Skip to main content
sharethis

21 มี.ค. 2559 องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย ทนายความ และนักกิจกรรมทางสังคม จำนวน 70 รายชื่อ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สภาทนายความพิทักษ์ความเป็นอิสระขององค์กรวิชาชีพ หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 16 มีนาคม 2559 ถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ เพื่อให้ชะลอการจัดการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความชุดใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2559 ออกไปก่อน 

แถลงการณ์เรียกร้องให้สภาทนายความพิทักษ์ความเป็นอิสระขององค์กรจากการถูกแทรกแซงที่มิชอบ โดยดำเนินการจัดการเลือกตั้งไปตามกำหนดการเดิมตามกฎหมายต่อไป เพราะหากดำเนินการชะลอการเลือกตั้งตามความเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นอกจากจะเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ยังเป็นการดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่มีอำนาจทางกฎหมายใดๆ รองรับ ดังนั้น การปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยุติกระบวนการขั้นตอนตามพระราชบัญญัติสภาทนายความ พ.ศ.2528 และให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมรักษาการต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ย่อมถือว่าสภาทนายความปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อเจตนารมณ์ขององค์กรวิชาชีพทนายความและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 


แถลงการณ์
เรียกร้องให้สภาทนายความพิทักษ์ความเป็นอิสระขององค์กรวิชาชีพ

สืบเนื่องจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยพล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท รองเลขาธิการ คสช.ทำการแทนเลขาธิการ คสช. มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 16 มีนาคม 2559 ถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ เพื่อให้ชะลอการจัดการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความชุดใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2559 ออกไปก่อน เนื่องจากการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความ ซึ่งมีสมาชิกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการกำหนดหน่วยเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดตามเขตอำนาจศาลเป็นการดำเนินกิจกรรมที่ขัดแย้งกับประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 (ห้ามชุมนุมทางการเมือง) ที่บังคับใช้กับทุกกลุ่มทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์ในการรักษาความเรียบร้อยของประเทศเป็นส่วนรวมในห้วงเปลี่ยนผ่าน เช่นเดียวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามประกาศ คสช.ที่ 85/2557 พร้อมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการสภาทนายความที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน ในระหว่างที่ยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ทั้งนี้ ตามนัยมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528


องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย ทนายความ และนักกิจกรรมทางสังคม ตามรายนามแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ มีความเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้

1. เสรีภาพในการแสดงความเห็นและการรวมตัวเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพนักกฎหมาย โดยหลักการพื้นฐานสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของทนายความข้อ 24 ได้วางหลักการว่า “ทนายความมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสมาคมทางวิชาชีพที่กำกับดูแลตัวเอง เพื่อเป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชนของตน และคุ้มครองเกียรติศักดิ์ทางวิชาชีพของตน ฝ่ายบริหารของสมาคมทางวิชาชีพจะต้องไดรับการเลือกตั้งโดยสมาชิกของสมาคม และจะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอกองค์กร” หลักการนี้กำหนดขึ้นเพื่อประกันความเป็นอิสระของวิชาชีพทนายความ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและพิทักษ์หลักนิติธรรม ดังนั้น การที่ คสช. มีหนังสือให้ชะลอการเลือกตั้งกรรมการบริหารสภาทนายความ จึงถือเป็นการแทรกแซงองค์กรวิชาชีพ ทำให้รัฐกลายมาเป็นผู้ควบคุมสมาคมวิชาชีพทนายความผ่านการต้องไดรับอนุญาตจากรัฐบาลในการปฏิบัติงานใดๆของสมาคม ซึ่งย่อมทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความตามหลักวิชาชีพอย่างเป็นอิสระตกอยู่ในภาวะเสี่ยง และย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชนตามมา

2. การกล่าวอ้างว่าการเลือกตั้งนายกและกรรมการสภาทนายความซึ่งมีสมาชิกเป็นจำนวนมากและมีการกำหนดหน่วยเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดตามเขตอำนาจศาลถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองซึ่งขัดต่อประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 นั้น เป็นการตีความประกาศดังกล่าวอย่างกว้างขว้างและตามอำเภอใจ อีกทั้งคำสั่งให้ชะลอการเลือกตั้งที่ไม่มีฐานใดๆทางกฎหมายมารองรับนั้นย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ละเมิดต่อเสรีภาพในการสมาคมของทนายความและขัดต่อหลักการประชาธิปไตย ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของตัวเองของสมาชิก และตรวจสอบอย่างมีส่วนร่วมโดยสมาชิก อีกทั้งย่อมทำให้การแข่งขันและการพัฒนาวิชาชีพและการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหยุดชะงักตามไปด้วย

องค์กรสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย ทนายความ และนักกิจกรรมทางสังคม ตามรายนามแนบท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ จึงขอเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติยุติการแทรกแซงความเป็นอิสระการดำเนินการตามวิชาชีพของทนายความโดยการยกเลิกหนังสือดังกล่าวทันที เพราะทนายความเป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิในทางกฎหมาย

2. ให้สภาทนายความพิทักษ์ความเป็นอิสระขององค์กรจากการถูกแทรกแซงที่มิชอบ โดยดำเนินการจัดการเลือกตั้งไปตามกำหนดการเดิมตามกฎหมายต่อไป เพราะหากดำเนินการชะลอการเลือกตั้งตามความเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นอกจากจะเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ยังเป็นการดำเนินการตามคำสั่งที่ไม่มีอำนาจทางกฎหมายใดๆ รองรับ ดังนั้น การปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยุติกระบวนการขั้นตอนตามพระราชบัญญัติสภาทนายความ พ.ศ.2528 และให้คณะกรรมการบริหารชุดเดิมรักษาการต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ย่อมถือว่าสภาทนายความปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อเจตนารมณ์ขององค์กรวิชาชีพทนายความและเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

3. ให้สภาทนายความยุติการดำเนินการใดๆ อันเป็นการเอื้อให้เกิดการแทรกแซงจากอำนาจที่มิชอบธรรม อีกทั้ง ต้องแสดงความกล้าหาญเพื่อยืนหยัดคุ้มครองและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แกความเป็นอิสระของวิชาชีพ เพื่อประกันว่าทนายความจะสามารถปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพของตนได้อย่างเต็ม ไม่ถูกข่มขู่ คุกคาม หรือฟ้องร้อง

ทั้งนี้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าสภาทนายความยังมีความสามารถที่จะประกันความอิสระของการปฏิบัติงานของทนายความตามวิชาชีพอันมีผลต่อการเข้าถึงสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชน จึงขอให้สมาชิกทนายความและสังคมร่วมกันสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งของสภาทนายความตามกำหนดการเดิมต่อไป

ด้วยความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

1.       สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
2.       มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม
3.        มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
4.       สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
5.       ไพโรจน์ พลเพชร
6.       อนุชา วินทะไชย
7.       กฤษดา ขุนณรงค์   ทนายความ
8.       พนม บุตะเขียว ทนายความ
9.       อานนท์ นำภา ทนายความ
10.   เยาวลักษ์  อนุพันธุ์  ทนายความ
11.   ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
12.   ชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ ทนายความ
13.   คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ
14.   ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า ทนายความ
15.   ผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ
16.   วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ
17.   คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ
18.   ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความ
19.   ภัทรานิษฐ์ เยาดำ ทนายความ
20.   สุทธิเกียรติ  ธรรมดุล    ทนายความ
21.   พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ
22.   ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย
23.   มนตรี อัจฉริยสกุลชัย ทนายความ
24.   บัณฑิต หอมเกษ นักกฎหมาย
25.   จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความ
26.   ณัฐชัตยากร กัญฐณา ทนายความ
27.   อำพร สังข์ทอง ทนายความ
28.   ละอองดาว โนนพลกรัง นักกฎหมาย
29.   จุลศักดิ์ แก้วกาญจน์ นักกฎหมาย
30.   วีรวัฒน์ อบโอ ทนายความ
31.   สมสกุล ศรีเมธีกุล ทนายความ
32.   สุรชัย ตรงงาม ทนายความ
33.   อัมรินทร์ สายจันทร์ ทนายความ
34.   ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล นักกฎหมาย
35.   เลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ทนายความ
36.   พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  นักศึกษาวิชากฎหมาย
37.   อุบลวรรณ บุญรัตนสมัย นักกฎหมาย
38.   ไพรัช สุภัคคะ ทนายความ
39.   ชันษา สุพรรณเมือง  นักกฎหมาย
40.   สุพรรษา  มะเหร็ม  ทนายความ
41.   มนทนา  ดวงประภา  ทนายความ
42.   กาญจนา อัครชาติ  นักกฎหมาย
43.   ผกามาส คำฉ่ำ
44.   ยิ่งชีพ อัชฌานนท์  ทนายความ
45.   ภาวิณี ชุมศรี  ทนายความ
46.   ธนรัตน์  มังคุด  นักกฎหมาย
47.   จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
48.   ศิวาพร ฝอดสูงเนิน
49.   สุนิดา ปิยกุลพานิชย์ นักกฎหมาย
50.   ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ
51.   สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ
52.   อธิวัฒน์ เส้งคุ่ย นักกฎหมาย
53.   คุนัญญา สองสมุทร ทนายความ
54.   อิศสิยาภรณ์ อินทพันธุ์ นักกฎหมาย
55.   หนึ่งฤทัย คชสาร  นักกฎหมาย
56.   ฐิติรัช  สร้อยสุวรรณ  นักกฎหมาย
57.   มาซีเต๊าะ  หมันหล๊ะ นักกฎหมาย
58.   แสงชัย รัตนเสรีวงษ์ ทนายความ
59.   ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ
60.   โสภณ หนูรัตน์ ทนายความ
61.   เฉลิมศรี ประเสริฐศรี นักกฎหมาย
62.   ณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย
63.   วรุตม์ บุณฑริก ทนายความ
64.   นภาพร  สงปรางค์ ทนายความ
65.   รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ
66.   วัชรศักดิ์  วิจิตรจันทร์  นักกฎหมาย
67.   ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความ
68.   อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ ทนายความ
69.   ปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย
70.   พุทธิณี โกพัฒน์ตา

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net