Skip to main content
sharethis

บุคคลหลายวงการในไทยเขียนจดหมายเปิดผนึกเพื่อทักท้วงภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ กรณีนำผลงานของศิลปินยุค กปปส. ปิดกรุงเทพฯ ไปจัดแสดงเพื่อรำลึก 36 ปีเหตุสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยกวางจูปี 1980 ด้านภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงเพราะนึกว่าเหมือนศิลปะเกาหลียุค 80 โดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เผยถูกท้วงติงหนักจากหลายฝ่าย เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่

โปสเตอร์งาน 'The Truth_ to Turn It Over' (ที่มา: Artmuse.gwangju.go.kr)

สุธี คุณาวิชยานนท์ ถ่ายภาพคู่กับศิลปินชาวเวียดนาม เลอดุกไฮ (ซ้าย) และ เลองอกทัน (ขวา) ข้างหลังคือผลงานแสดงของสุธี ชุด  'Thai Uprising' ผลงานศิลปะของเขาในการชุมนุม กปปส. ระหว่างปี 2556 - 2557 (ที่มา: facebookpage/Hai Duc Le)

 

16 พ.ค. 2559 กรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู เชิญสุธี คุณาวิชยานนท์ ร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over' (อ่านรายละเอียด) ในเทศกาลประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) โดยนิทรรศการมีพิธีเปิดเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา และจะจัดแสดงจนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยนอกจากผลงานของสุธี ยังมีผลงานของศิลปินอีก 4 ประเทศ ได้แก่ ปักแทคู จากเกาหลีใต้ มันกู ปุตรา จากอินโดนีเซีย เลองอกทันและเลอดุกไฮ จากเวียดนาม และเรอนาโท หาบูลาน จากฟิลิปปินส์นั้น

อย่างไรก็ตาม มีกระแสวิจารณ์ในประเทศไทย เนื่องจากมองว่าผลงานแสดงของสุธีบางส่วน เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านประชาธิปไตยและปูทางไปสู่รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557

สำหรับผลงานแสดงของสุธี ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ส่วนแรก คือ "กระดานดำกวางจู" โดยนำมาจากผลงานชุด "ห้องเรียนประวัติศาสตร์ภาค 2" ที่สุธีเคยจัดแสดงผลงานดังกล่าวมาก่อน เมื่อ พ.ศ. 2556 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นภาพแกะสลักบนโต๊ะนักเรียนที่ทำจากไม้ 23 ตัว แสดงเหตุการณ์ 23 แห่ง โดยในการแสดงที่กวางจู สุธีได้เลือกโต๊ะไปทำการแสดง 6 ตัว นอกจากนี้เขายังร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ วาดภาพบนกระดานดำร่วมกันโดยด้านหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และอีกด้านการเหตุการณ์กวางจูเดือนพฤษภาคม 2523

"ผลงาน "กระดานดำกวางจู" ผมต้อง "เลือกจำ" คัดตัดตอนมาเฉพาะประวัติศาสตร์ 1 หน้าในความทรงจำทางการเมืองไทย 14 ตุลา 16 เบลอปะปนไปกับ 18 พฤษภาคม 1980 โศกนาฏกรรมทางการเมืองของเกาหลีใต้ที่เมืองกวางจู ที่มีทั้งความคล้ายและความต่างสองเรื่องสองเหตุการณ์ถูกเขียนแล้วลบแล้วเขียนอีก จนมันเบลอ เข้าหากันในกระดานแห่งความทรงจำเดียวกัน อีกชิ้นโต๊ะนักเรียนในห้องเรียนประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องถูก "เลือกจำ" เช่นกัน จากโต๊ะ 23 ตัว เกือบ 20 เหตุการณ์ คัดเหลือแค่ 6 ตัว ประมาณ 6 เหตุการณ์" สุธีระบุตอนหนึ่งในสเตตัสเฟซบุ๊คที่เขาพูดถึงผลงานแสดงศิลปะ

สำหรับผลงานศิลปะส่วนที่ถูกทักท้วง คือ "Thai Uprising/มวลมหาประชาชน" (อ่านรายละเอียด) ซึ่งเป็นผลงานศิลปะของสุธีระหว่างการชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการชุมนุม กปปส. ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง ปลายเดือนมกราคม 2557 โดยมีข้อความที่ปรากฏในโปสเตอร์เช่น "ปฏิรูปก่อน" "ไทยอย่าเฉย" "ยึดคืนประเทศไทย" "อย่ากลับด้านประเทศไทย" โดยผลงานส่วนหนึ่งของสุธีถูกนำมาประมูลเพื่อระดมทุนสำหรับการต่อสู้ในช่วงนั้นด้วย

ทั้งนี้ หลังวันเปิดแสดงผลงานศิลปะเมื่อ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา บุคคลในวงการต่างๆ ในประเทศไทย ได้ส่งจดหมายทักท้วงไปยัง ลิม จงยอง ผู้ทำหน้าที่ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ 'The Truth_to Turn It Over'

โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ธนาวิ โชติประดิษฐ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนจดหมายเปิดผนึกไปยัง ลิม จงยอง เพื่อสอบถามเหตุผลในการคัดเลือกผลงานแสดงศิลปะของเขา

"เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรศการ 2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น" จดหมายของธนาวิตอนหนึ่งระบุ

ขณะเดียวกันในวันนี้ (16 พ.ค.) มีการเผยแพร่ จดหมายเปิดผนึกจาก "นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย" (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู กรณีนำผลงานของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’" โดยมีการลงชื่อท้ายจดหมายโดยบุคคล 118 ราย ประกอบด้วยศิลปิน ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน สื่อมวลชน นักวิชาการ ฯลฯ ในไทย สอบถามไปยังพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู

"ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557"

"แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม"

"พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู" ตอนหนึ่งของแถลงการณ์ระบุ

 

ภัณฑารักษ์เกาหลีใต้ยอมรับนำผลงานมาแสดงโดยไม่ได้คำนึงนัยยะทางการเมือง เตรียมนำไปหารือว่าจะถอนผลงานแสดงหรือไม่

ล่าสุดในเว็บ penseur21.com (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) Lee Yu Kyung ผู้สื่อข่าวชาวเกาหลีใต้ ได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ลิม จงยอง ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการดังกล่าว โดยเขาย้ำว่าเขารู้สึกชื่นชมผลงานแนวสตรีทอาร์ทของสุธี ซึ่งมีเนื้อหาใกล้กับศิลปะแนวประชาชนของเกาหลีใต้ในยุคทศวรรษที่ 1980 โดยเขาให้พิจารณาเรื่องนี้โดยไม่ได้คำนึงในเรื่องนัยยะทางการเมือง

"ผมไม่ได้คาดหมายว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาจากประเทศไทยขนาดนี้ เราได้รับคำท้วงติงมาจากบุคคลหลากหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากมูลนิธิ 518 (มูลนิธิในเกาหลีใต้ซึ่งตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ต่อสู้ที่กวางจู) พวกเราจะมีการหารือกันถึงเรื่องนี้ พวกเราอาจพิจารณาที่จะถอนงาน 1 ใน 4 เรื่องของสุธี ซึ่งเรื่องหนึ่งเกี่ยวข้องกับการประท้วงของ กปปส. แต่เราต้องได้รับความยินยอมจากศิลปิน เราจะไม่ทำโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของพวกเราร่วมกัน"  ลิม จงยอง กล่าวเพิ่มเติม

 

36 ปีเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยกวางจู ก่อนนำตัวผู้บงการขึ้นศาลในปี 2539

สำหรับขบวนการประชาธิปไตยกวางจู หรือเหตุการณ์ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 เป็นส่วนหนึ่งของการชุมนุมต่อต้าน นายพลชุน ดูฮวาน ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลชอย คูฮาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 โดยท้ายที่สุดทหารเกาหลีใต้สามารถยึดเมืองกวางจูคืนจากผู้ประท้วงได้ในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 มีผู้เสียชีวิต 165 ราย สูญหาย 76 ราย บาดเจ็บสามพันห้าร้อยราย ขณะที่ทหารและตำรวจเสียชีวิต 13 ราย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ศาลอาญาประจำโซล มีคำตัดสินประหารชีวิตนายพลชุน ดูฮวาน จำเลยที่หนึ่ง และจำคุกนายพลโน แทอู จำเลยที่สอง 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน

 

000

จดหมายเปิดผนึกของธนาวิ โชติประดิษฐ เมื่อ 12 พ.ค. 2559 (ฉบับแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

เรียน คุณลิมจงยอง

ข้าพเจ้าเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปินชาวไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และผู้สังเกตการณ์ศิลปะร่วมสมัยของไทย ข้าพเจ้าเขียนจดหมายมายังท่านต่อเรื่องนิทรรศการ 'The Truth_To Turn It Over' โดยในการคัดเลือกผลงานของคุณ ที่ได้เลือกงาน 'Thai Uprising' ของสุธี คุณาวิชยานนท์ สำหรับจัดแสดงในนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการรำลึกถึง 36 ปี ของขบวนการประชาธิปไตย 18 พฤษภาคมนั้น วันนี้ได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักในหมู่ผู้ใช้เฟซบุ๊คชาวไทย โดยจดหมายฉบับนี้ไม่ใช่จดหมายสำหรับศิลปิน แต่เป็นจดหมายถึงภัณฑารักษ์ผู้รวบรวมผลงานแสดง

อาร์ทเลน (Art Lane) เป็นส่วนหนึ่งของการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ไม่เพียงแค่เป็นการประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมสมัยยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี 2556 เท่านั้น แต่ยังเป็นการปูทางไปสู่การรัฐบาล ผลงานชุด "Thai uprising" ในปี 2556-2557 ที่คุณเลือก แสดงออกอย่างชัดเจนว่าคือการต่อต้านรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เคียงข้างไปกับศิลปินอื่นๆ ของมหาวิทยาศิลปากร และศิลปินที่แสดงผลงานทางการเมือง สุธีมีบทบาทอยู่ในขบวนการต่อต้านประชาธิปไตย พวกเขาระดมทุนเพื่อ กปปส. กลุ่มกดดันทางการเมืองที่นำโดยอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ สุเทพ เทือกสุบรรณ และเมื่อกองทัพยึดอำนาจด้วยการรัฐประหารในปี 2557 ศิลปินเหล่านี้ก็ต้อนรับการรัฐประหารนี้

พวกเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารนับตั้งแต่นั้น แน่นอนศิลปินทั้งหลาย ทั้งเขาและเธอมีสิทธิเลือกข้าง และแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อจุดยืนทางการเมืองของสุธี ข้าพเจ้าก็เคารพเขาด้วยความจริงใจที่เขาพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมาชัดเจน (ข้าพเจ้าตระหนักเป็นอย่างดีว่าสถานการณ์ของกลุ่มอื่นมีความต่างกัน ประเทศไทยไม่ได้มีพื้นที่เสรีและยุติธรรมพอสำหรับการพูดและการแสดงออก) เนื่องจากการที่เขาสนับสนุนรัฐบาลทหารเป็นสิ่งที่โจ่งแจ้ง ข้าพเจ้าจึงรู้สึกสงสัยที่ท่านในฐานะภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ "2016 Asian Democracy-Human Rights-Peace" จึงเลือกให้เขามีส่วนร่วมกับงานนิทรรศการ ท่านได้ทำการบ้านค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะไทย ศิลปินไทย และความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันหรือไม่

ทั้งนี้มักจะมีกระบวนการจัดทำนิทรรศการชนิดขี้เกียจที่คู่กันไปกับภัณฑารักษ์ผู้เดินทางไปทั่วโลก แล้วมักจะเลือกศิลปินคนดังจากแต่ละประเทศด้วยความมักง่าย อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าหวังว่ากรณีนี้จะไม่เป็นหนึ่งในนั้น

ด้วยความนับถือ
ธนาวิ โชติประดิษฐ

จดหมายเปิดผนึกจาก “นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย” (กวป.) ถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู - กรณีนำผลงานของ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ไปจัดแสดงในนิทรรศการ ‘The Truth_ to Turn It Over’

สืบเนื่องจากที่ รศ. สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินไทยได้ร่วมแสดงนิทรรศการชุด ‘The Truth_ to Turn It Over’ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู พวกเราขอแสดงความกังวลเกี่ยวเนื่องกับแนวทางศิลปะของเขา กับจุดยืนทางการเมือง และจิตวิญญาณการต่อสู้ของชาวกวางจู เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าสุธีเข้าร่วมกับ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” (กปปส.) ซึ่งนำมาสู่วิกฤตทางการเมืองและรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 กปปส. เป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มุ่งหมายโค่นล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยมีการปิดถนนหลายสายในกรุงเทพฯ ปิดสำนักงานของรัฐบาล รวมถึงปิดกั้นไม่ให้ประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2557 กปปส. กล่าวหาว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวไทยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดที่ยากจนและไร้การศึกษา ดังนั้นคนเหล่านี้จึงถูกซื้อจากนักการเมืองได้ และพวกเขายังเชื่อว่าการเลือกตั้งทั่วไปปี 2557 เป็นเพียงการรักษาอำนาจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เท่านั้น ในขณะที่ กปปส. ปฏิเสธการเจรจากับตัวแทนรัฐบาล แต่กลับเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐบาลพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ด้วยวิธีการต่าง ๆ การกระทำของพวกเขานำมาซึ่งการเข้าแทรกแซงของทหาร ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่นั้นมา

กปปส. มองข้ามข้อเท็จจริงว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำ กปปส. เป็นอดีตรองนายกฯในรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้สั่งการให้กองทัพสลายการชุมนุมของ “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) ซึ่งชุมนุมประท้วง ณ ใจกลางกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 10 เมษายน – 19 พฤษภาคม 2553 จนมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ศาลไทยได้มีคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วว่าเจ้าหน้าที่ทหารไทยใช้อาวุธยิงประชาชน ขณะที่ผู้ชุมนุม นปช. ถูกคุมขังและพิพากษาว่าละเมิดกฎหมาย สุเทพและสมาชิกคณะรัฐมนตรียังคงลอยนวล เหลือไว้เพียงข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่ได้มีเพียงผู้ชุมนุม นปช. เท่านั้นที่ถูกฆ่าและถูกขัง แต่ยังรวมถึงประชาชนธรรมดาที่ไม่มีแรงจูงใจทางการเมืองใด ๆ นักวิชาการบางคนเปรียบเทียบเหตุการณ์ 10 เมษาฯ – 19 พฤษภาฯ ว่าคล้ายกับการที่ชุนดูฮวาน (อดีตผู้นำเผด็จการเกาหลีใต้-ผู้แปล) ปราบปรามการลุกขึ้นสู้ของชาวกวางจู ที่เลวร้ายที่สุดคือการที่ผู้สนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิจำนวนมากเชื่อว่าสมควรแล้วที่ผู้ชุมนุม นปช. จะถูกปราบปรามด้วยความรุนแรง

หลังการปราบปราม รัฐบาลอภิสิทธิยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (ด้วยการสนับสนุนจากสมาชิก นปช.) ได้รับเลือกและกลายเป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่นายสุเทพ กลายเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์พยายามที่จะหาหนทางสร้างความปรองดองโดยร่าง พรบ.นิรโทษกรรม รัฐบาลของเธอล้มเหลวในการผ่านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมที่เต็มไปด้วยข้อถกเถียงและก่อให้เกิดความโกรธแค้นจากหลายฝ่าย รวมถึง กปปส. แล้วประชาธิปไตยของประเทศไทยก็หยุดชะงักนับแต่นั้นมา

ระหว่างการชุมนุมประท้วงปิดเมืองกรุงเทพฯ ของ กปปส. สุธีและเพื่อนศิลปินได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนให้ขบวนการเคลื่อนไหว กปปส. แทนที่จะส่งเสริมประชาธิปไตยและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน ผลงานของเขาที่นำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจูเป็นผลงานที่ทำขึ้นระหว่างร่วมชุมนุมกับ กปปส. อันนำพาความถดถอยของประชาธิปไตยไทย อาทิ โปสเตอร์ที่ใช้เทคนิคฉลุลาย เสื้อยืดสำหรับผู้สนับสนุน กปปส. และ อื่น ๆ ศิลปิน กปปส. ยึดถนนเพื่อปิดกั้นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ซึ่งก่อชนวนเปิดโอกาสให้ทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน และเปลี่ยนจากประเทศที่มีอนาคตที่สดใสทางประชาธิปไตย กลับกลายเป็นการควบคุมโดยสมบูรณ์จากชนชั้นสูงและปกครองโดยทหารตั้งแต่ 22 พฤษภาคม 2557

แม้ว่ารัฐบาลเผด็จการของไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการทบทวนรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (หรือ UPR) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2559 อย่างไรก็ตามในวันเดียวกันนี้ ศิลปิน กปปส. ก็ได้จัดกิจกรรม Art Lane เพื่อระดมทุนสำหรับการสร้างวิทยาลัยของพวก กปปส.ด้วยเช่นกัน นิทรรศการของสุธีไม่เพียงแต่เป็นการดูหมิ่นขบวนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยของไทยและ ประวัติศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตย แต่หมายรวมถึงจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ของชาวกวางจูเมื่อ 18 พฤษภาคม

พวกเราใคร่ขอถาม Jong Young Lim ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการ และคณะกรรมการของถึงกระบวนการคัดเลือกและเหตุผลที่เชิญสุธีเข้าร่วมในนิทรรศการครั้งนี้ พวกเราเชื่อในเสรีภาพในการแสดงออกว่ามีความสำคัญต่อศิลปิน แต่พวกเราต้องการแสดงความกังวลที่นิทรรศการของสุธีมีข้อเท็จจริงที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณการต่อสู้ของกวางจู ด้วยความเคารพต่อหลักการดังกล่าวพวกเราใคร่ขอคำอธิบายหลักและเหตุผลในการคัดสรรศิลปินและผลงาน เพื่อความกระจ่างชัดต่อชาวไทยและชาวกวางจู

ด้วยความสมานฉันท์

นักกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อประชาธิปไตย (กวป.)
ดังรายชื่อแนบท้าย

1. Abhichon Rattanabhayon Media Studio
2. Akara Pacchakkhaphati Film Maker
3. Angkrit Ajchariyasophon Artist/Gallerist
4. Anocha Suwichakornpong Film Maker
5. Anusorn Tipayanon Writer
6. Aranya Siriphon Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University
7. ArjinJonathan Arjinkit Artist/Lecturer, Rajanagarindra Rajabhat University
8. Arnont Nongyao Artist
9. Arthit Suriyawongkul Activist
10. Artit Srijan Writer/Lecturer, Suan Sunandha Rajabhat University 
11. Athapol Anunthavorasakul Lecturer, Chulalongkorn University
12. Atikom Mukdaprakorn Artist/Cultural Activist
13. Ben Busarakamwong Cultural Activist
14. Cattleya Paosrijaroen Film Maker
15. Chai Siris Film Maker
16. Chakkrit Chimnok Artist
17. Chettapat Kueankaeo Theater Director
18. Chiranuch Premchaiporn Director of Prachatai
19. Chontida Auikool Thammasat University
20. Chuwat Rerksirisuk Editor in Chief of Prachatai
21. Danaya Chulphuthiphong Historian
22. Ded Chongmankong Photographer
23. Dontree Siribunjongsak Musician
24. Duangrurthai Asanachatang Editor
25. Ekanop Suwannakosum Graphic Designer/Lecturer, Chiang Mai University
26. Farida Jiraphan Performer
27. Gandhi Wasuvitchayagit Writer
28. Inthira Vittayasomboon Cultural Activist
29. Janit Feangfu Lecturer, Chiang Mai University
30. Jirasak Monkiatkul Interior Designer
31. Jirat Prasertsup Cultural Activist 
32. Kahat Sujipisut Artist
33. Kasem Phenpinant Department of Philosophy, Chulalongkorn University 
34. Kavintron Sangsakron Performer
35. Keawalee Warutkomain Art Director
36. Kittima Chareeprasit Curator
37. Komtham Domrongchareon Lecturer, Silpakorn University
38. Kongkrit Traiyawong Lecturer, Walailak University
39. Kornkrit Jianpinidnan Artist
40. Kriangkrai Patomnetikul Photographer
41. Krit Lualamai Writer 
42. Ladapha Sophonkunkit Performer
43. Ladda Kongdach Performer
44. Lakkana Punwichai Writer 
45. Latthapon Korkiatarkul Artist
46. Lyla Phimanrat Gallerist
47. Mit Jai-in Artist
48. Miti Ruangkritya Artist
49. Mo Jirachaisakul Ceramic Artist
50. Montri Toemsombat Artist
51. Namfon Udomlertlak Film Maker
52. Narawan Pathomvat Researcher 
53. Nataya U-Kong Lecturer, Silpakorn University 
54. Nawapooh Sae-tang Critic
55. Nithinand Yorsaengrat Reporter 
56. Nok Paksanavin Writer
57. Nopawat Likitwong Sound Artist/Sound Engineer
58. Noraset Vaisayakul Artist
59. O Techadilok Graphic Designer
60. Orawan Arunrak Artist
61. Pakavadi Veerapasapong Writer 
62. Pandit Chanrochanakit Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
63. Panu Boonpipattanapong Freelance Writer
64. Paphonsak La-or Artist
65. Parinot Kunakornwong Artist
66. Pasakorn Intoo-Marn Performer/Lecturer, Mahidol University
67. Pathompon Tesprateep Artist
68. Pavinee Samakkabutr Performance Artist
69. Pawaluk Suraswadi Performer
70. Pawin Ramingwong Artist/Lecturer, Phayao University
71. Pichaiwat Saengprapan Artist/Lecturer, Srinakarinwirot University
72. Pimsiri Petchnamrob Activist
73. Pinkaew Laungaramsri, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 
74. Pisitakun Kuantalaeng Artist
75. Pitch Pongsawat Faculty of Political Science, Chulalongkorn University
76. Piyarat Piyapongwiwat Artist
77. Pongjit Saphakhun Performer
78. Potjawan Panjinda Art Center Manager
79. Prapat Jiwanrangsan Artist
80. Pratompong Namjaidee Artist
81. Puangthong Pawakapan Faculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 
82. Rattanai Bampenyou Musician
83. Rodjaraeg Wattanapanit Cultural Activist
84. Ruangsak Anuwatwimon Artist
85. Santiphap inkong-ngam Film Maker/Lecturer, Chiang Mai University
86. Sawit Prasertphan Artist/Lecturer, Chiang Mai University
87. Sina Wittayawiroj Artist
88. Siripoj Laomanacharoen Writer 
89. Sompoch Aung Artist
90. Sorayut Aiemueayut Lecturer, Chiang Mai University
91. Suchart Swasdsri Writer 
92. Sukanya Seskhuntod Cultural Activist
93. Sutthirat Supaparinya Artist
94. Tada Hengsapkul Artist
95. Teerapong Suthiwarapirak Writer
96. Teerawat Mulvilai Performance Artist
97. Thanavi Chotpradit Art Historian/Critic/Lecturer, Silpakorn University
98. Thanom Chapakdee Faculty of Fine Arts, Srinakharinwirot University
99. Tharit Tothong Critic
100. Thasnai Sethaseree Artist/Lecturer, Chiang Mai University
101. Thatchatham Silsupan Composer/Lecturer, Chiang Mai University
102. Thawiphat Praengoen Artist/Cultural Activist
103. Thitibodee Rungteerawattananon Artist
104. Uthis Haemamool Writer
105. Uthit Attimana Artist/Lecturer, Chiang Mai University
106. Vichapon Diloksambandh Performer
107. Viengrat Nethipo Faculty of Political Science Faculty, Chulalongkorn University 
108. Vipash Purichanont Department of Visual Cultures, Goldsmiths, University of London
109. Wichanon Somumjarn, Independent Filmmaker 
110. Vorakorn Ruetaivanichkul Film Maker
111. Warasinee Chansawang Gallery Manager
112. Weroon Wuthirithakul Cultural Activist
113. Wichanon Somumjarn Independent Filmmaker 
114. Wirapa Angkoontassaniyarat Writer
115. Wiwat Lertwiwatwongsa Film Critic
116. Yingsiwat Yamolyong Film Maker
117. Yukti Mukdawijitra Faculty of Sociology and Anthropology, Thammasat University
118. Yutthana Darakron Cultural Activist

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net