Skip to main content
sharethis
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จี้รัฐบาล-กระทรวงแรงงานปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาทเท่ากันทั้งประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมให้สังคม
 
 
ที่มาภาพ: voicelabour.org
 
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2558 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ Voice Labour รายงานว่าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เข้ายื่นหนังสือกับ ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) เพื่อขอให้ทบทวนมติบอร์ดค่าจ้างที่ให้มีการเลือนปรับค่าจ้างออกไปปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2559 ออกไปอีก 6 เดือนโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2559
 
นางสาวธนพร วิจันทร์ เลขาธิการคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า การที่บอร์ดค่าจ้างกลางมีมติเลือนการปรับขึ้นค่าจ้างออกไปโดยอ้างถึง “สภาพเศรษฐกิจ สังคมและความสามารถในการจ่ายของนายจ้างแต่ละจังหวัด และเสนอว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่จำเป็นจะต้องมีอัตราเดียวกันทั่วประเทศ” นั้นตนมองว่า เป็นแนวคิดที่ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมแบบไม่เลือกปฏิบัติ ตามที่ประกาศยุทธศาสตร์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ข้อที่1 ที่ว่า “จะสร้างความเป็นธรรมต่อสังคม” บนพื้นฐานนี้ค่าจ้างขั้นต่ำต้องเท่ากันทั้งประเทศ ไม่ควรมีการแบ่งโซนการปรับค่าจ้าง เพราะว่าหากคนทำงานมีรายได้ที่ดี การจับจ่ายใช้ส่อยเงินทองก้ไหลเวียนในระบบ เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับล่างสู่ระดับบนอย่างแท้จริงและยั่งยืน อยากให้รัฐบาลหันมาฟังเสียงของคนข้างล่างอย่างคนงานบ้าง ไม่ใช่คิดแต่เรื่องการระดมการลงทุนอย่างเดียว และมีการอ้างถึงการย้ายฐานการผลิตหากมีการปรับขึ้นค่าจ้าง เพราะในความเป็นจริงการย้ายทุนเป็นไปตามกลไกของกำลังซื้อ และกำลังแรงงาน ไม่ใช่เพียงแรงงานราคาถูก ตอนนี้ประเทศไทยกำลังซื้อไม่ค่อยมีคนไม่มีเงินซื้อ รัฐก็ต้องสร้างกำลังการจับจ่าย ซึ่งไม่ใช่การโยนเม็ดเงินรัฐสู่กองทุนในชุมชน ตนคิดว่าการปรับขึ้นค่าจ้างจะทำให้เกิดการใช้ส่อยเงินตรามากขึ้น หากวัดที่จำนวนคนที่เป็นแรงงานนั้นมีจำนวนมาก หากมีเงินก็ต้องใช้จ่าย ไม่ใช่หาเช้ากินค่ำหมดต้องเป็นหนี้เป้นสิน
 
รับต้องมองอีกว่าแรงงานหนึ่งคนค่าจ้างไม่ได้เลี้ยงเพียงตัวเขาเท่านั้นเขายังส่งเงินกลับชนบทเลี้ยงครอบครัว ในยามที่ขัดสนเช่นปัจจุบันภัยแล้งที่จะกระทบกับการเกษตรแรงงานภาคในเมืองก็ต้องส่งเงินกลับไปช่วยพ่อ แม่ เป็นต้น หากค่าแรงยังแค่ 300 บาท คนงานต้องมีการทำงานล่วงเวลา (OT) ถึงจะพอกินแค่เลี้ยงตัว จากการสำรวจค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งได้สำรวจค่าใช่จ่ายประจำวัน ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายหลักๆอีกหลายอัน สรุปว่าค่าใช้จ่ายแค่ตัวของคนงานรายได้ที่เขาจะดำรงชีวิตอยู่ได้พอควรเท่านั้น สรุปว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่เสนอคือ 360 บาท ซึ่งได้เสนอต่อรัฐบาลไปแล้ว
 
การที่เสนอค่าจ้าง 360 บาทเท่ากันทั้งประเทศนั้น เพราะว่าค่าครองชีพเดี๋ยวนี้เท่ากันหมดไม่มีที่ไหนถูกกว่า บางทีในต่างจังหวัดในชุมชนมีราคาสูงกว่าด้วยเพราะมีการบวกค่าขนส่ง และค่าจ้างขั้นต่ำที่ต้องเรียกร้องให้มีการปรับขึ้นแบบสม่ำเสมอโดยให้ปรับตามอัตราเงินเฟ้อเลยไม่ต้องมารอให้มีการเรียกร้องให้ปรับก็ได้ ด้วยการจ้างงานในประเทศไทยในสถานประกอบกิจการบางแห่งไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างประจำปีให้กับคนทำงานเลย ทำมา 30 ปีก็ได้แค่ค่าจ้างขั้นต่ำตลอด ไม่เหมือนกับสถานประกอบการที่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งอันนั้นค่าจ้างของแรงงานกลุ่มนี้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำมากทีเดียวแต่อย่างไรก็ยังมีบางกลุ่มที่อิงการปรับค่าจ้างขึ้นตามการปรับค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
 
ประเด็นต่อมา การที่ค่าจ้างขั้นต่ำไม่เท่ากันไม่ได้ทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่อย่างที่รัฐบาลคาดหวัง แนวคิดพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการกำหนดขึ้นตามหัวเมืองจังหวัดต่างๆเพื่อการจ้างงานแรงงานเพื่อนบ้าน โดยมีข้อเสนอจากส่วนของนายจ้างว่า ต้องไม่ใช้กฎหมายแรงงาน สวัสดิการประกันสังคม หรือระบบค่าจ้างขั้นต่ำเหมือนกับส่วนกลาง โดยให้เป็นพื้นที่พิเศษที่ปลอดการคุ้มครองด้านสิทธิที่เท่าเทียมนั้น เป็นแนวคิดที่เอาเปรียบมาก และคิดว่าไม่สามารถที่จะตรึงแรงงานให้อยู่กับพื้นที่ได้
 
รัฐต้องคำนึงถึงว่าคนทุกคนต้องการที่จะแสวงหาความเป็นอยู่ที่ดีค่าจ้างที่พอกิน มีระบบสวัสดิการที่เท่าเทียมกัน ไม่เช่นนั้นการจ้างงานคงไม่กระจุกตัวอยู่ที่ในเมือง หรือนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีค่าจ้างสูงแน่ ซึ่งอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสระบุรีนั้นได้พิจารณาเสนอให้ปรับค่าจ้างขึ้น โดยมี 2 ข้อเสนอ คือส่วนของลูกจ้างเสนอปรับขึ้น 360 บาท ฝ่ายนายจ้างเสนอปรับขึ้น 315 บาท และการที่อีกกว่า 70 จังหวัดที่ไม่มีข้อเสนอให้ปรับขึ้นนั้น ตนคิดว่าเป็นเพราะหนึ่งความเป็นตัวแทนของฝ่ายลูกจ้างอาจไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริง สองอาจเป็นเพราะการใช้การโหวตเสียงของอนุกรรมการลูกจ้าง ซึ่งตัวแทนนายจ้างกับตัวแทนภาครัฐโหวตไม่ปรับก็คงเป็นเช่นนั้น เพราะไม่เชื่อว่าค่าครองชีพที่ปรับตัวขึ้นสูงจะไม่มีผลกระทบต่อลูกจ้างที่มีรายได้ที่ลดลงเมื่อนำเงินมาใส่สอยซื้อข้าวของ อีกอย่างค่าจ้างในส่วนของข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ปรบขึ้นแล้ว และปรับเท่ากันทั้งประเทศด้วย ฉะนั้นอย่าเลือกปฏิบัติว่านี้คือค่าจ้างภาษีอากร ส่วนนี้เป็นค่าจ้างที่นายจ้างต้องจ่าย และอย่าคิดแทนนายจ้างว่าไม่มีกำลังจ่าย เพราะคิดว่าผลการลงทุนของนายจ้างนั้นค่าจ้างที่จ่ายให้กับลูกจ้างเพียงแค่ไม่เกินร้อยละ 2 ของการลงทุนเท่านั้น
 
ด้านนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกล่าวกับ Nation TV ว่า” อยากให้ทบทวนมติบอร์ดค่าจ้างดังกล่าว เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้ใช้แรงงาน พร้อมเรียกร้องให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 360 บาทเท่ากันทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงาน จากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการปรับขึ้นค่าจ้างควรปรับเท่ากันทั่วประเทศไม่ควรนำเรื่องของภาวะเศรษฐกิจมาเป็นตัวตั้ง แต่ควรมองถึงคุณภาพชีวิตของแรงงานเป็นหลัก
 
โดยเห็นว่า คณะกรรมการค่าจ้างควรดำเนินการตามมติบอร์ดค่าจ้างเมื่อปี 2556 ที่กำหนดให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ไปจนถึงปี 2558 และจะมีการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2559 โดยจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างในวันที่ 1 มกราคม 2559  ซึ่งหลังจากนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จะติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง หากสิ้นปี 2558 ยังไม่มีมติพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้าง 360 บาททั่วประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2559 ตามข้อเรียกร้อง เครือข่ายแรงงานจะดำเนินการเคลื่อนไหวอีกครั้ง
 
ขณะที่ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ให้สัมภาษณ์กับ Nation TV ภายหลังรับข้อเรียกร้องว่า การที่มติบอร์ดค่าจ้างออกมาเช่นนี้ เนื่องจากต้องการให้การพิจารณาเกิดความรอบคอบ ซึ่งการตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมาศึกษาค่าจ้าง ไม่ใช่การยืดเวลาเพื่อไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง แต่อยากให้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง”
 
โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้มแสดงจุดยืนเพื่อขอคัดค้านการพิจารณาของบร์อดค่าจ้างที่ไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง และขอคัดค้านระบบการแบ่งเขตค่าจ้างโดยมีเหตุผลดังนี้
 
หลักการและเจตนารมณืค่าจ้างขั้นต่ำตามนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศไทยกำหนดให้ค่าจ้างสามารถเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวได้ 4 คน คือพ่อ แม่ ลูก อีก 2 คน ในระยะยต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงหลักการและเจตนารมณ์ไปกล่าวคือ เลี้ยงชีพเฉพาะคนที่ทำงานเพียงคนเดียวและค่าจ้างแบ่งเขตเท่ากัน หลังสุดในปี 2553 ค่าจ้างขั้นต่ำมีถึง 32 เขต ทั้งที่เขตจังหวัดที่ติดกัน ซื้อของอุปโภคบริโภคเท่ากัน ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง การใช้ระบบไตรภาคี คณะกรรมการค่าจ้าง อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือนายจ้าง รัฐ และลูกจ้าง ฝ่ายละ 5 คน รวม 15 คน เมื่อมีการประชุมพิจารณาค่าจ้างในครั้งนี้ไม่มีมติปรับขึ้นนั้น โดยความจริงแล้วอนุกรรมการค่าจ้าง 1 แพ้โหวต 2 ไม่มีตัวแทนที่แท้จริงในการทำหน้าที่ในฐานะองค์กรขับเคลื่อนเชิงนดยบายอย่างต่อเนื่อง
ทำให้บางจังหวัดไม่ได้รับการปรับค่าจ้างติดต่อกันมาหลายปี ประกอบกับรัฐบาลไม่สนับสนุน ส่งเสริม สิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ทำให้คนงานไม่มีอำนาจในการต่อรองที่ลำบากแร้นแค้น
 
การแบ่งเขตค่าจ้าง ทำให้ค่าจ้างมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้เกิดการอพยพแรงงานจากจังหวัดหรือเขตที่มีค่าจ้างต่ำไปสู่จังหวัดหรือเขตที่มีค่าจ้างสูงก่อให้เกิดปัญหาสังคมมากมาย เช่นครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศ เกิดการกระจุกตัวของผู้คนในเมืองใหญ่ เกิดความแออัดเกิดแหล่งเสื่อมโทรม คุณภาพชีวิตตกต่ำ รัฐต้องลงทุนและใช้ทรัพยากรในโครกงารใหญ่ๆเป็นการบ่อนทำลายธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ทำให้สูญเสียงบประมาณ สูญเสียโอกาสพัฒนาคน พัฒนาเรื่องการศึกษาและการบริการสาธารณะที่ดี ในชนบทที่ดินรกร้างไม่มีคนหนุ่มสาวทำการเกษตร ถูกนายทุนยัดครอง วึ่งจะเห้นได้จากนายทุนบางคนครอบครองที่ดินเกือบ 1 ล้านไร่
 
คำกล่าวอ้างเดิมที่บอกว่าค่าครองชีพในต่างจังหวัดถูกกว่าค่าครองชีพในกรุงเทพฯ จึงเป็นเรื่องไม่จริงจากราคาน้ำมัน ราคาพลังงานซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตต่างจังหวัดราคาแพงกว่ากรุงเทพฯ เครื่องอุปโภคบริโภคบวกราคาค่าขนส่งที่แพงกว่า สินค้าร้านสะดวกซื้อที่กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของคนไทยวันนี้ราคาเท่ากันทั้งประเทศ และสินค้าบางรายการแพงกว่ากรุงเทพฯ
ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวนซึ่งนับวันจะรุนแรงขึ้น ทั้งในประเทศและสากล การเปิดเสรีทางการค้า การเงิน การลงทุน การบริการ และแรงงานในข้อกำหนดของเขตเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะดำเนินการเต็มรูปแบบภานในปลายปีนี้ ซึ่งจะมีความหมายอย่างมากต่อระบบเสรษฐกิจ และสังคมจากนี้ไปการแข่งขันที่เข้มข้นจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมากมาย หากรัฐบาลมองแค่เรื่องการลงทมุนเพียงอย่างเดียว โดยไม่ให้ความสำคัญต่อความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของคนงาน จะทำให้ประเทศไทยคนไทยสูญเสียโอกาสอย่างมาก ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้อย่างไร เมื่อคนไทย แรงงานไทย ถูกเสนอขายค่าจ้างแรงงานที่ถูกดึงดูดนักลงทุน ประเทศไทยควรหวังเพียงตลาดการส่งออกในต่างประเทศ และการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติมาลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว การเพิ่มการบริโภค และการเติบโตแข็งแรงด้วยลำแข้งและสติปัญญาของคนในชาติ ตามแนวปัชญาเศรษฐกิจพอเพียงย่อมทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมั่นคงกว่าการพึ่งพาต่างประเทศอย่างแน่นอน
 
จากเหตุผลที่กล่าวว่ามาข้างต้น คงเพียงพอที่จะให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานพิจารณาทบทวนมติการไม่ปรับขึ้นค่าจ้าง และหยุดกระบวนการที่จะเดินหน้าระบบการแบ่งเขตค่าจ้าง แล้วเกิดปัยหาต่างๆตามมาเช่นในอดีต รัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องศึกษาทบทวนอย่างเข้าใจ มองคนเป้นคน ต้องดำเนินการตามนโยบายที่จะปฏิรูปประเทศสอดคล้องกับที่นายกได้ประกาศไว้ในเวทีประชุม ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่า “ประเทศมั่นคงประชาชนมั่งคั่ง” ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม รายได้หลักของลูกจ้างคือ ค่าจ้าง เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นรัฐบาลจึงควรพิจารณาปรับค่าจ้างให้สอดคล้องตามไปด้วยอย่างเป็นธรรม ทั้งลูกจ้างรัฐ ลูกจ้างเอกชน รัฐวิสาหกิจไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติ และควรหามาตรการด้านต่างๆช่วยเหลือเกษตรกร ประชาชนอาชีพอื่นๆด้วย เช่น SME ที่อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง รัฐบาลก้สามารถใช้มาตรการนโยบายทางภาษี ทางการเงินได้เหมือนเช่นเดียวกับที่ได้ช่วยเหลือ และให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนไทย นักลงทุนต่างชาติขนาดใหญ่ผ่านสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) คสรท. และสรส. ขอคัดค้านการแบ่งเขตค่าจ้าง และขอยืนยันให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี2559=360 บาท เท่ากันทั้งประเทศไ พร้อมให้ยกเลิกอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำประจำจังหวัดให้มีระบบการปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมประจำปี และขอให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานสนับสนุน ส่งเสริมให้คนงานรวมตัว ด้วยการให้สัตยาบัน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 และเร่งปฏิรูปกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สอดคล้อง และให้มีเพียงฉบับเดียว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net