Skip to main content
sharethis

16.40 น. ประกาศฉบับที่ 37 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้อำนาจศาลทหารพิพากษาคดีดังต่อไปนี้

1 คดีหมิ่นสถาบัน ตามที่บัญญติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา  107-112

2 คดีความมั่นคง ตามที่บัญญติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา  113-118

3 คดีการกระทำผิดตามประกาศ หรือคำสั่งของ คสช.

สำหรับการพิจารณาคดีด้วยศาลทหารนั้น iLaw เคยเผยแพร่บทความ อธิบายว่ามีลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลในกระบวนการยุติธรรมปกติดังนี้

1.พลเรือนไม่มีสิทธิแต่งตั้งทนาย หรือ ฟ้องคดีเองได้ที่ศาลทหาร ต้องมอบคดีให้แก่อัยการทหารเป็นโจทก์



2. องค์คณะของตุลาการ ประกอบไปด้วย ตุลาการพระธรรมนูญ และตุลาการทหาร จำนวนองค์คณะพิจารณาพิพากษา ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในชั้นศาลใด (ศาลทหารมีสามชั้นเหมือนศาลพลเรือน คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด) สำหรับตุลาการพระธรรมนูญ ต้องมีความรู้ทางด้านกฎหมาย คือ จบปริญญาตรีด้านกฎหมาย และเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตฯ แต่สำหรับตุลาการทหาร คือ นายทหารยศสัญญาบัตรขึ้นไปที่ได้รับแต่งตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายก็ได้



3. ไม่มีหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร เนื่องจากผู้บังคับบัญชา หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการทหารสำหรับศาล ทหารชั้นต้น

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net