Skip to main content
sharethis

59 คณาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ร่อนจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการฯ ขอให้มหาวิทยาลัยปกป้องเสรีภาพในทางวิชาการ หลังทหารแจ้งเตือนนักวิชาการค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

 

หนังสือที่ ผบ.มทบ.42 ส่งถึงอธิการ มอ.

27 พ.ค. 2559 รายงานข่าวแจ้งว่า จากกรณีที่ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42  (มทบ.42) ทำหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เพื่อขอความร่วมมือให้ทำความเข้าใจกับบุคลากรที่คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ซึ่งคณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวจำนวน 59 รายชื่อ จึงได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดี และได้ทำการยื่นหนังสือต่ออธิการบดี โดย พิชิต เรืองแสงวัฒนา รองอธิการบดีเป็นผู้รับไหนังสือไว้แล้ว

โดยจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ชี้ว่าพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ทหารดังกล่าวเป็นการคุกคามเสรีภาพในทางวิชาการซึ่งไม่อาจยอมรับได้ พร้อมเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยืนยันในหลักการพื้นฐานเรื่องเสรีภาพในทางวิชาการ รวมทั้งปกป้องรักษาหลักการดังกล่าวเอาไว้ และไม่พึงกระทำการใด ๆ เพื่อตอบสนองต่อการคุกคามเสรีภาพดังกล่าวเป็นการเรียกร้องให้อธิการฯ 
 
จดหมายยังระบุด้วยว่า การดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และวิถีชีวิตของประชาชนและชุมชนอย่างกว้างขวาง จำเป็นต้องอาศัยการพดูคุยถกเถียงอย่างรอบด้านถึง ข้อดีข้อเสีย เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดของคนในสังคมก่อนการตัดสินใจ กระบวนการดังกล่าวจะ เป็นไปได้ก็แต่โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 

โดยมีรายละเอียดดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง หนังสือขอความร่วมมือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาของ มทบ. 42 

 
เรียน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
 
ตามที่ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ได้มีหนังสือถึงท่านอธิการบดีเพื่อขอความร่วมมือในการทำความเข้าใจกับบคุลากรให้ทราบถึงวิธีการดำเนินงานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ดังที่ปรากฏ เป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ นนั้ คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดังมีรายนามแนบท้ายจดหมายนี้ เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการคุกคามเสรีภาพในทางวิชาการซึ่งไม่อาจยอมรับได้ จึงขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยยืนยันในหลักการพื้นฐานที่สำคัญดังนี้
 
1. ความแตกต่างหลากหลายทางความคิดเห็นต่อประเด็นโครงการไฟฟ้าถ่านหินเทพา คงไม่ใช่ ความไม่เข้าใจถึงวิธีการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวอย่างที่ผู้บัญชาการมณฑทลทหารบกที่ 42 กล่าว หากแต่เป็นมุมมองต่อประเด็นปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลและความรู้ในทางวิชาการที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้ หากเจ้าของโครงการเห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลหรือยังขาดการพิจารณาข้อมูลใด ๆ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะนำเสนอข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนถกเถียงกัน มากกว่าที่จะใช้อำนาจใน ทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อกำหนดให้คดิเห็นไปในทางเดียวกันแต่เพียงอย่างเดียว ความแตกต่างหลากหลาย ของความคิดเห็นจึงไม่ใช่สิ่งที่ผิด หากแต่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียงอันจะนำไปสู่ การพัฒนาในทางวิชาการและการสร้างความเข้าใจร่วมกัน
 
เสรีภาพในทางวิชาการจึงเป็นสารัตถะของการดำรงความเป็นสถาบันการศึกษาหากปราศจากซึ่งเสรีภาพดังกล่าวแล้ว มหาวิทยาลัยก็ไม่อาจที่จะปฏิบัติภารกิจของตนในการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ ใหม่เพื่อให้สังคมก้าวหน้าต่อไปได้ เสรีภาพในทางวิชาการจึงเป็นหลักการสำคัญที่มหาวิทยาลัยจะต้อง ยืนยันและปกป้องรักษาเอาไว้ และไม่พึงกระทำการใด ๆ เพื่อตอบสนองต่อการคุกคามเสรีภาพดังกล่าว
 
2. การดำเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อันอาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และวิถีชีวิตของประชาชนและชุมชนอย่างกว้างขวาง จำเป็นต้องอาศัยการพดูคุยถกเถียงอย่างรอบด้านถึง ข้อดีข้อเสีย เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดของคนในสังคมก่อนการตัดสินใจ กระบวนการดังกล่าวจะ เป็นไปได้ก็แต่โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยได้รับข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และควรถือเป็นพันธะกิจของมหาวิทยาลัยที่จะนำองค์ความรู้ทางวิชาการมาสนับสนุนกระบวนการดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนำไปสู่ข้อสรุปที่สังคมยอมรับร่วมกันได้  ในทางตรงกันข้าม การดำเนินโครงการพัฒนาใด ๆ ที่มาจากการสั่งการของรัฐแต่ฝ่ายเดียวโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ย่อมรังแต่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมต่อไปไม่สิ้นสุด มหาวิทยาลัยไม่พึง เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการใช้อำนาจอันไมช่อบธรรมเช่นนั้น
 
อนึ่ง มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นสูงควรจะมีบทบาทนำในการสร้างเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนในประเด็นการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ โดยการนำเสนอข้อมูลในทางวิชาการที่ถูกต้องและรอบด้าน ทั้งนี้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสันติและสร้างการยอมรับร่วมกัน 
 
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา    
ขอแสดงความนับถือ 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net