Skip to main content
sharethis
"นักวิชาการ ภาคประชาชน และสหภาพแรงงาน" จ.เชียงใหม่ และ ลำพูน อัพเดทสถานการณ์แรงงานยุคใหม่ในเชียงใหม่-ลำพูน ถกท้องถิ่นควรมีบทบาทในการแก้ปัญหาแรงงานได้อย่างไร
 
1 พ.ย. 2558 พื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เป็นศูนย์กลางในการพัฒนำเศรษฐกิจและตลาดแรงงานขนาดใหญ่ของภาคเหนือ จึงเป็นที่รวมของผู้ใช้แรงงานจำนวนมาก ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ทำงานอยู่ทั้งในระบบและนอกระบบ แรงงานเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น แต่ประสบปัญหานานาประการ โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการขนาดเล็กและแรงงานข้ามชาติ มีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิพื้นฐานที่สำคัญและกฎหมายรับรองสิทธิไว้แล้ว เช่น ความปลอดภัยในการทำงาน ค่าจ้าง เวลาทำงาน และการประกันสังคม ส่วนแรงงานนอกระบบยังขาดกฎหมายคุ้มครองสิทธิแรงงาน ขณะที่มักมีปัญหาว่ามีงานทำไม่แน่นอน ได้รับค่าตอบแทนต่ำ ขาดความมั่นคงทำงสังคม เป็นต้น คุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานจึงเป็นประเด็นสำคัญของท้องถิ่น
 
ซึ่งกลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือในการดูแลติดตามให้ผู้ใช้แรงงานได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนกำรพัฒนากฎหมายให้ดียิ่งขึ้น คือ การรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงาน หรือสหภาพแรงงาน แต่ในบริบทประเทศไทย การรวมกลุ่มเป็นสหภาพแรงงานทำได้ยากมาก ในพื้นที่เชียงใหม่และลำพูนก็เช่นกัน ผู้ใช้แรงงานส่วนหนึ่งได้พยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานแล้ว แต่องค์กรดังกล่าวไม่สามารถเติบโตจนเข้มแข็งและทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงแทนผู้ใช้แรงงานในท้องถิ่นได้ จากสภาพดังกล่าวในพื้นที่ จึงเป็นความท้าทายของท้องถิ่นที่น่าจะร่วมกันวิเครำะห์และคิดค้นหำคำตอบว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้กลไกที่มีอยู่แล้วสามารถทำหน้าที่ดูแลคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิผล ควรใช้แนวคิดใหม่และสร้างกลไกใหม่ ๆ มาทำหน้าที่นี้หรือไม่อย่ำงไร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ให้มากขึ้นได้อย่างไร
 
โดยเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2558 ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานสัมมนา "แรงงานในบริบทท้องถิ่น–แนวทางในการพัฒนา?"  ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคมและมนุษย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) ได้มีการพูดคุยถึงปัญหาที่กล่าวไปในขั้นต้นกัน
 
สามารถชมบันทึกการเสวนาหัวข้อ 'การข้ามชั้นและสถานการณ์แรงงานยุคใหม่ในเชียงใหม่-ลำพูน' และ 'การปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่กับแรงงานและสวัสดิการสังคม' ได้ดังต่อไปนี้
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net