ภาคประชาสังคม จี้รัฐทบทวนร่างกฎหมาย ความปลอดภัยชีวภาพ หวั่นทำลายความมั่นคงทางอาหาร

ภาคประชาสังคมหวั่น พ.ร.บ. ความปลอดภัยชีวภาพ เป็นการคิดสั่นฆ่าตัวตายโดยภาครัฐ ย้ำรัฐเร่งทบทวนกฎหมาย เพราะเนื้อในไม่ใช่การควบคุมดูแล แต่เป็นการส่งเสริมเสรี GMOs

เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2558 ที่ ห้องพันธุมดิษยมณฑล เคยู โฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการจัดการประชุมเสวนา การวิเคราะห์ร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยชีวภาพ  พ.ศ...... ร่วมจัดโดยสภาเกษตรกรแห่งชาติ และกลุ่มเกษตรกร ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เครือข่ายภาคเกษตร ที่ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ. ดังกล่าว เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน สมาคมแป้งมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมอาหารแปรรูป สมาคมผู้ส่งออกข้าว สมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย กลุ่มฮาร์ดคอร์ออร์แกนิค กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ สมาชิกเครือข่ายสภาเกษตรกรทั่วประเทศ เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร

ทั้งนี้ประเด็นเรื่อง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ ถูกนำกลับมาพูดถึงอีกครั้ง เนื่องจากเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่าน คณะรัฐมนตรีภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ ได้ผ่านความให้ชอบต่อร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งเป็นร่างเดิมที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. เมื่อปีที่ผ่านมา

วิฑรูย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่าการจัดงานประชุมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 3 ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา และในทุกครั้งที่ผ่านมาก็ได้มีการจัดทำข้อเสนอส่งให้รัฐบาลทุกครั้ง แต่ว่าท้ายที่สุดข้อเสนอต่างๆ ไม่ได้อยู่ในการพิจารณา เพราะในที่สุดก็ได้มีการพลักดัน ร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยชีวภาพ อีกครั้งโดยคณะรัฐมนตรี ทว่ามีเสียงท้วงติงจากสภาเศรษฐและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ แต่ก็ไม่ได้มีการยุติร่างกฎหมาย หรือปรับแก้แต่อย่างใด

เขากล่าวต่อไปถึงเหตุผลที่ไม่อาจจะรับได้กับร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวว่าเป็นเพราะ ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการมุ่งเปิดเสรี GMOsมากกว่าที่จะเป็นดูแลควบคุม ไม่มีการกำหนดผู้ที่จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดจาก GMOs ที่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ไม่มีมาตราการคุมควบให้กับเกษตรกรที่ผลผลิตอาจจะถูกปนเปื้อน

เขาให้เหตุผลของความไม่เห็นด้วยต่อไปว่า คณะกรรมการที่ดูแล พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว จะประกอบด้วยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐ 12 คน และส่วนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี 12 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน ซึ่งจากจำนวนที่นั่งทั้งหมด ไม่มีตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ หรือกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับยผลกระทบรวมอยู่เลย

“หากท่านได้ฟังพลตรีสรรเสริญ ได้ชี้แจง ฟังแล้วเคลิบเคลิ้ม เพราะจะเป็นครั้งแรกที่เรามีกฎหมาย ที่จะบังคับให้คนที่ทดลองเรื่อง GMOs จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น มุ่งที่จะคุ้มครองความหลากหายทางชีวภาพ สุขภาพของมนุษย์และสัตว์ การคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และให้สอดคล้องกับการดำเนินการในระดับสากล แต่เราว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ล้มเหลว ที่จะดำเนินให้เป็นไปตามเหตุและผที่เขียนไว้ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้โดยสิ้นเชิง” วิฑูรย์ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร. ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คุณค่าทางพันธุกรรมนั้นคือ ความมั่นทางอาหาร ในความเป็นจริงแล้วรัฐควรให้ความใส่ใจ และปกป้องรากฐานความหลากหลายทางพันธุกรรมเอาไว้ แต่วันนี้กลับกลายเป็นเป็นการกระทำในทางตรงกันข้าม คือการให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมาย ความปลอดภัยชีวทางชีวภาพ ซึ่งมีรอยรั่วมากมาย ซึ่งจะเป็นการทำลายรากฐานทางพันธุกรรม และทำลายความมั่นคงทางอาหารอย่างสิ้นเชิง

เขากล่าวต่อไปถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดการปนเปื้อนจาก GMOs ว่า หากมีการปนเปื้อนทางพันธุกรรมในผลผลิตที่ไม่ได้เป็น GMOs นั้นจะไม่มีทางที่จะแก้ไข ให้กลับมาเป็นอย่างเดิมได้ หากจะทำก็จำเป็นต้องใช้เงินในจำนวนมหาศาล เขาเห็นว่าการที่รัฐบาลตัดสินผ่านความเห็นชอบ ร่างกฎหมาย ดังกล่าว หากไม่มีการคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน หากเกิดความผิดพลาดขึ้นมาจริง ก็ไม่ต่างอะไรจากการฆ่าตัวตาย

“เราอาจจะเห็นว่ารัฐรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเข้าใจผิด แต่เขากำลังดำเนินนโยบายนำพาประเทศไปสู่การสูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางด้านเกษตรกรรม เป็นเรื่งที่เราต้องตระหนักให้ลึก ผมกำลังพูดว่าเรากำลังเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต มันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ” ปิยะศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ภายในประชุม ได้มีการ แถลงข่าวเพื่อเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาล โดยขอให้มีการทบทวนร่างกฎหมายอีกครั้ง โดยขอให้มีการตั้งว่า คณะกรรมการเพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ พร้อมนำความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กระทรวงพาณิชย์ และเกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าไปพิจารณาประกอบการการปรับปรุงด้วย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท