Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


 

ในโอกาสที่เพิ่งครบรอบ 800 ปีแมกนาคาร์ตา (ซึ่งหลายคนเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก) และขณะที่ประเทศไทยกำลังร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ด้วยหวังว่าจะให้เป็นรัฐธรรมนูญที่สถิตย์สถาพรทั่วกัลปวสาน นั้น โดยที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญไปศึกษาบทเรียน ประสบการณ์ของต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรปทั้งฝรั่งเศสและเยอรมัน 

วันนี้ผมก็เลยจะขอแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของประเทศเพื่อนบ้านของไทยมาช้านาน คือ สปป.ลาว นั้นเอง โดยจะใช้ทักษะทางภาษาลาวที่พอมีอยู่บ้างเพื่ออ่านทำความเข้าใจและแปลรัฐธรรมนูญลาวมาแบ่งปัน ซึ่งในชั้นนี้แปลมาได้ 7 มาตราสำคัญในหมวดระบอบการเมือง ในการแปลนั้นผมพยายามจะคงถ้อยคำสำนวนตามโครงสร้างภาษาลาวไว้ใช้มากที่สุด ดังนั้น บริบทของรูปประโยคอาจจะดูแปลก ๆ บ้าง

เดิมทีลาวมีรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรลาวเมื่อ พ.ศ. 2518  และหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐจึงได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในระบอบใหม่  จนกระทั่งมีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญของประเทศลาวฉบับ พ.ศ. 2534  ซึ่งเป็นฉบับถาวร และมีการเพิ่มเติมบางหมวด บางมาตรา เข้าไปจนถึงฉบับปัจจุบันรัฐธรรมนูญลาวมีทั้งสิ้น 11 หมวด 98 มาตราซึ่งประกาศใช้ เมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 

(โอกาสหน้าผมจะอ่านศึกษา รธน. สปป. ลาว ใน ໝວດທີ VIII ການປົກຄອງທ້ອງຖິ່ນ (หมวด 8 การปกครองท้องถิ่น) มาแบ่งปันเพื่อเป็นการศึกษาดูว่ารัฐธรรมนูญของลาวรับรองหลักการปกครองท้องถิ่นเอาไวอย่างไรบ้าง )

เอาละครับมาดูกันว่า รธน.ลาว นั้น เขียนว่าจังได๋แน่ !

 

๐๐๐๐

ລັດຖະທໍາມະນູນສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ

รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

---------------------

ໝວດທີ I ລະບອບການເມືອງ

 

หมวด 1 ระบอบการเมือง

 

ມາດຕາ 1. ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ ເປັນປະເທດເອກະລາດ, ມີອໍານາດອະທິປະໄຕ ແລະຜືນແຜ່ນດິນອັນຄົບຖ້ວນ ລວມທັງເຂດນ່ານນໍ້າ ແລະນ່ານຟ້າ; ເປັນປະເທດເອກະພາບຂອງທຸກຊົນເຜົ່າ ທີ່ຕັດແຍກອອກຈາກກັນບໍ່ໄດ້

มาตรา 1  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศเอกราช, มีอำนาจอธิปไตยและพื้นแผ่นดินอันครบถ้วน รวมทั้งเขตน่านน้ำ และน่านฟ้า ; เป็นประเทศเอกราชของทุกชนเผ่า ที่ตัดแยกออกจากกันบ่ได้

 

ມາດຕາ 2. ລັດແຫ່ງສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ ແມ່ນລັດປະຊາທິປະໄຕປະ ຊາຊົນ. ອໍານາດທັງໝົດ ເປັນຂອງປະຊາຊົນ, ໂດຍປະຊາຊົນ ແລະເພື່ອຜົນປະໂຫຍດຂອງປະຊາ ຊົນບັນດາເຜົ່າ ຊຶ່ງປະກອບດ້ວຍບັນດາຊັ້ນຄົນຢູ່ໃນສັງຄົມ ໂດຍແມ່ນກໍາມະກອນ, ກະສິກອນ ແລະນັກຮຽນຮູ້ປັນຍາຊົນເປັນຫຼັກແຫຼ່ງ.

มาตรา 2 รัฐแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชน. อำนาจทั้งหมดแม่น (เป็น)ของประชาชน, โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ชนบรรดาเผ่า ซึ่งประกอบด้วยบรรดาชั้นคนอันอยู่ในสังคมโดยแม่น (เป็น) กรรมกร กสิกร และนักความรู้ปัญญาชนเป็นหลักแห่ง (สำคัญ)

 

ມາດຕາ 3. ສິດເປັນເຈົ້າປະເທດຊາດ ຂອງປະຊາຊົນບັນດາເຜົ່າ ໄດ້ຮັບການປະຕິບັດແລະຮັບປະກັນດ້ວຍການເຄື່ອນໄຫວຂອງລະບົບການເມືອງ  ຊຶ່ງມີພັກປະຊາຊົນປະຕິວັດລາວເປັນແກນນໍາ.

มาตรา 3  สิทธิเป็นเจ้าประเทศชาติ ของประชาชนบรรดาเผ่า ได้รับการปฏิบัติและรับประกันด้วยการเคลื่อนไหวของระบบการเมือง ซึ่งมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นแกนนำ

 

ມາດຕາ 4(ໃໝ່). ປະຊາຊົນເປັນຜູ້ສ້າງຕັ້ງອົງການຕົວແທນແຫ່ງສິດອໍານາດ ແລະຜົນປະໂຫຍດ ຂອງຕົນ ຊຶ່ງມີຊື່ວ່າສະພາແຫ່ງຊາດ.ການເລືອກຕັ້ງສະມາຊິກສະພາແຫ່ງຊາດແມ່ນປະຕິບັດຕາມຫຼັກການທົ່ວໄປ,ສະເໝີພາບ, ໂດຍກົງ ແລະລົງຄະແນນສຽງປິດລັບ.ຜູ້ປ່ອນບັດເລືອກຕັ້ງມີສິດສະເໜີປົດຜູ້ແທນຂອງຕົນໄດ້ ຖ້າຫາກເຫັນວ່າມີການປະພຶດຕົນບໍ່ສົມກຽດສັກສີ ແລະຂາດຄວາມໄວ້ວາງໃຈຈາກປະຊາຊົນ.

มาตรา 4 (ใหม่) ประชาชนเป็นผู้สร้างตั้งองค์การตัวแทนแห่งสิทธิอำนาจ และผลประโยชน์ของตน ซึ่งมีชื่อว่าสภาแห่งชาติ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติแม่นปฏิบัติตามหลักการทั่วไป, เสมอภาพ, โดยตรง และลงคะแนนเสียงปิดลับ, ผู้ป่อน (ผู้หย่อน)บัตรเลือกตั้งมีสิทธิปลดผู้แทนของตนได้ ถ้าหากเห็นว่ามีการปฏิบัติตนบ่สมศักดิ์ศรีและขาดความไว้วางใจจากประชาชน

 

ມາດຕາ 5. ສະພາແຫ່ງຊາດ ແລະທຸກອົງການຂອງລັດໄດ້ຮັບການຈັດຕັ້ງ ແລະເຄື່ອນໄຫວຕາມຫຼັກການລວມສູນປະຊາທິປະໄຕ.

มาตรา 5. สภาแห่งชาติและทุกองค์การของรัฐได้รับการจัดตั้งและเคลื่อนไหวตามหลักการรวมศูนย์ประชาธิปไตย

 

ມາດຕາ 6. ລັດປົກປ້ອງສິດອິດສະລະພາບ ແລະສິດປະຊາທິປະໄຕຂອງປະຊາຊົນ ທີ່ບໍ່ມີໃຜຈະລ່ວງລະເມີດໄດ້. ທຸກອົງການ ແລະພະນັກງານຂອງລັດ ຕ້ອງໂຄສະນາອົບຮົມບັນດານະໂຍບາຍ ແລະລະບຽບກົດໝາຍໃຫ້ປະຊາຊົນ ແລະພ້ອມກັນຈັດຕັ້ງປະຕິບັດ ເພື່ອຮັບປະກັນສິດ ແລະຜົນປະໂຫຍດອັນຊອບທໍາຂອງປະຊາຊົນ. ຫ້າມທຸກການກະທໍາແບບອາດຍາສິດ, ຂົ່ມຂູ່ ອັນຈະກໍ່ຄວາມ  ເສຍຫາຍ ເຖິງກຽດສັກສີ, ຮ່າງກາຍ, ຊີວິດ, ຈິດໃຈ ແລະຊັບສົມບັດຂອງປະຊາຊົນ.

มาตรา 6  รัฐปกป้องสิทธิอิสรภาพและประชาธิปไตยของประชาชน ที่บ่มีไผ (ไม่มีใคร) ล่วงละเมิดได้. ทุกองค์การและพนักงานของรัฐต้องโฆษณาอบรมบรรดานโยบายและระบบกฎหมายให้ประชาชนและพร้อมกันจัดตั้งปฏิบัติเพื่อรับประกันสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชน. ห้ามทุกการกระทำแบบอาชญาสิทธิ์, ข่มขู่ อันจะก่อความเสียหาย แก่เกียรติศักดิ์ศรี ร่างกาย ชีวิต จิตใจ และทรัพย์สมบัติของประชาชน

 

ມາດຕາ 7. ແນວລາວສ້າງຊາດ, ສະຫະພັນກໍາມະບານລາວ, ຄະນະຊາວໜຸ່ມປະຊາຊົນປະຕິ ວັດລາວ, ສະຫະພັນແມ່ຍິງລາວ ແລະບັນດາອົງການຈັດຕັ້ງສັງຄົມ ເປັນບ່ອນເຕົ້າໂຮມຄວາມສາ ມັກຄີ ແລະປຸກລະດົມບັນດາຊັ້ນຄົນຂອງທຸກຊົນເຜົ່າເຂົ້າຮ່ວມໃນພາລະກິດປົກປັກຮັກສາ ແລະສ້າງສາປະເທດຊາດ, ເສີມຂະຫຍາຍສິດເປັນເຈົ້າຂອງປະຊາຊົນ, ປົກປັກຮັກສາສິດ  ແລະຜົນປະໂຫຍດ ອັນຊອບທໍາຂອງສະມາຊິກໃນອົງການຈັດຕັ້ງຂອງຕົນ

มาตรา  7 แนวลาวสร้างชาติสหพันธ์กรรมาบาลลาว คณะสาวหนุ่มประชาชนปฏิวัติลาว สหพันธ์แม่หญิงลาวและบรรดาองค์การจัดตั้งสังคม เป็นที่ชุมนุมความสามัคคีและปลุกระดมบรรดาชนชั้นของทุกชนเผ่าเข้า ร่วมในภารกิจปกปักรักษาและสร้างประเทศชาติส่งเสริมสิทธิ์การเป็นเจ้าของของประชาชน ปกปักรักษา สิทธิ์และผลประโยชน์อันชอบธรรมของสมาชิกในองค์การจัดตั้งของตน

------------------------------------------- 


ข้อค้นพบจากรัฐธรรมนูญทั้ง 7 มาตรา ดังกล่าว คือ

รัฐธรรมนูญลาวได้ให้ความสำคัญกับประชาชนลาว “ทุกชนเผ่า” ซึ่งเห็นได้จากในมาตรา 1 ที่รับรองไว้ว่า สปป.ลาวเป็นประเทศเอกราชของทุกชนเผ่า ย่อมหมายความว่ารัฐธรรมนูญได้ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนของลาวในทุกชนเผ่าเสมอกัน และรัฐธรรมนูญลาวในมาตรา 2 ได้ให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตยประชาชน โดยให้ความสำคัญกับประชาชนทุกชนชั้น ซึ่งเห็นได้จากมีการกล่าวถึง “กรรมกร” “กสิกร” และ “ปัญญาชน” ที่สำคัญในมาตรานี้ได้รับอิทธิพลในทางความคิดของระบอบประชาธิปไตยตามวาทะของอับราฮัม ลินคอล์น ที่ว่า “ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน”

      

 

ที่มา: เว็บไซต์สภาแห่งชาติ สปป.ลาว  (เข้าถึงเมื่อ 19 มิ.ย. 2558)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net