โดยปลดป้ายประกาศให้ญาตินำศพออกจากสถานที่  ยกเลิกการกำหนดให้วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นวันสุดท้ายของการนำศพออกนอกสถานที่  และเลื่อนไปจนกว่าจะหาทางออกร่วมกันได้  ทั้งนี้โดยวิธีทางสันติ เจรจา พูดคุย นัดหารือร่วมกัน  วัดอาจซื้อหาที่ดินบริเวณอื่นแทน และในส่วนของสุสาน มูลนิธิเซียงเต๊กตึ๊งที่ดูแลอยู่เดิม อาจต้องยินยอมให้วัดเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการได้ 

(4) ขอให้ทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยผู้ว่าราชการจังหวัด กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนา เทศบาล หน่วยงานราชการทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและหาทางออกร่วมกับวัดและชุมชน  เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการจัดการบริหารนครประวัติศาสตร์อยุธยาโดยรวมด้วย  การแก้ไขจราจรที่คับคั่ง สามารถทำแนวทางอื่นได้ เช่น การฟื้นการคมนาคมทางน้ำ การดำเนินโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาต่อตรงบริเวณถนนหลังคลองสวนพลูระหว่างหมู่บ้านญี่ปุ่นกับบ้านโปรตุเกส การโปรโมทให้ความสำคัญกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น  ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหวังในเจตนารมย์ที่ปรารถนาจะเห็นวัดกับชุมชนในพื้นที่ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  กลับมามีความสัมพันธ์อันดีและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและหาทางออกร่วมกัน  

(ลงชื่อ)

1.ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์  เกษตรศิริ
2.รองศาสตราจารย์ฉลอง  สุนทราวาณิชย์ 
3.อาจารย์พิพัฒน์  สุยะ หัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิมล  รุ่งเจริญ  หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6.รองศาสตราจารย์ ดร.สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7.ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สรัสวดี  อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8.นิธินันท์  ยอแสงรัตน์
9.ภัทรพล  ภูริดำรงกุล
10.อชิรวิชญ์  อันธพันธ์
11.สุพลธัช  เตชะบูรณะ
12.ธีระวัฒน์  แสนคำ
13.ไผท  ภูธา อาชีพนักเขียน
14.เมธากร  เมตตา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15.จรรยา  ยิ้มประเสริฐ
16.ธิกานต์  ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
17.กำพล  จำปาพันธ์  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
18.ดร.เพ็ญสุภา  สุขคตะ ใจอินทร์
19.มิตร  ใจอินทร์
20.ปุษยปัญชลี  ใจอินทร์
21.วรพงษ์  เกตุดิษฐ์
22.สุรพศ  ทวีศักดิ์
23.กาย  อินทรโสภา
24.องค์  บรรจุน
25.ประกิต  กอบกิจวัฒนา
26.ดรณ์  ทิพนันท์ 
27.นนทพร  อยู่มั่งมี...ลูกหลานบรรพชนชาวจีน
28.พุฒิพงษ์  เทวกุล
29.ญาดากุล  วงศ์ปิ่นแก้ว
30.อัมรา  ผางน้ำคำ  สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  กระทรวงวัฒนธรรม
31.ชนิดา  ชิตบัณฑิตย์ 
32.ศิริวรรณ  ลาภสมบูรนานนท์
33.ศุภรา  มณีรัตน์
34.ปิยนุช  ยอแสงรัตน์ เกตุจรูญ
35.ธนวัฒน์  กนกโกเศศ
36.ศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ
37.รวิพรรณ  จารุทวี
38.บุญชนิต  วังมะนาว
39.เจดีย์  ดวงมาลัย
40.นิติพงศ์  สำราญคง
41.ชุมาพร  แต่งเกลี้ยง
42Pipob Udomittipong
43.Yos Santasombat, Ph.D. Professor of Anthropology, Chair of Ph.D. Program in Social Sciences, Chiang mai University. And Senior Research Scholar, Thailand Research Fund.
44.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
45.ณฐิญาณ์ งามขำ
46.ปิยชาติ สึงตี นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47.ประไพพิศ มุทิตาเจริญ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48.อนุสรณ์  ติปยานนท์
49.ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล
50.ดำนาย ประทานัง
51.มนทกานติ รังสิพราหมณกุล
52.พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
53.มูฮัมหมัดฮาริส กาเหย็ม
54.ดาราณี ทองศิริ
55.การะเกตุ ศรีปริญญาศิลป์
56.กนิษฐ์ วิเศษสิงห์
57.ศรีนิติ สุวรรณศักดิ์
58.อภิรดี จูฑะศร บรรณาธิการ นสพ.พับลิกโพสต์
59.คมลักษณ์  ไชยยะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
60.ดร.เอนก  รักเงิน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
61.นฤมล  อนุสนธิ์พัฒน์ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
62.สุกัลยา  คงประดิษฐ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
63.เด่นเดือน  เลิศทยากุล สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
64.ปราโมทย์  ระวิน สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
65.รัตนชัย  ปรีชาพงศ์กิจ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
66.ชัยนรินทร์  กุหลาบอ่ำ นักกิจกรรมทางสังคม
67.ฤทธิพงษ์  มหาเพชร นักกิจกรรมทางสังคม
68.เขียน ตะวัน กวีและนักเขียน
69.ปฐม  ตาคะนานันท์ 
70.วิญญูจักรา  คำนิล
71.ไตรศักดิ์  โพชลาด
72.ภูมินทร์  ไทยานันท์
73.ศิริพจน์  เหล่ามานะเจริญ
74.ดร.รุ่งโรจน์  ภิรมย์อนุกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
75.พิพัฒน์  กระแจะจันทร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
76.สิทธารถ  ศรีโคตร  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
77.สิทธิเทพ  เอกสิทธิพงษ์  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
78.ธาตรี  มหันตรัตน์  สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
79.ตราดุลย์  นรนิติผดุงการ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
80.ปกาศิต  เจิมรอด สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
81.ดร.กรพนัส ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82.ฉัตรชัย  นิยะบุญ  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
83.กาญจณา  สุขาบูรณ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
84.พุฒิพงศ์  พุฒิตาลศรี 
85.วริศรา  ตั้งค้าวาณิชย์
86.สายป่าน  ปุริวรรณชนะ  นักวิชาการอิสระ 
87.บังอร  คำหลอม  สาขาวิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
88.พรรณสุวัชร  รุ่งโรจน์วุฒิกุล สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
89.นพดล ปรางค์ทอง กลุ่มวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 
90.สุเจน  กรรพฤทธิ์ สื่อมวลชน
91.มรกตวงศ์  ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
92.กฤช เหลือลมัย บรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ
93.ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์ 
94.ผศ.ดร.วศิน  ปัญญาวุธตระกูล
95.ภัควดี  วีระภาสพงษ์
96.พนัส  ทัศนียานนท์
97.งามวัลย์  ทัศนียานนท์
98.วรานนท์  ปัจจัยโค  สื่อมวลชน
99.อพิสิทธิ์  ธีระจารุวรรณ
100.ภมรี  สุรเกียรติ
101.อาทิตย์  ทองอินทร์
102.สงวน  คุ้มรุ่งโรจน์
103.จุฑา  เทพหัสดินฯ
104.ศิริภาส  ยมจินดา
105.พัชรพล  เถาธรรมพิทักษ์  สาขาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
106.ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ บรรณาธิการนิตยสารวิภาษา
107.วิมลสุดา  ศรีวะโลสกุล
108.อนุสรณ์  อุณโณ
109.ชาญณรงค์  บุญหนุน
110.คมกฤช  อุ่ยเต๊กเค่ง
111.รศ.ดร.โสรัจจ์  หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
112.วินัย  ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
113.หทัยวรรณ  ช่างประดิษฐ์
114.ฐิติมา  อังกุรวัชรพันธุ์
115.วิปัศยา  อยู่พูล
116.ธนภัทร  ลิ้มหัสนัยกุล
117.อนรรฆ พิทักษ์ธานิน
118.พลวัตร  อารมณ์
119.อนันต์  กรุดเพ็ชร์
120.เพ็ญพิมล  เรืองกมลศักดิ์
121.สุธิดา  วิมุตติโกศล
122.ธัชชัย  ยอดพิชัย 
123.กิติพล  เอี่ยมกมล
124.พัฑร์  แตงพันธ์
125.อ.ปิยะ  มีอนันต์  สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
126.สายรุ้ง กล่ำเพชร
127.บรรจง สุทธิจินดา
128.ปัทพงษ์  ชื่นบุญ
129.สาธิยา  ลายพิกุน
130.ทวีศักดิ์  เผือกสม  ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
131.ดารารัตน์  เมตตาริกานนท์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์และโบราณคดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
132.ศิววงศ์  สุขทวี  นักศึกษาปริญญาโท คณะมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
133.อภิชาต ทองนุ่ม หมวดสังคมศึกษา โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
134.กัลยา  สุภัทรวณิชย์
135.นางวิภาวี  ฝ้ายเทศ
136.อรรถสิทธิ์  สิทธิดำรง
137.สุรัช  คมพจน์
138.ว่าที่ร้อยตรีอิสระพงษ์  ผางสระน้อย กลุ่มวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
139.ดร.บุญล้ำ สุนทร สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
140.อ.สุทัศน์  อู่ทอง สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
141.วิภา  ดาวมณี  อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
142.สิทธิรักษ์  แสงกล้า บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามโพลล์
143.วัฒนชัย แจ้งไพร มัคคุเทศก์อิสระ 
144.จารุพัฒน์  ผลไพร
145.ศุภสุตา  ปรีเปรมใจ
146.ทาริกา สุขสมชีพ
147.ชานนท์ ไชยทองดี
148.อรดี อินทร์คง
149.ปองพล วิชาดี
150.วัฒนา สุขวัจน์
151.บัณฑิต เทียนรัตน์
152.สมชาย แซ่จิว
153.กุณฑิกา นุตจรัส
154.ทิวาพร ใจก้อน
155.คมกฤช แซ่เจียง

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท