Skip to main content
sharethis

วิทยุชุมชนชายแดนใต้ขอให้อนุญาตเปิดสถานีในเดือนถือศีลอดของมุสลิม ชี้จำเป็นกับวิถีชีวิตในช่วงรอมฎอน เป็นเวลาสำคัญในการเชิญชวนคนทำความดี ประชาชนจำเป็นต้องเปิดฟังประกาศเวลาละศีลอด พร้อมประชาสัมพันธ์กิจกรรมรับบริจาค เปิดชื่อวิทยุชุมชน 3 จังหวัด 4 อำเภอของสงขลา กว่า 60 สถานีได้รับผลกระทบจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

<--break- />

วิทยุชุมชนชายแดนใต้กับคำสั่ง คสช.

ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เปิดรับสื่อและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อวิทยุชุมชนมากที่สุดรองจากโทรทัศน์ เพราะฉะนั้น “วิทยุชุมชน” จึงสำคัญ และจะยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกในช่วงเดือนรอมมฎอน ซึ่งเป็นเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิมที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่นั้น โดยเฉพาะวิทยุศาสนา

เดือนรอมฎอนปีนี้กำลังจะเริ่มในช่วงวันที่ 28 มิถุนายนนี้ ทว่าขณะนี้สถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดกว่า 60 สถานีในชายแดนใต้ได้ปิดสถานีตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามประกาศฉบับที่ 4 ระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และสถานีวิทยุชุมชน และประกาศฉบับที่ 15 ข้อที่ 15 ระงับการออกอากาศสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย


สื่อที่คนในพื้นที่เปิดรับมากที่สุด

ถามว่าทำไมวิทยุชุมชนจึงสำคัญกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งข้อมูลข้างต้นมาจากผลการสำรวจของสถานความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ระบุว่า ชาวบ้านเน้นเสพสื่อในชุมชนเป็นหลัก

ทั้งนี้ เพราะผลการสำรวจลำดับต่อๆ มาสำหรับสื่อที่ประชาชนในพื้นที่เปิดรับ คือสื่อจากมัสยิด จากคนในชุมชน จากร้านน้ำชา สื่อจากเพื่อน หนังสือพิมพ์ หอกระจายข่าว อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ตามลำดับ

สำหรับวิทยุชุมชนนั้น ในฐานข้อมูลสถานีวิทยุชุมชนที่ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้เก็บรวบรวมไว้ขณะนี้ พบว่า มีทั้งหมด 65 สถานี สามารถแยกออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ วิทยุชุมศาสนามีประมาณ 19 สถานี โดยมีเพียง 3 สถานีที่เป็นวิทยุของพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์ นอกนั้นเป็นวิทยุศาสนาอิสลาม ส่วนอีกสองประเภทคือวิทยุชุมชนที่ให้บริการสาธารณะ และวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจ


นายหะซัน ภาลาวัน

ทำไมวิทยุชุมชนจึงสำคัญในเดือนรอมฎอน

และถามว่า ทำไมวิทยุชุมชนจึงยิ่งสำคัญขึ้นไปอีกในช่วงเดือนรอมฎอน ในขณะที่สถานีวิทยุชุมชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังไม่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย นายหะซัน ภาลาวัน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุสาธารณะมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสถานีวิทยุชุมชนคลื่นความถี่ 107.75 MHz และปัจจุบันถูกปิดตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะอธิบายเรื่องนี้

นายหะซัน กล่าวว่า การจัดรายการวิทยุในช่วงเดือนรอมฎอนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสำคัญและจำเป็นมากสำหรับชาวมุสลิม เนื่องจากช่วงนี้ชาวมุสลิมตั้งใจที่จะประกอบคุณงามความดีตามหลักศาสนาอิสลามให้สมบูรณ์ที่สุด
“รอมฎอนเป็นฤดูของการประกอบศาสนกิจ เพราะฉะนั้นผู้ฟังจะเลือกฟังเฉพาะรายการที่เป็นประโยชน์ เช่น รายการบรรยายธรรมทางศาสนา การฟังเสียงอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน ส่วนรายการที่ไม่เป็นประโยชน์ก็จะไม่ฟัง เช่น รายการเพลง หรือรายการบันเทิงต่างๆ”
 

เผยเหตุผลที่คนมุสลิมฟังวิทยุมากขึ้น

นายหะซัน บอกว่า ช่วงเวลาสำคัญที่ชาวมุสลิมในพื้นที่ต้องเปิดวิทยุฟังมากในช่วงเดือนรอมฎอน คือช่วงเย็นๆ เวลาประมาณ 18.30 น. เพื่อรอฟังเสียงอาซานทางวิทยุ หรือเสียงกล่าวประกาศเวลาละหมาดมัฆริบหรือละหมาดในช่วงตะวันตกดิน ซึ่งแสดงว่าถึงเวลาละศีลอดแล้ว

“ดังนั้น ระหว่างรอเวลาละศีลอด ชาวมุสลิมก็จะเปิดฟังวิทยุก่อนตั้งแต่เวลาประมาณ 16.30 น.ไปจนถึงเวลาละศีลอด ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเกี่ยวกับศาสนา ด้วยเหตุนี้ วิทยุจึงจำเป็นมากสำหรับชาวมุสลิมในพื้นที่”

นายหะซัน บอกว่า ในช่วงเดือนรอมฎอนนอกจากรายการสอนศาสนาอิสลามแล้ว ยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการถือศีลอด เช่น การประกาศผลการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน การประชาสัมพันธ์เพื่อจัดการซากาตฟิตเราะห์ (ทานบังคับที่มีเฉพาะช่วงเดือนรอมฎอน) เป็นต้น

“การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน จะมาคู่กับเรื่องการบริจาคทาน ดังนั้นในเดือนนี้จะมีคนให้เงินหรือสิ่งของบริจาคจำนวนมาก ซึ่งต้องมีการจัดการเรื่องนี้และต้องมีการประชาสัมพันธ์ด้วย ดังนั้นถ้าสถานีวิทยุยังถูกปิดอยู่ในช่วงนี้ก็ไม่สามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ดี”

ขอให้เปิดก่อน หลังรอมฎอนจะสั่งปิดอีกก็แล้วแต่

นายหะซัน กล่าวว่า ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้มีการพิจารณาอนุญาตให้เปิดสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน อย่างน้อยก็ตั้งแต่ 4 วันก่อนเดือนรอมฎอนไปจนถึงหลังสิ้นเดือนรอมฎอนอีก 4 วัน เพราะมีเรื่องที่ต้องจัดการเยอะ พ้นช่วงนั้นไปแล้วจะสั่งปิดต่อไปอีกก็ค่อยว่ากัน

“หากเปิดโอกาสให้สถานีวิทยุชุมชนจัดรายการได้ตามปกติในช่วงเดือนรอมฎอนนี้ ผมก็เชื่อว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่อย่างมาก แต่ถ้ายังไม่อนุญาต ประชาชนก็จะรู้สึกไม่ดีกับรัฐได้อีก”

นายหะซัน กล่าวว่า แม้ว่าสถานีวิทยุปกติไม่ได้ถูกสั่งปิดเหมือนสถานีวิทยุชุมชน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะหันไปฟังสถานีวิทยุปกติทั้งของรัฐและเอกชนมากขึ้น อาจเป็นเพราะคนในพื้นที่เห็นว่า สถานีวิทยุเหล่านั้นไม่ได้จัดรายการที่ตรงกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนรอมฎอน เพราะมักมีรายการบันเทิงหรือรายการเพลงอยู่ในช่วงที่ประชาชนต้องประกอบศาสนกิจ ซึ่งคนมุสลิมไม่ต้องการฟังรายการแบบนี้ในช่วงเดือนรอมฎอน

นายหะซัน เล่าด้วยว่า โดยปกติสถานีวิทยุสาธารณะมัสยิดกลางประจำจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสถานีวิทยุชุมชนศาสนามีรายการเกี่ยวกับศาสนาเป็นหลัก นอกจากนี้มีรายการสุขภาพ สตรี การศึกษา รายการข่าวและประชาสัมพันธ์ชุมชน แต่เมื่อถึงช่วงเดือนรอมฎอนก็จะเน้นรายการศาสนามากขึ้น และจะมีผู้ฟังมากขึ้นด้วย ซึ่งวัดจากสายโทรศัพท์ที่เข้ามาในรายการที่มีจำนวนมากพอสมควร เพราะเป็นสถานีวิทยุที่ดำเนินการโดยชุมชน จึงทำให้คนฟังรู้สึกใกล้ชิดกับพวกเขามาก


นางซำซียะห์ มะและเด็ง



เป็นช่วงเวลากระตุ้นคนทำความดี

เช่นเดียวกับนางซำซียะห์ มะและเด็ง หรือ มะเงาะห์ยะห์ หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนเสียงดรุณศาสน์ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี กล่าวว่า สถานีวิทยุชุมชนเสียงดรุณศาสน์ก็ปิดสถานีตามคำสั่งของ คสช.เช่นกัน โดยปกติในเดือนรอมฎอนทางสถานีจะเน้นเรื่องศาสนาเป็นหลักเช่นกัน เพราะเป็นช่วงที่คนสนใจเรื่องศาสนา ซึ่งปกติเสียงดรุณศาสน์เป็นสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา ออกอากาศเฉพาะช่วง 13.30 – 15.30 น. และ 20.30 – 22.30 น. แต่ในช่วงเดือนรอมฎอนที่ผ่านมาจะเปิดรายการเพิ่มในช่วงเย็นไปจนถึงเวลาละศีลอด ส่วนใหญ่จะเป็นการสอนศาสนาและเปิดเสียงอัลกุรอาน

มะเงาะห์ยะห์ กล่าวว่า ช่วงเดือนรอมฎอนเป็นช่วงที่สามารถทำความเข้าใจเรื่องศาสนาได้มากที่สุด จะช่วยให้คนเกิดความสำนึกในศาสนา ยิ่งจัดรายการก็จะยิ่งทำให้คนอยากประกอบศาสนกิจมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับมุสลิม แต่ถ้าในช่วงนั้นไม่สามารถเปิดสถานีได้ ก็จะทำให้รู้สึกเหงาๆ บรรยากาศทางศาสนาจะไม่เหมือนที่ผ่านมา และสังคมก็น่าสงสาร เพราะไม่มีคนช่วยกระตุ้นในเรื่องการประกอบคุณงามความดี


สำรวจรายชื่อวิทยุชุมชนชายแดนใต้
จ.ปัตตานี 19 สถานี

ชื่อสถานี

ความถี่ MHz

รัศมี(กิโลเมตร)

อ.เมือง

ท้องถิ่นไทย

98.75

15

ร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน

91.50

3 จชต.+ 4 อ.ของสงขลา

อนุรักษ์ไทย

93.25

30

สมาคมรักความดี

96.25

15

สาส์นคุณธรรม (อัรรีซาละห์)

97.25

100

จุดเมืองปัตตานี

(โรงเรียนเทศบาล1)

97.75

15

เลิฟ เรดิโอ

93.00

15

Suwara Majlis

(สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี)

93.75

40

วิทยุชุมชนโรงเรียนศาสนูปถัมภ์

99.50

 

อ.โคกโพธิ์

จุดทรายขาว

105.25

15

FM.One 99.5 MHZ

102.75

40

อ.ปะนาเระ

OK สเตชั่น

90.00

60

อ.มายอ

อัลกุรอาน ดารุสสลาม

104.25

15

อ.ยะรัง

กศน.ยะรัง

105.50

 

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (สถาบันอัสสลาม)

90.25

15

อ.สายบุรี

วิทยุชุมชนเตราะบอน

105.00

20

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาสะพานม้า รร.สายบุรีอิสลามวิทยา

105.50

15

เสียงดรุณศาสน์ รร.เสียงดรุณศาสน์วิทยา

101.75

 

อ.ยะหริ่ง

ตะอาวุล เรดิโอ

(มัสยิดอัตตะอาวุล)

105.50

15

       

 

 

จ.ยะลา 22 สถานี

ชื่อสถานี

ความถี่ MHz

รัศมี(กิโลเมตร)

อ.เมือง

975 โมเดิร์นฮิต พีซ FM

97.50

30

พีเพิล ช้อยส์

105.00

30

ท้องถิ่นไทย (ซิตี้เรดิโอ)

98.00

15

อนุรักษ์ไทย (ออโต้เรดิโอ)

99.75

30

ศูนย์ฟ้าใส

100.79

15

บ้านจันทร์มณี

104.00

15

ชุมชนคริสเตียนยะลา

88.00

15

ไทยเสรี

90.50

10

เสียงจากเด็กกำพร้า (นัสเซอร์ เรดิโอ)

99.25

30

แม็ก เรดิโอ

91.50

20

ร่วมด้วย ช่วยกันสลาตัน

96.25

30

เอ็นจอย เรดิโอ

99.00

30

ชุมชนคนนิบง โรงเรียนผดุงศาสน์วิทยา

107.50

20

วิทยุสาธารณะมัสยิดกลางจ.ยะลา(คนยาลอ)

105.75

30

ออโต้ เรดิโอ

99.25

30

สถานีวิทยุเพื่อการศึกษา มรฎ.ยะลา

98.50

5

สถานีวิทยุ ศอ.บต.

103.75

ครอบคลุม 3 จชต.+4อ.ของสงขลา

บัดดี้ เรดิโอ

104.50

40

คนพร่อนสตาร์เรดิโอ

105.50

 

อ.รามัน

อิสร็อพ เรดิโอ

92.75

30

อ.บันนังสตา

กำปงFM (รร.อาละวียะห์วิทยา)

99.50

20

อ.เบตง

เลิฟFM 99.50(ร้อย.ตชด.445)

99.50

6

       

 

จ.นราธิวาส 12 สถานี

ชื่อสถานี

ความถี่ MHz

รัศมี(กิโลเมตร)

อ.เมือง

อะเมสซิ่ง เรดิโอ

91.75

20

คนนรา

93.75

20

อัตตัรกียะห์ อิสลามียะห์

(โรงเรียนอัตตัรกียะห์ กียะอิสลามมียะห์)

104.00

20

อ.จะแนะ

วิทยุอำเภอจะแนะ

(ที่ว่าการอำเภอจะแนะ)

100.25

15

อ.ตากใบ

คนตากใบ เรดิโอ

88.75

30

วิทยุชุมชนศาลาใหม่  (โรงเรียนจรรยาอิสลาม)

   

อ.รือเสาะ

รือเสาะ เรดิโอ

(โรงเรียนอนุบาลรือเสาะ)

107.00

30

อ.แว้ง

มัสยิดตาราม

97.75

30+บางพื้นที่ของประเทศมาเลเซีย

อ.สุไหงโก-ลก

ศูนย์กัลยาณมิตรแก้ว สุไหงโก-ลก

99.50

30

สูงาฆอเลาะ FM.

91.00

 

สถานีวิทยุพระพุทธศาสนา

(วัดทองดีประชาราม)

105.50

 

อ.ยี่งอ

สถานีวิทยุฟื้นฟูมรดกอิสลามภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ สถานีวิทยุอิลยาสเรดิโอ

100.75

เกือบทุกอำเภอใน จ.นราธิวาส และบางส่วนของ จ.ยะลาและปัตตานี

         

 

4 อำเภอใน จ.สงขลา

ชื่อสถานี

ความถี่ MHz

รัศมี(กิโลเมตร)

อ.เทพา

แซ่บ FM.

101.50

15

คลื่นมวลชน คนเทพา

103.00

15

พระพุทธศาสนาแห่งชาติ

(วัดลำไพล)

104.75

40-50

อ.สะบ้าย้อย

เอ็ก โอม ป็อป เรดิโอ

94.00

20

บัส สเตชั่น

100.25

35

โอทาม เรดิโอ

105.00

15

อ.จะนะ

ตำบลน้ำขาว

88.50

30

นกเขาเรดิโอ

95.50

30

ชวาทอง เรดิโอ

92.25

20

คนบ้านเรา

104.30

 

ภาคมุสลิม

(โรงเรียนศาสนาบำรุง)

106.75

20

อ.นาทวี

ดินทอง เรดิโอ

94.75

20

ท้องถิ่นไทย

102.00

30

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net