พ.ร.บ.การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง: โอกาสและการเติบโต

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ... ที่จู่ ๆ ก็เป็นที่สนใจจากบุคคลและองค์กรพัฒนาเอกชนที่อ้างว่าทำงานด้านนี้ ทั้งที่พระราชบัญญัติฉบับนี้  ไม่ได้เพิ่งปรากฎขึ้นในสังคมเพียงไม่กี่วัน แต่ เริ่มขับเคลื่อนมาตั้งแต่ ปี 2552 ในช่วงกลางปี แต่ทว่าในขณะนั้น ไม่มีใครให้ความสนใจเลยแม้แต่น้อย มีความพยายามเชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น แต่กลับไม่มีใครให้คนวมสำคัญหรือสนใจ จนมีการนำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าของปัญหาโดยตรงในพื้นที่ขโดยเฉพาะ สนามหลวง คลองหลอด เชียงใหม่ สงขลา ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี

มีผู้พยายามตั้งข้อสังเกตในมาตรา 22 ที่บอกว่าจะเป็นช่องทางในการบังคับเข้ารับการคุ้มครอง ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่ปราศจากการสืบค้นความจริง ฟังความข้างเดียว และตัดสินบนอคติ เพราะ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ในปัจจุบันมีระเบียบการให้บริการบุคคลในกลุ่มไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน ที่เน้นการเข้ารับบริการโดยสมัครใจที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2552 และมากไปกว่านั้น มาตรา 22 ในเนื้อหากลับมุ่งเน้นไปที่ “การนิรโทษกรรม” ในความผิดตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดฯ 2535  ที่ให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกรุงเทพมหานคร ออกกฎหมายท้องถิ่นมีอำนาจจับกุมและส่งตัวต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อกักขังและปรับ แต่ที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ใช้อย่างจริงจัง เพราะหากมีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างจริงจังแล้ว ผู้ที่จะต้องโดนจับกุมตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด ก็คงหนีไม่พ้น กลุ่มคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน แต่ มาตรา 22 มีบทกำหนดเว้นโทษ จากการละเมิดกฎหมายฉบับดังกล่าว

การปรับรูปแบบของการให้บริการของฝ่ายภาครัฐมีพัฒนาการมาอย่างเงียบ ๆ เป็นขั้นเป็นตอน มีการพัฒนานวัตกรรมที่ล้ำหน้ามากกว่าองค์กรพัมฒนาเอกชน ที่เริ่มทำงานย่ำอยู่กับที่แบบล้าหลัง และจมปลักอยู่กับวาทกรรมเดิม ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในฝ่ายของภาครัฐคือ "บ้านมิตรไมตรี" มีมีการเปิดบ้านมิตรไมตรีรวม 10 บ้าน ใน 10 จังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัด มีอัตตลักษณ์และรูปแบบการให้บริการ ในกลุ่ม คนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน ที่แตกต่างกันออกไป มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ตามแต่ละจังหวัดที่คิดค้น รูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แต่ มีประเด็นการทำงานร่วมกัน คือ การรุกเข้าไปหาในพื้นที่แบบเป็นมิตร

การเคลื่อนไหวเพื่อชี้แนะพระราชบัญญัติฉบับนี้ ควรจะเป็นไปในทิศทางที่บอกว่า ควรจะให้มีมาตรการในการออกมาตรฐานการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งอย่างไร มากกว่าที่จะติเรือทั้งโกลน ที่สำคัญพระราชบัญญัติฉบับนี้ เกิดจากการศึกษางานวิจัยมากกว่า 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่ง รวมถึงมีการเข้าไปในพื้นที่สอบถามโดยตรงกับเจ้าของปัญหา และรวบรวมข้อเสนอทั้งหมดสรุปรวบรวมให้ กฤษฎีกา ร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อมีความมุ่งหมายสร้างรูปแบบการจัดสวัสดิการเพื่อคนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน โดยกระจายการมีส่วนร่วมไปยังภาคส่วนต่าง ๆ อันได้แก่ อปท. องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจน เจ้าของปัญหาเองที่มีศักยภาพเพียงพอสามารถเข้ามีมส่วนร่วมในการสร้างสวัสดิการที่สอดคล้องกับความต้องการของเขาเองโดยตรง การทำงานกับ คนไร้ที่พึ่ง คนไร้บ้าน คนเร่ร่อน หากไม่มั่นใจในการพัฒฯศักยภาพของพวกเขาเสียแล้ว จะดองและเก็บเขาไว้ให้อยู่ในความดูแลของหน่วยงานหรือองค์กรเพียงอย่างเดียว คงไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง เป็นแน่

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท